1 / 56

BM624 Derivatives and Corporate Risk Management Part 3

BM624 Derivatives and Corporate Risk Management Part 3. ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. ตลาดตราสารอนุพันธ์ที่มีในประเทศไทย. การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับธนาคาร การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย

kiril
Download Presentation

BM624 Derivatives and Corporate Risk Management Part 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. BM624 Derivatives and Corporate Risk ManagementPart 3 ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ

  2. ตลาดตราสารอนุพันธ์ที่มีในประเทศไทยตลาดตราสารอนุพันธ์ที่มีในประเทศไทย • การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับธนาคาร • การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย • การซื้อขายดัชนี SET50 Index Futures กับ ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด

  3. ปัจจัยที่ทำให้เกิดตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยปัจจัยที่ทำให้เกิดตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย • การเชื่อมโยงระหว่างตลาดการเงินไทยกับตลาดการเงินโลก ซึ่งต้องเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยและ ราคาหุ้น • เพื่อให้มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยง • เพิ่มทางเลือกในการลงทุน

  4. ประเภทของอนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดโลกประเภทของอนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดโลก • อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ (Index) • อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ (Stock) • อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) • อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) • อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Currency)

  5. ตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย • บมจ.ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) • Thailand Futures Excahange PLC (TFEX) • เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งขั้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ เมื่อ 17 พ.ค. 2547 กำกับดูแลโดย สำนักงาน กลต.

  6. ตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย • บริษัทสำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด • Thailand Clearing House Co., Ltd. • TCH • เป็นบริษัทย่อยของ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นสำนักหักบัญชีให้กับตลาดอนุพันธ์ เมื่อ 9 ส.ค. 2547 เพื่อทำการประกันการชำระราคาให้ผู้ซื้อผู้ขาย โดยเรียกหลักประกันจากผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อให้มั่นใจว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะกระทำตามสัญญา

  7. OTC มีความเสี่ยงว่า คู่สัญญาจะสามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้หรือไม่ สัญญาจะขึ้นอยู่กับการเจรจาของคู่สัญญา ไม่เป็นมาตรฐาน สภาพคล่องต่ำ Derivatives ขจัดความเสี่ยงในส่วนนี้ได้ เนื่องจากมีสำนักหักบัญชีเป็นคู่สัญญา ลักษณะของสัญญาเป็นมาตรฐานเดียวกัน สภาพคล่องสูง ล้างฐานะสัญญาก่อนหมดอายุได้ ตลาด OTC และตลาดอนุพันธ์

  8. ลักษณะสำคัญของตราสารอนุพันธ์ลักษณะสำคัญของตราสารอนุพันธ์ • มีมูลค่าขึ้นอยู่กับสิ่งที่อนุพันธ์นั้นอ้างอิงอยู่ • มีอายุจำกัด • ใช้เงินลงทุนน้อย ทำให้การลงทุนให้อัตราผลตอบแทนที่สูง ทั้งด้านบวกและด้านลบ

  9. อนุพันธ์ทางการเงินที่มีซื้อขายแล้วในปัจจุบันอนุพันธ์ทางการเงินที่มีซื้อขายแล้วในปัจจุบัน • ตาม พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 อนุพันธ์ทางการเงินบางประเภทถูกนิยามโดยกฎหมาย ให้เป็นหลักทรัพย์และสามารถซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ คือ Warrant และ Derivatives Warrant ที่เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารในการที่จะซื้อสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอ้างอิงอยู่ ตามราคาและสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้

  10. Warrant • ผู้ออก (Issuer) คือ บริษัทที่เป็นเจ้าของกิจการ จึงสามารถออกหุ้นใหม่ให้กับผู้ลงทุนที่ใช้สิทธิได้โดยตรง

  11. Derivative Warrant • ผู้ออก (Issuer) ไม่ใช่บริษัทที่เป็นเจ้าของกิจการ จึงต้องหาหุ้นมาส่งมอบ เมื่อผู้ลงทุนขอใช้สิทธิ เช่น SCIB-C1 ซึ่งออกโดยกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นต้น

  12. สินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์สินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ • ตาม พรบ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า 2546 สินค้าที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดตราสารอนุพันธ์ คือ Futures, Options และ Futures บน Optionที่มีสินค้าอ้างอิงได้แก่ หุ้นสามัญ ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย (พันธบัตร และหุ้นกู้) อัตราแลกเปลี่ยน ทองคำ น้ำมันดิบ หรือดัชนีทางการเงินอื่น ๆ • ทั้งนี้ไม่รวมถึงสินค้าเกษตร ซึ่งระบุใน พรบ. ต่างฉบับ

  13. สินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์สินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ • SET 50 Index Futures • และในอนาคตจะมีสัญญา Interest Rate Futures และสัญญาอื่น ๆ เพิ่มเติม

  14. ขั้นตอนการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ขั้นตอนการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ ผู้ขาย ผู้ซื้อ บริษัทสมาชิก บริษัทสมาชิก TFEX สำนักหักบัญชี (TCH) คำนวณ และ เรียกเงินประกัน

  15. ใครคือสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ใครคือสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ • ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าอนุพันธ์ จากสำนักงาน กลต. ซึ่งกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็น บริษัทหลักทรัพย์ หรือ บริษัทที่จัดตั้งใหม่ ซึ่งถือหุ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ไม่ต่ำกว่า 75% • มีคุณสมบัติตามที่ตลาดตราสารอนุพันธ์กำหนด (รายงานฐานะทางการเงิน ความพร้อมในการประกอบธุรกิจ และการบริหารงาน)

  16. ประเภทของผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ประเภทของผู้ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ • Hedgers ผู้ลงทุนสถาบัน (ในและต่างประเทศ) กองทุนรวม บริษัทประกันภัย กบข. เป็นต้น • Speculators ผู้ลงทุนและผู้สนใจทั่วไป • Arbitrageurs ผู้ลงทุนสถาบัน (ในและต่างประเทศ)

  17. ผู้ลงทุนได้ประโยชน์จากอนุพันธ์ ได้อย่างไร • ผู้ลงทุนที่ถือหุ้นสามัญอยู่ และมีความเสี่ยงในการลงทุน จะใช้อนุพันธ์เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงด้วยต้นทุนต่ำ และปรับสัดส่วนการลงทุนได้สะดวก • ผู้ที่ต้องการเพิ่มอัตราผลตอบแทน เช่น คาดว่าตลาดจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็จะซื้อ Futures และถ้าคาดว่าตลาดจะมีแนวโน้มลดลง ก็จะขาย Futures แต่หากพยากรณ์ผิด ก็จะขาดทุน

  18. SET 50 Index Futures • คือ สัญญา ที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงกันในวันนี้ ว่าจะซื้อขาย SET 50 Index ณ ราคาหนึ่งในอนาคต เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เป็นต้น • SET 50 Index เป็นดัชนี ผู้ซื้อผู้ขายจึงไม่สามารถส่งมอบกันได้ จึงมีการจ่ายชำระเงินกำไรขาดทุนแทนกัน

  19. SET 50 Index Futures • SET 50 Index + Futures • = SET 50 Index Futures • SET 50 Index เป็นดัชนี ดังนั้นผู้ซื้อผู้ขายจึงไม่สามารถส่งมอบหลักทรัพย์(สินทรัพย์)ที่อ้างอิงได้ การคำนวณกำไรขาดทุนจึงใช้จำนวนเงินแทน (Cash Settlement)

  20. หลักเกณฑ์การคัดเลือก SET 50 Index • เลือกหุ้นสามัญที่มี Mkt. Cap. เฉลี่ยต่อวันย้อนหลัง 12 เดือน สูง 200 ลำดับแรก และไม่อยู่ระหว่างการสั่งพักการซื้อขาย (SP) นานเกิน 7 วัน • จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 6 เดือน • มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า 20% • เป็นหุ้นสามัญที่มีมูลค่าซื้อขายสม่ำเสมอ • พิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์ทุก 6 เดือน (พ.ค. และ พ.ย.)

  21. SET 50 Index Futures • เช่น ณ วันที่ 1 ต.ค. 48 ผู้ลงทุนซื้อ SET 50 Index Futures จำนวน 1 สัญญา ที่ 45 จุด โดยสัญญามีอายุ 3 เดือน • หมายความว่า ณ วันที่ 1 ต.ค. 48 ผู้ลงทุนได้ทำสัญญาตกลงที่จะซื้อ SET 50 Index Futures จากผู้ขายในราคา 45 จุด โดยกำหนดส่งมอบกันในอีก 3 เดือนข้างหน้า

  22. SET 50 Index Futures • หากวันที่ 30 ธ.ค. 48 ซึ่งเป็นวันส่งมอบ และ SET 50 Index Futures ปิดที่ ระดับ 48 จุด ก็จะมีกำไรจากการซื้อสัญญา SET 50 Index Futures เท่ากับ 3 จุด (48 – 45 จุด) • ถ้ากำหนดให้ 1 จุดดัชนี เท่ากับ 1,000 ก็จะมีกำไรเป็นเงินเท่ากับ 3,000 บาท

  23. ตัวคูณดัชนี (Multiplier) • ดัชนี SET 50 หนึ่งจุด = 1,000 บาท • เช่น ผู้ลงทุนขาย SET 50 Index Futures ที่ราคา 530.00 จุด แสดงว่ามูลค่าของสัญญาดังกล่าวมีค่า = 530.00 x 1,000 = 530,000 บาท

  24. Tick Size • การกำหนดราคาช่วงห่างของราคาขั้นต่ำ (Tick Size) ในการเสนอราคาแต่ละครั้ง หน่วยของราคาที่ละเอียดที่สุดที่เสนอได้คือ ดัชนีที่มีหน่วยทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง • เช่น 500.10 500.20 500.30 500.40 แต่ไม่สามารถเสนอที่ 500.24 ได้ เป็นต้น

  25. ซื้อขาย SET 50 Index Futures ทำอย่างไร • ส่งคำสั่งผ่านบริษัทสมาชิกของตลาดตราสารอนุพันธ์ • สมาชิกส่งคำสั่งผ่านไปยังระบบซื้อขายของตลาดอนุพันธ์ • คำสั่งซื้อขายจับคู่กัน • สมาชิกยืนยันไปยังลูกค้า

  26. ขั้นตอนการซื้อขาย • สั่งคำสั่งซื้อขายผ่าน Broker โดยลูกค้าจะต้องวางเงินประกันขั้นต้นก่อนคำสั่งซื้อขาย • สรุปกำไรขาดทุนทุกวัน (Daily Mark-to-Market) • วางเงินเพิ่ม หรือถอนออก เงินประกัน • หมั่นตรวจสอบสถานะ เพื่อประเมินและตัดสินใจปรับเปลี่ยนสถานะของตนเอง

  27. ซื้อ SET 50 Index Futures ต่างจากการซื้อหุ้นอย่างไร • ผู้ลงทุนไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนในวันที่ซื้อขาย • แต่เป็นการวางหลักประกัน 5 – 10% ของมูลค่าสัญญา • ทุกสิ้นวันจะมีการทำ Mark to Market ถ้าหากเงินไม่พอ ก็เรียกหลักประกันเพิ่ม หากเงินพอก็สามารถขอคืนได้

  28. Price Limit • ช่วงการเปลี่ยนแปลงสูงสุดในแต่ละวัน (Price Limit) ราคาของ Futures ที่เสนอซื้อขายกันจะ เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ไม่เกินกว่า 30% ของราคาที่สำนักหักบัญชีประกาศในวันก่อนหน้า • เช่น ราคาที่ใช้ชำระราคาเมื่อวานเท่ากับ 500 ดังนั้นในวันนี้ราคาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่น้อยกว่า 350 หรือไม่มากกว่า 650 เป็นต้น

  29. Circuit Breaker • Trigger Point 1 เมื่อราคาลดลงไม่ต่ำกว่า 10% ยังมีการซื้อขาย แต่จะทำการหยุดการซื้อขายเมื่อ SET หยุดการซื้อขาย เนื่องจาก Circuit Breaker (CB) ครั้งที่ 1 ทำงาน จะเริ่มการซื้อขายเมื่อ SET เปิด • Trigger Point 2 เมื่อราคาลดลงไม่ต่ำกว่า 20% ยังมีการซื้อขาย แต่จะหยุดการซื้อขายเมื่อ SET หยุดการซื้อขาย CB ครั้งที่ 2 ทำงาน จะเริ่มการซื้อขายใหม่เมื่อ SET เปิด

  30. Circuit Breaker • Final Price ยังเปิดให้ซื้อขายแต่ราคาต้องไม่ต่ำกว่า 30% • เมื่อใดก็ตามที่ตลาดหลักทรัพย์หยุดเมื่อขัดข้องทางเทคนิค TFEX ก็จะหยุดทันทีเช่นกัน

  31. เดือนที่สัญญาสิ้นอายุเดือนที่สัญญาสิ้นอายุ • ตรงกับ เดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และ ธันวาคม โดยนับไม่เกินกว่า 4 ไตรมาส • สัญญาจะสิ้นสุด 1 วันก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน ซึ่งนับเป็นวันสุดท้ายของการซื้อขาย

  32. เดือนที่สัญญาสิ้นอายุเดือนที่สัญญาสิ้นอายุ • ณ วันที่ 29 มีนาคม 2550 • สัญญาที่มีในระบบ คือ SET50MAR07 SET50JUN07 SET50SEP07 SET50DEC07

  33. เดือนที่สัญญาสิ้นอายุเดือนที่สัญญาสิ้นอายุ • ณ วันที่ 30 มีนาคม 2550 • สัญญาที่มีในระบบ คือ SET50MAR07 SET50JUN07 SET50SEP07 SET50DEC07 SET50MAR08 สาเหตุที่มีสัญญาเพิ่ม เพราะวันสุดท้ายของการซื้อขาย จึงมีรายการทับกัน 1 วัน

  34. เดือนที่สัญญาสิ้นอายุเดือนที่สัญญาสิ้นอายุ • ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 • สัญญาที่มีในระบบ คือ SET50JUN07 SET50SEP07 SET50DEC07 SET50MAR08

  35. ชื่อย่อของ SET 50 Index Futures Jan = F Jul = N Feb = G Aug = Q Mar = H Sep = U Apr = J Oct = V May = K Nov = X Jun = M Dec = Z

  36. ชื่อย่อของ SET 50 Index Futures • เช่น Series Name S50H06 = SET50MAR06 S50Z06 = SET50DEC06 S50H07 = SET50 MAR07

  37. Position Limit • จำนวนสัญญาที่ผู้ลงทุนสามารถมีสถานะได้ (Position Limit) • สัญญาที่ครบกำหนดในแต่ละเดือนไม่เกิน 10,000 สัญญา • สถานะสุทธิของทุกเดือนรวมกันต้องไม่เกิน 10,000 สัญญา (Long & Short)

  38. Settlement Price • ราคาที่ใช้ชำระราคาประจำวัน (Daily Settlement Price) เป็นราคาที่เผยแพร่ทุกสิ้นวัน เพื่อคำนวณกำไรขาดทุน • ราคาที่ใช้ชำระราคาวันสุดท้าย (Final Settlement Price) เป็นราคาที่ใช้คำนวณกำไรขาดทุนในวันสุดท้ายของสัญญา ใช้ค่าเฉลี่ยถึงทศนิยมตำแหน่งที่สอง รายนาที 30 นาที นำมาเฉลี่ย

  39. ขั้นตอนการทำ Marked-to-Market • 1 ก.ย. 48 ผู้ลงทุนซื้อ Futures เดือน ธ.ค. 49 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 520 จุด ถ้ากำหนดให้วางเงินประกันขั้นต้น 50,000 บาท และมีอัตราเงินประกันขั้นต่ำ 35,000 บาท • วันที่ 1 ถ้าดัชนีเป็น 522 จุด ผู้ลงทุนจะมีสถานะทางบัญชี คือ กำไร (522-520) x 1,000 = 2,000 และเงินประกันขั้นต้น 50,000 บาท รวมเป็น 52,000 บาท

  40. ขั้นตอนการทำ Marked-to-Market • วันที่ 2 ถ้าดัชนีเป็น 515 จุด จะขาดทุน (515-522) x 1,000 = -7,000 บาท ทำให้ยอดเงินลดลงเหลือ 52,000 – 7,000 = 45,000 บาท • วันที่ 3 ถ้าดัชนีเป็น 504 จุด จะขาดทุนอีก (504-515)x 1,000 = - 11,000 บาท ทำให้ยอดเงินคงเหลือ 45,000 – 11,000 = 34,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าเงินประกันขั้นต่ำ ผู้ลงทุนจึงต้องนำเงินมาชำระเพิ่มจนเท่ากับหลักประกันขั้นต้น คือ 16,000 บาท

  41. ประโยชน์ของ SET50 Index Futures • ใช้บริหารความเสี่ยง คือบางครั้งอาจเกิดการขาดทุนในหุ้น แต่กำไรจาก Futures • หากคาดการณ์ว่า SET 50 Index จะมีแนวโน้มดีขึ้น ให้ทำการซื้อ SET50 Index Futures • หากคาดการณ์ว่า SET 50 Index จะมีแนวโน้มแย่ลง ให้ทำการขาย SET50 Index Futures

  42. ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ตสล) • ต.ส.ล.หรือตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าพ.ศ.2542 เป็นตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งเดียวในประเทศไทย การซื้อขายล่วงหน้าในตลาด (Futures Exchange)

  43. สินค้าที่สามารถซื้อขายในตลาดล่วงหน้าทางการเกษตรได้คือสินค้าที่สามารถซื้อขายในตลาดล่วงหน้าทางการเกษตรได้คือ • 1.สินค้าประเภทธัญพืช และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ฝ้าย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม ฯลฯ 2.ปศุสัตว์ต่างๆ เช่น วัว ควาย สุกร ไก่งวง ไข่ ฯลฯ 3.สินค้าประเภทเส้นใย เช่น ฝ้าย ขนแกะ 4.อาหารอื่นๆ เช่น น้ำตาล มันฝรั่ง กาแฟ โกโก้ เป็นต้น

  44. สินค้าที่สามารถซื้อขายในตลาดล่วงหน้าทางการเกษตรได้คือสินค้าที่สามารถซื้อขายในตลาดล่วงหน้าทางการเกษตรได้คือ • 5.โลหะต่างๆ เช่น ทอง เงิน ทองคำขาว ทองแดง เป็นต้น 6.ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ 7.เงินตราต่างประเทศ เช่น เงินปอนด์สเตอริง เงินดอลลาร์แคนาดา เงินดอยซ์มาร์ค เงินเยน ฯลฯ ตราสารทางการเงินอื่นๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ดัชนีราคาหุ้น และอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

  45. สินค้าที่มีการซื้อขายใน ตสล. • คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) ได้อนุมัติให้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย นำข้าวขาว 5% และยางแผ่นรมควันชั้น 3 เข้าซื้อขายในตลาดฯเป็นลำดับแรกๆของปี 2547 • ในปี 2548 ได้มีการนำ มันสำปะหลังประเภทสตาร์ช ชั้นพิเศษ เข้ามาจำหน่ายใน ตสล.

  46. สินค้าที่มีการซื้อขายใน ตสล. • ในปัจจุบันสินค้าที่มีการซื้อขายใน ตสล. คือ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ข้าวขาว 5% ข้อตกลงขนาดเล็ก ยางแท่งเอสทีอาร์20 แป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ และ น้ำยางข้น

  47. ตัวอย่างข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า ข้าวขาว 5 %วันเริ่มแรกของการซื้อขาย 26 สิงหาคม 2547 • สินค้า ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ • คุณภาพสินค้าที่ส่งมอบ ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรฐาน • หน่วยการซื้อขาย 15,000 กิโลกรัม หรือ 15 เมตริกตัน /หนึ่งหน่วยการซื้อขาย • หน่วยการส่งมอบ 15,000 กิโลกรัม หรือ 15 เมตริกตัน / หนึ่งหน่วยการส่งมอบ

  48. ตัวอย่างข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า ข้าวขาว 5 % • วิธีการซื้อขาย ระบบอิเล็คทรอนิกส์ • ราคาซื้อขาย บาท / กิโลกรัม • อัตราการขึ้นลงของราคา (ช่วงราคา) • 0.02 บาท / กิโลกรัม • อัตราการขึ้นลงของราคาสูงสุดประจำวัน • 0.32 บาท / กิโลกรัม(ตลาดอาจเปลี่ยนแปลงอัตราการขึ้นลงของราคาสูงสุดประจำวันโดยใช้ช่วงราคาอ้างอิงตามทฤษฎี)

  49. ตัวอย่างข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า ข้าวขาว 5 % • อัตราเงินประกันขั้นต้น (ไม่ใช่เดือนส่งมอบ) • สำหรับบัญชีประกันความเสี่ยง 4,200 บาท ต่อข้อตกลง • สำหรับบัญชีอื่น ๆ 5,600 บาท ต่อข้อตกลง • อัตราเงินประกันขั้นต้น (เดือนส่งมอบ) • สำหรับบัญชีประกันความเสี่ยง 41,300 บาท ต่อข้อตกลง • สำหรับบัญชีอื่น ๆ 55,000 บาท ต่อข้อตกลง

  50. ตัวอย่างข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า ยางแผ่นรมควันชั้น 3วันเริ่มแรกของการซื้อขาย 28 พฤษภาคม 2547 • สินค้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 • คุณภาพสินค้าที่ส่งมอบตามมาตรฐาน Green Book และผลิตหรือส่งมอบจากโรงงานที่ตลาดรับรอง • หน่วยการซื้อขาย5,000 กิโลกรัม หรือ 5 เมตริกตัน / หนึ่งหน่วยการซื้อขาย • หน่วยการส่งมอบ20,000 กิโลกรัม หรือ 20 เมตริกตัน / หนึ่งหน่วยการส่งมอบ

More Related