1 / 19

Intelligent bus system with rfid

ระบบพัฒนาศักยภาพและขยายข้อมูลการบริการโดย รถโดยสารประจำทางด้วยเทคโนโลยี RFID (NRIC-000136). Intelligent bus system with rfid. หัวข้อการนำเสนอ. บทนำ ทฤษฎี และหลักการที่ใช้พัฒนาระบบ วิเคราะห์ระบบปัจจุบัน การออกแบบระบบใหม่ การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การวิเคราะห์ต้นทุน

rosa
Download Presentation

Intelligent bus system with rfid

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบพัฒนาศักยภาพและขยายข้อมูลการบริการโดยรถโดยสารประจำทางด้วยเทคโนโลยี RFID (NRIC-000136) Intelligent bus system with rfid

  2. หัวข้อการนำเสนอ • บทนำ • ทฤษฎี และหลักการที่ใช้พัฒนาระบบ • วิเคราะห์ระบบปัจจุบัน • การออกแบบระบบใหม่ • การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ • การวิเคราะห์ต้นทุน • บทสรุป และแนวทางการพัฒนาต่อในอนาคต

  3. บทนำ - วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อที่จะสามารถพยากรณ์เวลาล่วงหน้าในการเข้ามาถึงป้ายประจำทางของรถโดยสารประจำทาง เพื่อให้สามารถพยากรณ์เวลาที่ใช้ในการโดยสารรถโดยสารประจำทางที่ได้ล่วงหน้าจากป้ายต้นทางไปยังอีกป้ายหนึ่งซึ่งเป็นปลายทาง ณ ช่วงเวลาที่กำหนดได้ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากการให้บริการรถโดยสารประจำทางจริงไว้ใช้ในการปรับปรุงการให้บริการ เช่น การกำหนดตารางการเดินรถที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน

  4. บทนำ - วัตถุประสงค์ของโครงการ (ต่อ) เพื่อให้การบริการรถโดยสารประจำทางมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางทั้งต่อผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ

  5. เก็บข้อมูลจากการอ่านแท็กที่รถโดยสารประจำทางลงฐานข้อมูล แล้วนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาพยากรณ์การเข้ามาถึงป้าย นำข้อมูลเวลาที่ใช้ในการเดินทางของรถโดยสารประจำทางหมายเลขเดียวกันที่ออกจากป้ายก่อนหน้าป้ายที่ต้องการพยากรณ์จนถึงป้ายที่ต้องการพยากรณ์ล่าสุดจำนวน n ข้อมูล ด้วยวิธีพยากรณ์แบบ Weighted Average Moving Method ทฤษฎี และหลักการที่ใช้พัฒนาระบบ

  6. ทฤษฎี และหลักการที่ใช้พัฒนาระบบ(ต่อ) Ft = r1Yt-1 + r2Yt-2 + … + rnYt-nโดยมีข้อกำหนดในการคิดค่าเฉลี่ยไว้ดังนี้rtotal = r1 + r2 + … + rn = 1.0 กรณีที่เป็นรถโดยสารประจำคันแรกของหมายเลขรถโดยสารประจำทาง ระบบจำทำการใช้เวลาในการเดินทางเฉลี่ยของแต่ล่ะป้ายของรถโดยสารประจำทางหมายเลขนั้นมาใช้ในการพยากรณ์

  7. ทฤษฎี และหลักการที่ใช้พัฒนาระบบ(ต่อ) การเลือกข้อมูลเวลาการที่ใช้ในการเดินทางจริงระหว่างป้าย Ytจะทำการเลือกเฉพาะเวลาที่ใช้จริงในวันเดียวกันกับวันที่ต้องการพยากรณ์เท่านั้น ตัวอย่าง: ต้องการพยากรณ์เวลาการมารถโดยสารประจำทางหมายเลข 96 ณ ป้ายหน้าซอยเจริญกรุง 85 เวลา 6.30 เช้า โดยกำหนดให้ n = 3 แต่ก่อนหน้านี้มีรถโดยสารประจำทางหมายเลข 96 ผ่านมาแล้วแค่ 2 คัน (ภายในวันเดียวกัน) เราจะไม่นำวันเวลาที่ใช้ในการเดินทางของรถหมายเลข 96 ในวันก่อนหน้านี้มาใช้ในการทำนาย แต่จะลดค่า n และปรับเปลี่ยนสัดส่วนของค่าถ่วงน้ำหนักให้เหมาะสมแทน

  8. ไม่สามารถนำกฎระเบียบที่วางไว้ไปปฏิบัติได้ อันเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานละเลยหรือปัจจัยอื่นๆ เช่น มีมาตราว่าห้ามเข้าจอดนอกป้ายจอด แต่ก็จอดรับส่งผู้โดยสารกลางถนน หรือพนักงานขับรถขับรถเร็วเกินไป ทำให้ไม่ได้เข้ารับส่งผู้โดยสารที่ป้ายหรือทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ข้อมูลที่ได้จากเดินทางของรถโดยสารประจำทาง ซึ่งมีประโยชน์ต่อการดูรายละเอียดเส้นทางหรือความหนาแน่นการจราจรไม่สามารถดูได้ทันที วิเคราะห์ระบบปัจจุบัน - ปัญหาระบบงานเดิม

  9. วิเคราะห์ระบบปัจจุบัน - ปัญหาระบบงานเดิม (ต่อ) ผู้โดยสารไม่สามารถทราบการจราจรในเส้นทางที่กำลังนั่งรถโดยสารประจำทางผ่านได้ รวมทั้งไม่สามารถสอบถามข้อมูลได้อย่างเรียวไทม์ ผู้โดยสารไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่ารถโดยสารประจำทางที่ต้องการจะโดยสารนั้นจะมาถึงอีกเมื่อใด

  10. การออกแบบระบบใหม่ - Functional Spec. • กลุ่มข้อมูลเข้าสู่ระบบ • อุปกรณ์อ่านแท็กซึ่งติดตั้งอยู่ที่รถโดยสารประจำทางที่เดินรถภายในกรุงเทพมหานคร สามารถอ่านข้อมูลจากแท็กที่ติดตั้งที่ป้ายจอดรถโดยสารประจำทางในระยะที่เหมาะสมได้ • ในการที่ระบบจะประมวลผลข้อมูลว่ารถโดยสารประจำทางว่าเข้าป้ายจอดหรือไม่ อุปกรณ์อ่านแท็กจะอ่านแท็กที่ติดตั้งที่ป้ายจอด แล้วส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านระบบเครือข่ายโดยอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายได้ คือ โทรศัพท์มือถือ กลับไปยังศูนย์ประมวลผลข้อมูล • ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถส่งข้อมูลปัญหาการให้บริการของระบบรถโดยสารประจำทางให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถโดยสารประจำทางได้ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ • ผู้ใช้งานสามารถสอบถามเส้นทางเดินรถ การพยากรณ์การเข้าป้ายของรถโดยสารประจำทาง รวมถึงสภาพการจราจรในเส้นทางที่รถโดยสารสารประจำทางผ่านได้ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ

  11. การออกแบบระบบใหม่ - Functional Spec. (ต่อ) • กลุ่มการประมวลผลข้อมูลและการแสดงผลข้อมูล • ระบบจะต้องพยากรณ์ได้ว่ารถโดยสารประจำทางจะเข้าป้ายในช่วงเวลาใด โดยรับข้อมูลจากอุปกรณ์อ่านแท็กที่ • ระบบจะต้องตรวจสอบได้ว่ารถโดยสารประจำทางเข้าจอดตามป้ายจอดหรือไม่ โดยรับข้อมูลจากอุปกรณ์อ่านแท็กที่ • ระบบสามารถประมวลผลข้อมูลเพื่อสรุปเป็นสภาพการจราจร โดยประมวลผลข้อมูลทั้งข้อมูลในปัจจุบันและในอดีต โดยรับข้อมูลจากอุปกรณ์อ่านแท็กที่ • ระบบจะต้องรับข้อมูลปัญหาการให้บริการของระบบรถโดยสารประจำทางได้โดยข้อมูลได้จากอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ • ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดูข้อมูลสภาพการจราจร ข้อมูลการพยากรณ์การเข้ามาของรถโดยสารประจำทางได้ โดยการดูผ่านอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือที่ป้ายจอดรถโดยสารประจำทาง

  12. การออกแบบระบบใหม่ - Functional Spec. (ต่อ) • กลุ่มการประมวลผลข้อมูลและการแสดงผลข้อมูล (ต่อ) • เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเดินรถโดยสารประจำทาง สามารถดูข้อมูลสภาพการจราจร ข้อมูลการพยากรณ์การเข้าป้ายของรถโดยสารประจำทางได้แบบเรียลไทม์ โดยดูผ่านคอมพิวเตอร์ • เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเดินรถโดยสารประจำทาง สามารถดูและค้นหาข้อมูลปัญหาการบริการได้ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการให้บริการของระบบรถโดยสารประจำทาง โดยดูผ่านคอมพิวเตอร์ • ระบบและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเดินรถโดยสารประจำทาง สามารถนำสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลไปใช้ปรับปรุงตารางเดินและการเดินรถโดยสารประจำทาง โดยสารสนเทศนั้นอยู่ในรูปสื่อประสมหรือการจำลองเป็นโมเดล • ระบบและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเดินรถโดยสารประจำทาง สามารถนำสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลในเชิงสถิติไปใช้ในการปรับปรุงการให้บริการได้

  13. การออกแบบระบบใหม่ - Functional Spec. (ต่อ) • กลุ่มการเชื่อมต่อระหว่างส่วนประมวลผล • การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อ่านแท็กกับศูนย์ประมวลผลข้อมูล และระหว่างศูนย์ประมวลผลข้อมูลกับอุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลฝั่งผู้ใช้ (คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ) จะผ่านเว็บเซอร์วิสของศูนย์ประมวลผลข้อมูล

  14. ค่าใช้จ่ายรวมตั้งแต่การพัฒนาถึงระดับปฏิบัติการค่าใช้จ่ายรวมตั้งแต่การพัฒนาถึงระดับปฏิบัติการ คิดภายใต้สมมติฐานที่ว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการนำร่อง ใช้กับรถโดยสารประจำทางจำนวน 50 คัน ติดตั้งแท็กเข้ากับป้ายจำนวน 200 อัน อุปกรณ์อ่านแท็กที่ใช้ในการพัฒนา หากนำไปใช้จริงจะต้องติดตั้งเข้ากับตัวรถโดยสารประจำทาง ดังนั้นเครื่องแบบติดตั้งตามตัวรุ่น IF4 จะทำงานมีประสิทธิภาพกว่ารุ่น IP4 การวิเคราะห์ต้นทุน - หมายเหตุ

  15. การวิเคราะห์ต้นทุน - หมายเหตุ (ต่อ) แท็กที่ใช้ในการพัฒนาระบบ หากนำไปใช้จริงจะต้องติดตั้งเข้ากับป้ายจราจร ซึ่งจะต้องใช้ของที่คุณภาพสูงกว่า

  16. การวิเคราะห์ต้นทุน - วิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุน คิด 5 ปี เงินลงทุน =15,317,085.00 บาท ผลประโยชน์ =50,625,000.00 บาท NPV = 1,265,603.57 บาท IRR = 130% หมายเหตุ: ผลประโยชน์ หมายถึง ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการติดตั้งอุปกรณ์และระบบที่ได้พัฒนาขึ้น โดยมีองค์ประกอบ คือ รายได้จากการจัดเก็บโดยเฉลี่ยและ มูลค่าของการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในอุบัติเหตุ

  17. ปัญหาและอุปสรรค • อุปกรณ์ที่ได้รับมาไม่ตรงกับความต้องการใช้งานจริง โดยขาดในส่วนการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (WLAN) และบลูทูธ (Bluetooth) ทำให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาและนำเสนอการทำงานของระบบ • มีเนื้อหาใหม่ที่ต้องเรียนรู้หลายส่วน ทำให้ต้องใช้เวลาในการศึกษาค่อนข้างนาน

  18. อิมพลีเมนต์ระบบในแต่ละส่วนที่ได้ออกแบบไว้ (การนำข้อมูลที่อ่านได้จากจากเครื่องอ่านแท็กเข้าสู่ระบบ การประมวลผลข้อมูล) อิมพลีเมนต์ระบบฐานข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ ทดสอบการทำงานของระบบในแต่ละส่วนและทั้งระบบ แนวทางการพัฒนาต่อในอนาคต

  19. ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าฟังการนำเสนอครับขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าฟังการนำเสนอครับ

More Related