1 / 33

การศึกษาด้านวิศวกรรม (Engineering Study) โดย กัญจนา ทองสนิท

การศึกษาด้านวิศวกรรม (Engineering Study) โดย กัญจนา ทองสนิท. วัตถุประสงค์. 1. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ในด้านเทคนิคการผลิต 2. เพื่อศึกษาปัจจัยหรืออุปสรรคต่าง ๆ. การศึกษาด้านวิศวกรรมประกอบด้วย. 1. ทำเลที่ตั้ง 2. วัตถุดิบ 3. ขั้นตอนการผลิต 4. โปรแกรมการผลิต

Download Presentation

การศึกษาด้านวิศวกรรม (Engineering Study) โดย กัญจนา ทองสนิท

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาด้านวิศวกรรม(Engineering Study)โดยกัญจนา ทองสนิท

  2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ในด้านเทคนิคการผลิต 2. เพื่อศึกษาปัจจัยหรืออุปสรรคต่าง ๆ

  3. การศึกษาด้านวิศวกรรมประกอบด้วยการศึกษาด้านวิศวกรรมประกอบด้วย 1. ทำเลที่ตั้ง 2. วัตถุดิบ 3. ขั้นตอนการผลิต 4. โปรแกรมการผลิต 5. พื้นที่ / การวางผังนอกอาคาร 6. การวางผังในโรงงาน 7. ระบบสาธารณูประโภค ได้แก่ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า 8. เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต 9. อาคารสิ่งก่อสร้างและสำนักงาน 10. แผนการดำเนินการ

  4. ทำเลที่ตั้ง การเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน ประกอบด้วย • ระยะทางจากโรงงานถึงแหล่งวัตถุดิบและตลาด • การคมนาคมขนส่ง • แรงงานและค่าจ้างแรงงาน • โรงงานที่ใช้แรงงานคนมากควรอยู่ใกล้บริเวณตัวเมือง • พลังงาน

  5. ทำเลที่ตั้ง • น้ำและคุณภาพของน้ำ โรงงานบางประเภทต้องคำนึงถึงคุณภาพน้ำ เช่น โรงงานผลิตเบียร์ • ระบบการกำจัดของเสียจากโรงงาน • ภาษีเทศบาลและการยกเว้นภาษี โรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมจะได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ • ที่ดินที่อาจหามาได้ ลักษณะ ขนาด และราคาที่ดิน ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพดิน ความสามารถในการรับน้ำหนัก ข้อควรระวัง ในการประเมินราคาที่ดินไม่ควรประเมินราคาที่ดินจากภาษีที่ดิน เพราะจะต่ำกว่าราคาซื้อขายจริง

  6. ทำเลที่ตั้ง ระยะทางจากโรงงานถึงแหล่งวัตถุดิบและตลาด ในการพิจารณาควรตั้งโรงงานอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือ แหล่งการตลาดดังนี้ • กรณีการตั้งโรงงานถ้าวัตถุดิบเป็นของหนัก มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ ควรอยู่ใกล้วัตถุดิบ • ถ้าวัตถุดิบสำคัญต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โรงงานควรอยู่ใกล้ท่าเรือ

  7. ขั้นตอนในการเลือกทำเลที่ตั้ง มักดำเนินการดังนี้ • เลือกเขตหรือทำเลทั่วไป เช่น ภาค จังหวัด อำเภอ • เลือกบริเวณที่เหมาะสมในเขตที่เลือกไว้ โดยพิจารณาจาก • แรงงาน • อัตราค่าจ้าง • อุตสาหกรรมอื่นๆ ข้างเคียง • ภาษีเทศบาล กฎหมายเทศบาล • เลือกที่ที่เหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจาก ราคาที่ดิน รูปร่างลักษณะที่ดิน ความพร้อมด้านระบบคมนาคมขนส่ง สังคม

  8. ตัวอย่าง: ทำเลที่ตั้ง

  9. วัตถุดิบ • เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวัตถุดิบโดยจะต้องพิจารณาดังนี้ • คุณภาพ คุณสมบัติ และคุณลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ • ปริมาณที่ต้องในการผลิต และราคา • แหล่งวัตถุดิบหลัก แหล่งวัตถุดิบสำรอง

  10. ตัวอย่าง: วัตถุดิบ

  11. ขั้นตอนการผลิต ตัวอย่าง: การผลิตกระดาษ • ขบวนการเชิงกล • ขบวนการทางเคมี • ขบวนการซัลเฟต • ขบวนการโซดา • ขบวนการกึ่งเคมี • ขบวนการ CSP • ขบวนการ NSSC

  12. ขั้นตอนการผลิต การเลือกกระบวนการผลิต ในการเลือกกระบวนการ ควรทำโดยความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ดังนี้ • พิจารณาจากวัตถุดิบ เช่นวัตถุดิบที่ป้อนเข้าโรงงาน เช่น ถ้าวัตถุดิบที่ป้อนโรงงานมีเฉพาะไม้ผลัดใบซึ่งมีใยสั้น ขบวนการที่เหมาะสมก็ คือขบวนการโซดา • พิจารณาจากคุณภาพและข้อกำหนดที่ต้องการ • ถ้าต้องการกระดาษที่มีคุณภาพในการพิมพ์ดี (เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์) ขบวนการที่เหมาะสมคือ ขบวนการเชิงกล • ถ้าต้องการกระดาษที่มีความเหนียวสูง ควรใช้ขบวนซัลเฟต • พิจารณาจากค่าใช้จ่ายในการลงทุน และค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยทั่วๆ ไป ขบวนการเชิงกลเป็นขบวนการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด

  13. ขั้นตอนการผลิต : ลักษณะของขบวนการผลิต ขบวนการที่เป็นทางเลือกมีข้อดี และข้อเสียของแต่ละขบวนการอย่างไร

  14. ตัวอย่าง : ขั้นตอนการผลิต

  15. โปรแกรมการผลิต ควรมีการกำหนดปริมาณการผลิตในแต่ละช่วงเวลา ควรจะสอดคล้องกับปริมาณที่คาดคะเนว่าจะขายได้ จากปริมาณการผลิตเวลาที่ใช้ในแต่ละช่วงเวลา ก็นำไปประเมินหากิจกรรมการผลิตเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมการผลิตแต่ละชนิด เช่นจำนวนผลผลิต สัดส่วนของชิ้นส่วน ส่วนประกอบ วัตถุดิบ นอกจากนี้ควร มีการประเมินด้านของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตด้วย

  16. โปรแกรมการผลิต การจัดทำโปรแกรมการผลิต ควรพิจารณาถึงปริมาณการผลิตที่เต็มกำลังการผลิต ซึ่งในระยะแรกอาจเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจาก - ความยุ่งยากด้านวิศวกรรม เช่นการปรับแต่งเครื่องจักร การฝึกอบรมคนงาน - ปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์เป็นยี่ห้อใหม่ต้อง อาศัยเวลาในการยอมรับด้านการตลาด

  17. โปรแกรมการผลิต แต่ละโครงการมีรูปแบบในการกำหนดโปรแกรมการผลิตที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากสถาวะตลาด และปัญหาด้านเทคนิคการผลิตแตกต่างกัน 1. กรณีของอุตสาหกรรมที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียว มีการผลิตแบบต่อเนื่อง เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ ปัญหามักขึ้นกับเทคนิคในการผลิต มากกว่าสภาวะการตลาด 2. กรณีของอุตสาหกรรมที่ผลิตผลิตภัณฑ์หลายชนิดขบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง เช่น โรงกลั่นน้ำมัน อาจมีปัญหาด้านสภาวะตลาด และด้านเทคนิค 3. กรณีของอุตสาหกรรมที่รับผลิตตามใบสั่งของลูกค้าปัญหาด้านการตลาดเป็นปัญหาหลัก และปัญหาในด้านเทคนิค 4. กรณีของอุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนหรือผลิตเป็นจำนวนมาก เป็นปัญหาใหญ่ด้านสภาวะตลาด

  18. ตัวอย่าง :โปรแกรมการผลิต

  19. พื้นที่ / การวางผังนอกอาคาร • เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อย่ภายนอกอาคาร • อาคารโรงงาน สำนักงาน โรงอาหาร ป้อมยาม โกดังเก็บของ สวนหย่อม บ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น • ถนน ที่จอดรถ ประตู

  20. ตัวอย่าง : พื้นที่ / การวางผังนอกอาคาร

  21. การวางผังในโรงงาน • จำนวนและขนาดของเครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำงาน • จำนวนห้องทำงานต่าง ๆ เช่น สโตร์ ห้องหัวหน้างาน ห้องน้ำ ห้องของแต่ละแผนก office

  22. ตัวอย่าง : การวางผังในโรงงาน

  23. เครื่องจักร / อุปกรณ์การผลิต ขนาดกำลังการผลิต การเลือกขนาดของกำลังการผลิตควรพิจารณาจาก • ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะขายได้ เนื่องจาก ในปีแรกของการผลิตโรงงานจะทำงานไม่เต็มกำลังการผลิต แหล่งเงินทุนที่หาได้ ปริมาณวัตถุดิบที่หาได้ • วัตถุดิบ อุตสาหกรรมบางประเภทที่ใช้วัตถุดิบ เช่น ปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่เฉพาะแห่ง และมีปริมาณที่จำกัด จึงเกี่ยวข้องกับขนาดกำลังการผลิต หรือ อุตสาหกรรมบางประเภทที่มีวัตถุดิบเป็นฤดู เช่นอาหารกระป๋อง ดังนั้นขนาดกำลังการผลิตจึงไม่ควรเกินปริมาณวัตถุดิบที่ป้อน • ขนาดของอาคารโรงงาน( กรณีที่มีอาคารแล้ว) • ค่าใช้จ่ายในการขยายโรงงานในอนาคต

  24. เครื่องจักร / อุปกรณ์การผลิต กำลังการผลิตของเครื่องจักรกล เมื่อเลือกขนาดของกำลังการผลิตแล้วควรเลือก ขนาดกำลังผลิตของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์โดยทั่วไป เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิต = กำลังการผลิตที่ต้องการ แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากผู้ผลิตเครื่องจักร อาจมีเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตไม่สอดคล้องกับที่ต้องการ

  25. เครื่องจักร / อุปกรณ์การผลิต เช่น โรงงานกระดาษที่เหมาะสมคือ 20 ตัน/วัน แต่เครื่องอบแห้งกระดาษ ที่ตัวแทนจำหน่ายมีหรือขนาด 5 ตัน/วัน และ 15 ตัน/วัน ดังนั้นอาจพิจารณา 2 ทางเลือก หรือ เครื่องรีดน้ำออกจากแผ่นกระดาษเปียกมีจำหน่ายขนาด 15 ตัน/วัน และ 25 ตัน/วัน ดังนั้นอาจต้องเลือก 25 ตัน/วัน หมายเหตุ การซื้อเครื่องจักร ถ้าเป็นโรงงานที่อยู่ในข่ายได้รับส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จะได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นภาษี ศุลกากร และภาษีการค้า

  26. ระบบสาธารณูประโภค ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า • ระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประเมินกำลังไฟฟ้าในโรงงาน ทั้งด้านเครื่องจักร และแสงสว่าง ประเมินค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า จะผลิตไฟฟ้าใช้เองหรือไม่ ควรมีระบบสำรองไฟฟ้าหรือไม่ • ระบบน้ำ ศึกษาหาน้ำจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ปะปานครหลวง บาดาล แม่น้ำ ลำคลอง ปะปาส่วนภูมิภาค คุณภาพน้ำมีผลต่อผลิตภัณฑ์หรือไม่ ถ้ามีต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน - ไอน้ำ ศึกษาปริมาณไอน้ำที่ต้องการ • อาคารสิ่งก่อสร้างและสำนักงาน

  27. แผนการดำเนินการ • เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด จึงต้องมีการจัดทำแผนการดำเนินการ โดยทำในรูป Gantt Chart และแผนการดำเนินงานอื่น ๆ

  28. แผนการดำเนินการ

  29. การค้นหาข้อมูลเครื่องจักร • www.dip.go.th

  30. Work shop จงค้นหาข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย แล้วดำเนินการสรุป พร้อมทั้งมานำเสนอ • การปรับปรุงคุณภาพน้ำมีวิธีอะไรบ้าง • น้ำ RO คืออะไร • การส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล แบ่ง เขตอย่างไรและจะได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นภาษี ศุลกากร และภาษีการค้าอย่างไร • ค่าแรงงานขั้นต่ำในจังหวัดต่างๆ • การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน • การคิดค่าไฟฟ้า สำหรับกิจการขนาดเล็ก • การคิดค่าไฟฟ้า สำหรับกิจการขนาดกลาง • การคิดค่าไฟฟ้า สำหรับกิจการขนาดใหญ่ • อัตราการคิดค่าน้ำปะปา • ตั้งโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมจะได้รับสิทธิประโยชน์อะไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างนิคมอุตสาหกรรม • การประเมินราคาที่ดิน

  31. Assignment 4 ให้นักศึกษาวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมโดยมีหัวข้ออย่างน้อยตามที่เรียนคือ 1. ทำเลที่ตั้ง 2. วัตถุดิบ 3. ขั้นตอนการผลิต 4. โปรแกรมการผลิต 5. พื้นที่ / การวางผังนอกอาคาร 6. การวางผังในโรงงาน 7. ระบบสาธารณูประโภค ได้แก่ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า 8. เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต 9. อาคารสิ่งก่อสร้างและสำนักงาน 10. แผนการดำเนินการ โดยส่งเป็นรูปเล่ม ที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการฯ โดยไม่ต้องเย็บเล่ม

More Related