1 / 18

การให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อ (Treatment of Tuberculosis Infection)

การให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อ (Treatment of Tuberculosis Infection). ภญ . ภัศ รา อมรพิสิทธิ กูล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. การให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อ (Treatment of Tuberculosis Infection).

raleigh
Download Presentation

การให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อ (Treatment of Tuberculosis Infection)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อ(Treatment ofTuberculosisInfection) ภญ.ภัศรา อมรพิสิทธิกูลสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น

  2. การให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อ(Treatment ofTuberculosis Infection) • การให้ยาป้องกันวัณโรคในเด็กที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ และในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค • เป็นนโยบายอันดับที่ 2 และ 3 ของ TB Elimination รองจากการค้นหาผู้ป่วย และให้การรักษาโดย DOTS Strategy

  3. การให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อ ต่อ(Treatment ofTuberculosis Infection) • แต่นโยบายการควบคุมวัณโรคของประเทศไทย และประเทศกำลังพัฒนายังอยู่ที่ TB Control • ซึ่งมีการค้นหาผู้ป่วยและให้การรักษาโดย DOTS Strategy ร่วมกับการฉีดวัคซีน บี.ซี.จีในเด็กแรกเกิด • อย่างไรก็ดีการให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อนี้มีประโยชน์มากจะป้องกันมิให้ผู้รับยาเป็นวัณโรค และมิให้เป็น reservoir ของวัณโรคต่อไป

  4. การให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อ ต่อ(Treatment ofTuberculosis Infection) • การศึกษาจากต่างประเทศพบว่าเด็กป่วยเป็นวัณโรคร้อยละ 1 และติดเชื้อวัณโรคร้อยละ 20-30 • เด็กเหล่านี้หากได้รับประทานยาป้องกันวัณโรคตั้งแต่ติดเชื้อ (LTBI) และรับประทานยาจนครบ จะป้องกันการเกิดวัณโรคได้ถึงร้อยละ 90 และไม่เป็นวัณโรคชนิดแพร่กระจายต่อไปได้ถึง 19 ปี

  5. การให้ยาป้องกันวัณโรคระยะติดเชื้อ ต่อ(Treatment ofTuberculosis Infection) • การรับประทานยาป้องกันมีประโยชน์มากในเด็ก เพราะการติดเชื้อในเด็ก เป็นการติดเชื้อที่เพิ่งเกิดขึ้น (recent infection) เสมอ • และวัณโรคในเด็กมักรุนแรง เช่น เป็นวัณโรคที่เยื่อบุสมอง วัณโรคชนิดแพร่กระจาย

  6. แนวทางการปฏิบัติงาน • 1. เมื่อมีผู้ป่วยวัณโรคชนิดแพร่เชื้อในบ้าน ให้นำคนในบ้านทั้งผู้ใหญ่และเด็ก มาตรวจโดยตรวจร่างกายทั่วไป ถ่ายภาพรังสีปอด • ในเด็กจะทำ Tuberculin test ให้ด้วย

  7. แนวทางการปฏิบัติงาน ต่อ • 2. ถ้าพบว่า ผู้สัมผัสโรคเป็นวัณโรค จะต้องให้การรักษาจนหาย เพื่อมิให้แพร่เชื้อต่อไป • 3. ในระยะไม่เป็นวัณโรค ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่ว่าจะเคยฉีดวัคซีน บี.ซี.จี.มาหรือไม่ จะให้กินยาป้องกันทุกราย เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค ในเด็กโตจะให้ยาเฉพาะเด็กที่ Tuberculin เป็นบวก

  8. แนวทางการปฏิบัติงาน ต่อ • 4. จะต้องติดตามให้เด็กกินยาจนครบกำหนดอย่างน้อย 6 เดือน • 5. ในเด็กที่ติดเชื้อ HIV ถ้าใกล้ชิดกับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่กำลังเป็นวัณโรคระยะติดต่อ ให้กินยา 9 เดือน

  9. ประสิทธิภาพ • การกินยาป้องกันวัณโรคนั้น มีการศึกษาหลายแหล่งจาก Metaanalysis จาก 14 controlled studies • พบว่าป้องกันวัณโรคได้ 25-28% (ถ้า complete จะป้อนกันได้ถึง 90%ในเด็ก)

  10. ยาป้องกัน • ยาที่กินใช้ป้องกันคือIsoniazid 5-10 มก./กก./วัน เป็นเวลา 6 เดือน • ในรายที่สัมผัสกับกับผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อยา MDR-TB อาจต้องเฝ้าระวังอาการ ถ้ามีอาการผิดปกติให้ทำการตรวจ ถ้าเป็นวัณโรคจะต้องรักษาอย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับการรักษา MDR-TB

  11. เด็กแรกเกิด • ในเด็กแรกเกิดที่แม่เป็นวัณโรคปอดชนิดย้อมพบเชื้อ ถ้าแม่ได้รับการรักษาวัณโรคมากกว่า 2 อาทิตย์ก่อนคลอด เด็กจะไม่ติดเชื้อไม่ต้องให้ยาป้องกัน • แต่ถ้าแม่เพิ่งทราบว่าเป็นวัณโรคตอนใกล้คลอด ให้กินนมแม่ได้ แต่ต้องให้กินยา 6 เดือนแล้วจึงฉีดวัคซีน บี.ซี.จี. • หรือถ้าทำได้อาจให้ยาป้องกัน 3 เดือน แล้วทดสอบปฏิกิริยาทุเบอร์คุลิน ถ้าได้ผลลบให้หยุดยาแล้วฉีดวัคซีน บี.ซี.จี. ถ้าเป็นบวกให้ยาต่อไปอีก 6 เดือน แล้วจึงฉีดวัคซีน บี.ซี.จี.

  12. ข้อควรระวัง • ระหว่างกินยาควรระวังผลข้างเคียงของยาด้วย ควรให้ยาครั้งละไม่เกิน 1 เดือน • ในรายที่ติดเชื้อ HIV การให้ Rifampicin ร่วมกับ Pyrazinamide 2 เดือน ได้ผลดีพอสมควร มีผู้นิยมใช้เพราะใช้เวลาระยะสั้น • แต่ในเด็กปกติไม่ควรใช้ระบบการป้องกันด้วยยา 2 ชนิดนี้

  13. แผนภูมิการให้บริการเด็กสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค(Contact Investigation andManagement) ให้การรักษา พาเด็กในครอบครัวมาตรวจ H 6-9 เดือน -ถ้า TT >1.5 มม. ให้ H 6-9 เดือน H 9 เดือน - นอกนั้นให้พามาตรวจเมื่อเจ็บป่วย ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดชนิดย้อมพบเชื้อ ระบบยามาตรฐาน DOTS ตรวจร่างกาย,ถ่ายภาพรังสีทรวงอก ทดสอบปฏิกิริยาทุเบอร์คุลิน ระบบยามาตรฐาน DOTS เป็นวัณโรค ไม่เป็นวัณโรค ทุกอายุ HIV+ อายุ < 5 ปี อายุ ≥ 5 ปี

  14. หมายเหตุ • ในกรณีที่เด็กสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคปอดชนิดย้อมไม่พบเชื้อ หรือไม่ทราบ • หากมีอาการคล้ายวัณโรคให้พามาตรวจร่างกาย ถ่ายภาพรังสีทรวงอก และทดสอบปฏิกิริยาทุเบอร์คุลิน ถ้าเป็นวัณโรคให้ทำการรักษา

  15. กลุ่มเสี่ยงอื่นที่ไม่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคกลุ่มเสี่ยงอื่นที่ไม่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค • จะทำการให้ไอโซไนอาสิด 6-9 เดือน ใน • เด็ก < 5 ปี ที่ปฏิกิริยาทุเบอร์คุลิน ≥15 มม. (ในเด็กที่เคยฉีดวัคซีน บี.ซี.จี • เด็กที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เป็นภาวะทุโภชนาการ, เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วย Conticosteroid, เด็กติดเชื้อ HIV ที่มีปฏิกิริยาทุเบอร์คุลิน ≥5 มม.

  16. กลุ่มเสี่ยงอื่นที่ไม่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคกลุ่มเสี่ยงอื่นที่ไม่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค • จะทำการให้ไอโซไนอาสิด 6-9 เดือน ใน (ต่อ) • เด็กที่มี old fibrotic lesion ในปอดซึ่งไม่เคยรักษามาก่อน มีปฏิกิริยาทุเบอร์คุลิน ≥10 มม. • Recent convertue ปฏิกิริยาทุเบอร์คุลินเปลี่ยนจากลบเป็นบวกใน 2 ปี

  17. บรรณานุกรม • Guidelines for the investigation of Contacts of Persons with infectious Tuberculosis: Recommendation from the National Tuberculosis Controller Association and CDC.MHWR 2005 ; 54(RR15); 1-7 • Stark Jr. Tuberculosis in Children. Diagnosis and Treatment. Anmuls Nestle 1997; 55: 10-23. • สุภรณ์ สุขเพสน์,ศรีประพา เนตรนิยม. การบริบาลเด็กสัมผัสโรค.วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก 2542; 8-10 • ศรีประพา เนตรนิยม, ประมวญ สุนากร,นิรันดร วรศักดิ์,การค้นหาและการรักษาวัณโรคในเด็กที่สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคปอด. วารวัณโรคและโรคทรวจอก 2550; 3-4: 185-189 • Int Union Against Tuberculosis, Committee on Prophylaxis Efficacy of various duration of Isoniazid Prevention Therapy for Tuberculosis’five years of follow-up. Bill WHO 1982. Go: 555-564 • Guidance for National tuberculosis programme on the management of tuberculosis in children. WHO 2006.

  18. ขอบคุณค่ะ^^

More Related