1 / 23

Von Neumann Model

Von Neumann Model. จัดทำโดย นางสาว ปรียาภรณ์ กาญจนะ เลขที่ 25 ม.4/3 นำเสนอ อาจารย์ ณัฐพล บัวอุไร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา. ภาพที่ 1.1 ลูกคิด ( Abacus )

Download Presentation

Von Neumann Model

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Von Neumann Model จัดทำโดย นางสาว ปรียาภรณ์ กาญจนะ เลขที่ 25 ม.4/3 นำเสนอ อาจารย์ ณัฐพล บัวอุไร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา

  2. ภาพที่ 1.1 ลูกคิด (Abacus) มนุษย์ได้พยามยามคิดค้นสร้างเครื่องมือช่วยคำนวณมาเป็นเวลานาน เริ่มจากชาวจีนได้คิดค้นลูกคิด (Abacus) ใช้มานานกว่าสองพันปีแล้ว มีการพัฒนามาเป็นเครื่องคำนวณที่ใช้กลไกเครื่องแรกของโลก ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คือ เบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) ทว่าเครื่องคำนวณนี้มีความสามารถจำกัด คือ คำนวณได้เฉพาะการบวกและลบเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการคำนวณที่ค่อนข้างหยาบ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเครื่องคำนวณแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นระบบกลไกและระบบใช้ไฟฟ้ามาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

  3. ภาพที่ 1.2 เบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) ภาพที่ 1.3 ชาร์ลส์ แบบเบจ ( Charles Babbage )

  4. ภาพที่ 1.4 เครื่องคำนวณ Difference Engine ของชาร์ลส์ แบบเบจ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อว่าผู้ที่สามารถสร้างเครื่องคำนวณให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติเป็นคนแรก คือ ชาร์ลส์ แบบเบจ ( Charles Babbage ) ชาวอังกฤษ ได้ออกแบบเครื่องคำนวณไว้สองแบบ เมื่อประมาณ ค.ศ.1834 (พ.ศ.2377) คือ Differemce Engine และ Analytical Engine ดังแสดงในภาพที่ 1.4 และ 1.5 ตามลำดับ ซึ่งเครื่องคำนวณแบบหลังนี้ใช้หลักการและแนวคิดที่ก้าวหน้ามากในยุคนั้น คือ การเก็บคำสั่งไว้ให้เครื่องทำงานโดยอัตโนมัติ แบบเดียวกับที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเก็บโปรแกรมไว้ทำงาน ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงยกย่องว่า ชาร์ลส์ แบบเบจ เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม แบบเบจเองไม่สามารถสร้างเครื่องคำนวณทั้งสองแบบได้สำเร็จ เพราะขาดความสามารถที่จะผลิตเฟือง และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความละเอียดเที่ยงตรงสูงมาก

  5. ภาพที่ 1.5 เครื่องคำนวณ Analytical Engine ของชาร์ลส์ แบบเบจ ในปี ค . ศ .1815 ( พ . ศ .2358) เอดา ออกุสตา ( Ada Auguata) ในฐานะเพื่อนสนิทของแบบเบจ ได้เป็นผู้ที่นำเอาเครื่อง Analytical Engine ของแบบเบจ ไปใช้แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ออกุสตา จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์ (Programmer) คนแรกของโลก

  6. ภาพที่ 1.6 เอดา ออกุสตา ( Ada Auguata) ภาพที่ 1.7 ยอร์จ บูล (George Boole)

  7. ปี ค . ศ . 1815-1864 ( พ . ศ .2358-2407) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ ยอร์จ บูล (George Boole) ได้คิดค้นพีชคณิตที่เรียกว่า Boolean Algebra ซึ่งเป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ระบบตรรกวิทยา (Symbolic Logic) โดยใช้เหตุผลต่างๆ ที่เป็นเงื่อนไขสำหรับหาข้อเท็จจริง ทำให้ Boolean Algebra นี้เป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่สำคัญ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง (Binary Number) ที่เกี่ยวพันสถานะทางไฟฟ้าแบบสวิทชิ่ง (Swiching) ซึ่งเป็นพื้นฐานของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) มีส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน ภาพที่ 1.8 ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ (Dr.Herman Hollerith)

  8. ค . ศ .1860-1929 ( พ . ศ .2403-2470) นักประดิษฐ์คิดค้นชาวอเมริกันชื่อ ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ (Dr.Herman Hollerith) ได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ที่สามารถใช้กับบัตรเจาะรูได้ เรียกว่า Tabulating Machine ซึ่งต่อมาในภายหลัง ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ ได้พัฒนาบัตรเจาะรูที่เป็นรหัสแบบอยู่ภายนอกเครื่องคำนวณซึ่งเรียกบัตรนี้ว่า “ บัตรฮอลเลอริธ ” (Hollerith Card) ถือเป็นต้นแบบในการพัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา ค . ศ .1860-1929 ( พ . ศ .2403-2470) นักประดิษฐ์คิดค้นชาวอเมริกันชื่อ ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ (Dr.Herman Hollerith) ได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ที่สามารถใช้กับบัตรเจาะรูได้ เรียกว่า Tabulating Machine ซึ่งต่อมาในภายหลัง ดร . เฮอร์แมน ฮอลร์เลอริธ ได้พัฒนาบัตรเจาะรูที่เป็นรหัสแบบอยู่ภายนอกเครื่องคำนวณซึ่งเรียกบัตรนี้ว่า “ บัตรฮอลเลอริธ ” (Hollerith Card) ถือเป็นต้นแบบในการพัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา ภาพที่ 1.9 เครื่องเจาะบัตรฮอลเลอริธ (Hollerith Card Punch)

  9. ภาพที่ 1. 10 ตัวอย่างบัตรฮอลเลอริธ (Hollerith Card)

  10. จากหลักฐานที่ปรากฏ เชื่อกันว่าผู้ที่สร้างคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานได้จริงเป็นเครื่องแรกในปี ค . ศ .1946 ( พ . ศ .2489) คือ จอห์น ดับบลิว. มอชลีย์ (John W. Mauchley) และ เจ . เพรสเพอร์ เอคเกิร์ต (J. Presper Eckert) แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย โดยคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาสำเร็จนี้มีชื่อว่า เอนิแอค (ENIAC) ซึ่งย่อมาจากคำเต็มว่า Electronic Numerical Integrator And Calculation ดังแสดงในภาพที่ 1.13 จัดสร้างขึ้นเพื่อใช้ในด้านการทหาร เนื่องจากในช่วงเวลานั้นกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงได้จัดสรรทุนวิจัยให้แก่นักวิจัยตามมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยต่างๆ เพื่อคิดค้นอุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำสงคราม และเครื่องเอนิแอคนี้ เดิมทีวางแผนจะใช้สำหรับคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ และต่อมาได้นำไปใช้ในการคำนวณเพื่อสร้างระเบิดปรมาณูลูกแรกอีกด้วย ภาพที่ 1. 11 จอห์น ดับบลิว. มอชลีย์ (John W. Mauchley)

  11. ภาพที่ 1. 12 เจ . เพรสเพอร์ เอคเกิร์ต (J. Presper Eckert) ภาพที่ 1. 13 เครื่องคอมพิวเตอร์ เอนิแอค (ENIAC)

  12. ในช่วงแรก มอชลีย์และเอคเกิร์ต ผู้สร้างเครื่องเอนิแอค ได้ระดมทุนเพื่อทำการเปิดบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ แต่ระหว่างการดำเนินการนั้นกลับมีปัญหาด้านการเงินและการจัดการ จึงจำเป็นต้องขายกิจการให้แก่บริษัท เรมิงตัน แรนด์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูนิแวค (UNNIVAC Company) แต่ยังคงมี มอชย์ลี และเอคเกิร์ต เป็นวิศวกรผู้ออกแบบและดำเนินการผลิต คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถผลิตสำหรับใช้ในงานธุรกิจได้สำเร็จภายใต้ บริษัท ยูนิแวค คือ UNIVAC I ดังแสดงในภาพที่ 1.14 ซึ่งได้จำหน่ายให้แก่สำนักงานสำรวจประชากรแห่งสหรัฐอเมริกา (American Population Surveying Office) ภาพที่ 1. 14 เครื่องคอมพิวเตอร์ ยูนิแวค 1 (UNIVAC I)

  13. ขณะเดียวกันกับการเปิดตัว บริษัท ยูนิแวค และเครื่อง UNIVAC I บริษัท ไอบีเอ็ม (International Business Machine : IBM) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานและเครื่องคำนวณรายใหญ่ ได้มองเห็นลู่ทางอันสดใสในธุรกิจคอมพิวเตอร์ จึงได้ลงทุนทำการศึกษาวิจัยด้านเครื่องคำนวณอัตโนมัติ (Automatic Calculator) และได้แลกเปลี่ยนสิทธิบัตรบางอย่างกับบริษัท ยูนิแวค เพื่อเปิดกิจการทางด้านการผลิตคอมพิวเตอร์การดำเนินงานด้านคอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM ก้าวมาสู่จุดยอดเมื่อเริ่มสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในชุด 360/370 (360/370 Model) อันเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถต่าง ๆ กันหลายระดับ แต่ล้วนสามารถใช้คำสั่ง (Command) ในชุดเดียวกันได้ การผลิตคอมพิวเตอร์ชุดนี้ ทำให้บริษัทไอบีเอ็มได้ลูกค้าจำนวนมากทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมกับเป็นการจุดกระแสความความสนใจในการใช้คอมพิวเตอร์ และการลงทุนทางธุรกิจคอมพิวเตอร์มากขึ้นทั้งในอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในช่วงแรกอีกคนหนึ่ง ได้แก่ จอห์น ฟอน นอยมานน์ (John Von Neumann) นักคณิตศาสตร์สัญชาติอเมริกัน เชื้อสายฮังกาเรียน ซึ่งได้ร่วมเสนอแนวคิดในการสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำสำหรับใช้เก็บคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำงาน คอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ ล้วนใช้หลักการทำงานแบบนี้ และนิยมเรียกกันว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบฟอน นอยมานน์ (Von Neumann Model) ภาพที่ 1. 15 จอห์น ฟอน นอยมานน์ กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบฟอน นอยมานน์

  14. ในปี ค . ศ .1977 ( พ . ศ .2520) ได้มีผู้คิดผลิตคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( Personal Computer : PC ) ซึ่งมีราคาไม่แพงมากนัก มีระบบไม่ซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลรักษามากเท่ากับเครื่องขนาดใหญ่ จึงได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว และทำให้ธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการประยุกต์คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ เติบโตรวดเร็วมากยิ่งกว่ายุคใดๆในอดีตจากการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ดังกล่าว ทำให้เกิดบริษัทที่ประกอบธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) และที่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) นำโดยบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer Company) เป็นบริษัทแรกที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ Macintosh ที่เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ขณะที่ บริษัท ไอบีเอ็ม กลายมาเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดมาตรฐานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ด้วยเครื่องชุด IBM PC , PC/XT, PC/AT และ PS/2 ตามด้วยบริษัทไมโครซอฟต์ ( Microsoft Company ) ที่เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจซอฟต์แวร์ด้วยผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการดอส ( Disk Operating System : DOS ) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ( Windows Operating System ) และโปรแกรมประยุกต์ใช้งานอื่น ๆ รวมถึงชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ (Microsoft Office Program Pack) ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อันประกอบด้วย

  15. - โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word) เป็นโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (Word Processing) - โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล (Microsoft Excel) เป็นโปรแกรมประเภทกระดาษทำการ (Spread Sheet) - โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พ้อยต์ (Microsoft PowerPoint) เป็นโปรแกรมประเภทงานนำเสนอ (Presentation) - โปรแกรมไมโครซอฟต์แอ็คเซส (Microsoft Access) เป็นโปรแกรมประเภทงานฐานข้อมูล (Data Base) 1.2 ความหมาย และคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ (1) คอมพิวเตอร์ (Computer) มีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีก คือ Computare ซึ่งแปลว่า การนับ หรือการคำนวณ แต่ในปัจจุบัน จะหมายถึง เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Tools) ที่ใช้ในการคำนวณต่างๆ เช่น ทางด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ สถิติและงานบัญชี รวมทั้งใช้ในการวางแผนงาน การจัดการและควบคุมงานต่างๆ ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ในงานวิจัยค้นคว้า งานธุรกิจการพาณิชย์ งานด้านการศึกษา งานด้านสาธารณสุข ตลอดจนใช้เพื่อการนันทนาการและการบันเทิง

  16. ข้อมูลดังกล่าว คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจเก็บบันทึกข้อมูลได้เป็นจำนวนมากสุดแล้วแต่ขนาดของหน่วยความจำ (Memory Unit) ของเครื่องนั้น เช่น คอมพิวเตอร์ของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนคนไทยเกือบ 60 ล้านคนทั่วประเทศ ขณะที่คอมพิวเตอร์ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 6 ขอนแก่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน บันทึกข้อมูลประวัติผู้รับการฝึก จำนวนสองหมื่นคน 2. มีความสามารถในการนำข้อมูลที่บันทึกไว้มาประมวลผลตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่าง เช่น สำนักงานทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย อาจนำข้อมูลประชาชนคนไทยทั่วประเทศมาจำแนกทางสถิติทางด้านเพศ อายุ ภูมิลำเนา ได้อย่างรวดเร็ว หรือเจ้าของสถานประกอบการสามารถขอใช้ข้อมูล ผู้สำเร็จการฝึกจากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยโสธร เพื่อทำการคัดเลือกเป็นพนักงานได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้แล้ว ค้นหาข้อมูลเพื่อความต้องการแรงงานของสถานประกอบการก็อาจใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีก็ได้ 3. มีความสามารถในการจัดทำและแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น การจัดทำรายการวัสดุที่ต้องการใช้เป็นรายงานการเก็บสินค้า แสดงแผนภูมิเปรียบเทียบผล แสดงแบบรูปงานก่อสร้าง 4. มีความสามารถในการควบคุมอุปกรณ์และเครื่องมืออื่นๆ ยกตัวอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักร ให้สามารถผลิตชิ้นงานตามกระบวนการ (Process) เพื่อให้มีรูปร่าง ขนาดและสัดส่วน ตรงตามแบบที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ

  17. 1.3 ประเภทของคอมพิวเตอร์ การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามความสามารถ แบ่งคอมพิวเตอร์ได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ (1) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีขีดความสามารถมากกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ กล่าวคือ สามารถคำนวณหรือทำงานตามคำสั่งที่กำหนดให้ได้เร็วตั้งแต่พันล้านคำสั่งต่อวินาทีขึ้นไป การวัดความเร็วนี้นิยมวัดเป็นหน่วย เมกะฟลอปส์ ( Megaflops) ย่อมาจาก Mega Floating Point Instruction Per Second ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก จึงนิยมใช้ในงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่ซับซ้อนขององค์กรใหญ่ ๆ เช่น งานวิจัยด้านนิวเคลียร์ งานจำลองแบบโมเลกุล งานพยากรณ์อากาศ งานค้นคว้าด้านอวกาศ และงานวิจัยทางการทหาร ในด้านธุรกิจเองเริ่มมีความสนใจนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาใช้แต่ยังไม่มากนัก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ เครื่องเครย์ รุ่นต่างๆ ได้แก่ Cray I , Cray II และ Cray XMP ของบริษัท เครย์ รีเสิร์ช (Cray Research Company) แห่งสหรัฐอเมริกา ภาพที่ 1.2 3 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)

  18. (2) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถสูง คือ ทำงานได้เร็วประมาณ 50 ล้านคำสั่งต่อวินาทีขึ้นไป การวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ประเภทนี้นิยมใช้หน่วยวัด มิพส์ (MIPS) ซึ่งย่อมาจาก Million Instruction Per Second ภาพที่ 1.2 4 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ นิยมใช้กันมากในหน่วยงาน และกิจการขนาดใหญ่ เช่น สถาบันการศึกษาใหญ่ ๆ ธนาคาร สายการบิน กระทรวงต่างๆ เพราะมีความสามารถในการคำนวณเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์รอบข้าง ( Peripheral ) ได้เป็นจำนวนมาก เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ของธนาคาร สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ ( Automated Teller Machine : ATM ) ได้หลายเครื่อง หรือคอมพิวเตอร์ของบริษัทการบินไทย สามารถต่อพ่วงกับจอภาพและแป้นพิมพ์ เพื่อใช้ในการให้บริการสำรองที่นั่งผู้โดยสารได้หลายพันชุด เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้นิยมใช้กันมาก คือ เครื่องของบริษัท ไอบีเอ็ม , ของบริษัท ซีดีซี (CDC) และของบริษัท เอ็นอีซี (NEC) ของประเทศญี่ปุ่น

  19. (3) มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer : Minis) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถ ต่ำกว่าเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น มีความเร็วในการประมวลผลประมาณ 10 MIPS อีกทั้งยังต่อพ่วงกับอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่าอีกด้วย แต่ก็ถือว่ามีความสามารถในการคำนวณสูงในระดับหนึ่ง คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ นิยมใช้ตามบริษัทหรือกิจการขนาดเล็ก หน่วยงานราชการขนาดเล็ก มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรม มินิคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากเป็นเครื่องของบริษัท ดีอีซี (DEC) , บริษัท ไอบีเอ็ม , บริษัท ฮิวเลทท์ แพ็คการ์ด ( Hewlette Packard) เป็นต้น ภาพที่ 1.2 5 มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)

  20. (4) ไมโครคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Micro Computer or Personal Computer : PC) ในปัจจุบันถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีมากที่สุดในโลกจัดเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ในอดีตมีขีดความสามารถต่ำ แต่ปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจมีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ามินิคอมพิวเตอร์บางรุ่นด้วยซ้ำไป ไมโคร คอมพิวเตอร์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ของการทำงานในหน่วยงานและบริษัทห้างร้านต่างๆ ว่ากันว่าการที่โลกสนใจใช้คอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง เป็นเพราะมีผู้คิดผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ได้นั่นเอง ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยอีกหลายชนิด ได้แก่ - ชนิดตั้งพื้น ( Floor Standing หรือ Tower Case ) ทำเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมสำหรับตั้งบนพื้นข้างๆ หรือใต้โต๊ะทำงานแล้วตั้งจอภาพกับวางแผงแป้นพิมพ์ไว้บนโต๊ะทำงาน แต่ในปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่ใช้การวางคู่กับจอภาพบนโต๊ะทำงาน

  21. - ชนิดตั้งโต๊ะ ( Desktop หรือ Base Case ) ทำเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมวางบนโต๊ะทำงาน และมักนำจอภาพวางทับบนกล่องสี่เหลี่ยมอีกต่อหนึ่ง จัดเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่พบมากในสิบกว่าปีที่แล้ว แต่ในปัจจุบันก็พอจะมีพบเห็นอยู่บ้าง - ชนิดวางบนตัก ( Laptop ) ทำเป็นรูปกระเป๋าหิ้ว มีจอภาพในตัวพร้อมแบตเตอรี่ สามารถหิ้วไปใช้งานในที่ต่างๆได้ บางครั้งอาจเรียกว่าเป็น โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ ( Notebook ) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มีขนาดเล็กกว่า กว้างยาวเท่ากับกระดาษ A 4 และสามารถบรรจุในกระเป๋าเอกสารได้

  22. - ชนิดมือถือ ( Handheld ) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์แบบพิเศษและมักใช้ในงานบันทึกข้อมูล แต่ในปัจจุบันมีความสามารถเทียบเท่าไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป และกำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันในชื่อ พ็อคเก็ต พีซี (Pocket Personal Computer) โดยบางรุ่นสามารถใช้ร่วมกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดตั้งพื้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วย ภาพที่ 1.29 ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ - ชนิดฝ่ามือ ( Palmtop ) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถจำกัดลงไปมาก เพราะแป้นพิมพ์มีขนาดเล็ก และต้องใช้ดินสอดิจิตอลที่เรียกว่า สไตลัส (Stylus) จิ้มบนหน้าจอแทนการพิมพ์นิยมใช้ในการบันทึกข้อมูล และจัดลำดับงานคล้ายๆกับอุปกรณ์ช่วยงานบริหารที่เรียกว่า ออร์กาไนเซอร์( Organizer ) ภาพที่ 1.30 ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดฝ่ามือพร้อม สไตลัส (Stylus)

  23. อ้างอิง www.google.co.th http://tc.mengrai.ac.th/chanon/webnews/M1_30206/01/index.php

More Related