1 / 30

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning)

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning). ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ใน การศึกษาความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ( Problem-based Learning) ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้.

lala
Download Presentation

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – based Learning)

  2. ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ในการศึกษาความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

  3. 1. Neufeld & Barrow(1974)การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นผลจากการแก้ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่ผู้เรียนทำการสืบค้นเอง 2. Barrows (1982) หมายถึง การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก วิธีการเรียนรู้บนหลักการของการใช้ปัญหาเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่เดิม ให้ผสมผสานกับข้อมูลใหม่ แล้วประมวลเป็นกับความรู้ใหม่

  4. 3. Duch, Groh, & Allen (2001) หมายถึง การเรียน การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดีมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถก้าวทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลก วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเรียนรู้

  5. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นทั้งวิธีการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอนในด้านการพัฒนาหลักสูตร เป็นวิธีการจัดหลักสูตรให้มีกิจกรรมการเรียนรู้โดยอาศัยปัญหาที่เป็นจริงในการปฏิบัติของวิชาชีพ วิธีการเรียนการสอนและวิธีการประเมินผลโดยเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีหลักสำคัญในการจัดให้เกิดการเรียนรู้โดยใช้กลไก3ประการคือ

  6. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก • (Problem-based Learning) • การใช้ปัญหามาเป็นอันดับหนึ่ง(Problem Comes First) ผู้เรียนจะได้รับโจทย์ปัญหา(Case/Scenario)จากนั้นจะตั้งคำถามหรือปัญหา (Problems)จากโจทย์ ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนไปสืบค้นข้อมูลความรู้มาเพื่อตอบคำถามหรือเพื่ออธิบายปัญหานั้น ๆ ปัญหาหรือคำถามจากโจทย์คือปรากฏการณ์ใดๆ ที่ผู้เรียนไม่สามารถอธิบายได้ ทั้งนี้จะไม่มีการปูพื้นผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นการสอนโดยการบรรยาย

  7. หรือ วิธีอื่นใดเกี่ยวกับข้อมูลความรู้ที่ต้องการเพื่อนำมาอธิบายปัญหาหรือคำถามในโจทย์ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนี้ ผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องที่กำลังจะศึกษาน้อย หรือไม่มีเลย แต่เมื่อผ่านกระบวนการการเรียนการสอนนี้แล้ว ผู้เรียนจะได้ความรู้เหล่านั้นจากการสืบค้นเอง และ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน โดยมีครูคอยให้การสนับสนุน(Facilitate) การเรียน

  8. 2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง(Self-directed Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning: SDL)ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนี้ อาศัยกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อเรียนรู้โดยตัวผู้เรียนเอง ซึ่ง ศาสตราจารย์ นพ.ทองจันทร์หงศ์ลดารมณ์ ได้ให้ความหมายว่า “การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง” โดยจะต้องมีเวลาสำหรับให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เวลาดังกล่าวจะต้องปรากฏในตารางสอนอย่างชัดเจน

  9. ทั้งนี้ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมายถึงการที่ผู้เรียนมีความสามารถดังนี้ 1. กำหนด ความต้องการในการเรียนรู้ของตนเองว่า ยังขาดความรู้อะไรบ้าง ที่ต้องการในการตอบปัญหาหรือโจทย์ที่กำหนดมาให้ 2. รู้และระบุแหล่งที่จะสืบค้นข้อมูลนั้น ๆ ได้ 3. กำหนดวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองและลงมือศึกษาที่จะศึกษาได้ 4.ประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองได้

  10. วิธีการของการเรียนรู้ด้วยตนเองจะประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้วิธีการของการเรียนรู้ด้วยตนเองจะประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ 2.1 ครูสร้างโจทย์ปัญหาที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ระหว่างการอภิปรายในกระบวนการกลุ่ม 2.2ตั้งประธาน และเลขากลุ่ม โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลืออยู่ประจำกลุ่ม 2.3 ผู้เรียนช่วยกันทำความเข้าใจกับคำศัพท์ของโจทย์ (ClerifyTerm and Concept)

  11. 2.4ผู้เรียนช่วยกันระบุปัญหาของสถานการณ์นั้น2.4ผู้เรียนช่วยกันระบุปัญหาของสถานการณ์นั้น (Define the Problem) 2.5ผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา (Analyse the Problem) 2.6ผู้เรียนช่วยกันตั้งสมมุติฐานและจัดลำดับความสำคัญ (Formulate Hypothesis) 2.7ผู้เรียนช่วยกันสร้างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Formulate Learning Objective) 2.8ผู้เรียนต่างคนไปรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม (Collect Additional Information Outside the Group)

  12. 2.9ผู้เรียนกลับเข้ากลุ่มเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาใหม่และสรุปหลักการเป็นแนวทางในการนำไปใช้2.9ผู้เรียนกลับเข้ากลุ่มเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาใหม่และสรุปหลักการเป็นแนวทางในการนำไปใช้ 2.10เมื่อเสร็จสิ้นการแก้ปัญหากลุ่มควรมีการประเมินตนเอง รวมทั้งให้เพื่อนๆ ประเมินตนในประเด็นต่อไปนี้ 1.ทักษะการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา 2. ความรู้ที่ได้จากโจทย์ปัญหาที่เรียน 3.ทักษะในการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง 4.ความร่วมมือและสนับสนุนในกระบวนการกลุ่ม

  13. 3. การเรียนรู้ในกลุ่มย่อย (Small Group Learning) การเรียนรู้โดยการอภิปรายในกลุ่มย่อย(Small Group Session/Tutorial Session)ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยการอภิปรายถกเถียงในกลุ่มย่อย ซึ่งเป็นโอกาสในการทำให้เกิดการขยายความให้กระจ่างชัด(Elaboration) ในเนื้อหาที่ได้ศึกษา พร้อมได้มีโอกาสเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในกลุ่มและ ได้ฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical Thinking)

  14. เนื่องจากต้องอธิบายค่า ตอบให้กับเพื่อนในกลุ่มอย่างชัดเจนตามความคิดเห็นที่ตนได้เสนอไว้ และเป็นโอกาสที่ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ทั้งในฐานะผู้พูดหรือถ่ายทอดข้อมูล(Transmit Message) และในฐานะผู้ฟัง(Receive Message) ฝึกการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในกลุ่ม เช่น ประธาน เลขา คนเขียนกระดาน และสมาชิกในกลุ่ม มีบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในกลุ่มย่อย โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสในการทำหน้าที่เป็นผู้นำ และผู้ตาม ส่งผลให้สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  15. ลักษณะที่สำคัญของPBLก็คือลักษณะที่สำคัญของPBLก็คือ - ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning) - การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก - ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก(facilitator) หรือผู้ให้ คำแนะนำ(guide) - ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

  16. - ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ปัญหา1ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง(illed- structure problem) - ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง(self-directed learning) - ประเมินผลจากสถานการณ์จริงโดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ(authentic assessment)

  17. ข้อดีและข้อเสียของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักข้อดีและข้อเสียของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ข้อดี 1. สนับสนุนให้มีการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก(Deep Approach) 2. สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. โจทย์ปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้ จะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียนกับการปฏิบัติงานในอนาคต ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้สามารถจดจำได้ดีขึ้น 4. ทั้งครูและผู้เรียนสนุกกับการเรียน 5. ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเป็นทีม

  18. 6. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การหาข้อสรุปเมื่อมีความขัดแย้งเป็นต้น ข้อเสีย 1. ผู้เรียนอาจไม่มั่นใจในความรู้ที่ตนค้นคว้ามา เพราะไม่สามารถกำหนดวัตถุประสงค์อาจมีผลกระทบในทางลบเกี่ยวกับการเรียนได้ 2. ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น ทั้งฝ่ายผู้เรียนและผู้สอน ฝ่ายผู้เรียน

  19. 3. การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักนี้ อาจไม่เหมาะกับผู้เรียนที่ไม่ชอบการอภิปรายถกเถียง ชอบฟังมากกว่า 4.จะต้องมีการติดตามและเฝ้าระวังการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และทำการปรับเปลี่ยนแก้ไขตามเห็นสมควร

  20. การสอนโดยใช้รูปแบบProblem-based Learningไม่ใช่การสอนแบบแก้ปัญหา (Problem solving method) มีครูจำนวนไม่น้อยที่นำวิธีสอนแบบแก้ปัญหาไปปะปนกับPBLเช่นสอนเนื้อหาไปบางส่วนก่อนจากนั้นก็ทดลองให้นักเรียนแก้ปัญหาเป็นกลุ่มย่อยแล้วครูก็บอกว่า “ฉันสอนแบบPBLแล้วนะ” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก

  21. เพราะการสอนแบบPBL นั้น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของผู้เรียนโดยตรงต้องมาก่อนโดยปัญหาจะเป็นตัวกระตุ้นหรือนำทางให้ผู้เรียนต้องไปแสวงหาความรู้ความเข้าใจด้วยตนเองเพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปัญหานั้นกระบวนการหาความรู้ด้วยตนเองนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา (Problem solving skill)

  22. แบบฝึกหัด 1.PBL ย่อมาจากคำว่าอะไร (เฉลย) 2.PBL คืออะไร (เฉลย) 3.การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก(PBL) มีกี่กลไก อะไรบ้าง (เฉลย) 4.ข้อดีของPBL คืออะไร (เฉลย) 5.ลักษณะที่สำคัญของPBL มีอะไรบ้าง (เฉลย)

  23. Problem-based Learning กลับ

  24. การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดีมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถก้าวทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลก วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเรียนรู้ กลับ

  25. มี 3 กลไก คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning) การเรียนรู้ในกลุ่มย่อย (Small Group Learning) กลับ

  26. 1. สนับสนุนให้มีการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก(Deep Approach) 2. สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. โจทย์ปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้ จะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียนกับการปฏิบัติงานในอนาคต ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้สามารถจดจำได้ดีขึ้น 4. ทั้งครูและผู้เรียนสนุกกับการเรียน 5. ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเป็นทีม กลับ

  27. - ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง • - การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก • - ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก(facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ(guide) • ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ • - ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน • ปัญหา1ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง(illed- structure problem) กลับ มีอีก

  28. - ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง(self-directed learning) - ประเมินผลจากสถานการณ์จริงโดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ(authentic assessment) กลับ

  29. นางสาวรัตนา กิ่งสาหัส จัดทำโดย นางสาวจันวิภา รัตนะ นางสาวอรทัย ศรีพิทักษ์ นายรพีภัทร บุญหาร นายรัฐศาสตร์ หาชารี สาขาภาษาอังกฤษ G:3 ปี 1

More Related