1 / 49

Basic Computer

Basic Computer. รายวิชา 080154 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Basic Computer). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. คอมพิวเตอร์คืออะไร ประวัติคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ ข้อมูล สารสนเทศ บุคคลากร คอมพิวเตอร์

Download Presentation

Basic Computer

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Basic Computer รายวิชา 080154 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Basic Computer)

  2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์คืออะไร ประวัติคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ ข้อมูล สารสนเทศ บุคคลากรคอมพิวเตอร์ ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศต่อชีวิตประจำวัน

  3. คอมพิวเตอร์คืออะไร • คอมพิวเตอร์(Computer) คือ อุปกรณ์หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติด้วยชุดของคำสั่ง หรือโปรแกรม ที่มนุษย์สร้างขึ้น มีความสามารถใน การรับข้อมูล(input)ประมวลผล(processing)แสดงผล (output)และจัดเก็บข้อมูล(storage)ได้ทั้งภายในและภายนอกคอมพิวเตอร์ และทำงานด้วยความเร็วสูง ถูกต้อง แม่นยำ

  4. คอมพิวเตอร์คืออะไร (ต่อ) • เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic device) • ทำงานอย่างอัตโนมัติ (automatically) • มีหน่วยความจำภายใน (internal memory) • มีความเร็วในการประมวลผลสูง (high speed processing) • มีความถูกต้องแม่นยำในการประมวลผล (accuracy processing) • จัดเก็บข้อมูลไว้ภายนอกได้ (external storage) • ประยุกต์ใช้งานได้กว้าง (wide application) ลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์

  5. ประวัติคอมพิวเตอร์ • ยุคที่ 1: หลอดสุญญากาศ • ยุคที่ 2: ทรานซิสเตอร์ • ยุคที่ 3: วงจรรวม • ยุคที่ 4: วงจรรวมขนาดใหญ่ • ยุคที่ 5: ยุคประมวลผลคู่ขนานขนาดใหญ่

  6. ประวัติคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • ยุคที่ 1 ค.ศ.1951- ค.ศ. 1958 • หลอดสูญญากาศ • ใช้งานเฉพาะทางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ทหาร รัฐบาล • ใช้บัตรเจาะรู (punch card) ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรม • คอมพิวเตอร์ยังทำงานช้า เกิดข้อผิดพลาดได้สูง • ราคาแพงมาก • ยากต่อการสร้างโปรแกรมควบคุม

  7. ประวัติคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ยุคที่ 1 ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ในช่วงแรก เช่น UNIVAC

  8. ประวัติคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • ยุคที่ 2 ค.ศ.1959-ค.ศ.1964 • ทรานซิสเตอร์ • หน่วยความจำภายในเป็น magnetic core • หน่วยความจำภายนอกใช้ magnetic tape ที่มีความจุสูงกว่าบัตรเจาะรู(punch card) • โปรแกรมเป็นภาษาระดับต่ำ ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) • มีความเร็วและความถูกต้องแม่นยำสูงขึ้น • เริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานธุรกิจอย่างแพร่หลาย

  9. Diode Tube Transistor ประวัติคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ยุคที่ 2 Punch card Magnetic tape

  10. ประวัติคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • ยุคที่ 3 ค.ศ.1965-ค.ศ.1970 • ใช้วงจรรวมที่เรียกว่า ไอซี (Integrated Circuit : IC) แทน ทรานซิสเตอร์ • ไอซีมีคุณสมบัติทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีความเชื่อถือได้สูงมากกว่าการใช้ ทรานซิสเตอร์ • ใช้จานแม่เหล็ก Magnetic disk เก็บข้อมูลที่มีจำนวนมาก • ภาษาที่ใช้สร้างโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ยังคงใช้ภาษาระดับสูง เช่น ภาษาเบสิก

  11. ประวัติคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ยุคที่ 3 ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ System/630 ของบริษัท IBM เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก PDP-11 ของบริษัท DEC (Digital Equipment Corporation) DEC PDP-11 IBM System/630

  12. ประวัติคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • ยุคที่ 4 ค.ศ.1971-1990 • ใช้วงจรรวมขนาดใหญ่(Large Scale Integration circuit : LSI) • มีทรานซิสเตอร์ (transistor) จำนวนหลายพันตัวอยู่บน ชิป(chip) เรียกว่า Microprocessor • มีประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานสูงมาก • ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ยุคนี้ได้แก่ Microcomputer ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย

  13. ประวัติคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • ยุคที่ 5 ค.ศ.1990-ปัจจุบัน • คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงมากๆ ทำงานได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น • หน่วยประมวลผลเป็น Microprocessor Chip ที่มีความเร็วสูงมาก เช่น CPU Intel Pentium III ของบริษัท Intel • มีความฉลาดในการประมวลผล เรียกว่า Intelligent Computer ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) • เข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์(Natural Language) • ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นภาษาระดับสูง ภาษาแบบ Visual เช่น Visual BASIC • มีการประยุกต์ใช้งานทุกด้าน เช่น การประมวลผลด้าน Multimedia

  14. ระบบคอมพิวเตอร์ vsเครื่องคอมพิวเตอร์ คำว่า "ระบบคอมพิวเตอร์" มีความหมายกว้างกว่าคำว่า "เครื่องคอมพิวเตอร์" เพราะหมายถึงส่วนทุกส่วนที่รวมกันแล้วทำให้สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ได้ การพิจารณาระบบโดยรวมนั้นจะช่วยให้มีทัศนคติที่กว้างขึ้น และเข้าใจการประยุกต์คอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์

  15. ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ • ฮาร์ดแวร์ หรือที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ (Hardware) ส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์ที่สามารถสัมผัสได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมการทำงาน การรับ และการแสดงผล • ซอฟต์แวร์ (Software) กลุ่มของคำสั่งที่สั่งฮาร์ดแวร์ให้ทำงาน กลุ่มของคำสั่งนี้เรียกว่าโปรแกรม เช่น Microsoft Word • ข้อมูล (Data) รายละเอียดข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือ เหตุการณ์ใด ๆ ที่สนใจศึกษา และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ • บุคคลากร (People) บุคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับระบบงานคอมพิวเตอร์ใน ด้านต่าง ๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบงานมากที่สุด

  16. องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ (1) จอมอนิเตอร์ (2) เมนบอร์ด (3) หน่วยประมวลผลกลาง(CPU) (4) หน่วยความจำหลัก(RAM memory) (5) Expansion card (6) Power Supply (7) CD-ROM Drive (8) Hard disk (9) Keyboard (10) Mouse

  17. องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์(คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์) มีส่วนประกอบด้วยกันหลายส่วน แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ • หน่วยประมวลผล • หน่วยความจำหลัก • หน่วยรับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล • หน่วยความจำสำรอง

  18. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ • อุปกรณ์นำเข้า (Input) อุปกรณ์ในการรับข้อมูล และคำสั่งจากผู้ใช้ เพื่อส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผล ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น คีย์บอร์ด เม้าส์ กล้องเว็บแคม เครื่องสแกนลายนิ้วมือ สแกนเนอร์ เครื่องอ่านบาร์โค้ด

  19. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (ต่อ) • หน่วยประมวลผลกลาง (CPU – Central Processing Unit) เปรียบเหมือนกับสมองของคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ในการประมลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล

  20. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (ต่อ) • อุปกรณ์ส่งออก (Output) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลหรือผลที่ได้จากการระมวลผล กลับมาให้ผู้ใช้ ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ลำโพง

  21. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (ต่อ) • หน่วยความจำ หรือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้ โดยตรงหน่วยความจำ ชนิดนีจ้ ะเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งในระหว่างประมวลผล และมีกระแสไฟฟ้ า เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วย ความจำนี้จะหายไปด้วย

  22. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (ต่อ) • หน่วยความจำ หรือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หน่วยความจำสำรอง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกข้อมูล และโปรแกรมต่างๆ ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ แผ่นซีดีรอม ฯลฯ โดยบางประเภทสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ และบันทึกลงไปใหม่ได้ แต่บางประเภทไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

  23. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (ต่อ) Monitor (output) Speaker (output) System unit (processor, memory…) Printer (output) Keyboard (input) Mouse (input) Storage devices (CD-RW, Floppy, Hard disk, zip,…) Scanner (input)

  24. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งตามความสามารถในการใช้งาน • Micro Computer หรือ Personal Computer เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์มือถือ • Mini Computer คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงและมักใช้เป็น คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN : Local Area Network) มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก รัฐวิสาหกิจขนาดกลาง มหาวิทยาลัย เป็นต้น

  25. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • Mainframe Computer สมรรถนะในการทำงานสูง เมนเฟรมไม่นิยมนำมาใช้ในงานทั่วไป เพราะราคาแพงนิยมนำมาเป็น เครื่องบริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก เช่น งานธนาคาร ประกันภัย ธุรกิจการบินโดยสามารถรองรับการใช้งานจากผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกัน เช่น การจองที่นั่งของสายการบิน จะรับข้อมูลจากเทอร์มินอลลูกข่ายหลายๆ จุด ที่ต้องการใช้ข้อมูลเดียวกัน ซึ่งเมนเฟรมคอมพิวเตอร์จะเป็น คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ที่สามารถรองรับการทำงานได้เป็นอย่างดี

  26. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • Super Computer เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถมากที่สุด สำหรับงานประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ซับซ้อน และต้องการประสิทธิภาพสูง

  27. ประเภทของซอฟต์แวร์ • ซอฟต์แวร์ระบบ (ระบบปฏิบัติการ) • ซอฟต์แวร์ภาษา • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป • ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะด้าน

  28. ประเภทของซอฟต์แวร์ (ต่อ) • ซอฟต์แวร์ระบบ (Operating System) ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ตัวควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการจัดเตรียมคำสั่งที่ให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นโปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือในแผ่นจานแม่เหล็ก *** หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบ ได้แก่ Microsoft -- Windows XP, Window NT, Windows Vista, Windows 7 อื่นๆ -- DOS, UNIX , LINUX, MacOS, Symbian OS, Palm OS

  29. ประเภทของซอฟต์แวร์ (ต่อ) หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบ • จัดเตรียมส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน • ประสานงานระหว่าง CPU RAM keyboard mouse ฯลฯ • จัดการระบบการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลลงบนหน่วยความจำสำรอง • นำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทอื่นเข้ามาประมวลผลในคอมพิวเตอร์ • จัดตารางการใช้ทรัพยากรได้แก่การเข้าใช้หน่วยประมวลผลกลาง(CPU)

  30. ประเภทของซอฟต์แวร์ (ต่อ) • ซอฟต์แวร์ภาษา (Programming Software) ซอฟต์แวร์ภาษา คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการสร้างชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเพื่อนำไปสั่งงานคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างชุดคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างโรปแกรมภาษา เช่น C, C++, C#, Java, Visual Basic, Delphi, PHP, Python เป็นต้น

  31. ประเภทของซอฟต์แวร์ (ต่อ) • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะด้านซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป(Package Software) ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป(package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์เอง ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป

  32. ประเภทของซอฟต์แวร์ (ต่อ) ตัวอย่างซอฟต์แวร์สำเร็จรูป • Word processing เช่น Microsoft Word, WordPerfect • Spreadsheet เช่น Microsoft Excel • Presentation เช่น Microsoft Power Point • Database เช่น Microsoft Access, MySQL, MSSQL Server, Oracle • Utilitiesเช่น โปรแกรม Antivirus โปรแกรมเขียน CD • Graphic เช่น AutoCAD • Communication Software เช่น Internet Explorer • etc. (game, medical, decision making)

  33. Word processing (ซอฟต์แวร์ประมวลคำ)

  34. Spreadsheet (ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ)

  35. Presentation (ซอฟต์แวร์นำเสนองาน)

  36. Database (ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล) สำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ เช่นข้อมูลประวัตินักศึกษา ข้อมูลประวัติพนักงาน

  37. ประเภทของซอฟต์แวร์ (ต่อ) • ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะด้าน การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น ตัวอย่างซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ ธุรกิจการบิน ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นต้น

  38. ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย • เขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ • Software Park (www.swpark.or.th) แหล่งสนับสนุนการพัฒนาซอฟแวร์สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก • สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ (SIPA-Software Industry Promotion Agency) www.sipa.or.th • ส่งเสริมให้คนไทยพัฒนาซอฟแวร์ไว้ใช้เอง • พัฒนาเพื่อการส่งออก นำรายได้เข้าประเทศ

  39. ข้อมูลและสารสนเทศ • ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานได้ ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลข เสียง หรือ รูปภาพ • สารสนเทศ (Information) คือ ผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เป็น ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบ และผ่านการประมวลผลตามหลักวิชาการ เพื่อนำไปเผยแพร่และใช้งานต่าง ๆ ทุกสาขา

  40. บุคลากรคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จะต้องมีบุคลากรในตำแหน่งต่างๆเพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันบุคลากรที่สำคัญประกอบ 3 กลุ่มด้วยกัน • ผู้ใช้งานทั่วไป • ผู้เชี่ยวชาญหรือนักคอมพิวเตอร์ • ระดับบริหาร

  41. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • ผู้ใช้งานทั่วไป • เป็นผู้ใช้งานทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมาก • อาจเข้ารับการอบรมบ้างเล็กน้อยหรือศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติงานก็สามารถใช้งานได้ • เป็นกลุ่มบุคคลมีจำนวนมากที่สุดในหน่วยงาน • ลักษณะงานในการใช้คอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น งานธุรการสำนักงาน งานป้อนข้อมูล งานบริการลูกค้าสัมพันธ์ (call center) เป็นต้น

  42. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • ผู้เชี่ยวชาญหรือนักคอมพิวเตอร์ • ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์(Computer Operator/Computer Technician) • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) • นักเขียนโปรแกรม (Programmer) • วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Enginering) • ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)

  43. การทำงานของสถาปนิก การทำงานของนักวิเคราะห์ระบบ

  44. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • ผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (CIO – Chief Information Officer) • ตำแหน่งสูงสุดทางด้านการบริหารงานคอมพิวเตอร์ในองค์กร • ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง นโยบาย และแผนงานทางคอมพิวเตอร์ทั้งหมด • มักพบเห็นในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น • สำหรับในองค์กรขนาดเล็กอาจจะไม่มีตำแหน่งนี้

  45. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (ต่อ) • หัวหน้างานด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Center Manager/Information Technology Manager) • มีหน้าที่ดูแลและกำกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนงานและทิศทางที่ได้วางไว้โดย CIO • อาจต้องจัดเตรียมการบริการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา คำแนะนำกับผู้ใช้งาน รวมถึงสร้างกฎระเบียบ มาตรฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์ของบริษัทร่วมกันด้วย

  46. ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศต่อชีวิตประจำวัน • สถานศึกษา เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอ น การศึกษาทางไกล • วิศวกรรม เช่น ช่วยคำนวณโครงสร้าง ออกแบบ การวางแผน ควบคุมการสร้าง • วิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องมือการทดลองต่างๆ การเดินทางของยานอวกาศต่างๆ การถ่ายพื้นผิวโลก • ธุรกิจ เช่น จัดเก็บข้อมูล ความรวดเร็ว และถูกต้องในการคำนวณ ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการ ดำเนินธุรกิจ ได้ • ธนาคาร เช่น ATM ฝาก-ถอน คำนวณอัตราดอกเบี้ย ธุรกรรมต่างๆ

  47. ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศต่อชีวิตประจำวัน (ต่อ) • ร้านค้าปลีก เช่น ให้บริการชำระ ค่าน้ำ - ไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ นอกเหนือจากงานขายทั่วไป • ทางการแพทย์ เช่น ใช้ในการจัดเก็บประวัติ ผลการรักษา จ่ายยา ควบคุมเรื่องมือแพทย์ • โทรคมนาคม และการสื่อสาร เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต • อุตสาหกรรม เช่น วางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต ควบคุมการผลิต • ราชการ เช่นงานทะเบียนราษฏร์ ช่วยในการนับคะแนนการ เลือกตั้ง และการประกาศผลเลือกตั้ง การคิดภาษีอากร

  48. Assignment • แบ่งกลุ่ม 10 กลุ่ม 8-9คน/กลุ่ม • ส่งรายชื่อสมาชิกแต่ละกลุ่ม สัปดาห์หน้า

More Related