1 / 11

เรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)

รายงานการวิจัย. เรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส .) ปีที่ 1/3. ผู้เสนอ นางบัวแก้ว สุกใส สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี.

Download Presentation

เรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ปีที่ 1/3 ผู้เสนอ นางบัวแก้ว สุกใส สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี

  2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากประสบการณ์ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี ปีการศึกษา 2554 พบว่าจากผู้เรียนทั้งหมด 39 คน มีผู้เรียนจำนวน 20 คนที่สอบไม่ผ่านเกณฑ์เรื่องอนุพันธ์ของฟังก์ชันเนื่องจากมีกฎหรือทฤษฎีที่ผู้เรียนต้องจำและนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ต่างๆและในปีการศึกษา 2555 ได้รับมอบหมายให้สอนในรายวิชาเดิมจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในเรื่องดังกล่าวโดยการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ขึ้น

  3. วัตถุประสงค์การวิจัย 1.เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ สื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชา คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน

  4. 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจาการเรียนด้วยสื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน การจัดการเรียนรู้โดยใช้ สื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน 2.ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อ สื่อการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์รหัสวิชา 3204-2002 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน ตัวแปรตาม กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น

  5. ตาราง-ผังสรุปสำคัญ • 1.แสดงผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผล จากตารางพบว่า ผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีค่าเท่ากับ .8769 คิดเป็นร้อยละ 87.69 หมายถึงมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 87.69 หลังจากที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

  6. ตาราง-ผังสรุปสำคัญ • 2.แสดงผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน จากตารางพบว่า ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับ 87.83/89.33 หรือ E1 / E2 = 87.83/89.33 แสดงว่าหนังสือที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้

  7. ตาราง-ผังสรุปสำคัญ • 2.แสดงผลการวิเคราะห์หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน จากตารางพบว่า กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 4.0 คิดเป็นร้อยละ 13.3 และเมื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แล้วทดสอบหลังเรียนจากแบบทดสอบชุดเดิมได้คะแนนเฉลี่ย 26.8 คิดเป็นร้อยละ 89.3 ซึ่งคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 22.80 ของคะแนนเต็ม

  8. 3.แสดงผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์3.แสดงผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

  9. สรุปผล • 1)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือเท่ากับ 87.83/89.33 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุมาภรณ์ แสนเหลา (2553) • 2). ค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีค่าเท่ากับ 0.8769 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.69 หมายถึงหลังการเรียนโดยใช้นวัตกรรมผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 87.69 สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิรินทิพย์ สรรพอาษา(2552) • 3) จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าก่อนเรียนเป็นเพราะว่าการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดหลักที่ว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือผู้เรียนเป็นสำคัญ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542: 12-13) สอดคล้องกับงานวิจัยของ อัจนา นิตยพงศ์ชัย (2552)

  10. สรุปผล 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.29) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าหนังสืออิเลคทรอนิกส์ช่วยเร้าความสนใจในการเรียนแก่นักศึกษา เนื่องจากนักศึกษาได้ใช้ประสาทสัมผัสเกือบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นสายตา การรับฟัง และการสัมผัส นอกจากนี้ยังสามารถทราบผลการเรียนรู้ของตนเองได้ทันที ซึ่งนักศึกษาจะรู้สึกถึงการท้าทายเหมือนการแข่งขันกับตนเอง สอดคล้องกับงานวิจัยของ จีรนันท์ เค้าคำ(2553)

  11. ผู้สนับสนุนการวิจัย ผู้อำนวยการวรรณา ตันประภัสร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี สถานศึกษารับรางวัลพระราชทาน 2 ครั้งต่อเนื่อง ระดับอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ วิสัยทัศน์ มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศและความเป็นสากล ปรัชญา มาตรฐานดีกิจกรรมเด่น เน้นวินัย

More Related