1 / 33

สารผสมเพิ่ม (Admixtures)

สารผสมเพิ่ม (Admixtures). เสนอ อาจารย์ สิทธิชัย พิริย คุณธร จัดทำโดย นางสาว มากลือ ซง แว ฮามะ รหัส 5210110468 คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3. คำสำคัญของสารผสมเพิ่ม.

mayten
Download Presentation

สารผสมเพิ่ม (Admixtures)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารผสมเพิ่ม (Admixtures)

  2. เสนอ อาจารย์ สิทธิชัย พิริยคุณธร จัดทำโดย นางสาว มากลือซงแวฮามะ รหัส5210110468 คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3

  3. คำสำคัญของสารผสมเพิ่มคำสำคัญของสารผสมเพิ่ม สารผสมเพิ่มหรือน้ำยาผสมคอนกรีต (Concrete Admixture)หมายถึง สารใดๆนอกเหนือไปจากน้ำ ปูนซีเมนต์ หิน ทราย ไว้ใช้เติมลงไปในส่วนผสมของคอนกรีตไม่ว่าจะก่อนหรือกำลังผสม เพื่อปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพคอนกรีต ขณะยังเหลวอยู่หรือคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของวัสดุสิ่งแวดล้อม และสภาพการทำงาน

  4. วัตถุประสงค์ของการใช้น้ำยาผสมคอนกรีตวัตถุประสงค์ของการใช้น้ำยาผสมคอนกรีต -ปรับปรุงความสามารถเทได้ -เร่งหรือหน่วงเวลาการก่อตัว -ปรับปรุงคุณสมบัติด้านการต้านทานการแตกร้าว เนื่องจากความร้อน -การทนต่อกรดและซัลเฟต

  5. วัสดุพื้นฐานเหล่านั้นจะต้องไม่ทำลายคุณภาพของคอนกรีตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งต้องไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารที่เป็นส่วนประกอบของซีเมนต์ แร่ธาตุในมวลรวมและต่อเหล็กเสริม ดังนั้นก่อนที่จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตควรมีการศึกษาข้อจำกัดการใช้งาน การตรวจสอบคุณภาพและทดสอบประสิทธิภาพรวมทั้งควรใช้ตามข้อแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจจะก่อให้เกิดผลเสียหายได้

  6. คุณสมบัติและคุณภาพต่างๆ ที่สามารถปรับปรุงได้ มีดังนี้ - ลดปริมาณน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตให้น้อยลง - เร่งการแข็งตัว ทำให้คอนกรีตรับแรงได้เร็วกว่าปกติ - หน่วงการแข็งตัว ทำให้คอนกรีตแข็งตัวช้ากว่าปกติ - ทำให้คอนกรีตสดมีความเหลว ไหลลื่นดี สามารถเทลงแบบหล่อได้ง่ายขึ้น - เพิ่มปริมาณฟองอากาศในคอนกรีต

  7. ประเภทของสารผสมเพิ่ม สารผสมเพิ่มที่ผลิตออกจำหน่ายทั่วๆไป มีหลายชนิด ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.สารกักกระจายฟองอากาศ(Air-Entraining Agent) ใช้เพื่อเพิ่มความทนทาน กรณีที่คอนกรีตต้องสัมผัสกับสภาพที่เย็นจัด เช่น ในพื้นห้องเย็นหรือ ในบริเวณที่มีหิมะปกคลุมบางช่วงเวลา 2.สารเคมีผสมคอนกรีต(Chemical Admixture) เป็นสารประกอบที่ละลายน้ำที่เติมลงไปในส่วนผสมคอนกรีต เช่น เพื่อ ลดปริมาณน้ำในผสม

  8. 3.สารประกอบแร่ธาตุผสมเพิ่ม(Mineral Admixture) มีลักษณะเป็นผงละเอียด ใช้ปรับปรุงความสามารถในการใช้งาน เพิ่มความคงทน ทำให้คอนกรีตมีคุณสมบัติในการเกาะตัวดีขึ้น และยังสามารถใช้ทดแทนปริมาณปูนซีเมนต์ได้บางส่วน 4.สารผสมเพิ่มอื่นๆ ได้แก่ สารผสมเพิ่มอื่นๆ ที่ไม่จัดอยู่ใน 3 ประเภทแรก ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยเฉพาะอย่างเท่านั้น

  9. -สารป้องกันซึม(Waterproofing) -สารช่วยปั้มง่ายขึ้น(Pumping Aids) -สารอุดประสานสารลดปฏิกิริยาเคมีของปูนกบหิน(Grouting Material) -สารเพิ่มการขยายตัว(Alkali Aggregate Reducing) -สารลดการกัดกร่อนเหล็กเสริม(Corrosion Inhibitor) -สารป้องกันการเกิดเชื้อรา -สารทำให้เกิดฟองอากาศ(Gas Formers)

  10. การใช้สารเพิ่ม สารผสมเพิ่มได้มีบทบาทอย่างรวดเร็วในวงการก่อสร้าง ประเทศที่เจริญแล้ว ได้มีการนำสารผสมเพิ่มมาใช้ปรับปรุงคุณสมบัติของคอนกรีตกันอย่างมาก เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้คอนกรีตใส่สารผสมเพิ่มถึง 90% ในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเยอรมันมียอดการใช้ 80% 80%และ 60%ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยใช้มาอย่างจริงจังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

  11. ข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อควรระวังในการใช้งาน 1.สารผสมเพิ่มที่จะนำมาใช้ควรคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน เช่น ของประเทศไทยควรเป็นไปตาม มอก. 733-2530มีดังนี้ -ผลของสารผสมเพิ่มต่อคอนกรีต -อิทธิพลอื่นๆที่สารผสมเพิ่มมีต่อคอนกรีตไม่ว่าจะเป็นทางที่เป็นประโยชน์หรือเป็นผลเสีย -คุณสมบัติทางกายภาพของสารผสมเพิ่มวิธีการเก็บและอายุการใช้งาน -PH 2.ควรใช้สารผสมเพิ่มในปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำพร้อมกับตรวจดูผลว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่

  12. 3.ควรใช้วิธีการวัดปริมาณสารผสมเพิ่มที่แน่นอน ซึ่งสำคัญมากในกรณีของสารกักกระจายฟองอากาศและสารผสมเพิ่มเคมี 4.ผลของสารผสมเพิ่มต่อคุณสมบัติอื่นๆ ของคอนกรีตสารผสมเพิ่มทั่วๆ ไป มักมีผลต่อคุณสมบัติของคอนกรีตหลายอย่างพร้อมๆกัน

  13. สารกักกระจายฟองอากาศ สารกักกระจายฟองอากาศ เป็นสารอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยาบนผิว (Organic Surfactant) โดยก่อให้เกิดฟองอากาศในปริมาณที่สามารถควบคุมได้ในเนื้อคอนกรีตฟองอากาศขนาดเล็กกระจายตัวอยู่สม่ำเสมอและคงตัว โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25-1 มม. วัตถุดิบ สารกักกระจายฟองอากาศนี้ผลิตขึ้นจากผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมทำกระดาษ น้ำมันและอาหารสำเร็จรูปจากสัตว์ ได้แก่ ยางไม้ ไขมัน หรือ น้ำมันสัตว์และพืช เป็นต้น

  14. ลักษณะการทำงาน สารกักกระจายฟองอากาศ ประกอบด้วยตัวเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติบนผิวของอนุภาค ซึ่งมักรวมกันอยู่ระหว่างผิวน้ำและอากาศ ทำให้แรงดึงผิวของน้ำลดลง ก่อให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็กมากกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อคอนกรีต โดยฟองอากาศนี้จะถูกทำให้อยู่ตัวด้วย ผลของสารกักกระจายฟองอากาศต่อคอนกรีตสด

  15. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกักกระจายฟองอากาศปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกักกระจายฟองอากาศ 1.วัสดุผสมคอนกรีตและสัดส่วนผสม -ส่วนละเอียด เช่น ทรายละเอียด หรือ ปริมาณซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นจะยับยั้งการเกิดฟองอากาศ -ปริมาณฟองอากาศจะเพิ่มขึ้น โดยลดขนาดของหิน -สัดส่วนของทรายมีความสำคัญต่อปริมาณฟองอากาศ การเพิ่มทรายขาด 300-600 ไมโครเมตร จะก่อให้เกิดปริมาณฟองอากาศมากขึ้น -น้ำที่เหมาะสำหรับคอนกรีตไม่มีผลต่อปริมาณฟองอากาศที่เกิดขึ้น แต่น้ำกระด้างจะยับยั้งการเกิดฟองอากาศ

  16. 2.การผสมและการจี้เขย่า -การจี้เขย่าคอนกรีตมากเกินไปจะส่งผลให้ปริมาณฟองอากาศลดลง -คอนกรีตที่มีความสามารถเทได้ต่ำมาก จะก่อให้เกิดฟองอากาศได้ยาก 3.สภาพแวดล้อม -ปริมาณฟองอากาศในคอนกรีตจะเป็นปฏิภาคผกผันกับอุณหภูมิ

  17. สารเคมีผสมคอนกรีต สารเคมีผสมคอนกรีต คือ สารละลายเคมีชนิดต่างๆ ที่ใส่ผสมลงในคอนกรีต เพื่อเปลี่ยนเวลาการก่อตัวและลดปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีต ตามมาตรฐาน ASTM C494เป็นสารผสมเพิ่มประเภทสารเคมี เป็นของเหลวละลายน้ำได้ จำแนกได้ 7 ชนิด ดังต่อไปนี้ 1. Type A Water Reducing Admixtures เป็นสารผสมเพิ่มที่ใช้สำหรับลดปริมาณน้ำในการผสมคอนกรีต โดยที่ความข้นเหลวยังคงเดิม มีผลให้คอนกรีตแข็งแรงเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าให้ปริมาณน้ำคงเดิม จะมีผลให้คอนกรีตสดมีความข้นเหลวเพิ่มขึ้น ทำให้การเทคอนกรีตลงแบบได้ดีขึ้น

  18. 2.Type B Retarding Admixtures เป็นสารผสมเพิ่มสำหรับใช้หน่วงปฏิกิริยา Hydration ทำให้คอนกรีตสดก่อตัวและแข็งตัวช้าลง จุดประสงค์ของการให้คอนกรีตสดก่อตัวและแข็งตัวช้าลง - เพื่อสำหรับงานเทคอนกรีตในสภาพอากาศร้อน -ใช้กรณีที่ต้องส่งคอนกรีตผสมเสร็จไปยังงานก่อสร้างที่อยู่ไกล หรือต้องใช้เวลานานในการขนส่ง -สำหรับกรณีลำเลียงคอนกรีตด้วยเครื่องปั้มพ์

  19. 3.Type C Accelerating Admixtures เป็นสารผสมเพิ่มสำหรับเร่งปฏิกิริยา Hydration ทำให้คอนกรีตสด แข็งตัวเร็วขี้น จุดประสงค์ของการให้คอนกรีตแข็งตัวเร็วขึ้น -เพื่อสำหรับงานเร่งด่วน เพื่อสามารถเปิดใช้งานได้ทันเวลา - สำหรับคอนกรีตที่ต้องการถอดแบบเร็ว -สำหรับงานหล่อคอนกรีตในประเทศที่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งปฏิกิริยา Hydration จะช้ามาก

  20. 4.Type D Water-Reducing and Retarding Admixtures สารผสมเพิ่มประเภทนี้ มีคุณสมบัติลดน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีต และขณะเดียวกันจะหน่วงปฏิกิริยา Hydration ด้วย สารผสมเพิ่มเหล่านี้ได้แก่ เกลือของกรด LSN หรือเกลือของกรด HCA ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดน้ำและหน่วงปฏิกิริยาด้วย 5.Type E Water Reducing and Accelerating Admixtures สารผสมเพิ่มประเภทนี้ มีคุณสมบัติในการลดน้ำที่ใช้ในการผสมคอนกรีต และขณะเดียวกันจะเร่งปฏิกิริยา Hydration ด้วย

  21. 6.Type F High Range Water Reducing Admixtures (Superplasticizer) เป็นสารผสมเพิ่มชนิดลดน้ำปริมาณมาก โดยสามารถลดปริมาณน้ำในการผสมคอนกรีตลงได้ ~15% - 30% ทำให้คอนกรีตมีกำลังเพิ่มขึ้น ~20% - 40% แต่ระยะเวลาการก่อตัวและแข็งตัวเร็วมาก (30 - 60 นาที)ดังนั้นจะต้องวางแผนงานในการเทและแต่งผิวให้ทันเวลา 7.Type G High Range Water Reducing and Retarding Admixtures (Superplasticizer ) เป็นสารผสมเพิ่มเช่นเดียวกับ Type F แต่มีคุณสมบัติในการหน่วงปฏิกิริยา Hydration ด้วย เป็นสารเคมีประเภท naphthalene sulphonate

  22. สารลดปริมาณน้ำ (plasticizer) หมายถึง สารผสมเพิ่มที่เติมลงในส่วนผสมคอนกรีต เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะต้องใช้ผสม โดยได้ความเหลวตามกำหนด และไม่มีผลกระทบต่อปริมาณฟองอากาศหรือเวลาการก่อตัวของคอนกรีต วัตถุดิบ สารลดปริมาณน้ำได้มาจากสารประกอบหลัก3 ชนิด 1.เกลือและสารประกอบของ Lignosulphonate 2.เกลือและสารประกอบ Hydroxycarboxylic Acid 3.Polymer

  23. วัตถุประสงค์หลักในงานคอนกรีต -ใช้ลดน้ำในส่วนผสมคอนกรีต โดยที่ยังได้ค่ายุบตัวที่เท่าเดิม ทำให้คอนกรีตมีกำลังอัดเพิ่มขึ้น -ได้รับค่ายุบตัวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงส่วนผสมและไม่ต้องเพิ่มน้ำอีก

  24. สารหน่วงการก่อตัว (Retarders) เป็นสารผสมเพิ่มที่มีการใช้งานแพร่หลายที่สุดในประเทศ สารหน่วงการก่อตัวเป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับหน่วงเวลาการแข็งตัวของคอนกรีต ในงานคอนกรีตที่ต้องเทในสภาพอากาศร้อน อุณหภูมิที่สูงจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาไฮเดรชั่นให้เกิดอย่างรวดเร็ว สารหน่วงการก่อตัวจึงถูกนำมาใช้เพื่อหน่วงระยะเวลาการก่อตัวที่เร็วเกินไป สำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น คอนกรีตหลา หรือการเทคอนกรีตในสภาพอากาศที่จัด ล้วนจำเป็นต้องผสมสารหน่วงการก่อตัวในคอนกรีตเพื่อยืดระยะเวลาการเทและการแต่งผิวหน้าคอนกรีตออกไป

  25. วัตถุดิบ สารผสมเพิ่มชนิดยืดเวลาการก่อตัวแบ่งได้เป็น 4ประเภท ดังนี้ 1.น้ำตาลสารและประกอบของน้ำตาล 2.เกลืออนินทรีย์ 3.Hydroxycaboxylic Acid และเกลือของมัน 4.Lignosulphoic Acid และเกลือของมัน

  26. ลักษณะการทำงาน สารผสมเพิ่มชนิดยืดเวลาการก่อตัวนี้จะถูกดูดซึมไว้บนผิวของอนุภาคซีเมนต์ ส่งผลให้อัตราการซึมผ่านของน้ำเข้าไปทำปฏิกิริยา ไฮเดรชั่นกับอนุภาคซีเมนต์ • ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการทำงาน • ชนิดและปริมาณการใช้ปริมาณสารยืดเวลาการก่อตัว • ชนิดของซีเมนต์และสารประกอบ • เวลาและอุณหภูมิที่เติมสารยืดเวลาการก่อตัว

  27. สารเร่งการก่อตัว (Accelerators) เป็นน้ำยาที่ลดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตให้สั้นลงและช่วยเร่งกำลังอัดช่วงต้นสูงขึ้น สารเร่งการก่อตัวนิยมใช้ในการเทคอนกรีตที่อุณหภูมิต่ำมาก เพื่อเร่งการก่อตัวและแข็งตัว เพื่อป้องกันความเสียหายจากการแข็งตัวของน้ำในส่วนผสมคอนกรีต อีกทั้งยังนิยมถูกนำไปใช้ในงานดังนี้ • งานก่อสร้างที่เร่งด่วน เช่น งานที่ต้องการถอดแบบเร็วงานหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่ต้องหมุนเวียนแบบหล่อทำอย่างรวดเร็ว • งานหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตในโรงงาน เพื่อจะให้การหมุนเวียนแบบหล่อทำได้อย่างรวดเร็ว • งานคอนกรีตในฤดูหนาว สำหรับในประเทศที่มีอากาศเย็นจัด

  28. วัตถุดิบ • สารเร่งเวลาการก่อตัวส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสารเคมีดังนี้ • Calcium Chloride • Calcium Formate • Calcium Nitrate คัลเซียมคลอไรด์เป็นสารเคมีที่ถูกนำมาใช้เร่งการก่อตัวของคอนกรีตอย่างกว้างขวางด้วยเหตุผลที่สำคัญ 2ประการ คือ ราคาไม่แพง และ หาได้ง่าย แต่ปัจจุบันได้พบว่าคัลเซียมคลอไรด์จะก่อให้เกิดกัดกร่อนเหล็กเสริมคอนกรีต

  29. สารประกอบแร่ธาตุผสมเพิ่ม (Mineral admixture) สารผสมเพิ่มชนิดนี้มักจะเป็นผงละเอียด ซึ่งใส่รวมในคอนกรีต เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้งานคอนกรีตเหลวและเพิ่มความทนทานของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว มีดังนี้ 1.วัสดุที่มีความไวต่อปฏิกิริยาต่ำหรือวัสดุเฉื่อย สารผสมเพิ่มชนิดนี้ใช้เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการเทได้ของคอนกรีตเหลว โดยเฉพาะในคอนกรีตที่ขาดอนุภาคขนาดเล็ก เช่น คอนกรีตที่ทำจากทรายหยาบ หรือที่มีปริมาณซีเมนต์อยู่น้อย

  30. 2.วัสดุชนิดPozzolana Pozzolana คือ วัสดุประเภทซิลิก้า ซึ่งสามารถทำปฎิกิริยากับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ และเกิดตัวเชื่อมประสานหรือ Calcium Silicate-Hydrate เพิ่มขึ้น การใช้สาร Pozzolanaมักจะมีผลทำให้กำลังอัดของคอนกรีตต่ำในระยะแรก แต่กำลังจะสูงขึ้นเมื่อคอนกรีตมีอายุมากขึ้นและจะสูงกว่าคอนกรีตธรรมดาที่อายุมากกว่า 28วัน

  31. สารผสมเพิ่มอื่นๆ สารผสมเพิ่มประเภทนี้ ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในงานจำเพาะเจาะจงบางอย่าง เช่น -สารป้องกันซึม ใช้ป้องกันการซึมของน้ำผ่านคอนกรีตที่มีรูพรุนมากส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุประเภทสบู่หรือน้ำมัน -สารกันชื้น เป็นพวกกรดไขมันหรือผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม อาจจะทำให้น้ำไม่จับที่ผิวคอนกรีต แต่จะไม่สามารถทนน้ำที่มีแรงดันมากได้

  32. -สารเพิ่มการขยายตัว มีสารเคมีหลัก คือ Calcium Sulpho-Aluminate จะทำให้ซีเมนต์ธรรมดาเป็นแบบขยายตัว เพื่อใช้ทดแทนการหดตัวของคอนกรีตในการก่อสร้างทั่วๆไป -สารลดการกัดกร่อนเหล็กเสริม เป็นเกลือของสารเคมีที่มีประจุที่เกิดออกไซด์ได้ -สารเชื่อมประสาน ส่วนใหญ่ทำมาจาก Polymer Latex ใช้เพิ่มเสริมาการยึดเกาะตัวระหว่างคอนกรีตเก่าและคอนกรีตใหม่หรือระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสริม

  33. -สารช่วยให้ปั๊มง่าย ช่วยให้คอนกรีตยึดเกาะตัวกัน เคลื่อนผ่านท่อปั๊มไปได้ถึง แม้ว่าคอนกรีตนั้นจะมีปริมาณซีเมนต์ต่ำ -สารอุดประสานหรือสารกรอกฉีด ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ เพื่อการฉีดเข้าไปในซอกหรือบริเวณแคบๆ โดยป้องกันการแยกตัว การเยิ้ม รวมทั้งเพิ่มการยึดเกาะ เพื่อให้ปั๊มได้สะดวกเหมาะที่จะนำไปใช้กับงาน Stabilize ฐานราก อุดรอยร้าว อุดช่องว่างในงานคอนกรีตอัดแรงระบบ Bonding เป็นต้น

More Related