1 / 20

IMMUNOGLOBULIN

IMMUNOGLOBULIN. IMMUNOGLOBULINหรือ ANTIBODY คือสารโปรตีนที่อยู่ในเลือดที่ทำหน้าที่ต่อสู้หรือป้องกันการติดเชื้อโรคจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่เข้ามาในร่างกาย ส่วนซีรัมเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อแอนติเจนและจะทำปฏิกริยาที่มีความจำเพาะ.

kim
Download Presentation

IMMUNOGLOBULIN

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. IMMUNOGLOBULIN • IMMUNOGLOBULINหรือANTIBODYคือสารโปรตีนที่อยู่ในเลือดที่ทำหน้าที่ต่อสู้หรือป้องกันการติดเชื้อโรคจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่เข้ามาในร่างกาย ส่วนซีรัมเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อแอนติเจนและจะทำปฏิกริยาที่มีความจำเพาะ

  2. แอนติบอดี้อยู่ในซีรัมเป็นส่วนของโปรตีนที่เรียกว่าแกมม่าโกบูลิน(gammaglobulin)และเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานของร่างกายจึงเรียกว่าอิมมูโนโกลบูลินหรือชื่อย่อว่า lgคำว่าimmunoglobulinเป็นชื่อเรียกที่หมายถึงGlobulinที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางอิมมูนนั้นเอง

  3. แอนติบอดี้ทุกตัวมีตำแหน่งที่เหมือนกัน 2 ตำแหน่งที่ใช้จับกับAntigenic determinants ตำแหน่งนี้เรียกว่าAntigen-binding sitesจำนวน Antigen-binding sitesบนแอนติบอดี้ถือเป็นวาเลนซี่(Valence)ของแอนติบอดี้ อย่างแอนติบอดี้ของคนมี 2 วาเลนซี่ดังนั้นจึงเรียกว่าแอนติบอดี้ Bivalent

  4. แอนติบอดี้เป็นผลผลิตของ พล่าสม่าเซลล์(plasma cell) และ lymphocyte นอกจากพบในซีรั่มแล้วยังพบในสาร คัดหลั่งอื่นๆ ของร่างกายในเนื้อเยื่อเช่น ในปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง น้ำนม น้ำลาย น้ำตา ต่อมน้ำเหลืองน้ำอสุจิ เป็นต้น

  5. การสร้างสารภูมิต้านทาน-แอนติบอดี้การสร้างสารภูมิต้านทาน-แอนติบอดี้ • - มาจากเม็ดเลือดขาวชนิด B-lymphocyte โดยที่มันพร้อมที่จะตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่มีความจำเพาะต่อมัน โดยเมื่อเจ้าสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจน มาพบกับ B-lymphocyte จะทำให้เม็ด เลือดขาวเกิดการเปลี่ยน แปลง ทั้งทางด้าน proliferation และ differentiation ทำให้เกิดเป็นกลุ่มของ lymphocyteที่สามารถผลิตแอนติบอดี้ที่มีฤทธิ์จำเพาะต่อกับแอนติเจนหรือสิ่งแปลกปลอมนั้นเท่านั้น

  6. -อิมมิวโนโกลบูลินประกอบด้วยพอลิเพปไทด์ 4 สาย เชื่อมกันด้วยพันธะไดซัลไฟด์ พอลิเพปไทด์ทั้ง 4 สาย ประกอบด้วยสายยาว 2 สายที่เหมือนกันหรือเรียกว่าสายหนัก(Heavy chain หรือ H chain)มีกรดอะมิโนสายละประมาณ 440 ตัว และสายสั้น 2 สายที่เหมือนกันหรือเรียกว่าสายเบา(Light chain หรือ L chain)มีกรดอะมิโนสายละประมาณ 220 ตัวสายหนัก แต่ละสายเชื่อมกับสายเบาด้วยพันธะโควาเลนชนิดพันธะไดซัลไฟด์

  7. ทั้งสายหนักและสายเบาประกอบด้วย 2 บริเวณ คือ บริเวณที่เปลี่ยนแปลงได้(variable region)กับบริเวณที่คงที่(constant) บริเวณที่คงที่ของสายหนักและสายเบาประกอบด้วยกรดอะมิโน 320 และ 105 ตัว ตามลำดับ และไม่ค่อยแตกต่างกันมากในอิมมิวโนโกลบูลินแต่ละชนิด ส่วนกรดอะมิโนที่อยู่บริเวณที่เปลี่ยนแปลงได้ของทั้งสายหนักและสายเบามีลำดับของกรดอะมิโนแตกต่างกัน ซึ่งจะจำเพาะกับแอนติบอดี้แต่ละชนิด

  8. -ส่วนของอิมมิวโนโกลบูลินที่จับกับแอนติเจนเรียกว่าFab(antigen-binding sites)อยู่ทางด้านที่มีปลายหมู่อะมิโน ประกอบด้วยบริเวณที่เปลี่ยนแปลงได้ของเพปไทด์ทั้งสายหนักและสายเบา ส่วนบริเวณ Fc (crystallization) อยู่ทางด้านที่มีปลายหมู่คาร์บอกซิลส่วนFCนี้มีส่วนสำคัญในการจับกับรีเซพเตอร์ของเซลล์แต่ละชนิดต่างๆหรือกระตุ้นการทำงานของคอมพลีเมนต์

  9. ชนิดและคุณสมบัติของแอนติบอดี้อิมมูโมนโกลบูลินหรือแอนติบอดีย์ในระบบ humoral immunity แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆคือIgG / IgA / IgM / IgD / IgE • 1.IgG เป็นอิมมูโนโกลบูลินที่มีมากที่สุดในซีรั่มประมาณ 80-85%มีความสำคัญที่สุดในการคุ้มกันร่างกาย สามารถผ่านรกจากแม่สู่ลูกได้ มี ขนาดเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับอิมมิวโนโกลบูลินตัวอื่นๆ

  10. - หน้าที่สำคัญคือช่วยร่างกายต่อสู้กับ bacteria / virus / toxin เป็นส่วนใหญ่ - เป็นแอนติบอดี้ที่ถูกสร้างขึ้นมามากที่สุดเมื่อมีการพบสิ่งแปลกปลอมในระบบซ้ำ (secondary immune response) • 2.IgA เป็นอิมมูโนโกลบูลินหรือแอนติบอดี้ที่พบในซีรั่มและในสารคัดหลั่งต่างๆ ของร่างกายและมีปริมาณรองจาก lg คือมีอยู่ประมาณ 13% โดยในซีรั่ม จะพบได้ประมาณ 1/6 ของ IgG ส่วนในสารคัดหลั่งเช่นน้ำนม น้ำลาย น้ำตาเป็นต้น

  11. - ช่วยป้องกันการติดเชื้อในบริเวณเยื่อเมือก (mucosal surface) ของ ระบบทางเดินอาหาร/ระบบทางเดินหายใจด่านแรกของการป้องกัน- ปกติ IgA จะพบมากในสารคัดหลั่งสูงมากกว่าตัวอื่นๆ • - จะเพิ่มระดับสูงขึ้นมากในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร

  12. 3.IgM เป็นสารอิมมิวโนโกลบูลินหรือแอนติบอดี้ตัวแรกที่สร้างขึ้นเมื่อร่างกายถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนและมีขนาดใหญ่ที่สุด มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 900,000 ดาลตัน เป็นสารอิมมิวโนโกลบูลินชนิดแรกที่ทารกเริ่มสร้างได้เอง โดยหากทารกมีการติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดาจะตรวจพบได้ในระดับสูง เป็นสารอิมมิวโนโกลบูลินที่มีความจำเพาะพิเศษต่อ lipopolysaccharide ของแบคทีเรีย ชนิดแกรมลบ(เป็นตัวสำคัญในการกำจัดแบคทีเรียกลุ่มนี้)

  13. 4.IgD พบได้น้อยมากในซีรั่ม มีอยู่ประมาณ 0.2% เชื่อว่าช่วยควบคุมการตอบสนองทางอิมมูนแอนติบอดี้ในโรคออโตอิมมูนเป็นชนิด IgD • 5.IgE ตรวจพบเป็นตัวล่าสุด พบได้ในสารคัดหลั่งของร่างกาย พบในซีรั่มได้น้อย หน้าที่สำคัญเป็นตัวร่วมที่ จะทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ ชนิด anaphylaxis หรือ type I hypersensitivity (ภูมิคุ้มกันไวเกิน ชนิด ที่หนึ่ง) ตรวจพบได้ในระดับสูงกว่าปกติในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อพยาธิในร่างกาย

  14. การผสานกันในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายการผสานกันในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย • โดยปกติแล้วในการสร้างแอนติบอดี้หรือภูมิต้านทานต่อสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนที่เข้ามาในร่างกายนั้นจะเป็นการ ผสานกันระหว่าง B-lymphocyte / T-lymphocyte และ Macrophage โดยตัวที่ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดี้เพื่อ ตอบสนองต่อแอนติเจนนั้นเป็นหน้าที่ของ พลาสม่าเซล (plasma cell) ซึ่งถือกำเนิดมาจาก B-lymphocyte

  15. โดยแอนติเจนในธรรมชาติส่วนใหญ่ในการกำจัดออกจะเป็นการอาศัยความช่วยเหลือร่วมมือกันจาก helper T cell และmacrophageโดยเมื่อเจ้าสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนที่เข้าสู่ร่างกายจะไปทำปฏิกริยากับmacrophageแบบไม่จำเพาะเจาะจงก่อนโดย macrophage จะมีการเตรียมแอนติเจนนั้นให้พร้อมเพื่อส่งให้ กับ T lymphocyteที่ส่วนผิวของ T cell จะมีส่วนที่คอยจับกับแอนติเจนนั้นเรียกว่า T cell antigen receptor

  16. เมื่อ T cell antigen receptor จับกับแอนติเจนเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะ ปล่อยตัวเองออกจากผิวของ T cell มาจับกับ macrophage ที่ส่วน Fc receptor บนผิวของ macrophage แทน จากนั้น macrophage ก็จะพาไปพบกับ B lymphocyte ซึ่งเจ้า B cell นี้ก็จะจับกับเจ้าแอนติเจน- สิ่งแปลกปลอมไว้โดยใช้ส่วนที่ผิวที่เรียกว่าsurfaceimmunoglobulin และจะเริ่มตอบสนองต่อแอนติเจนนั้นโดยการเริ่มเพิ่มจำนวน และเปลี่ยนรูปร่างเป็นพลาสม่าเซลล์และพลาสม่าเซลก็จะเริ่มผลิตแอนติบอดี้ที่มีฤทธิ์ จำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอมนั้น-แอนติเจน ออกมา

  17. กลไกการทำงานของภูมิคุ้มกันกลไกการทำงานของภูมิคุ้มกัน • การทำงานของภูมิคุ้มกันเรียกรวมกันว่า ระบบภูมิคุ้มกัน ในการทำงาน แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ -อาศัยเซลล์โดยตรง และอาศัยเซลล์โดยอ้อม ซึ่งทำงานสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เรียกว่ารวมกันเป็นกองกำลังติดอาวุธ และประจัญบาน ต่อต้านผู้บุกรุกไม่ให้รุกรานร่างกาย

  18. -ภูมิคุ้มกันที่อาศัยเซลล์โดยตรง คือ เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และเม็ดเลือดขาวไปพบเข้า ก็จะจับกินทำลายเสีย เปรียบกับการประจันหน้าศัตรู และใช้กำลังเข้าห่ำหั่นกันภูมิคุ้มกันที่อาศัยเซลล์โดยอ้อม คือ เมื่อเชื้อโรคเข้ามา เซลล์จะสร้างสารต่อต้าน สิ่งแปลกปลอมขึ้นมา เรียกว่า แอนติบอดี้(antibody) แอนติบอดีจะไปจับกับสิ่งแปลก ปลอม เหมือนแม่กุญแจ กับลูกกุญแจ ทำให้สิ่งแปลกปลอมไม่สามารถ แผลงฤทธิ์กับร่างกายได้

  19. -การสร้างสารภูมิคุ้มกันนั้น ในขั้นแรกเมื่อมีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามา จะมีเซลล์ไปทำความรู้จัก กับเชื้อโรค แล้วบรรจุข้อมูล ส่งไปให้เซลล์ที่มีหน้าที่สร้างสารต่อต้าน หากเคยรู้จักแล้ว ก็จะสร้างสารต่อต้านออกมาเลย แต่ถ้ายัง ไม่เคยรู้จักเลย ก็จะต้องส่งต่อไปให้เซลล์อีกตัวถอดรหัสก่อนเพื่อที่จะสร้างสารต่อต้าน ให้ถูกชนิดกับเชื้อโรคที่เข้ามา้

  20. -สารภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดี) แต่ละชนิดจะมีอายุไม่เท่ากัน บางชนิดก็อยู่ได้ไม่นาน บางชนิดก็อยู่ได้หลายปี บางชนิดก็อยู่ได้ตลอดชีวิต เช่น วัคซีนหัดเยอรมัน ที่คุ้มกันได้ตลอดชีวิต

More Related