1 / 83

http :// www . onec . go . th / khamphorson / p22 . html

http :// www . onec . go . th / khamphorson / p22 . html.

nakia
Download Presentation

http :// www . onec . go . th / khamphorson / p22 . html

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. http://www.onec.go.th/khamphorson/p22.html . . . ขอสรุปหน้าที่ของผู้ที่เป็นนิสิตนักศึกษาว่า การเป็นนักศึกษาไม่ใช่อาชีพ เป็นเวลาที่จะฝึกทางวิชาการและก็ทางจิตใจ เพื่อที่จะมีพลังแข็งแรงที่จะรับใช้ชาติ เป็นพลเมืองดี แล้วก็เป็นความหวัง และก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดว่า เมื่อได้ฝึกในทางจิตใจเป็นคนเข้มแข็งซื่อตรงและเป็นคนที่มีความปรารถนาที่จะสร้างสรรค์แล้ว จะต้องรักษาอุดมคตินี้หรือพลังนี้หรือปณิธาณนี้ไว้ตลอดชีวิต . . . พระบรมราโชวาทเนื่องในโอกาสเสด็จฯ ทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๑๔

  2. ระบบและมาตรฐานการผลิตพืชระบบและมาตรฐานการผลิตพืช สุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  3. แหล่งค้นคว้าข้อมูล • International Federation of Organic Agriculture Movements (IFOAM) http://www.ifoam.org • International Organic Accreditation Service (IOAS) http://www.ioas.org • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) http://www.acfs.go.th • Conseil des Appellations Agroalimentaires du Qu bec (CAAQ) http://www.caaq.org • สหกรณ์กรีนเนท จำกัด http://www.greennet.or.th • โครงการสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร http://www.abhaibhubejhr.org

  4. แหล่งค้นคว้าข้อมูล • บริษัทสามพรานฟู้ดส์ จำกัด http://www.healthymate.com • Southeast Asia Organic http://www.sea-organic.com • บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด(มหาชน) http://www.patumrice.com • ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ http://www.surinorganic.com • บริษัทริเวอร์แควอินเตอร์เนชั่นแนลอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด http://www.rkifood.com • องค์กรเครือข่ายมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) http://www.sathai.org • องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย (หรือ ไบโอไทย) http://www.biothai.net • ไร่ปลูกรัก http://www.thaiorganicfood.com

  5. เกษตรอินทรีย์ • คำนิยามของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movementsหรือ IFOAM) • ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ • เน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และระบบนิเวศเกษตร • ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ • ประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคพืช และสัตว์ • หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ-สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่น

  6. หลักการเกษตรอินทรีย์ • หลักการเกษตรอินทรีย์ของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) มี 4 ข้อ 1. สุขภาพ (health) 2. นิเวศวิทยา (ecology) 3. ความเป็นธรรม (fairness) 4. การดูแลเอาใจใส่ (care)

  7. สุขภาพ (The principle of health) • เกษตรอินทรีย์ควรส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก • Organic Agriculture should sustain and enhance the health of soil, plant, animal, human and planet as one and indivisible.

  8. สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของระบบนิเวศ การที่ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร • สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเองจากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุขภาวะที่ดี • บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภคต่างก็มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กสุขในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เกษตรอินทรีย์จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ

  9. นิเวศวิทยา (The principle of ecology) • เกษตรอินทรีย์ควรตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฏจักรแห่งธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฏจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น • Organic Agriculture should be based on living ecological systems and cycles, work with them, emulate them and help sustain them.

  10. มองเกษตรอินทรีย์ในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต การผลิตการเกษตรต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด เช่น ในกรณีของการปลูกพืช เกษตรกรต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศของบ่อเลี้ยง • การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า ต้องสอดคล้องกับวัฎจักรและสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าวัฏจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจมีลักษณะ เฉพาะท้องถิ่นนิเวศ ดังนั้นการจัดการเกษตรอินทรีย์ จำเป็นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรมและเหมาะสมกับขนาดฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำ การหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน • ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ควรสร้างสมดุลของนิเวศเกษตร โดยการออกแบบระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสม การฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่นและสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมและกิจกรรมการเกษตร บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิต แปรรูป การค้า และการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ควรช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ภูมินิเวศ สภาพบรรยากาศ นิเวศท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศ และน้ำ

  11. ความเป็นธรรม (The principle of fairness) • เกษตรอินทรีย์ควรตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต • Organic Agriculture should build on relationships that ensure fairness with regard to the common environment and life opportunities

  12. ควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรมทุกระดับทั้งเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าและผู้บริโภค ควรได้รับโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนช่วยในการรักษาอธิปไตยทางอาหารและช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน • การปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการจัดสภาพการเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์ รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของสัตว์อย่างเหมาะสม • ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการผลิตและบริโภคควรดำเนินการอย่างเป็นธรรม ทั้งทางสังคมและนิเวศวิทยา รวมทั้งต้องมีการอนุรักษ์ปกป้องให้กับอนุชนรุ่นหลัง • ความเป็นธรรมนี้รวมถึง ระบบการผลิต จำหน่าย และการค้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องโปร่งใส มีความเป็นธรรม มีการนำต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาเป็นต้นทุนการผลิต

  13. การดูแลเอาใจใส่ (The principle of care) • การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินการด้วยความระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย • Organic Agriculture should be managed in a precautionary and responsible manner to protect the health and well-being of current and future generations and the environment.

  14. เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่มีพลวัตรและมีชีวิตในตัวเอง การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ผู้เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินกิจการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ต้องระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม • เทคโนโลยีการผลิตใหม่ที่นำมาใช้ ต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจังโดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ ต้องมีการปรึกษาหารืออย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม • ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจว่า เกษตรอินทรีย์นั้นปลอดภัยและเหมาะกับสิ่งแวดล้อม • ประสบการณ์จากการปฏิบัติและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมถ่ายทอดกันมาก็อาจมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เช่นกัน • เกษตรกรและผู้ประกอบการควรประเมินความเสี่ยง และเตรียมการป้องกันจากนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ และควรปฏิเสธเทคโนโลยีที่มีความแปรปรวนมาก เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม

  15. แนวทางเกษตรอินทรีย์ • การหมุนเวียนของธาตุอาหาร • ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน • ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ • การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร • การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร • การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต

  16. การหมุนเวียนของธาตุอาหารการหมุนเวียนของธาตุอาหาร • เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากระบบการผลิตโดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาแหล่งธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มที่มากเกินไป • แนวทางการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์มอาศัยหลักการทางธรรมชาติด้วยการใช้ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปของอินทรียวัตถุที่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ ทำให้วงจรธาตุอาหารหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ปุ๋ยหมัก, การคลุมดินด้วยอินทรียวัตถุ, การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชหมุนเวียน

  17. ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดินความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน • หลักการของเกษตรอินทรีย์จำเป็นต้องหาอินทรียวัตถุมาคลุมหน้าดินเสมอไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ หรือพืชที่ปลูกคลุมดิน ทำให้ “ดินมีชีวิต” ขึ้น • ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อดินมีความสมบูรณ์พืชที่ปลูกก็แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง และให้ผลผลิตสูง

  18. ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ • นิเวศป่าธรรมชาติมีพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตต่างๆ อยู่ร่วมกันหลากหลาย มีทั้งที่พึ่งพาอาศัยกัน แข่งขันกัน หรือเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ต่างก็สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ • การทำเกษตรอินทรีย์ต้องหาสมดุลของการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชร่วมหลายชนิดในพื้นที่และเวลาเดียวกันหรือเหลื่อมเวลากัน การปลูกพืชหมุนเวียนต่างชนิดกัน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเรียกว่า “เกษตรผสมผสาน” • การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงภัยจากปัญหาศัตรูพืชระบาด การไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถแสดงบทบาทในการควบคุมศัตรูพืช เป็นการสร้างสมดุลนิเวศการเกษตร

  19. การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตรการอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร • ในกลไกธรรมชาติสิ่งมีชีวิตต่างๆ มีบทบาทสำคัญในการสร้างสมดุลของนิเวศเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการช่วยควบคุมประชากรของสิ่งมีชีวิตอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัตรูพืช หรือการพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีวิต เช่น การผสมเกสร และการช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ • แม้แต่ปุ๋ยเคมีก็มีผลเสียต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้สมดุลของนิเวศดินเสีย ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงห้ามไม่ให้ใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการเพาะปลูก • แนวทางเกษตรอินทรีย์เน้นให้เกษตรกรต้องฟื้นฟูสมดุลและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศหลักการนี้ทำให้เกษตรอินทรีย์มีความแตกต่างอย่างมากจากระบบเกษตรปลอดสารเคมีที่รู้จักกันในประเทศไทย แนวทางหลักในการฟื้นฟูนิเวศเกษตรคือการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ • การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศเกษตร เพราะการที่สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอยู่ร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความเกื้อกูลและสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระบวนการและพลวัตทางธรรมชาติที่เกื้อหนุนต่อการทำเกษตรอินทรีย์อีกต่อหนึ่ง

  20. การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตรการพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร • การทำเกษตรจึงไม่ใช่การพยายามเอาชนะธรรมชาติหรือพยายามดัดแปลงธรรมชาติเพื่อการเพาะปลูก แต่เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาติและปรับระบบการทำเกษตรให้เข้ากับวิถีแห่งธรรมชาติ • กลไกธรรมชาติที่สำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ได้แก่ วงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร โดยเฉพาะวงจรไนโตรเจนและคาร์บอน วงจรการหมุนเวียนน้ำ, พลวัตของภูมิอากาศและแสงอาทิตย์ รวมทั้งการพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุลในระบบนิเวศ ทั้งในเชิงของการเกื้อกูล การพึ่งพาและห่วงโซ่อาหาร • เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ต้องเรียนรู้สภาพเงื่อนไขท้องถิ่นที่ตนเองทำการเกษตรอยู่ การสังเกต เรียนรู้ วิเคราะห์-สังเคราะห์ และทดลอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ว่าระบบฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรแต่ละรายจะได้ใช้ประโยชน์จากกลไกธรรมชาติและสภาพนิเวศท้องถิ่นอย่างเต็มที่

  21. การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตการพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต • มุ่งให้เกษตรกรผลิตปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ ด้วยตนเองในฟาร์มให้ได้มากที่สุด กรณีที่เกษตรกรไม่สามารถผลิตได้เอง (มีพื้นที่การผลิตไม่พอเพียง หรือต้องลงทุนสูง) สามารถซื้อหาปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มได้ แต่ควรเป็นปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น • กระตุ้นให้เกษตรกรจัดสมดุลของวงจรธาตุอาหารในระบบที่เล็กที่สุด (ฟาร์มเกษตรกร) และมีความสอดคล้องกับระบบนิเวศของท้องถิ่น ช่วยสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของระบบการผลิตในระยะยาว • เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เพียงแค่เทคนิคการผลิต แต่เป็นวิถีชีวิตและกระบวนการทางสังคม การส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในระบบเกษตรอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งและความเป็นอิสระของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร

  22. การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) • การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) ได้รับความสนใจและสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และผู้บริโภคทั้งในประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา • ประเทศพัฒนา เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น จัดตั้งองค์กร Fair Trade เนื่องจากตระหนักถึงความล้มเหลวของระบบการค้าในปัจจุบัน ที่เอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่มในสังคม หรือบริษัทใหญ่บางบริษัท ขณะที่ผู้ผลิตกลับไม่ได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม • ปัจจุบันในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย, บังคลาเทศ, ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ได้ให้ความสนใจ

  23. ปัญหาที่เกิดจากระบบการค้าที่ไม่เป็นธรรมปัญหาที่เกิดจากระบบการค้าที่ไม่เป็นธรรม • ระบบการผลิตเน้นปริมาณเพื่อสนองตอบความต้องการของตลาด ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เกิดผลเสียกับสภาพแวดล้อม • ระบบตลาดสินค้าเกษตร เป็นระบบที่เกษตรกรผู้ผลิตไม่สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดราคาผลผลิตอันเกิดจากหยาดเหงื่อแรงงานของตัวเอง • ต้องพึ่งพิงอยู่กับพ่อค้าคนกลาง กลไกราคาของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ • ผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับไม่ครอบคลุมต้นทุนการผลิต เกิดหนี้สินเพิ่มพูนขึ้น • ปัญหาสังคม เช่น การใช้แรงงานเด็ก, การทารุณทำร้ายร่างกายลูกจ้าง, การกดค่าแรง, สวัสดิการไม่เหมาะสม หรือปัญหาด้านสุขภาพ

  24. การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) การค้าที่เป็นธรรม มีหลักการสำคัญคือ • เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์มีบทบาทในการกำหนดราคาผลผลิตของตัวเองที่ครอบคลุมกับต้นทุนการผลิต ทักษะฝีมือและทรัพยากรในท้องถิ่น • รายได้เป็นหลักประกันสำหรับเกษตรกรและครอบครัวถึงความมั่นคงในการผลิต การดำเนินชีวิต เชื่อมโยงไปถึงความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น • ส่วนของผู้บริโภค การบริโภคผลิตภัณฑ์ในระบบเกษตรอินทรีย์-การค้าที่เป็นธรรม ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัย • ผู้บริโภคได้สนับสนุนให้เกิดระบบการค้าแบบใหม่ ที่คำนึงถึงความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ผลิต ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของผู้บริโภค

  25. หลักการในการดำเนินการค้าที่เป็นธรรมหลักการในการดำเนินการค้าที่เป็นธรรม • ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของการผลิต ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ, การผลิต, การบรรจุ จนกระทั่งการขนส่ง • ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสภาพสังคม, เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ผลิต โดยการให้ความเป็นธรรมในการทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งครอบคลุมไปถึงการได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม และราคาของผลผลิตที่เป็นธรรม • มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ, การเงิน, การผลิต, การตลาด ฯลฯ ซึ่งสามารถเผยแพร่ข้อมูลและตรวจสอบได้ • หญิงและชายได้รับความเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาสการจ้างงาน • เคารพในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น • มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

  26. เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย • นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ • สถานการณ์การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย • การตลาดและการค้าเกษตรอินทรีย์ • ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ • ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Consumers) • กลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทย

  27. วาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์วาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์ • รัฐบาลได้ริเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ที่ผ่านมา โครงการนี้มีระยะนาน 4 ปี (พ.ศ. 2549 - 2552) โดยมีเป้าหมาย- ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตรลง 50% (10% ในปี 2549)- ใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีในพื้นที่ 85 ล้านไร่ (17 ล้านไร่ในปี 2549)- เกษตรกร 4.25 ล้านรายใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี (0.85 ล้านราย ในปี 2549) - เกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 20%- ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 100% • หน่วยงานราชการ 16 หน่วยงาน จัดทำแผนบูรณาการร่วมกันในการจัดกิจกรรมต่าง เช่น การสัมมนา การฝึกอบรม การส่งเสริมทั่วไป และการจัดตั้งโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ • กรมพัฒนาที่ดิน เป็นเจ้าภาพของโครงการนี้ ในปีงบประมาณ 2549 โครงการวาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์ได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนจำนวน 1,215 ล้านบาท

  28. นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ • การรับรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ • ระเบียบข้อบังคับ มาตรฐาน และการตรวจสอบรับรอง • การตลาดส่งออก • การผลิต • ปัจจัยการผลิต • การวิจัย • การส่งเสริมการผลิต

  29. นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การรับรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ สิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ต่างๆ ของรัฐบาล เช่น สิ่งพิมพ์ ของกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร • ระเบียบข้อบังคับ มาตรฐาน และการตรวจสอบรับรอง การจัดตั้งสถาบันพืชอินทรีย์ (กรมวิชาการเกษตร) เพื่อให้บริการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน มกอช. ได้ยกร่าง มาตรฐาน "เกษตรอินทรีย์: การผลิต แปรรูป แสดงฉลากและจำหน่ายเกษตรอินทรีย" และได้รับการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีในปีพ.ศ. 2546 มีการเพิ่มเติมเนื้อหามาตรฐาน ให้ครอบคลุมเรื่องปศุสัตว์อินทรีย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 สิงหาคม พ.ศ. 2547 มกอช. ริเริ่มการให้บริการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ฉบับแรก โดยมีสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย (มกท.) ได้รับการรับรับรองระบบงานจาก มกอช. เป็นรายแรก เมื่อกลางปี พ.ศ. 2548

  30. นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การตลาดส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออกได้ช่วยสนับสนุนให้ ทั้งผู้ส่งออกได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศเช่น BioFach (Nurnberg) และ Natural Products Organic Asia, Singapore รวมทั้งยังได้จัดกิจกรรมให้ผู้ซื้อได้พบกับผู้ผลิต และการให้บริการด้านข้อมูลด้วย • การผลิต ในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดบางส่วนได้เริ่มโครงการเกษตรอินทรียขึ้น อาทิเช่น จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ที่เริ่มจัดทำโครงการข้าวเกษตรอินทรีย์ หน่วยงานราชการระดับท้องถิ่นและระดับชาติหลายแห่งได้เริ่มจัดหลักสูตรอบรม เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร

  31. นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • ปัจจัยการผลิต ไม่มีกิจกรรมใดที่เจาะจงในด้านนี้ แต่มีหน่วยงานหลายแห่งที่มีแผนในการสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรตั้งโรงงานผลิตปุ๋ย อินทรีย์ • การวิจัย หน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยบางแห่งได้เริ่มให้การสนับสนุนทุน สำหรับเกษตรอินทรีย์ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นต้น แต่ไม่มีการแบ่งสรรงบหรือเป้าหมายของการวิจัยที่ชัดเจน

  32. นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การส่งเสริมการผลิต หน่วยงานราชการหลายแห่ง โดยเฉพาะกรมวิชาการและกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดการสัมมนาและการอบรมในหลักสูตร ที่เกี่ยวกับการผลิตเกษตรอินทรีย์

  33. สถานการณ์การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสถานการณ์การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย • การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยแบ่งได้ 2 ประเภท 1. เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเอง 2. เกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐาน

  34. เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเองเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเอง • การเกษตรแบบพื้นบ้าน โดยผลิตเพื่อบริโภคในครอบครัวเป็นหลัก อาจมีผลผลิตบางส่วนจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น • ไม่มีการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานรับรอง หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการรับรองโดยเกษตรกรเองหรือผู้ซื้อก็ได้ เพราะผู้บริโภคมีโอกาสพบปะหรือรู้จักผู้ผลิตจึงตัดสินใจซื้อ โดยพิจารณาจากความเชื่อถือหรือไว้วางใจผู้ผลิต

  35. เกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐาน • เกษตรกรทำการเพาะปลูกโดยมีผลผลิตเหลือสำหรับขาย • จำหน่ายผ่านทั้งระบบตลาดทั่วไปหรือการตลาดทางเลือก เมื่อได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว • ผู้บริโภคพิจารณาเลือกซื้อจากความเชื่อถือในตรารับรอง และหากได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานของต่างประเทศ • ผลผลิตจากเกษตรกรสามารถจำหน่ายในต่างประเทศ

  36. รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ การตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จำแนกได้ 4 รูปแบบดังนี้ • การตลาดระบบสมาชิก • ตลาดนัด • การตลาดช่องทางเฉพาะ • การตลาดทั่วไป

  37. รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การตลาดระบบสมาชิก เป็นรูปแบบการตลาดที่เก่าแก่ที่สุดของกระบวนการเกษตรอินทรีย์ ที่เชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค เช่น ระบบ TEIKEI ในประเทศญี่ปุ่น หรือระบบ Community Support Agriculture (CSA) และระบบ BOX ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ระบบตลาดนี้มีหลักการพื้นฐานว่า ผู้บริโภคตกลงกับเกษตรกรผู้ผลิต ในการซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้ตามฤดูกาล โดยผู้บริโภคจะชำระเงินล่วงหน้าให้กับเกษตรกร หลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตจะถูกจัดส่งไป ณ จุดกระจายย่อยตามที่ตกลง แล้วสมาชิกผู้บริโภคที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงจะเป็นผู้มารับผลผลิตด้วยตนเอง การตลาดระบบนี้ เกษตรกรจะมีหลักประกันทาง เศรษฐกิจ และมีโอกาสในการสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค ส่วนผู้บริโภคเองก็สามารถไป เยี่ยมเยือนฟาร์มเกษตรกร เพื่อดูการผลิต หรือช่วยเกษตรกรทำงานในฟาร์มก็ได้

  38. รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • ตลาดนัด ตลาดนัดส่วนใหญ่อยู่ในท้องถิ่นหรือหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด โดยมักจัดในสถานที่ที่มีผู้บริโภคอยู่หนาแน่น เช่น โรงพยาบาล ในเขตสถานที่ราชการ หรืออาจเป็นที่ว่าง ที่ผู้บริโภคสะดวกในการมาหาซื้อผลผลิต ตลาดนัดนี้มักจะเปิดเฉพาะวันที่แน่นอน แต่ไม่เปิดทุกวัน เช่น ทุกวันศุกร์ หรือวันเสาร์ โดยมากเปิดขายเพียงครึ่งวัน หรืออาจทั้งวัน โดยผู้ผลิตต้องมาจากหลากหลายกลุ่ม เพื่อได้มีผลผลิตที่หลากหลายมาจำหน่ายตลาดนัดเกษตรอินทรีย์

  39. รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การตลาดช่องทางเฉพาะ เป็นการตลาดที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่มีนโยบายในด้านเกษตรอินทรีย์ อาหารสุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น ร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรือซูเปอร์มาร์เก็ตเกษตรอินทรีย์ การตลาดในลักษณะนี้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่าการตลาดระบบสมาชิก และมีผลผลิตที่หลากหลายจากเกษตรกรที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเฉพาะทาง รวมทั้งอาจมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์แบบง่ายๆ มากกว่าด้วย ตัวอย่างการตลาดเฉพาะทางในประเทศไทย คือ ร้านเลมอนฟาร์ม ร้านไทสบาย

  40. รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การตลาดทั่วไป ในหลายประเทศที่ตลาดเกษตรอินทรีย์ได้พัฒนาไประดับหนึ่ง จะพบว่าช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จะขยายไปสู่ระบบตลาดทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโมเดิร์นเทรด ที่เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เมื่อความต้องการผลิตภัณฑ์เริ่มขยายตัวชัดเจน ผู้ประกอบการค้าปลีกในตลาดทั่วไปย่อมเห็นโอกาสในทางการค้า และปรับตัวเพื่อดึงส่วนแบ่งการตลาด และสร้างภาพพจน์ให้กับหน่วยงานของตน การเข้ามาของตลาดประเภทนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันกันในตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะการริเริ่มหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งจากภายในประเทศหรือต่างประเทศ รวมไปถึงการแข่งขันทางราคาด้วย

  41. ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ • เนื่องจากพิษภัยที่ได้รับจากอาหารมีเพิ่มขึ้นทั้งสารพิษตกค้างในผักผลไม้ หรือสารเคมีที่ใส่เสริมเข้าไปเพื่อยืดอายุอาหาร เช่น ฟอร์มาลิน, บอแรกซ์ (น้ำประสานทอง/ผงกรอบ), สารฟอกขาว และสี สังเคราะห์ เป็นต้น • ในประเทศไทย มีผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์จำนวนไม่น้อยที่ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ, ปลอดสารเคมี, ปลอดภัยจากสารพิษ และไร้สารพิษ เป็นต้น • ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความแตกต่างกับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มาตรฐานการรับรอง เพราะมาตรฐานการผลิตเหล่านี้อนุญาตให้มีการใช้สารเคมีการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีฆ่าแมลง สารป้องกันกำจัดเชื้อรา สารเคมีกำจัดวัชพืชและปุ๋ยเคมี

  42. ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จำแนกเป็น 3 กลุ่ม • ผลผลิตอินทรีย์ยังไม่รับรองตามมาตรฐาน • ผลผลิตอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน • ผลผลิตอินทรีย์รับรองมาตรฐาน

  43. ผลผลิตอินทรีย์ยังไม่รับรองตามมาตรฐานผลผลิตอินทรีย์ยังไม่รับรองตามมาตรฐาน • ผู้ผลิตเริ่มต้นทำการผลิตตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ โดยอยู่ในระยะพัฒนาการผลิต • ไม่ได้สมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ • มีการตรวจสอบติดตามภายในโดยกลุ่มผู้ผลิต หรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานส่งเสริมในพื้นที่

  44. ผลผลิตอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยนผลผลิตอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน • พื้นที่การผลิตที่ขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เชื่อถือได้ • ได้รับการรับรองว่าระบบการผลิตอยู่ในระหว่าง “ระยะปรับเปลี่ยน” ซึ่งถือเป็นช่วงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและความอุดมสมบูรณ์ของดินและช่วงสลายตัวของสารเคมีการเกษตรที่อาจตกค้างมาก่อน • โดยทั่วไป ช่วงระยะการปรับเปลี่ยนของการผลิตพืชล้มลุก (ผัก/พืชไร่) จะใช้เวลา 12 - 24 เดือน • ส่วนการผลิตไม้ยืนต้นช่วงระยะการปรับเปลี่ยนจะใช้เวลา 18 - 36 เดือน • หน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์อาจเพิ่มหรือลดระยะการปรับเปลี่ยนได้ โดยพิจารณาจากประวัติการใช้ที่ดินก่อนหน้านั้น

  45. ผลผลิตอินทรีย์รับรองมาตรฐานผลผลิตอินทรีย์รับรองมาตรฐาน • ผลผลิตที่ได้จากระบบการผลิตที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม • ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ สารเคมีการเกษตรและปุ๋ยเคมี • เป็นระบบที่เกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม • พื้นที่ทำการผลิตได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และผ่านระยะปรับเปลี่ยนแล้ว

  46. ผู้บริโภค (Organic Consumers) • จากการสำรวจโดย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มีการสำรวจค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในการซื้อสินค้าสุขภาพ และเมื่อนำมาคำนวณแล้วคาดว่ามูลค่าการตลาดของสินค้าสุขภาพในปี 2544 เท่ากับ 3,600 ล้านบาท และคาดว่าอัตราการขยายตัวของตลาดเท่ากับร้อยละ20 โดยสินค้าสุขภาพที่คนกรุงเทพฯ นิยมซื้อคือ ข้าวสาร และผักประเภทต่างๆ • จากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์โดยมูลนิธิสายใยแผ่นดินพบว่า ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีรายได้ปานกลาง และอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป โดยภาพรวมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์นั้นจะเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพ มีความสนใจเรื่องทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดทั่วไป

  47. สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ • ผู้บริโภคยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์จากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาจทำให้เกิดความสับสนในกลุ่มผู้บริโภคได้ • ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ว่าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จริงหรือไม่ เนื่องจากขาดการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนบนบรรจุภัณฑ์ มีการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และการกำหนดตราสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหลายหน่วยงาน • ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ยังมีราคาสูง ทำให้การบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จำกัดอยู่เฉพาะชนชั้นกลางและผู้มีรายได้สูง • ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของตลาด และรูปแบบการผลิตของเกษตรกรให้ไปสู่การทำการตลาดและการทำการผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกด้วย

  48. กลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทยกลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทย • มูลนิธิสายใยแผ่นดินwww.greennetorganic.comส่งเสริมและสนับสนุนการผลิต, การจัดการ, การตลาด และการบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม • เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกannet@ksc.th.com รณรงค์เผยแพร่นโยบายด้านการเกษตรและระบบเกษตรยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมยั่งยืนและตลาดทางเลือก • ชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ และผลักดันให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจและบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์

  49. กลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทยกลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทย • สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ให้บริการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับเกษตรกรทั่วประเทศไทยและต่างประเทศ ละแวกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนให้การทำเกษตรอินทรีย์เป็นที่นิยมแพร่หลาย และทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)www.acfs.go.th หน่วยงานกลางเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูปและอาหารของประเทศ

  50. กลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทยกลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทย • สถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตรwww.doa.go.th เป็นหน่วยงานกลางในการวิจัยและพัฒนาพืชอินทรีย์ ดำเนินการให้การผลิตพืชอินทรีย์เป็นไปตามมาตรฐานสากล ให้การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นหน่วยงานออกใบรับรองสำหรับตลาดในประเทศไทย • กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรwww.doae.go.th ส่งเสริมและเผยแพร่การผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน รวมถึงการดูแลในเรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบวิธีผสมผสาน โดยเน้นการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธีเพื่อป้องกันไม่ให้มีสารพิษตกค้างในพืชผล

More Related