1 / 6

เสียง ใน ภาษาไทย โดย นาง ชรินทร์ เนืองศรี โรงเรียนมหาชนะชัยวิทยาคม อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

เสียง ใน ภาษาไทย โดย นาง ชรินทร์ เนืองศรี โรงเรียนมหาชนะชัยวิทยาคม อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. อวัยวะ ในการเกิดเสียง. กำเนิดของเสียงในภาษาไทย.

Download Presentation

เสียง ใน ภาษาไทย โดย นาง ชรินทร์ เนืองศรี โรงเรียนมหาชนะชัยวิทยาคม อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เสียงในภาษาไทย • โดย • นางชรินทร์ เนืองศรี • โรงเรียนมหาชนะชัยวิทยาคม • อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

  2. อวัยวะ ในการเกิดเสียง

  3. กำเนิดของเสียงในภาษาไทยกำเนิดของเสียงในภาษาไทย เสียงในภาษาไทยหรือคำพูดเกิดจากกระแสลมหรืออากาศที่ถูกดันจากช่องท้อง ปอด ผ่านหลอดลมและกล่องเสียง ซึ่งมีเส้นเสียงอยู่ภายในแล้วออกไปทางช่องปากหรือจมูก ระหว่างที่ลมผ่านเส้นเสียง อวัยวะต่างๆ ในช่องปาก เช่น ลิ้น เพดานปาก ปุ่มเหงือกและฟัน จะดัดแปลงลมให้พ้นเส้นเสียงต่างๆ ตามที่ผู้พูดต้องการจะสังเกตได้ว่าอวัยวะในการทำเสียงพูดส่วนมากยังทำหน้าที่อื่นๆ ในการดำรงชีวิตอีกด้วยเช่น การหายใจและการรับประทานอาหาร อวัยวะที่ทำให้เกิดเสียงโดยเฉพาะก็มีแต่กล่องเสียงและเส้นเสียงเท่านั้น เราเรียกอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงว่า อวัยวะในการเกิดเสียง

  4. ชนิดและลักษณะของเสียงในภาษาไทย เสียงในภาษาไทยโดยทั่วไปมี ๓ ชนิด คือ เสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ • ๑.เสียงสระ • เสียงสระ คือ เสียงที่เกิดจากกระแสลมจากปอดผ่านเส้นเสียง ซึ่งเกร็งตัวชิดกันปิดช่องทางลมจนสั่นสะบัดแล้วเลยออกไปทางช่องปากหรือจมูก โดยที่ไม่ถูกสกัดกั้น ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องทางเดินของลม แต่มีการใช้ลิ้นและริมฝีปากทำให้เกิดเสียงแตกต่างกันไปได้หลายเสียง • ลักษณะสำคัญของเสียงสระมี ๒ อย่าง คือ เสียงสั่นสะบัดหรือเสียงก้อง และเสียงผ่านออกไปโดยตรง เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๔ เสียง จำแนกตามลักษณะต่างๆ ได้

  5. ๒. เสียงพยัญชนะ เสียงพยัญชนะ คือ เสียงที่เกิดจากกระแสลมจากปอดผ่านเส้นเสียง ซึ่งอาจสั่นสะบัดหรือไม่สั่นสะบัดก็ได้ แล้วถูกสกัดกั้นทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องทางเดินของลม อาจเป็นลำคอ ช่องปาก หรือช่องจมูก ในช่องปากอวัยวะสามารถกักเสียงพยัญชนะได้ คือ เพดาน ลิ้น ปุ่มเหงือก ฟัน และริมฝีปาก ลักษณะสำคัญของสียงพยัญชนะ คือ เป็นเสียงที่ถูกกักก่อนที่จะออกไปทางปากหรือจมูก

  6. ๓.เสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่มีการเปลี่ยนระดับสูงต่ำโดยเส้นเสียง และเปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ เช่น คา ข่า ค่า (ข้า) ค้า ขา แต่ละคำมีเสียงพยัญชนะและเสียงสระเหมือนกัน ต่างกัน เพียงระดับเสียงหรือเสียงวรรณยุกต์ วรรณยุกต์มี 5 เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา

More Related