1 / 30

การวิจัยดำเนินงาน Operations research

การวิจัยดำเนินงาน Operations research. โปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 3. ( Linear Programming ). การโปรแกรมเชิงเส้นตรง.

nancy
Download Presentation

การวิจัยดำเนินงาน Operations research

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิจัยดำเนินงานOperations research โปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

  2. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • โปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) หรือที่เรียกสั้นๆว่า LP เป็นเทคนิคที่สำคัญและนิยมใช้กันมากในบรรดาโปรแกรมเชิงคณิตศาสตร์ โปรแกรมเชิงเส้นจะถูกนำมาช่วยในการแก้ปัญหาที่เราไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเอง เพราะเสียเวลานาน และยุ่งยากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้ผิดพลาดได้ง่าย LP จะมีประโยชน์ในการแก้ปัญหาที่มีทางเลือกมากมายแต่การเกิดขึ้นของทางเลือกเหล่านั้นอยู่ภายใต้สภาวะที่แน่นอน การใช้เทคนิค LP จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงลักษณะปัญหาที่ใช้ LP และวิธีการแก้ปัญหานั้นเพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุด

  3. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • การวางแผนและการตัดสินใจเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหาร ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านธุรกิจ ปัญหาทางด้านอุตสาหกรรมหรือองค์การของรัฐก็ตามเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบที่จะต้องศึกษาลักษณะของปัญหานั้นๆ แล้วนำมาวิเคราะห์หาคำตอบเพื่อเลือกวิถีทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในบรรดาทางเลือกที่ได้ เป็นคำตอบต่อปัญหาที่จะนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงต่อไป หากผู้บริหารยอมรับทางเลือกนี้ คำตอบที่ได้ก็จะเป็นการวางแผนและการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ประสบอยู่ ในสมัยก่อนผู้บริหารมักจะวางแผนและตัดสินปัญหา โดยอาศัยความชำนาญใช้หลักเหตุและผลประกอบกับประสบการณ์ในงานนั้นๆ เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ

  4. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • โดยขาดข้อมูลหรือการวิเคราะห์อย่างละเอียด เป็นผลให้การวางแผนหรือการตัดสินใจนั้น อาจจะไม่ใช่ทางเลือกหรือวิถีทางปฏิบัติที่ดีที่สุดก็ได้ เนื่องจากคำตอบที่ได้มานั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลผู้ตัดสินใจจึงไม่มี ในระยะเวลาต่อมาปริมาณงาน ปริมาณข้อมูลและระบบต่างๆ ได้ขยายกว้างขวางและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น จึงเป็นการยากที่ผู้บริการจะวางแผนหรือตัดสินใจโดยอาศัยแต่เพียงความชำนาญหรือประสบการณ์ ในปัจจุบันปัญหาที่สลับซับซ้อนเหล่านี้ สามารถแก้ได้โดยอาศัยการโปรแกรมเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical programming) และใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำกว่า วิธีการหนึ่งอันเป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันแพร่หลายมากในบรรดาเทคนิคการโปรแกรมเชิงคณิตศาสตร์ ก็คือ

  5. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • การโปรแกรมเชิงเส้น (Linear Programming) เรียกสั้นๆ ว่า LP การโปรแกรมเชิงเส้นจะถูกนำมาช่วยในการแก้ปัญหาที่เราไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเราเองเพราะเสียเวลานาน และเราอาจมองข้ามปัญหาปลีกย่อยบางอย่างไป LP จะมีประโยชน์ในการแก้ปัญหาที่มีทางเลือกมากมาย แต่การเกิดขึ้นของทางเลือกเหล่านั้นอยู่ภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอนเพียงแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า ทางเลือกใดจะดีที่สุด LP ใช้กับปัญหาซึ่งความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรทั้งหมดเป็นแบบเชิงเส้น นั่นหมายความว่า การเปลี่ยนแปลงแต่ละหน่วยของตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งจะมีผลทำให้ปริมาณของตัวแปรอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เปลี่ยนแปลงไปด้วยในอัตราส่วนที่คงที่

  6. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • ปัจจุบันประเทศที่มีความเจริญทางวิชาการ นิยมใช้ LP กับปัญหาทางด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม และองค์การของรัฐอย่างกว้างขวาง เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง การคมนาคม การวางแผนเกี่ยวกับการผลิตและสต๊อกสินค้า การวางแผนพัฒนาการเกษตร การทหาร การจัดการทางด้านโภชนาการ การจัดงบประมาณ การให้บริการชุมชนเป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มีการจำกัดของทรัพยากร ผู้วิเคราะห์หรือผู้รับผิดขอบจะต้องศึกษาลักษณะของปัญหาและข้อจำกัด แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อแสวงหาคำตอบที่ดีที่สุดต่อปัญหา ให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้

  7. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • การโปรแกรมเชิงเส้นตรง เป็นเทคนิคที่รู้จักกันแพร่หลายในส่วนงานของการวิจัยดำเนินงาน ทั้งนี้เพราะว่าในหลายๆ แหล่งงานได้นำวิธีการนี้ออกใช้และประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างมากมาย นักบริหาร วิศวะกรหรือนักวิทยาศาสตร์ในหลายๆ หน่วยงานได้ประยุกต์ใช้วิธีการทางการโปรแกรมเชิงเส้นตรง ในการแก้ปัญหาทางการจัดสรรปัจจัยหรือทรัพยากร ปัจจัยหรือทรัพยากรมีความหมายรวมถึงวัตถุดิบ กำลังคน เครื่องจักร เวลา สถานที่ เงินตรา หรือความรู้ความสามารถต่างๆ ปัญหาการจัดสรรปัจจัยและทรัพยากรเกิดขึ้นเมื่อเราต้องการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดทั้งขนาด ปริมาณ และขอบเขตของการใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การตัดสินใจให้เกิดผลการดำเนินงานสูงสุดของระบบ องค์การหรือโครงการ การจัดสรรปัจจัยให้เกิดผลดังกล่าวอาจทำได้หลายๆ ทาง และหลายๆ รูปแบบ ซึ่งมักจะให้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกัน

  8. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • การโปรแกรมเชิงเส้นตรง เป็นเทคนิคในการแก้ไขปัญหาทางการจัดสรรปัจจัยและทรัพยากรที่มีลักษณะความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นเชิงเส้นตรงทั้งสิ้น โดยมีจุดหมายเพื่อแก้ปัญหา และตัดสินใจให้เกิดผลตามแนวทางการดำเนินงานที่ดีที่สุด เช่น กำไรสูงสุด ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และแนวทางการดำเนินงานอื่นๆ ที่ให้ผลประโยชน์มากที่สุดต่อระบบนั้นๆ โดยมีเงื่อนไขที่กำหนดให้เช่น สภาวะตลาด การขาดแคลนวัตถุดิบ กำลังคน เครื่องจักร เงินทุน สถานที่ ความรู้ ข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบต่างๆ ของสังคม นโยบายของฝ่ายบริหาร ขอบข่ายของธุรกิจที่ดำเนินอยู่และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น

  9. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • การใช้เทคนิคทางการโปรแกรมเชิงเส้นตรงที่ใช้กับการแก้ปัญหาทางด้านการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุดิบชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต ชนิดของเครื่องจักรที่มีสมรรถภาพและกำลังการผลิตต่างๆ กัน กำลังคนที่มีความสามารถและจำนวนที่ต้องการของเงินทุนหมุนเวียนและทุนกิจการ สถานที่ที่เกี่ยวข้อง ความรู้และวิธีการผลิต ราคาขาย และการตลาด โดยมีเงื่อนไขต่างๆ เช่น 1. ขนาดขีดความสามารถในการผลิตของเครื่องจักรและแรงงาน 2. ปริมาณความต้องการของตลาด

  10. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง 3. ปริมาณวัตถุดิบและพลังงานอื่นๆ ในการผลิตเช่น น้ำ น้ำมัน ไฟฟ้า มีอยู่ในจำนวนจำกัด 4. เงินทุนจำกัด 5. อื่นๆ • เทคนิคทางการโปรแกรมเชิงเส้นตรง ในการวิจัยดำเนินงานนี้พัฒนามาจากผลความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีนักคิดชาวคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์หลายๆ ท่าน เช่น • ฟอน นิวแมน เริ่มใช้ทฤษฏี สูงสุด - ต่ำสุด ในทฤษฏีของเกมในปี 1928 และถูกพัฒนานำไปใช้ในปัญหาทางการขนส่งในปี 1941

  11. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • ในปี 1945 โดยจอร์ช สติคเลอร์ ได้นำเทคนิคดังกล่าวนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางการโภชนาการ • อย่างไรก็ตามโปรแกรมเชิงเส้นตรงเริ่มเป็นเรื่องเป็นราวในปี 1947 โดย จอร์ช บี แดนซิก , มาแชล วูด และเพื่อนร่วมงานในกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้ใช้วิธีทางคณิตศาสตร์ และใช้แก้ปัญหาทางการวางแผนโครงงานในกองทัพ โดยเริ่มจัดรูปองค์การทั้งหมดให้มีความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์เป็นลักษณะเชิงเส้นตรง แล้วใช้วิธีทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหานั้นๆ ผลงานที่ปรากฏได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ทำให้เกิดวิธีการที่เรียกว่า simplex method ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้สำหรับแก้ปัญหาทางโปรแกรมเชิงเส้นตรงที่มีประสิทธิภาพมาก เทคนิคนี้สามารถที่จะเข้าใจและใช้ได้ง่ายในการแก้ปัญหาที่มีลักษณะเดียวกัน

  12. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • ทำให้โปรแกรมเชิงเส้นตรง หรือชื่อย่อว่า LP คำว่าโปรแกรมนั้นมีความหมายถึง การจัดสรรทรัพยากรภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ให้ดีที่สุด คำว่าดีที่สุดนั้นก็คือการบรรลุเป้าหมายที่กำหนด ภายใต้ทางเลือกที่เป็นไปได้ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนคำว่าเส้นตรงนั้น มีความหมายทางคณิตศาสตร์ว่าโปรแกรมดังกล่าวมีระบบสมการทั้งหมดซึ่งสามารถจัดความสัมพันธ์ให้อยู่ในรูปเส้นตรงได้

  13. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง • โปรแกรมเส้นตรงนั้น ได้มีการนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหามากมายหลายแบบ ซึ่งพอจะสรุปเพื่อให้เห็นภาพกว้างๆ ได้ดังนี้ 1. การวางแผนการผลิต และการลงทุน ลักษณะปัญหานี้เกี่ยวกับการมีทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตอยู่จำกัดจำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถจะนำมาใช้เพื่อผลิตสินค้าหรือลงทุนเพื่อให้ประโยชน์สูงที่สุด ในการจัดรูปแบบปัญหาลักษณะดังกล่าวนี้จะต้องนำข้อมูลเกี่ยวกับราคา ต้นทุนต่อหน่วย และสัมประสิทธิ์การผลิตมาสร้างความสัมพันธ์ในรูปของสมการเส้นตรง เป็นสมการเป้าหมายและสมการข้อจำกัด โดยมุ่งที่จะตอบคำถามว่าจะทำการผลิตหรือการลงทุนอย่างไรจึงจะได้กำไรตอบแทนสูงที่สุด

  14. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง 2. การผสมส่วนวัตถุดิบ ในการผลิตสินค้าใดๆ นั้น อาจจะต้องมีการนำเอาวัตถุดิบ ซึ่งแต่ละชนิดมีราคาแตกต่างกันมาผสมเข้าด้วยกัน สูตรที่ใช้ในการผสมนั้นอาจมีความเป็นไปได้หลายสูตรด้วยกันจึงเกิดปัญหาที่จะต้องตัดสินใจว่าจะผสมวัตถุดิบเหล่านี้อย่างไรจึงจะเสียต้นทุนในการผลิตสินค้าชนิดนั้นต่ำที่สุด

  15. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง 3. การจัดลำดับและการกระจายงาน ในการประกอบธุรกิจ มักจะเกิดปัญหาขึ้นว่า จะกระจายทรัพยากรที่มีอยู่ไปในการผลิตอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์สูงที่สุด ตัวอย่างเช่น จะมอบหน้าที่ให้กับพนักงานอย่างไร จะกระจายใบสั่งซื้อไปแต่ละโรงงานอย่างไร เราสามารถใช้เทคนิคของโปรแกรมเส้นตรงเพื่อตอบคำถามว่าจะจัดลำดับ หรือกระจายทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไรจึงจะดีที่สุด

  16. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง 4. เกมและกลวิธี เมื่อผู้ประกอบการซึ่งผลิตสินค้าทดแทนกันได้เป็นอย่างดีดำเนินการอยู่ในขอบเขตของตลาดเดียวกัน จำเป็นที่จะต้องแข่งขันกันอย่างเต็มที่เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดมาเป็นของตัวให้มากขึ้น เราสามารถใช้โปรแกรมเส้นตรงเพื่อตอบคำถามว่าจะเลือกผสมกลยุทธ์ที่มีอยู่อย่างไร จึงจะได้กำไรมากที่สุด

  17. 3 (Linear Programming) การโปรแกรมเชิงเส้นตรง 6. ปัญหาอื่นๆ นอกจากลักษณะปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ โปรแกรมเส้นตรงยังสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในอีกหลายๆ เรื่อง เช่น การผสมเหล้า การวางแผนการผลิตซึ่งมีหลายระยะเวลา การเลือกแหล่งการผลิต การวางแผนบุคลากร การแก้ปัญหาเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ การจัดคิว และการเดินสายของพนักงานขาย เป็นต้น

  18. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) รูปแบบแทนระบบของการโปรแกรมเชิงเส้นตรง 1. มีสมการกำหนดเป้าหมาย (Objective function) คือสมการแสดงความสัมพันธ์ของต้นทุน กำไร เพื่อให้กำหนดเป้าหมายสูงสุดหรือต่ำสุด 2. มีสมการแสดงของข่าย (Constraints) ซึ่งแสดงความจำกัดของปัจจัยหรือทรัพยากรในรูปสมการหรืออสมการ 3. ความสัมพันธ์ของตัวแปรในสมการต่างๆ ของรูปแบบแทนระบบต้องมีลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear form) คือตัวแปรทุกตัวในสมการเป้าหมายและสมการหรืออสมการของขอบข่ายจะต้องมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงเป็นกำลังเดียวกัน 4. ตัวแปรทุกตัวต้องมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับศูนย์ (All positive value)

  19. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) รูปแบบแทนระบบของการโปรแกรมเชิงเส้นตรง • จากรูปแบบของโปรแกรมเชิงเส้นตรงนี้ จะเห็นได้ว่าตัวค่าวัดผลการดำเนินงานจะได้จากสมการกำหนดเป้าหมายซึ่งเราจะต้องพยายามหาค่าเป็นไปตามเป้าหมายโดยเทคนิคที่มีอยู่ ตัวแปรต่างๆ จะเป็นตัวแทนจำนวนปริมาณหรือค่าของปัจจัยที่มีอยู่จำกัดโดยการกำหนดของสมการหรืออสมการ ในขอบข่ายของปัญหา ผลการวิเคราะห์จะได้เป็นค่าตัวแปรที่จะนำไปตัดสินใจเพื่อดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมาย เช่น

  20. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) รูปแบบแทนระบบของการโปรแกรมเชิงเส้นตรง • กำหนดให้สินค้าต้องใช้วัตถุดิบชนิดหนึ่ง ปริมาณที่มีอยู่จำกัดในจำนวน 10 ตัน จะได้สมการขอบข่ายเป็น “น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ตัน สำหรับปริมาณวัตถุที่ใช้นั้นๆ หรือกำหนดว่าปริมาณการขายสำหรับสินค้าชนิดนั้นต่ำสุดเป็น 20,000 ชิ้น ทำให้เกิดอสมการ “มากกว่าหรือเท่ากับ 20,000 ชิ้น” สำหรับปริมาณการขายเป็นต้น

  21. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) รูปแบบแทนระบบของการโปรแกรมเชิงเส้นตรง • ตัวอย่างรูปแบบแทนระบบของการโปรแกรมเชิงเส้นตรง เพื่อให้หาค่าของตัวแปร เช่น X1, X2,……,Xn ที่ทำให้ผลการดำเนินงานที่มีค่าสูงสุดตามสมการเป้าหมายดังนี้ สมการเป้าหมาย Max.Z = C1X1+C2X2+…….+CnXn สมการหรืออสมการขอบข่าย a11X1+a12X2+…+a1nXn <= b1 a21X1+a22X2+…+a2nXn <= b2 am1X2+am2X2+…+amnXn <= bm

  22. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) รูปแบบแทนระบบของการโปรแกรมเชิงเส้นตรง Xi >= 0 ; I = 1,2,…,n โดยมี Z = F(Xi) เป็นสมการเป้าหมาย Xi เป็นค่าตัวแปรที่แทนค่าของปัจจัย aij, Cj เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่มีค่าคงที่ bj เป็นปริมาณทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในแต่ละกิจการซึ่งมีค่าคงที่

  23. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) ขั้นตอนการดำเนินการของโปรแกรมเชิงเส้นตรง • เพื่อช่วยให้เข้าใจลักษณะปัญหา และวิธีการใช้เทคนิคทางการโปรแกรมเชิงเส้นตรงในการแก้ปัญหาต่างๆ สรุปขั้นตอนการดำเนินงานได้ดังนี้ 1. การจัดตั้งรูปแบบแทนระบบของปัญหา ก. สมการกำหนดเป้าหมาย ข. สมการหรืออสมการที่แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรภายใต้ขอบข่ายต่างๆที่มีอยู่ ค. ให้ แน่ใจว่าสมการ หรืออสมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นแล้วเป็นไปในลักษณะของสมการเชิงเส้นตรงและมีค่าของตัวแปรทุกตัวเป็นค่ามากกว่าหรือเท่ากับศูนย์

  24. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) ขั้นตอนการดำเนินการของโปรแกรมเชิงเส้นตรง 2. การหาผลลัพธ์ของรูปแบบแทนระบบของปัญหา เมื่อสามารถจัดปัญหาเข้ารูปแบบของการโปรแกรมเชิงเส้นตรงเรียบร้อยแล้ว สามารถหาผลลัพธ์จากรูปแบบแทนระบบด้วยวิธีการต่างๆ ได้ดังนี้

  25. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) ขั้นตอนการดำเนินการของโปรแกรมเชิงเส้นตรง ก. ในกรณีที่เป็นปัญหาที่มีตัวแปรเป็น 2 ตัวเราอาจใช้วิธี 1. วิธีกำจัดขอบข่ายของคำตอบ 2. วิธีอนุมานทางคณิตศาสตร์ 3. วิธีกราฟ ข. ในกรณีที่เป็นปัญหาที่มีตัวแปรมากกว่า 2 ตัว เราอาจใช้1. วิธีทางพีชคณิตทั่วๆ ไป2. วิธี Simplex method

  26. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) ขั้นตอนการดำเนินการของโปรแกรมเชิงเส้นตรง • กล่าวโดยสรุปโปรแกรมเชิงเส้นตรง เป็นวิธีการแก้ปัญหาชนิดในที่ซึ่งมีสองตัวเลือก หรือมากกว่าแข่งขันกันสำหรับปัจจัยที่จำกัดวัตถุประสงค์ของการกำหนดบรรจุปัจจัยที่จะให้ค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุดของฟังก์ชันวัตถุประสงค์เชิงเส้นตรง กำหนดการบรรจุอย่างนี้ อะไรเป็นวิธีการที่แตกต่างสำหรับควบคุมปัญหาเช่นนั้น อะไรเป็นกลจักรที่แท้จริงของวิธีการเหล่านี้ เราจะตอบคำถามเหล่านี้โดยการพิจารณาปัญหา โปรแกรมเชิงเส้นตรงแบบธรรมดา และแก้โดย

  27. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) การพิจารณาปัญหา โปรแกรมเชิงเส้นตรงแบบธรรมดา 1. ในกรณีที่เป็นปัญหาที่มีตัวแปรเป็น 2 ตัวเราอาจใช้วิธี วิธีกำจัดขอบข่ายของคำตอบ โดยวิธีอนุมานทางคณิตศาสตร์ วิธีกราฟ 2. ในกรณีที่เป็นปัญหาที่มีตัวแปรมากกว่า 2 ตัว เราอาจใช้ วิธีทางพีชคณิตทั่วๆ ไป วิธี Simplex method วัตถุประสงค์ของการรวมเกี่ยวกับปัญหาที่เหมือนกันต้องสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการหาคำตอบขั้นต่างๆ ที่ได้เกี่ยวข้องในวิธีต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาโปรแกรมเชิงเส้นตรง แนวทางที่ได้กล่าวข้างต้นต่อโปรแกรมเชิงเส้นตรงวิธี Simplex method เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุดและดีที่สุด

  28. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) ลักษณะของปัญหาการโปรแกรมเชิงเส้น • เราอาจนิยาม LP ว่า เป็นเทคนิคเชิงคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการจัดสรรหรือแจกจ่ายทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดผลดีที่สุด ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ นักคณิตศาสตร์อาจให้นิยามว่า LP เป็นวิธีการแก้ปัญหาภายใต้ข้อบังคับต่างๆ โดยมีเป้าหมายว่า ต้องการให้ได้ค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุดของฟังก์ชัน นักเศรษฐศาสตร์นิยามไว้ว่า LP เป็นวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้สอดคล้องกับกฏของอุปสงค์และอุปทาน นักธุรกิจมอง LP ในแง่ของเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการแก้ปัญหาการวิเคราะห์กิจกรรมทางด้านธุรกิจ เพื่อการวิจัยและพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม

  29. 3 การโปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) ลักษณะของปัญหาการโปรแกรมเชิงเส้น • ปัญหาการโปรแกรมเชิงเส้น (LLP) ก็คือปัญหาเกี่ยวกับการใช้หรือการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายจะเป็นฟังก์ชันเชิงเส้นของตัวแปร เรียกว่า ฟังก์ชันเป้าหมาย (objective function) กำหนดในเทอมของการหาค่าสูงสุด หรือการหาค่าต่ำสุดของฟังก์ชัน โดยมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้หรือการจัดสรรทรัพยากรอันได้แก่ กำลังคน เงินทุน วัตถุดิบ เครื่องจักร ทรัพย์สินต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเขียนเป็นสมการหรืออสมการเชิงเส้น ตัวแบบของปัญหาเขียนได้ดังนี้

More Related