1 / 37

ทส.2203 องค์ประกอบ และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (INT 2203) Computer Organization and Architure

ANGKANA. ทส.2203 องค์ประกอบ และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (INT 2203) Computer Organization and Architure. อาจารย์อังคณา รอดประยูร. ANGKANA. CHAPTER 1. พื้นฐานสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์. หัวข้อการเรียนรู้.

kochava
Download Presentation

ทส.2203 องค์ประกอบ และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (INT 2203) Computer Organization and Architure

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ANGKANA ทส.2203 องค์ประกอบ และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์(INT 2203) Computer Organization and Architure อาจารย์อังคณา รอดประยูร

  2. ANGKANA CHAPTER 1 พื้นฐานสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

  3. หัวข้อการเรียนรู้  ออร์กาไนเซชัน และสถาปัตยกรรม  โครงสร้าง และหน้าที่การทำงาน  ประวัติสั้น ๆ ของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง : หลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง : ทรานซิสเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม : ไอซีคอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ : วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก คอมพิวเตอร์ยุคต่อ ๆ มา

  4. บทนำ เครื่องคอมพิวเตอร์ มีความหลากหลายไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงราคาเท่านั้น แต่ยังมีความแตกต่างกันในด้านขนาด ประสิทธิภาพ และงานประยุกต์ที่ใช้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นตัวกำหนดเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นกับทุกส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่บอร์ดที่เป็นส่วนของแผงวงจรไฟฟ้าสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไปจนถึงแนวความคิดในการประมวลผลแบบขนานของอุปกรณ์ประกอบเหล่านั้น

  5. ออร์กาไนเซชัน และสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คุณสมบัติต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้ ซึ่งจะมีส่วนที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการประมวลผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  6. ออร์กาไนเซชัน และสถาปัตยกรรม ออร์กาไนเซชันคอมพิวเตอร์ หมายถึง ส่วนประกอบแต่ละส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ และการเชื่อมต่อเข้ากับส่วนประกอบส่วนอื่น ๆ ซึ่งจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยจะต้องคำนึงถึงข้อกำหนดทางสถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น

  7. ออร์กาไนเซชัน และสถาปัตยกรรม ตัวอย่างของคุณสมบัติทางสถาปัตยกรรม ชุดคำสั่ง (instruction set) จำนวนบิตข้อมูลที่ใช้ในการสื่อความหมายข้อมูลชนิดต่าง ๆ (เช่น เลขจำนวนเต็ม หรือตัวอักษร) กลไกสำหรับอุปกรณ์นำเข้า และแสดงผลข้อมูล และเทคนิคที่ใช้ในการกำหนดที่อยู่ในหน่วยความจำ

  8. ออร์กาไนเซชัน และสถาปัตยกรรม ตัวอย่างของคุณสมบัติทางด้านออร์กาไนเซชัน ฮาร์ดแวร์ที่เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สัญญาณควบคุมการทำงาน ช่องติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างหน่วยความจำ

  9. โครงสร้างและหน้าที่การทำงานโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน โครงสร้างลำดับชั้น หมายถึง กลุ่มของระบบย่อยที่ถูกนำเข้ามาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ละระบบย่อยก็จะมีลักษณะเป็นโครงสร้างลำดับชั้นของอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะไล่ลงไปจนถึงระดับล่างสุดที่ประกอบด้วยอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น ทรานซิสเตอร์ตัวหนึ่ง หรือสายไฟฟ้าเส้นหนึ่ง เป็นต้น

  10. โครงสร้างและหน้าที่การทำงานโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน ลักษณะโครงสร้างลำดับชั้นของระบบที่มีความซับซ้อน ผู้ออกแบบจะต้องการทราบลักษณะโครงสร้างของแต่ละระดับสำหรับการออกแบบแต่ละขั้นตอน ฉะนั้น ผู้ออกแบบจึงต้องรับผิดชอบในสองเรื่องคือ โครงสร้าง และหน้าที่  โครงสร้าง : วิธีการที่อุปกรณ์ต่าง ๆ เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน  หน้าที่ : การทำงานของส่วนประกอบแต่ละส่วนในฐานะเป็นส่วนหนึ่ง ของโครงสร้าง

  11. โครงสร้างและหน้าที่การทำงานโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน หน้าที่การทำงาน โครงสร้างและหน้าที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยพื้นฐาน จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักสี่ส่วน คือ  การประมวลผลข้อมูล (Data processing facility)  ส่วนเก็บบันทึกข้อมูล (Data storage facility) ส่วนการเคลื่อนย้ายข้อมูล (Data movement apparatus)  ส่วนการควบคุม (Control mechanism)

  12. โครงสร้างและหน้าที่การทำงานโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน Operating environment(source and destination of data) Data movement apparatus ภาพแสดงองค์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามหน้าที่การทำงาน Controlmechanism Data processingfacility Datastoragefacility

  13. โครงสร้างและหน้าที่การทำงานโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน โครงสร้าง คอมพิวเตอร์มีการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วส่วนที่เชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกทั้งหมดถูกจัดให้เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง (peripherals) หรือสายสื่อสาร (communication lines) Communication lines Peripherals COMPUTER Storage Processing

  14. โครงสร้างภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โครงสร้างภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับบนสุด มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 อย่าง คือ COMPUTER  หน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) หน่วยความจำหลัก (main memory) ไอโอ (I/O) การเชื่อมต่อภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ (system interconnection) COMPUTER Main memory Input/Output Systeminterconnection Central processingunit

  15. โครงสร้างภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โครงสร้างภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ COMPUTER Memory Systembus I/O อุปกรณ์ที่น่าสนใจมากที่สุด และมีความสลับซับซ้อนมากที่สุด คือ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) CPU  ส่วนควบคุม (Control unit) : ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของซีพียู ส่วนเอแอลยู (ALU: Arithmetic and Logic unit) : ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งคณิตศาสตร์ และคำสั่งทางตรรกะ รีจิสเตอร์ (registers) : เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลภายในตัวซีพียู ส่วนเชื่อมต่อภายในซีพียู (CPU interconnection) : กลไกที่ช่วยให้ส่วนประกอบทั้งสามส่วนสามารถสื่อสาร ระหว่างกันได้ CPU Internal CPUinterconnection Registers Control unit Arithmeticandlogic unit

  16. โครงสร้างภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โครงสร้างภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ CPU Internalbus Registers ALU การสร้างส่วนควบคุม มีแนวทางหลากหลายต่างกันออกไป เทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ การใช้ไมโครโปรแกรม (microprogrammed) โดยสาระสำคัญแล้วหน่วยควบคุมที่ใช้ไมโครโปรแกรมนั้นก็คือ การประมวลผลคำสั่งย่อย (microinstruction) ที่กำหนดหน้าที่การทำงานของหน่วยควบคุม Control unit CONTROL UNIT Control unitregisters and decoders Sequencinglogic Control memory

  17. ทำไมจึงต้องศึกษาเรื่องออร์กาไนเซชัน และสถาปัตยกรรม เหตุผลที่สนับสนุนในการศึกษาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ได้แก่ • สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ เช่น นักศึกษาก้าวเข้าไปสู่การทำงานจริง และถูกตั้งคำถามเพื่อให้เลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่อประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่ การเพิ่มค่าใช้จ่ายใน องค์ประกอบส่วนต่าง ๆ เช่น การใช้ Cache ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือการใช้ซีพียูที่มีสัญญาณนาฬิกาสูงขึ้น จะมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเป็นอย่างยิ่ง

  18. ทำไมจึงต้องศึกษาเรื่องออร์กาไนเซชัน และสถาปัตยกรรม • ซีพียูจำนวนหนึ่งไม่ได้พัฒนาขึ้นมาสำหรับการใช้งานในเครื่องพีซีหรือเครื่องเซิร์พเวอร์ แต่เป็นเครื่องที่ทำงานเฉพาะด้าน ผู้ออกแบบอาจจะเขียนโปรแกรมโดยสร้างขึ้นมาสำหรับระบบเรียลไทม์หรือระบบขนาดใหญ่ • นิยามที่ใช้ในสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่น ๆ ได้

  19. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง : หลอดสุญญากาศ เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ม๊ประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี

  20. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง : หลอดสุญญากาศ • UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ • ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมี ขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง • ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น • เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

  21. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง : ทรานซิสเตอร์ มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง

  22. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง : ทรานซิสเตอร์ • ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) สร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มี ประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และ ได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS) • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language) • เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

  23. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม : ไอซี คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่าง ๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)

  24. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม : ไอซี • ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก • ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า) • ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

  25. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม : ไอซี แสดงแนวความคิดหลักในการทำงานของแผงวงจรรวม หรือไอซี

  26. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม : ไอซี อัตราการเติบโตของจำนวนทรานซิสเตอร์ในชิพ

  27. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม : ไอซี จากทฤษฏีของ Moore ทำให้เกิดข้อเท็จจริงตามมาดังนี้ • ราคาของชิพ แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตลอดช่วงเวลาการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ซึ่งหมายความว่าราคาของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ลดลงเป็นอย่างมาก • เนื่องจากส่วนประกอบในชิพถูกวางไว้ใกล้ชิดกันมาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ระยะห่าง หรือทางเดินสัญญาณสั้นลง มีผลให้ความเร็วในการทำงานของชิพเพิ่มขึ้น • เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้ในหลายสถานที่

  28. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม : ไอซี จากทฤษฏีของ Moore ทำให้เกิดข้อเท็จจริงตามมาดังนี้ • เครื่องคอมพิวเตอร์มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า และระบบระบายความร้อนลดลง • การเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบภายในไอซีมีความไว้วางใจได้มากขึ้น โดยเฉพาะ การเพิ่มจำนวนชิ้นส่วนในชิพ ทำให้มีจำนวนชิพลดลง และมีการเชื่อมต่อระหว่างชิพ ลดลงไปด้วย

  29. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ : วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้

  30. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ : วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) • ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวม สเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก • มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)

  31. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้ โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล

  32. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System) คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น

  33. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น

  34. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น

  35. ประวัติของคอมพิวเตอร์ประวัติของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น

  36. คำถามท้ายบท • นิยามของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง จงอธิบาย • จากรูป จงอธิบายแนวความคิดหลักในการทำงานของแผงวงจรรวม หรือไอซี

  37. THE END

More Related