1 / 22

ASEAN

ASEAN. ประเทศเวียดนาม. ที่ตั้งอาณาเขต. เวียดนาม มีแหล่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เวียดนาม มีพรมแดน ติดต่อกับ  3  ประเทศ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นระยะทาง  1,281  กิโลเมตร ทิศใต้ ติดกับทะเลจีนใต้

seda
Download Presentation

ASEAN

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ASEAN

  2. ประเทศเวียดนาม

  3. ที่ตั้งอาณาเขต เวียดนาม มีแหล่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เวียดนาม มีพรมแดน ติดต่อกับ 3 ประเทศ ดังนี้ทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นระยะทาง 1,281 กิโลเมตร ทิศใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกติดกับ สปป.ลาว เป็นระยะทาง 2,130 กิโลเมตร กัมพูชา เป็น ระยะทาง 1,228 กิโลเมตรและ อ่าวไทย ทิศตะวันออกติดกับอ่าวตังเกี๋ย และทะเลจีนใต้

  4. พื้นที่ เวียดนาม มีพื้นที่ 331,033 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 0.645 เท่าของ ประเทศไทย ประเทศมีลักษณะเป็นแนวยาว โดยมีความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน นอกจากนี้ ยังมีไหล่เขาและหมู่เกาะต่างๆ อีกนับพันเกาะเรียงรายตั้งแต่อ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทย

  5. ลักษณะภูมิประเทศ เวียดนามมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือตอนเหนือ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงและตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและมีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มี เขาฟาน ซี ปัง(Phan Xi Pung) ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต) ตั้งอยู่ในจังหวัดเล่าไคซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน

  6. ลักษณะภูมิอากาศ เวียดนาม มีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อนจึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว โดยฝนจะตกตลอดปี เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5- 37 องศาเซลเซียส

  7. เมืองหลวงและเมืองที่สำคัญเมืองหลวงและเมืองที่สำคัญ กรุงฮานอย (Hanoi) เป็นเมืองหลวงของเวียดนาม และมีเมืองที่สำคัญคือ นครโฮจิมินห์ไฮฟองและดานัง  โดย       - นครโฮจิมินห์ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เดิมชื่อเมืองไซ่ง่อนและเป็นศูนย์กลางการค้า การสื่อสาร และการขนส่งของเวียดนาม      - ไฮฟอง เป็นเมืองค้าขายทางทะเลหลักของภาคเหนือ และเป็นเมืองศูนย์กลางการติดต่อกับศูนย์กลางอื่นๆ ของประเทศและต่างประเทศ       - ดานัง เป็นหนึ่งในสามศูนย์กลางของวัฒนธรรมที่อยู่อาศัยที่เป็นที่รู้จักของโลก มีท่าเรือและท่าอากาศยานนานาชาติ

  8. ประชากร เวียดนามมีประชากร 85.79 ล้านคน (เมษายน 2552) ประกอบด้วย       - เวียด คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของประชากรทั้งหมด      - เขมร คิดเป็นร้อยละ 10.00 ของประชากรทั้งหมด (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ทางตอนใต้ของประเทศ)             - ต่าย คิดเป็นร้อยละ 1.90 ของประชากรทั้งหมด       - ไท คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของประชากรทั้งหมด      - เหมื่อง คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของประชากรทั้งหมด       - ฮั้ว (จีน) คิดเป็นร้อยละ 1.13 ของประชากรทั้งหมด       - นุง คิดเป็นร้อยละ 1.12 ของประชากรทั้งหมด       - ม้ง คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของประชากรทั้งหมด       - อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 1.59 ของประชากรทั้งหมด

  9. การเมืองการปกครอง เวียดนามปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (Collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่       1. กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีฟาน วัน ขาย       2. กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ  “วิวัฒนาการที่สันติ” peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ       3. กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดีเจิ่น ดึ๊ก เลืองส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก เขตการปกครอง เวียดนาม แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 59 จังหวัด และ 5 เทศบาลนคร โดย 5 เทศบาลนคร ประกอบด้วย ฮานอยโฮจิมินห์ไฮฟองดานัง และคั้นทอ

  10. ภาษา เวียดนามใช้ภาษาเวียดนามเป็นภาษาประจำชาติประชากรเวียดนามถึง 87% มีผู้พูดมากที่สุดถึง 87% (10 เท่า ของภาษา ที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือภาษาเขมร)

  11. ศาสนา เวียดนาม ไม่มีศาสนาประจำชาติของตนเอง มีแต่ลัทธิขงจื้อและเต๋าตามอย่างชาวจีน เมื่อครั้งยังอยู่ในดินแดนจีนทางใต้ ชาวเวียดนามมีความเชื่อ และนับถือดวงวิญญาณบรรพบุรุษ มีการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของผู้ตายโดยถือ"คนตายปกครองคนเป็น"ชาวเวียดนามนับถือศาสนาเป็นแบบผสมคล้ายจีนคือ ส่วนใหญ่นับถือลัทธิเต๋า (Taoism) และศาสนาพุทธ นอกจากนั้นมีนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค เกาได๋ (Coa Dai) ฮัวเหา (HoaHao) และขงจื้อ ส่วนศาสนาฮินดู และศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือน้อยมาก

  12. เศรษฐกิจ เศรษฐกิจของเวียดนามส่วนใหญ่พึ่งพาภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก คิดเป็น ร้อยละ 39.9 รองลงมา ได้แก่ ภาคบริการ คิดเป็นร้อยละ 38.1 และ ภาคการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 22.0 (ข้อมูลปี 2551)

  13. สกุลเงิน ด่องอัตราแลกเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 555.55 ด่อง ต่อ 1 บาท (ธันวาคม2552)

  14. ความสัมพันธ์กับประเทศไทยความสัมพันธ์กับประเทศไทย ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2519 และ เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงฮานอย และสถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ เมื่อปี 2521 และ 2535 ตามลำดับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย ประกอบด้วยสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและ ในส่วนของเวียดนาม ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยเมื่อปี 2521 มีสถานะความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย – เวียดนามในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดี ไม่มีปัญหาสำคัญค้างคา มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง มีการไปมาหาสู่ระหว่างกันเพิ่มขึ้น รวมถึงในระดับท้องถิ่นจากการที่มีเส้นทางเชื่อมโยงถึงกันค่อนข้างสะดวก ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำความตกลงรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างกันรวมแล้วกว่า 40ฉบับ

  15. วัฒนธรรมพื้นบ้าน สิ่งก่อสร้าง รูปทรงและศิลป์การตกแต่งนับตั้งแต่ตึกรามบ้านช่องของคนเวียดนามยังคงมี รูปลักษณ์ของจีนอยู่มากแต่บางพื้นที่ก็มีศิลป์ของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น อยู่อย่างกลมกลืน แต่เท่านี้สิ่งสังเกต ศิลป์ของเวียดนามจากสถานที่สำคัญๆ แม้จะเป็นศิลป์วัฒนธรรมของจีนแต่ในส่วนที่เป็นการตกแต่งดูจะมี ความอ่อนไหวกว่าเล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรก็มองเหมือนศิลป์จีนชัดเจน

  16. ศิลปพื้นบ้าน ศิลปพื้นบ้านที่เด่นๆเท่าที่สังเกตก็คล้ายกับของไทย เช่น เครื่องจักรสาน เครื่องปั้นดินเผาควรทำ โดยไฟจากกระดาษ แต่ในเรื่องของดนตรียังมีกลิ่นไอของเพลงจีนอยู่อย่างแนบแน่น เครื่องดนตรีเพียง ๒ - ๓ ก็สามารถสร้างความไพเราะ

  17. อาหารเวียดนาม สำหรับอาหารของเวียดนาม เป็นอาหารที่คนไทยรู้จักมาอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นอาหารที่มีผักเป็น เครื่องแกล้ม และไม่ค้อยมีไขมัน ปัจจุบันร้านอาหารเวียดนามมาแพร่หลายในกรุงเทพฯอย่างกว้างขวาง ซึ่ง สมัยก่อนจะรับประทานอาหารเวียดนามต้องไปแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดหนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี ฯลฯ แต่เมื่อได้ไปสัมผัสกับเจ้าของตำรับจริงๆกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เนื่องจากรสชาติที่ค่อนข้างจืดชืด การตกแต่งก็ไม่ประณีตเหมือนในเมืองไทย แต่ก็ยอมรับว่ามีหลากหลาย ทีเดียว

  18. เหตุผลการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเหตุผลการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน การสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเวียดนามมองว่าเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการปรับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และการปรับนโยบายต่างประเทศ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศจากสมาชิกต่างๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด

  19. เวียดนามให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและระบบเศรษฐกิจของโลก การเป็นสมาชิกของอาเซียนจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในเขตการค้าเสรีอาเซียน และนำเวียดนามไปสู่ความคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับโลก อันจะมีผลดีและเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะผลักดันเวียดนามให้ก้าวไปสู้การเป็นสมาชิกของAPECและWTOได้ในที่สุด

  20. การแบ่งเขตการปกครอง

  21. อาเซี่ยนประเทศเวียดนามอาเซี่ยนประเทศเวียดนาม จัดทำโดย นางสาวปวีณา บุญมานันต์ ชั้น ม. 6/1 เลขที่10 นางสาววรรัตน์ แก้วคุณเมือง ชั้น ม. 6/1 เลขที่ 18 เสนอ อาจารย์ เยาวลักษณ์ ศิลาทะ

More Related