1 / 45

เอกสารประกอบการบรรยาย วิชาแพลงก์ตอนวิทยา Phylum Arthropoda อ . จรุงจิต กรุดพันธ์

เอกสารประกอบการบรรยาย วิชาแพลงก์ตอนวิทยา Phylum Arthropoda อ . จรุงจิต กรุดพันธ์ โครงการจัดตั้งภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. Phylum Arthropoda Class Crustacea (Crustaceans). ลักษณะทั่วไป

ruby-tyler
Download Presentation

เอกสารประกอบการบรรยาย วิชาแพลงก์ตอนวิทยา Phylum Arthropoda อ . จรุงจิต กรุดพันธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการบรรยายเอกสารประกอบการบรรยาย วิชาแพลงก์ตอนวิทยา Phylum Arthropoda อ.จรุงจิต กรุดพันธ์ โครงการจัดตั้งภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  2. Phylum ArthropodaClass Crustacea (Crustaceans) • ลักษณะทั่วไป • 1. เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มที่อยู่ในน้ำ • 2. ลำตัวแบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ หัว (head) • อก (thorax) และท้อง (abdomen) • 3. ปล้องที่มีรูก้นหรือที่เรียกว่า telson • ประกอบด้วยรูก้นและ caudal rami • 4. ส่วนหัวมีระยางค์ 5 คู่ คือ • antennules, antenae, gnathobasic mandibles, • maxillules และ maxillae

  3. 5. ระบบขับถ่ายประกอบด้วย antennal gland หรือ maxillary glands 6. มีตา 2 ประเภทคือ nauplius eye ซึ่งอยู่กลางหัว 1 ตา และตาประกอบ (compound eyes) 1 คู่ อยู่ด้านข้างของหัว 7. ส่วนใหญ่มีเพศผู้และเพศเมียแยกตัวกัน ประกอบไปด้วย 3 subclass คือ 1. Subclass Branchiopoda 2. Subclass Copepoda 3. Subclass Ostracoda 4. Subclass Malacostraca

  4. Subclass Branchiopoda (Branchiopods) ลักษณะทั่วไป 1. ลำตัวมีระยางค์แบนคล้ายใบไม้ exopodite และ endopodite ของระยางค์ เป็นพูแบน และที่ขอบมีขน ปล้อง coxa มี epipodite แบนทำหน้าที่คล้ายเหงือก และพัฒนารูปร่างไปเพื่อทำหน้าที่กินอาหารและใช้เคลื่อนที่ 2. หนวดคู่ที่ 1 เล็ก เป็นแบบ uniramous และไม่แบ่งเป็นข้อ maxillae คู่ที่ 2 เล็กมาก หรืออาจไม่มี 3. telson (แพนหาง) มีก้านขนาดใหญ่ 1 คู่ เรียกว่า cercopod

  5. แบ่งออกได้ 3 Order คือ Order 1 Anostraca (fairy shrimps) Order 2 Notostraca (tadpole shrimps) Order 3 Diplostraca (laterally compressed branchiopods)

  6. Order Diplostraca (Laterally compressed branchiopods) Suborder Cladocera (Water fleas) ลักษณะทั่วไป 1.ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หัว (head) อก (thorax) และท้อง (abdomen) ตัวไม่แบ่งเป็นปล้องชัดเจน 2. อกและท้องมีฝา 2 ฝา (bivalved carapace) คลุมตลอด มีลักษณะเป็นแผ่นแผ่นเดียวแต่พับครึ่งที่บริเวณกึ่งกลาง 3. รูปร่างของฝามีได้หลายแบบ บนฝามีลายต่างๆ ปลายสุดของฝามีหนาม (spines or spinules) และที่ด้านท้องของขอบฝามักมีซีตี (setae)

  7. (ต่อ) • 4. ส่วนหัวมีขนาดเล็ก แยกจากส่วนอกไม่ชัดเจน บนหัวมีตา 2 ประเภท คือ ตาประกอบ (compound eye) 1 คู่ มีขนาดใหญ่ และตาเดี่ยว (ocellus) มีขนาดเล็ก อยู่ต่ำจากตาประกอบ • 5. ไรน้ำทุกชนิดมีหนวด 2 คู่ หนวดคู่ที่ 1 เรียกว่า first antennae หรือ antennule อยู่บริเวณด้านท้องของจะงอยปาก (rostrum) มีขนาดเล็ก ไม่แบ่งเป็นข้อ ส่วนหนวดคู่ที่ 2 เรียกว่า second antennae หรือ antennae โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่มากและอยู่ที่ด้านข้างของหัว หนวดแต่ละเส้นประกอบด้วยฐานหนวดซึ่งเป็นข้อขนาดใหญ่ และมี 2 rami อยู่ที่ด้านหลังและด้านท้อง แต่ละ ramus แบ่งเป็นข้อ (segment) หนวดคู่ที่ 2 ทำหน้าที่ว่ายน้ำ • 6. .ปากตั้งอยู่ข้างรอยหยักระหว่างหัวกับลำตัว ส่วนประกอบของปากมี maxilla, mandibles, labium และ labrum

  8. (ต่อ) • 7. ไรน้ำทุกชนิดมีโครงสร้างที่อยู่กลางแนวสันหลังหรือบริเวณใกล้กันเรียกว่า head pores ซึ่งอยู่บนแผ่นหัว (head shield) head shield เป็นแผ่นเดี่ยวๆ ปกคลุมส่วนหน้าและด้านข้างของหัว • 8. ขาหรือระยางค์อยู่ที่ส่วนอก ซึ่งมีอยู่ 5-6 คู่ ขาแต่ละข้างมีขนบางๆ และซีตี (setae) จำนวนมาก • 9. ท้องมีขนาดเล็ก แต่ปลายสุดที่เรียกว่า postabdomen ใหญ่ และโค้งงอลงทางด้านท้อง มีหน้าที่ปัดอาหารที่มากเกินไปออกจากบริเวณปาก บน postabdomen มี setae ยาว 2 เส้น และมีอุ้งเล็บ (claw) 2 อัน ที่ปลายสุด ที่ฐานของ postabdomen มีหนามเรียกว่า basal spine • 10. บริเวณส่วนหลังหรือเหนืออกมีช่องกว้างๆ เรียก brood chamber ใช้เป็นช่องเก็บไข่

  9. antenna nauplius eye Compound eye enzyme gland esophagus heart antennula phyllopods ovar furca claws postabdomen brood carapace shell Rudder bristle spina

  10. การสืบพันธุ์ (Reproduction) การสืบพันธุ์ของไรน้ำมีลักษณะพิเศษคือ เวลาส่วนใหญ่ในรอบปีไรน้ำเพศเมียจะผลิตไข่ที่สามารถเจริญเป็นตัวอ่อนได้เลยโดยที่ไม่ต้องผสมกับ สเปิร์ม ตัวอ่อนจะเจริญเป็นเพศเมียชนิดที่เรียกว่า parthenogenetic female ไข่มีจำนวนแตกต่างกันไป ไข่ของไรน้ำถูกเก็บไว้ใน brood chamber ที่ด้านหลังของลำตัว ไข่เจริญเป็นตัวอ่อนที่คล้ายตัวเต็มวัยแต่มีขนาดเล็กกว่า ดังนั้นใน Suborder Cladocera จึงไม่มีระยะตัวอ่อน ไข่ของไรน้ำส่วนใหญ่มี yolk ปกคลุม การสืบพันธุ์ลักษณะนี้เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ที่เรียกว่า parthenogenesis

  11. เมื่อสภาวะแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น อาหารขาดแคลน อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลง ฯลฯ การสืบพันธุ์แบบ parthenogenesis จะหยุดลง ไข่บางฟองจะเจริญเป็นตัวผู้ แทนที่จะเป็นตัวเมียที่เรียกว่า parthenogenetic female ซึ่งเกิดในเวลาปกติ ในเวลาเดียวกันเพศเมียจะผลิตไข่อีกประเภทหนึ่งขึ้นมา ไข่มีลักษณะต่างไปจากเดิม คือ มีสีเข้มและมีนิวเคลียส แบบ haploid (n) ไข่ประเภทนี้ต้องผสมพันธุ์กับสเปิร์มจึงจะเจริญเป็นตัวอ่อน เพศเมียที่ผลิตไข่ประเภทหลังนี้เรียกว่า sexual female ไข่พัก (resting egg) เมื่อได้รับการผสมแล้วจะถูกส่งเข้าไปใน brood chamber เปลือกหุ้มรอบไข่จะเปลี่ยนรูปไปคล้ายฝา ไข่ที่อยู่ในฝาแบ่งตัวไปจนถึงระยะแกสตรูลาแล้วจะหยุดการแบ่งตัว ต่อมาไข่พักจะหลุดออกจากตัวแม่ เรียกว่า เอฟิบเพียม (ephippium) ช่วงนี้ไข่จะพักตัวคือหยุดการเจริญชั่วระยะหนึ่ง ในระยะ ephippium สามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี เมื่อสภาวะแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพปกติ ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน และเจริญเติบโตต่อไป

  12. Subclass Copepoda (Copepods) ลำตัว (Body) ลำตัวประกอบด้วยปล้องจำนวน 16-17 ปล้อง ส่วนใหญ่มีปล้องจำนวน 11 ปล้อง เนื่องจากบางปล้องเชื่อมกัน ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า prosome และ urosome

  13. Prosome (cephalothorax) ประกอบด้วยหัว (cephalosome หรือ head) และอก (metasome หรือ thorax) หัวประกอบด้วยปล้อง 5 ปล้อง ซึ่งมักเชื่อมติดกัน อกประกอบด้วย ปล้องจำนวน 1-5 ปล้อง ปล้องอก ทุกปล้องมีระยางค์ 1 คู่ เรียกว่า pereiopods ส่วนบนสุดของ prosome เรียกว่า frontal plate ซึ่งเป็นจะงอยปาก และมักมีตา 1 ข้างอยู่ตรงกลาง หรือมีเลนซ์ 1 คู่ อยู่บนด้านหลัง

  14. Urosome (abdomen) ส่วนท้อง เป็นส่วนท้ายของลำตัว ประกอบด้วยปล้อง 1-2 ปล้องของ metasome (thorax) ซึ่งเชื่อมกับปล้องท้อง ส่วนท้องมักแคบ มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกและไม่มีระยางค์ ส่วนนี้มักงอพับ ตำแหน่งที่งอแตกต่างกัน ปรกติส่วนท้องประกอบด้วยปล้อง 5 ปล้อง แต่ปล้องท้อง 2 ปล้องแรกของโคพีพอดเพศเมียมักเชื่อมรวมกับปล้องที่เรียกว่า genital segment ปล้องสุดท้ายของส่วนท้องเรียกว่า anal segment หรือ caudal segment ตรงปลายแยกออกเป็น 2 แฉก เรียกว่า caudal rami หรือ caudal furca ปลายของ caudal ramus มีซีตี 5 เส้น

  15. รยางค์ (Appendages) โคพีพอดมีระยางค์ทั้งหมด 11 คู่ ซึ่งมีทั้งแบบ biramous และ uniramous หัว (cephalosome) มีระยางค์ 5 คู่ ได้แก่ antennule, antennae, mandible, maxillules และ maxillae อก (metasome) มีระยางค์ 6 คู่ ได้แก่ maxilliped (อยู่บนปล้องอกปล้องแรกซึ่งเชื่อมติดกับส่วนหัว) 1 คู่ และ pereiopods (swimming legs) จำนวน 5 คู่

  16. ระยะการเจริญเติบโต (Developmental stage) โคพีพอดเจริญเติบโตด้วยวิธีการลอกคราบ (metamorphosis) หลังการฟักตัวออกจากไข่ โดยทำการลอกคราบทั้งหมด 10 ครั้งก่อนเป็นตัวเต็มวัย ตัวอ่อนของโคพีพอด มี 2 ระยะ ระยะแรกเรียกว่า นอเพลียส (nauplius larva) ตัวอ่อนระยะต่อมาเรียกว่า โคพีโพดิด (copepodid larva) ระยะนอเพลียสมีอีก 5 ระยะ โคพีโพดิด มีอีก 5 ระยะ หลังระยะโคพีโพดิดที่ 5 จะเป็นระยะเต็มวัย (adult)

  17. การสืบพันธุ์ (Reproduction) โคพีพอดมีเพศผู้และเพศเมียแยกกันคนละตัว (dioecious) ระบบสืบพันธุ์ของตัวเมียประกอบด้วยถุงไข่ 1-2 ถุง ท่อนำไข่ (oviducts) 2 ท่อ แต่ละท่อมี diverticula ซึ่งจะเปิดออกนอกตัวที่ genital opening ที่ด้านท้องของปล้องท้องปล้องแรก genital opening ทั้ง 2 ช่อง มีถุงเก็บสเปิร์ม (seminal receptacle หรือ spermathecae) 1 คู่ พวก cyclopoid ส่วนใหญ่มี genital opening 1 คู่ แต่พวก harpacticoid และ calanoid ส่วนใหญ่มี genital opening เพียง 1 ช่อง ระบบสืบพันธุ์เพศผู้ประกอบด้วย testis 1 ข้าง และท่อน้ำเชื้อ 1 ท่อ ซึ่งเปิดออกนอกตัวที่ปล้องอกปล้องที่ 1 โดยช่องเปิดอยู่ที่ด้านข้างของด้านท้อง พวก calanoid และ harpacticoid มีท่อน้ำเชื้อ 1 ท่อ ส่วนพวก cyclopoid มีท่อน้ำเชื้อ 1 คู่

  18. Subclass Ostracoda (Ostracods, mussel or seed shrimps)

  19. ลักษณะทั่วไป • 1. ลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หัว (head) และลำตัว (trunk) หัวใหญ่มีขนาดครึ่งหนึ่งของความยาวทั้งหมด • 2. บนหัวมีหนวด 2 คู่ (antennule และ antennae) นอกจากหนวดแล้วมี mandible 1 คู่ ขอบของ mandible คมสามารถใช้ตัดอาหารได้ดี • 3. ตามีขนาดต่างๆ กัน บางชนิดอาจไม่มีตา บางชนิดมีตาเดี่ยว (ocellus) 1 ข้าง บางชนิดมี 1 คู่ ซึ่งเจริญมาจากตานอเพลียส บางชนิดมีตาประกอบซึ่งมีลักษณะเหมือนตาของไรน้ำใน Suborder Cladocera

  20. ชีววิทยาของออสตราคอด ส่วนใหญ่กินอาหารแบบกรอง แต่บางชนิดกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร บางชนิดกินของเน่าเปื่อย บางชนิดอาศัยร่วมกับสัตว์อื่น และบางชนิดเป็น parasite ไม่มีเหงือก การแลกเปลี่ยนออกซิเจนอาศัยการหมุนเวียนของน้ำ แต่ในบางชนิดมีแผ่นซึ่งอยู่ส่วนท้ายของด้านหลังที่ทำหน้าที่คล้ายเหงือก มีรายงานว่าพบเฮโมโกลบินในออสตราคอดบางชนิด หัวใจและเส้นเลือดพบเฉพาะพวกที่อยู่ในทะเล ระบบประสาทส่วนใหญ่ประกอบด้วยปมประสาท 2-3 ปม แต่ใน Family Cypridae มีเพียง 1 ปม ทุกชนิดมีตานอเพลียส (nauplius eye) แต่ตาประกอบ (compound eye) จะพบเฉพาะใน Order Myodocopa และออสตราคอดที่เกาะอยู่กับที่

  21. การสืบพันธุ์ ออสตราคอดมีอวัยวะเพศผู้และเพศเมียแยกคนละตัว (dioecious) ตัวเมียมีรังไข่ 1 คู่ ซึ่งพองออกเป็นกระเปาะเพื่อเก็บน้ำเชื้อ (seminal receptacle) ช่องรับน้ำเชื้อ (gonopore) อยู่ที่หลังระยางค์คู่สุดท้ายของลำตัว (trunk) ตัวผู้มี testis 1 คู่ แต่ละข้างประกอบด้วยท่อยาว 4 ท่อ ซึ่งยาวจรดฝาหุ้มตัว ท่อนี้เชื่อมติดกับลำตัวเป็นท่อนำน้ำเชื้อ ปลายท่อน้ำเชื้อสิ้นสุดลงที่ penis ซึ่งอยู่ด้านข้างของลำตัว ลักษณะของอวัยวะเพศผู้ใช้เป็นลักษณะแยกชนิด ออสตราคอดบางชนิดมีเฉพาะเพศเมียเท่านั้น ดังนั้นการสืบพันธุ์จึงเป็นแบบ parthenogenesis ซึ่งไข่เจริญเป็นตัวอ่อนได้โดยไม่ต้องผสมกับสเปิร์ม

  22. Subclass Malacostraca (Shrimplike forms, lobsters, crabs) Superorder 1 Peracarida (Small malacostracans) Order 1 Amphipoda (Beach hoppers, sand fleas, scuds, amphipods) แอมฟิพอดเป็นครัสตาเซียนขนาดเล็ก อาศัยในทะเลและน้ำจืด ส่วนใหญ่พบในทะเล ความยาวลำตัวตั้งแต่ 2 มม. จนถึงมากกว่า 5 ซม. ส่วนใหญ่ยาว 2-10 มม.

  23. Order Amphipoda มี 2 suborder สำคัญ ดังนี้ Suborder 1 Gammariidea เป็นแอมฟิพอดที่อาศัยอยู่ตามพื้น หรือเกาะอยู่บนพันธุ์ไม้น้ำและสาหร่ายทะเล ลักษณะสำคัญคือ หัวไม่เชื่อมติดกับปล้องอกปล้องที่ 2 maxilliped มี palp ขาอกเจริญดี coxa plate ขนาดใหญ่ พบทั้งทะเลและน้ำจืด Suborder 2 Hyperiidea ดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน มีลักษณะสำคัญ คือ หัวไม่เชื่อมติดกับปล้องอกปล้องที่ 2 maxilliped ไม่มี palp coxae ถ้ามีจะมีขนาดเล็กและเชื่อมติดกับลำตัว ตาใหญ่และอาจกินเนื้อที่บนส่วนหัวเกือบหมด พบเฉพาะทะเล บริเวณห่างจากฝั่ง

  24. ลักษณะทั่วไป ลำตัว (Body) ลำตัวของแอมฟิพอด Suborder Hyperiidea แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หัว (head) อก (pereon or thorax) และท้อง (abdomen) หัว (Head) ส่วนใหญ่กลม รูปร่างของหัวแตกต่างกันไปตามกลุ่ม มีตาขนาดใหญ่ ซึ่งจะคลุมพื้นที่ด้านข้างของลำตัว ระยางค์ที่ส่วนหัวมี 6 คู่ ประกอบด้วยหนวดคู่ที่ 1 (antennule) หนวดคู่ที่ 2 (antennae) mandibles 1 คู่ maxillule 1 คู่ maxillae 1 คู่ และ maxillipeds 1 คู่

  25. อก (Pereon or thorax) ประกอบด้วยปล้อง 7 ปล้อง แต่ละปล้องเรียก pereonites ปล้องอกทุกปล้องมีระยางค์ 1 คู่ ระยางค์ที่ปล้องอกเรียกว่า pereopod เป็นแบบ uniramous ขาอกแบ่งออกเป็นข้อ 7 ข้อ (นับจากโคนขาไปหาปลาย) ดังนี้ coxa (เห็นไม่ชัด) basis, ischium, merus, carpus, propus และ dactyl ขาอกมีลักษณะเป็นก้าม (chelae) หรือคล้ายก้าม (subchelae) coxa ของ pereopod อาจเชื่อมติดกับปล้องอก หรือแยกจากกันโดยมีร่องแบ่ง ส่วนใหญ่ขาอกคู่ที่ 3-4 มักเรียวและเป็นแบบง่าย ขาอกคู่ที่ 5 โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายก้าม (subchelae) basis ของแอมฟิพอดมักกว้าง ขาอกคู่ที่ 6 บางกลุ่มมีส่สนหลังของขาขยายใหญ่ ขาอกคู่ที่ 7 มักเล็กกว่าขาคู่อื่นอีก 6 คู่ บางชนิดอาจมีเพียง basis เพียงข้อเดียว

  26. ท้อง (Abdomen) ประกอบด้วย 6 ปล้อง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน แยกจากกันชัดเจน ส่วนแรกเรียกว่า pleon มี 3 ปล้อง (pleon 1-3) แต่ละปล้องมีระยางค์ 1 คู่ มีชื่อเรียกว่า pleopod ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยปล้อง 3 ปล้อง ส่วนนี้เรียกว่า urosome ทุกปล้องมีระยางค์ 1 คู่ มีชื่อเรียกว่า uropod ปล้องท้าย 2 ปล้องของ urosome เชื่อมติดกัน ปลายสุดของลำตัวมีลักษณะเป็นแผ่นรูปสามเหลี่ยม หรือเป็นแผ่นกลม เรียกว่า telson ระยางค์ที่ส่วนท้องเป็นแบบ biramous ซึ่งประกอบด้วย protopods, endopods และ exopods ระยางค์มีขนาดใหญ่ แอมฟิพอดเพศเมียใน suborder Hyperiidea ส่วนใหญ่มีแผ่นที่ยื่นออกจาก coxa เรียกว่า costegites แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายถุง ทำหน้าที่เก็บไข่คล้าย brood pouch หรือ marsupium ซึ่งเป็นที่สำหรับให้ตัวอ่อนเจริญเติบโต

  27. Order 2 Isopoda (Isopods, sea slaters, rock lice, pill bugs)

  28. ลักษณะทั่วไป • 1. ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (depressed) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หัว (head) อก (thorax) และท้อง (abdomen) • 2. หัวมีลักษณะคล้ายโล่ ขอบปล้องอกและปล้องท้องยาวออกไปที่ข้างตัว • 3. ตัวไม่มีเปลือก (carapace) คลุม ปล้องอกปล้องที่ 1-2 อาจเชื่อมกับหัว ปล้องท้องอาจแยกกันหรืออาจเชื่อมกัน ปล้องท้องปล้องสุดท้ายมักเชื่อมกับ telson ทำให้เกิดเป็นแผ่นขนาดใหญ่ 1 แผ่นที่ท้อง • 4. ความกว้างของส่วนอกและส่วนท้องเท่ากัน จึงแยก 2 ส่วนนี้ออกจากกันได้ยาก หนวดคู่ที่ 1 (antennule) สั้นเป็นแบบ uniramous ถ้าเป็นหนวดของไอโซฟอดบก หนวดคู่นี้จะเล็ก หนวดคู่ที่ 2 (antennae) ยาวไม่มี exopod ตามี 1 คู่แบบตาประกอบ (compound eye)

  29. Order 3 Mysidacea (Mysids or opossum shrimps)

  30. ลักษณะทั่วไป • 1. ลำตัวเป็นปล้อง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หัว (head) อก (thorax) และท้อง (abdomen) ปล้องอกส่วนใหญ่คลุมด้วยฝา (carapace) แต่ carapace ไม่ติดกับปล้องอก 4 ปล้องสุดท้าย • 2. ด้านหน้าหัวมักยื่นยาวออกเป็นก้านเรียกว่า rostrum ใต้ rostrum เป็นตาประกอบซึ่งมีก้าน • 3. ขาอกคู่ที่ 1 (หรือขาคู่ที่ 2) เปลี่ยนรูปเป็น maxillipeds ขาอกอีก 7 คู่ (หรือ 6 คู่) ลักษณะคล้ายกัน exopod ของขาอกเป็นเส้น (filamentous) และบางครั้งอาจมีซีตีใช้ว่ายน้ำ ขาที่ท้องซึ่งใช้ว่ายน้ำอาจมีขนาดเล็ก ปรกติขาว่ายน้ำของตัวเมียมีขนาดเล็ก ในตัวผู้มีขาว่ายน้ำคู่ที่ 4 ยาวมากและเปลี่ยนรูปไป เพื่อช่วยในการผสมพันธุ์

  31. (ต่อ) • 4. ที่ฐานของ uropod จะมีอวัยวะที่เรียกว่า statocyst มีลักษณะเป็นวงกลมขนาดเล็ก และทึบคล้ายเม็ดลูกปัดอยู่ที่โคนของ uropod ทั้ง 2 ข้าง ภายใน statocyst มี statolith ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการทรงตัว • 5. ส่วนใหญ่กินอาหารโดยการกรองอาหารจากน้ำ พวกที่อาศัยในทะเลลึกจะเป็นพวกกินอาหารเน่าเปื่อยที่อยู่ตามพื้นท้องน้ำ • 6. ไข่ของไมสิดเจริญเป็นตัวอ่อนในถุงไข่ เรียกว่า marsupium หรือ oostegite ซึ่งเป็นกระเปาะอยู่บริเวณใต้อก ตัวอ่อนของไมสิดเติบโตเป็นตัวเต็มวัยโดยไม่มีระยะตัวอ่อน

  32. Order 4 Cumacea (Cumaceans)

  33. ลักษณะทั่วไป • 1. ส่วนหัวและส่วนอกขยายใหญ่ แต่ส่วนท้อง (abdomen) แคบมาก และปลายสุดของท้องเรียวยาวเป็น uropod มี carapace คลุมตัว และเชื่อมติดกับปล้องอก 3 ปล้องแรก (หรือ 4 ปล้องแรก) carapace ที่คลุมตัวมีลักษณะแปลกคือ ริมสองข้างของด้านหน้ายื่นยาวออกไป ทำให้มีลักษณะคล้ายกับจะงอยปาก มีชื่อเรียกว่า false rostrum ตั้งอยู่ที่ด้านท้อง • 2. ส่วนใหญ่ไม่มีตา แต่ถ้ามี ตาจะอยู่ที่ด้านบนฐานของ false rostrum

  34. Superorder 2 Hoplocarida (Mantis shrimps)

  35. Order Stomatopoda (Mantis shrimps) • กั้งเป็นครัสตาเซียนในอันดับนี้ จัดเป็นแพลงก็ตอนชั่วคราว (meroplankton) คือมีตัวอ่อนเท่านั้นที่ดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน ส่วนตัวเต็มวัยอยู่บนพื้น • ลักษณะเด่นคือ มี carapace ที่คลุมตัวสั้น และ carapace เชื่อมติดกับปล้องแรกๆ ของส่วนอก ด้านหน้าของส่วนหัวเคลื่อนไหวได้ดี มีเหงือกที่ส่วนท้อง

  36. ด้านหน้าของหัวประกอบด้วยตา (eye) ซึ่งมีก้าน และหนวดคู่ที่ 1 (antennules) carapace จะคลุมส่วนท้ายของหัวรวมทั้งปล้องอก 3 ปล้องแรก ปล้องอกรวมกับส่วนหัวโดยมี carapace คลุม ขาอกคู่แรกๆ เปลี่ยนรูปเป็นส่วนประกอบของปากหรือระยางค์ที่ช่วยจับอาหาร ปล้องอก 3 ปล้องสุดท้ายและปล้องท้อง 6 ปล้องไม่มี carapace คลุม ระยางค์มีลักษณะเด่นคือ antennules มี scale ขนาดใหญ่ แบ่งเป็นข้อ 2 ข้อ จะอยู่บน exopod maxillules มี palp ขนาดเล็ก 1 แผ่น maxillae ประกอบด้วย 4 ข้อ ช่องเปิดของ maxillary gland อยู่ใกล้โคน maxillalae ขาอก 6 คู่แรกมีลักษณะคล้ายก้าม (subchelae) ขาอกคู่ที่ 2 ใหญ่มาก มีลักษณะคล้ายขาของตั้กแตนซึ่งเป็นลักษณะประจำของกั้ง ขาอก 3 คู่สุดท้ายแบบ biramous โดยมี protopod 3 ข้อ ขาที่ท้อง (pleopods) แบน มีเหงือกซึ่งเป็นขนยาวอยู่ที่ exopod ท้ายสุดของลำตัวเป็น telson (แพนหาง) ซึ่งใหญ่และแบน uropod ใหญ่ และที่ขอบมีหนาม แผ่นที่อยู่กลางอยู่บน protopod กั้งมักใช้แผ่นแพนหางปักลงบนพื้นเพื่อยึดลำตัวให้อยู่กับที่

  37. ตัวอ่อนกั้งที่ดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน คล้ายตัวเต็มวัย ตัวอ่อนมี 2 ระยะ คือ ระยะแรก erichthus มี carapace ยาวมากเมื่อเทียบกับลำตัว ส่วนท้องสั้นและมีปล้องน้อย ระยะหลัง alima มี carapace ค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับตัว และส่วนท้องมีปล้องเพิ่มขึ้น ระยางค์ที่อกโดยเฉพาะขาอก คู่ที่ 2 ใหญ่มาก

  38. Suborder 3 Eucarida Order 1 Euphausiacea (Hrills, euphausids) ลักษณะสำคัญ carapace คลุมส่วน cephalothorax จนมิด มีเหงือก (branchial epipod หรือ podobranchia) ที่โคนของขาอก และมีออร์แกเนลล์สร้างแสงเรือง (photophores) ขาอกทุกคู่มี 2 แขนง (biramous)

  39. ลักษณะทั่วไป • 1. ลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ หัว (haad) อก (thorax) และท้อง (abdomen) • 2. หัวประกอบด้วยปล้อง 6 ปล้อง อกมี 8 ปล้อง ส่วนหัวและอกรวมกันเรียกว่า frontal plate ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม frantal plate ยาว และมีปลายแหลมคล้าย rostrum รูปร่างแตกต่างกันไป ขอบด้านล่างของ carapace เรียบ หรือมีหนามเล็กๆ 1-2 คู่ เรียกว่า lateral denticles บนหัวมีตาประกอบ (compound eye) มีก้านตาสั้น 1 คู่

  40. (ต่อ) • 3. ส่วนท้องแบ่งออกเป็นปล้อง 7 ปล้อง กลางหลังมีฟัน (tooth หรือ process) มักชี้ไปด้านท้ายของลำตัว ขอบของปล้องท้องมีแผ่นยื่นไปทางด้านข้างเรียกว่า pleura ปล้องท้องปล้องที่ 6 เป็นหนามงอคล้ายตะขอ เรียกว่า preanal spine รูปร่างแตกต่างกันตามเพศและอายุ ปล้องสุดท้ายของส่วนท้องเรียกว่า telson มีหนามที่บริเวณด้านบนของขอบทั้ง 2 ด้าน และมี uropod เป็นแขนง 1 คู่ ทั้ง telson และ uropod รวมเรียกว่า tail fan

  41. ยูฟอร์สิดมีเพศแยกกัน (dioecious) ไข่อาจถูกปล่อยลงในน้ำโดยตรงหรือถูกเก็บไว้ชั่วคราวในตะกร้า (filtering basket) ซึ่งเกิดจากการซ้อนกันของซีตีที่ขอบขาอกทุกคู่ หรือไข่ติดอยู่ด้านล่างของ sternum ของปล้องอกปล้องท้ายๆ ยูฟอร์สิดจัดเป็นแพลงก์ตอนถาวร (holoplankton) ไข่ของยูฟอร์สิดฟักเป็นตัวอ่อนนอเพลียส มีลักษณะคือ ลำตัวมักมีรูปไข่ มีระยางค์ 3 คู่ ลำตัวยังไม่แบ่งเป็นปล้อง นอเพลียสจะลอกคราบ 4 ครั้ง เจริญเป็นตัวอ่อนระยะ calyptopis (=protozoea) calyptopis ระยะที่ 1 มี mandible และส่วนอกแบ่งเป็นปล้อง ตาถูกคลุมด้วย carapace ระยะที่ 2 ส่วนท้องจะแบ่งเป็นปล้อง และเมื่อถุงระยะที่ 3 จะมีปล้องท้องทั้งหมด 6 ปล้อง ต่อจากระยะ calyptosis จะเป็นตัวอ่อนระยะ furcilia (=zoea) ระยะนี้ตาจะมีก้านตาโผล่พ้นขอบ carapace อกมีระยางค์เพิ่มขึ้น และเริ่มมีระยางค์ที่ปล้องท้องเกิดขึ้นเรื่อยตามอายุที่เพิ่ม ต่อจากตัวอ่อนระยะ furcilia จะเป็นระยะเต็มวัย (adult)

  42. Order Decapoda (Shrimp, Lobsters and Crabs) ระยางค์อก 3 คู่แรกเปลี่ยนรูปเป็น maxilliped ส่วนระยางค์อกอีก 5 คู่ เป็นขาเดิน ขาเดินอาจเป็นก้าม (chelate) ขาคู่นี้ใหญ่กว่าคู่อื่น มักมีชื่อว่า cheliped หัวและอกเชื่อมติดกัน เรียกว่า cephalothoraxที่ด้านหลังมี carapace คลุม ช่องว่างด้านหลังของ cephalothorax กับ carapace เป็นช่องเหงือก exopod ของ maxilla (scaphogathite) ขยายใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นแพลงก็ตอนชั่วคราว (meroplankton) และเป็นแพลงก์ตอนในระยะตัวอ่อนเท่านั้น มีชนิดที่เป็นแพลงก์ตอนถาวรไม่กี่ชนิด

  43. ลักษณะทั่วไป 1. ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ cephalothorax และ abdomen ซึ่งแบ่งเป็นปล้อง ด้านหลังของ cephalothorax มี carapace คลุม 2. ตามีก้าน (stalk) และ cornea บางครั้งตามี carapace คลุม 3. ด้านท้องหรือ epistom (อาณาเขตของหัวที่อยู่ด้านหน้าของปาก) และ sternum (อาณาเขตที่อยู่ระหว่างขาเดิน) เป็นลักษณะสำคัญในการแยกชนิด 4. เหงือกอยู่ใน branchial chamber ซึ่งเป็นช่องด้านข้างหัวระหว่าง carapace และ cephalothorax ในบางชนิดเหงือกอาจติดผนังลำตัว บางชนิดติดอยู่กับ coxae ของขา (เรียก podobranch) จำนวนเหงือกและโครงสร้างของเหงือกนำมาใช้แยกชนิดได้

  44. การเจริญเติบโต (development) ส่วนใหญ่เติบโตโดยการลอกคราบ ใน decapod บางกลุ่มจะมีตัวอ่อนระยะแรก เป็นระยะนอเพลียส (nauplius) เช่นพวก Penaeidea แต่ decapod ส่วนใหญ่จะไม่มีระยะนอเพลียส ดังนั้นหลังจากฟักตัวออกจากไข่ จะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะ โซเอีย (zoea) อาจจะแบ่งย่อยเป็นระยะโปรโซเอีย (prozoea) ซึ่งมีระยางค์ 6 คู่ และ abdomen แบ่งเป็นปล้อง โซเอียมักมีรูปร่างเฉพาะกลุ่มแตกต่างกันไป ในกุ้งพวก Penaeidea มีโซเอียที่มีลักษณะพิเศษ เรียก ไมสิส (mysis) ระยะตัวอ่อนต่อจากโซเอีย คือ โพส์ลาวา (postlarva) ระยะเวลาที่ตัวอ่อนเติบโต และดำรงชีวิตแบบแพลง์ตอน มักใช้เวลา 1-3 เดือน

More Related