1 / 26

เอกสารประกอบการสอนวิชา เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ครั้งที่ 6 เรื่อง การวิเคราะห์มูลค่ารายปี ( Annual worth Analysis )

เอกสารประกอบการสอนวิชา เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ครั้งที่ 6 เรื่อง การวิเคราะห์มูลค่ารายปี ( Annual worth Analysis ). การวิเคราะห์มูลค่ารายปี ( Annual worth Analysis ).

kim
Download Presentation

เอกสารประกอบการสอนวิชา เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ครั้งที่ 6 เรื่อง การวิเคราะห์มูลค่ารายปี ( Annual worth Analysis )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมครั้งที่ 6 เรื่องการวิเคราะห์มูลค่ารายปี(Annual worth Analysis)

  2. การวิเคราะห์มูลค่ารายปี (Annual worth Analysis) • มูลค่ารายปี (AW) จึงมีความหมายเชิงเศรษฐศาสตร์ว่า เป็นมูลค่ารายปีของค่าเงินในปัจจุบัน (PW) และเงินในอนาคต (FW) ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นที่ระยะเวลาต่าง ๆ ตลอดโครงการ • โดยคำนวณจากอัตราผลตอบแทนต่ำสุดที่น่าสนใจ (MARR) ตลอดระยะเวลา n ปี การแปลงมูลค่าเงินรายปี (AW) จากค่าเงินในปัจจุบัน และเงินในอนาคตสามารถทำได้ ดังนี้ AW = PW (A/P, i%, n) = FW (A/F, i%, n)

  3. การวิเคราะห์มูลค่ารายปี (Annual worth Analysis) • โดยที่ n คือ จำนวนคาบ (Period) ของระยะเวลา ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่า AW ของโครงการต่าง ๆ สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้เลย เนื่องจากมีระยะเวลาที่เท่ากัน (คือ หนึ่งปีเท่ากัน) • เมื่อค่าของเงินแบบต่าง ๆ (P หรือ F) ถูกเปลี่ยนรูปมาเป็นมูลค่ารายปี (A) เหมือนกันทั้งหมดแล้ว มูลค่ารายปีที่แสดงนั้น จะเป็นมูลค่าที่คำนวณจากอายุโครงการแต่ละโครงการเพียง 1 รอบเท่านั้น • เมื่อมูลค่ารายปี (AW) สามารถคำนวณจากอายุโครงการเพียง 1 รอบ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำไปคำนวณหาตัวคูณร่วมน้อย(Least Common Multiple, LCM) ของอายุโครงการต่าง ๆ แล้วนำมาคำนวณหามูลค่ารายปี (AW) เหมือนกับวิธีการคำนวณหามูลค่าเทียบเท่าปีปัจจุบัน (PW) และมูลค่าเทียบเท่าปีในอนาคต (FW)

  4. กรณีที่อายุของโครงการไม่เท่ากันกรณีที่อายุของโครงการไม่เท่ากัน เมื่อโครงการต่าง ๆ ที่ถูกนำมาเปรียบเทียบมีอายุโครงการไม่เท่ากัน การฃ วิเคราะห์มูลค่าเทียบเท่ารายปี (AW) จึงมีสมมติฐานหลัก 3 ประการ ดังนี้ • การบริการที่เกิดขึ้น ยังคงเกิดขึ้นไปตลอดไม่มีวันสิ้นสุด • โครงการที่ถูกเลือกนั้น ต้องมีลักษณะโครงการที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เดิม เหมือนกับที่เกิดขึ้นในรอบแรก • มูลค่าเงินที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ตลอดอายุโครงการนั้น ต้องมีมูลค่าเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

  5. ตัวอย่างที่ 6.1 ข้อได้เปรียบและการใช้การวิเคราะห์มูลค่ารายปี จากตัวอย่างที่ 5.2 เกี่ยวกับการเลือกเช่าสำนักงาน การวิเคราะห์มูลค่าเทียบเท่าปัจจุบัน (PW) ได้ทำการวิเคราะห์โครงการตลอดระยะเวลา 18 ปี เนื่องจากเป็นค่าตัวคูณร่วมน้อยของอายุโครงการ 6 ปี และ 9 ปี เมื่อพิจารณาที่ทำเล A ซึ่งมีอายุโครงการ 6 ปี แผนภูมิกระแสเงินสดในรูปที่ 6.1 แสดงกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นตลอดอายุโครงการ 3 รอบ (การลงทุนครั้งแรก $15,000; ค่าใช้จ่ายรายปี $3,500; การคืนเงินประกัน $1,000) จงแสดงมูลค่าเทียบเท่าในปัจจุบัน (PW) ด้วยอัตราดอกเบี้ย 15% ตลอดอายุโครงการ 3 รอบ จากตัวอย่างที่ผ่านมา มูลค่าเทียบเท่าในปีปัจจุบันสำหรับทำเล A เป็น $-45,036

  6. วิธีทำ : คำนวณหามูลค่าเทียบเท่ารายปีจากมูลค่าเงินต่าง ๆ ของอายุโครงการ 1 รอบ AW = -15,000 (A/P, 15%, 6) + 1,000 (A/F,15%,6) – 3,500 = $-7,394 เมื่อใช้การคำนวณแบบเดิมนี้กับอายุโครงการหลาย ๆ รอบ ก็ย่อมได้มูลค่าเทียบเท่ารายปี (AW) เท่าเดิม คือ $-7,349 ดังนั้น เราอาจใช้สมการ 6.1 เพื่อคำนวณหามูลค่าเทียบเท่าในปีปัจจุบัน (PW) จากอายุโครงการ 3 รอบ (18 ปี) ได้ดังนี้ AW = - 45,036 (A/P, 15%,18) = $-7,349

  7. จึงสรุปได้ว่า การคำนวณหามูลค่ารายปี (AW) จากอายุโครงการเพียงรอบเดียว กับการคำนวณหามูลค่ารายปี (AW) จากมูลค่าเทียบเท่าในปีปัจจุบัน (PW) ซึ่งมีอายุโครงการ 3 รอบ (18 ปี) มีค่าเท่ากัน คำตอบ ข้อแนะนำ: ถ้าต้องการหามูลค่าเทียบเท่ารายปี (AW) จากมูลค่าเทียบเท่าในปีอนาคต (FW) ขั้นแรกให้หามูลค่าเทียบเท่าในปีอนาคต (PW) ก่อน โดยคำนวณมูลค่าเทียบเท่าในปีปัจจุบัน (PW) ตลอดอายุ 18 ปี แล้วจึงคำนวณหามูลค่าเทียบเท่ารายปี (AW) ซึ่งผลการคำนวณอาจได้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากเดิมไปเล็กน้อย FW = PW (F/P,15%,18) = -45,036 (12.3755) = $-557,343 AW = FW (A/F,15%,18)= -557343 (0.01319) = $-7,351

  8. การคำนวณของ Capital Recovery และมูลค่าเทียบเท่ารายปี (AW) • มูลค่ารายปี (AW) สำหรับทางเลือกใด ๆ นั้น เป็นการคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการลงทุนครั้งแรก (P) ซึ่งได้มีการกำหนดอัตราผลตอบแทน (ปกติจะใช้เป็นอัตราผลตอบแทนต่ำสุดที่น่าสนใจ MARR) เอาไว้แล้ว กำหนดสัญลักษณ์ CR สำหรับการคำนวณมูลค่าเงินรายปีจากการลงทุนครั้งแรก (Capital Recovery) และมูลค่าเทียบเท่าของจำนวนเงินรายปี (A) ดังแสดงในสมการ AW = – CR – A หมายเหตุCR และ A ต่างมีเครื่องหมายลบ (-) ทั้งคู่ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ในโครงการ

  9. การคำนวณของ Capital Recovery และมูลค่าเทียบเท่ารายปี (AW) • การคำนวณหา Capital Recovery, CR สามารถคำนวณจากการลงทุนเริ่มต้น (P) ที่ได้ลงทุนไป เพื่อใช้ทำเป็นโครงการไปตลอดอายุการใช้งาน โดยกำหนดอัตราผลตอบแทนไว้ค่าหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม • Capital Recovery เป็นมูลค่ารายปีของการลงทุนครั้งแรกรวมกับจำนวนเงิน (ทุน) รายปีที่เกิดขึ้นในการครอบครองทรัพย์สิน ดังนั้น การใช้แฟกเตอร์ A/P จึงจำเป็นในการแปลงมูลค่าปัจจุบัน (P) มาเป็นมูลค่ารายปี (A) และใช้แฟกเตอร์ A/F ก็จำเป็นในการแปลงมูลค่าอนาคต (F) ของมูลค่าซากของทรัพย์สิน มาเป็นมูลค่ารายปี (A) ดังแสดงในสมการ CR = – [P(A/P,i%,n) – S(A/F,i%,n) ]

  10. ตัวอย่างที่ 6.2 การคำนวณหา CR และ AW บริษัทล๊อคฮีท มาร์ติน กำลังพิจารณาการเพิ่มกำลังของเครื่องส่ง เพื่อที่จะได้ทำสัญญากับบริษัททางยุโรป ในการเปิดตลาดการสื่อสารทั่วโลก ชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของฐานบนพื้นโลกคาดว่าต้องใช้เงินลงทุนถึง $13 ล้านดอลลาร์ โดยแยกเป็นเงินลงทุน ณ เวลาปัจจุบันเป็นเงิน $8 ล้านดอลลาร์ และอีก $5 ล้านดอลลาร์ ในตอนสิ้นปีที่ 1 ของโครงการ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรายปีของระบบเริ่มตั้งแต่ปีแรกและตลอดโครงการ มีมูลค่า $0.9 ล้านดอลลาร์ต่อปี อายุการใช้งานของฐานบนพื้นโลกนี้ประมาณ 8 ปี และมีมูลค่าซากประมาณ $0.5 ล้านดอลลาร์ จงคำนวณหามูลค่ารายปี (AW) ของระบบ ถ้ากำหนดอัตราผลตอบแทนต่ำสุด ที่น่าสนใจของบริษัทเป็น 12%

  11. วิธีทำ :กระแสเงินสดของโครงการระบบติดตามดาวเทียมจะต้องถูกแปลงให้เป็นมูลค่าเทียบเท่ารายปีตลอดทั้ง 8 ปี (ตัวเลขที่แสดงมีหน่วยเป็น $1 ล้านดอลลาร์) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรายปีเป็น A = -0.9 ต่อปี และ The Capital Recovery จึงสามารถคำนวณได้โดยใช้สมการ มูลค่า P ในปีที่ 0 ของการลงทุนทั้งสองครั้ง คือ $8 ล้านดอลลาร์ และ $5 ล้านดอลลาร์นั้น สามารถแปลงค่าได้โดยใช้แฟกเตอร์ A/P มาคูณ CR = - {[8+5(P/F,12%,1)] (A/P,12%,8) – 0.5(A/F,12%,8)} = - {[12.46](0.2013-0.040)} = $ - 2.47 การตีความหมายของผลลัพธ์ที่ได้นี้มีความสำคัญต่อบริษัทล๊อคฮีท มาร์ติน เป็นอย่างมากค่า CR นี้ หมายความว่า ในทุก ๆ ปี ตลอดทั้ง 8 ปี ของการดำเนินโครงการนี้ บริษัทควรมีรายรับต่อปี ไม่น้อยกว่าปีละ 2,470,000 ดอลลาร์ เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินลงทุนต่าง ๆ ที่บริษัทได้ลงทุนไป เมื่อคิดรวมกับอัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปีแล้ว ซึ่งตัวเลขที่ได้นี้ยังไม่รวมกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรายปีอีก ซึ่งมีปีละ $0.9 ล้านดอลลาร์ ค่า CR = $-2.47 ล้านดอลลาร์ จึงมีมูลค่าเทียบเท่าปีปัจจุบันของเงินลงทุน จึงแสดงเครื่องหมายลบ (-) ไว้ข้างหน้า ดังนั้น มูลค่ารายปี (AW) รวมของโครงการนี้เป็น AW = - 2.47 - 0.9= $-3.37 ล้านดอลลาร์ต่อปี มูลค่ารายปีที่คำนวณได้นี้ เป็นมูลค่ารายปีตลอดทั้งอายุการใช้งานของโครงการทั้ง 8 ปี คำตอบ

  12. มูลค่ารายปีของการลงทุนถาวร (มีอายุโครงการเป็นนิรันดร์) • มูลค่ารายปีเทียบเท่าของโครงการที่มีอายุเป็นนิรันดร์ (The capitalized cost) ส่วนมากใช้กับการประเมินโครงการสาธารณะ เช่น โครงการควบคุมน้ำท่วม โครงการคลองส่งน้ำ โครงการสร้างสะพาน เป็นต้น การวิเคราะห์มูลค่ารายปีของโครงการลักษณะนี้ ค่าที่ใช้จะเป็นมูลค่าเทียบเท่าปัจจุบันของการลงทุนที่มีอายุโครงการเป็นนิรันดร์ คูณกับอัตราผลตอบแทนรายปีจากการลงทุนนั่นเอง ดังนั้น A = Pּi

  13. ตัวอย่าง 6.5สำนักงานปฏิรูปการเกษตรแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาโครงการ 3 โครงการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งน้ำเข้าสู่เขตเกษตรกรรมของรัฐ ถ้าโครงการ A ต้องการขุดคลองเอาตะกอนและวัชพืชต่าง ๆ ออก เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งน้ำในลำคลองมากขึ้น สำนักงานมีแผนที่จะซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับขุดลอกคลองมูลค่า $650,000 อุปกรณ์ชิ้นนี้คาดว่าจะมีอายุการใช้งานเป็น 10 ปี และมีมูลค่าซาก $17,000 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรายปี ปีละ $50,000 ในการควบคุมวัชพืชให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม จะใช้สารเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในช่วงเวลาส่งน้ำ คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมวัชพืชนี้ประมาณ ปีละ $120,000 สำหรับโครงการ B เป็นโครงการฉาบผิวคลองด้วยคอนกรีต ซึ่งมีค่าใช้จ่ายขั้นต้น $4 ล้าน การฉาบผิวคลองด้วยคอนกรีตคาดว่าจะใช้งานได้ตลอดไป แต่อาจต้องมีการบำรุงรักษาเล็ก ๆ น้อยบ้างในแต่ละปี คาดว่าจะเสียค่าใช้จ่ายปีละ $5,000 นอกจากนี้ ในทุก ๆ 5 ปี ต้องมีการซ่อมผิวคลองครั้งใหญ่หนึ่งครั้ง มีค่าใช้จ่ายปีละ $30,000 โครงการ C เป็นการสร้างท่อส่งน้ำกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ มีค่าใช้จ่ายขั้นต้น $6 ล้าน มีค่าซ่อมบำรุงรายปี ปีละ $3,000 และคาดว่าจะมีอายุการใช้งานนาน 50 ปี ให้เปรียบเทียบโครงการทั้งสาม โดยวิธีวิเคราะห์มูลค่ารายปี กำหนดอัตราผลตอบแทนเป็น 5% ต่อปี

  14. วิธีทำ : การคำนวณมูลค่ารายปี (AW) นี้ให้คำนวณในช่วงอายุการใช้งานของโครงการเพียง 1 รอบเท่านั้น สำหรับโครงการ A และ C การคำนวณหาค่า CR ให้ใช้สมการ [6.3] โดยมีอายุโครงการเป็น nA = 10 และ nC = 50 ปี ตามลำดับส่วนโครงการ B ค่า CR มีค่าเป็น P∙i โครงการ A ค่า CR ของเครื่องจักรในการขุดลอกคลอง -650,000 (A/P,5%,10) + 17,000 (A/F,5%,10) = $-82,824 ค่าใช้จ่ายรายปีของการขุดลอกคลอง =$-50,000 + ค่าใช้จ่ายรายปีของการควบคุมวัชพืช =$-120,000 = $-252,824 โครงการ B ค่า CR ของการลงทุนครั้งแรก: -4,000,000 (0.05) = $-200,000 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรายปี = $-5,000 + ค่าใช้จ่ายในการซ่อมผิวฉาบทุก 5 ปี:-30,000 (A/P, 5%, 50) = $-5,429 = $-210,429 โครงการ C ค่า CR ของท่อส่งน้ำ: -6,000,000 (A/P, 5%, 50) = $-328,680 + ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารายปี = $-3,000 = $-331,680 โครงการ B สมควรถูกเลือก เนื่องจากมีมูลค่ารายปีต่ำที่สุด คำตอบ

  15. บทสรุป • วิธีการวิเคราะห์มูลค่ารายปี (AW) เป็นวิธีที่ใช้ประเมินโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมจากนักวิเคราะห์หลายคนมากกว่าวิธีวิเคราะห์มูลค่าปีปัจจุบัน (PW) • เนื่องจาก เป็นวิธีที่ใช้รอบเวลาอายุโครงการเพียงรอบเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นความได้เปรียบที่ชัดเจน • การวิเคราะห์มูลค่ารายปียังคงใช้ได้กับโครงการทางเลือกที่มีอายุเท่ากันตามปกติ หรืออายุเท่ากัน เนื่องจากการกำหนดให้เท่ากัน • สำหรับโครงการที่มีอายุของโครงการเป็นนิรันดร์ การคำนวณหามูลค่ารายปีสามารถทำได้อย่างง่าย ๆ โดยการคูณมูลค่าปีปัจจุบันกับอัตราผลตอบแทนของโครงการ (A = P∙i)

  16. อัตราผลตอบแทน(RATE OF RETURN VALUE) • อัตราผลตอบแทน (ROR) เป็นอัตราที่จ่ายเมื่อต้องจ่ายเงินที่ค้างชำระจากการยืม หรือเงินที่ได้รับมาจากการค้างชำระของการลงทุน ดังนั้น การชำระเงินงวดสุดท้าย หรือเงินที่ได้รับงวดสุดท้าย สามารถนำมาคำนวณและกำหนดให้เท่ากับศูนย์ (0) ได้ด้วยอัตราผลตอบแทนนั้น • อัตราผลตอบแทนมักแสดงเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ต่อช่วงเวลา ยกตัวอย่างเช่น i = 10% ต่อปี ค่าอัตราผลตอบแทนที่แสดงเป็นค่าบวก หมายถึง จำนวนเงินผลตอบแทนที่ผู้ยืมจ่ายคืนให้กับผู้ให้ยืมเพื่อชำระหนี้สินนั้น มีอัตราเป็นค่าลบ

  17. การคำนวณหาอัตราผลตอบแทน โดยใช้สมการมูลค่าปีปัจจุบัน (PW)หรือมูลค่ารายปี (AW) เพื่อกำหนดอัตราผลตอบแทนของกระแสเงินของโครงการใด ๆ สามารถคำนวณได้จากการใช้สมการของมูลค่าปีปัจจุบัน (PW) หรือมูลค่ารายปี (AW) อย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้สมการมูลค่าปีปัจจุบันสามารถทำได้โดยกำหนดให้มูลค่าปีปัจจุบัน ของต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย (PWD) เท่ากับมูลค่าปีปัจจุบันของรายได้หรือรายรับ (PWR) จากนั้นย้ายข้างมูลค่าปีปัจจุบันของค่าใช้จ่าย (PWD) เพื่อทำให้สมการมีค่าเท่ากับศูนย์ (0) แล้วจึงแก้สมการเพื่อหาค่า i 0 = -PWD + PWR (7.1) 0 = -AWD + AWR (7.2)

  18. ค่า i ที่คำนวณได้ทั้งซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้สมการทั้งสองเป็นจริง คือ อัตราตอบแทนภายในของโครงการ (i*) การตัดสินใจว่าโครงการทางเลือกใด ๆ สมควรจะถูกเลือกทำโครงการหรือไม่นั้น ทำได้โดยการนำเอา i* มาเปรียบเทียบกับค่าอัตราผลตอบแทนต่ำสุดที่น่าสนใจ MARR ขององค์กร หรือ ของโครงการ (Minimum Rate of Return, MARR) ถ้า i* MARR, ยอมรับโครงการนั้นว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ถ้า i* MARR, ไม่ยอมรับโครงการนั้น

  19. ขั้นตอนการคำนวณหาค่าอัตราผลตอบแทนโดยใช้สมการมูลค่าปีปัจจุบัน (PW) • การคำนวณหาอัตราผลตอบแทน (i*) ด้วยมือ • มีขั้นตอนการคำนวณโดยใช้สมการมูลค่าปีปัจจุบัน (PW) ดังนี้ • เขียนแผนผังกระแสเงินสด • ตั้งสมการเพื่อหาอัตราผลตอบแทน ตามสมการ (7.1) • เลือกค่า i ต่าง ๆ มาแทนค่าในสมการ โดยการลองผิดลองถูกจนกระทั่งสมการสมดุล

  20. สมการเป็นศูนย์ในขั้นตอนการลองผิดลองถูก (ขั้นตอนที่ 3) ควรหาวิธีการหรือแนวทาง เพื่อกำหนดค่า i ให้มีค่าใกล้เคียงกับคำตอบที่ต้องการให้เร็วที่สุด ในเบื้องต้นอาจต้องหาแนวทางปรับสมการที่มีหลายแฟกเตอร์ ให้มีแฟกเตอร์เหลืออยู่เพียงแฟกเตอร์เดียว เช่น P/F หรือ P/A เพื่อให้ง่ายต่อการหาค่าแฟกเตอร์จากการหาดอกเบี้ย ในปีที่ n ใด ๆ แล้วนำมาแทนค่าลงในสมการอย่างหยาบ ๆ ก่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถรวมแฟกเตอร์เก่า ๆ ที่มีอยู่หลายแฟกเตอร์ ให้เหลืออยู่เพียงแฟกเตอร์เดียวได้

  21. วิธีการต่อไปนี้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิธีการต่อไปนี้เป็นแนวทางในการดำเนินการ • เปลี่ยนค่าใช้จ่ายทุกค่า ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเป็นค่าเดี่ยวอย่าง P หรือ F แม้กระทั่ง A ที่มีค่าเป็นแบบอนุกรม ให้เป็นค่าเดี่ยวค่าหนึ่ง F สามารถทำได้อย่างง่าย โดยการคูณค่าด้วยจำนวนปีที่เกิดค่าอนุกรมนั้น (n) ก็จะได้ค่า F อย่างง่ายมาค่าหนึ่ง ส่วนหลักที่ว่าควรจะแปลงค่า F ไปเป็นค่า A หรือ ค่าA เป็นค่า F นั้น ควรเลือกว่า การแปลงนั้นแบบใดจึงจะเกิด (มี) ความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด เมื่อไม่ได้นำค่าของเงินตามเวลามาคิดด้วย เช่น ถ้ากระแสเงินสดของโครงการส่วนใหญ่เป็นมูลค่ารายปี (A) และมีค่าเงินในอนาคต (F) น้อย ควรจะเลือกแปลงค่า F ไปเป็นค่า A เป็นต้น • แปลงค่ารายรับทุกค่าให้เป็นค่าเดียว (เช่น P หรือ F) หรือค่าอนุกรม (เช่น A) โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับข้อ 1 • หลังจากได้แปลงค่าของค่าใช้จ่ายและรายรับให้มีค่าแฟกเตอร์เหลือเพียงแฟกเตอร์เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในรูป P/F, P/A หรือ A/F ก็ตาม ให้ใช้ค่าแฟกเตอร์ในตารางดอกเบี้ยในการหาค่าโดยประมาณของอัตราผลตอบแทนที่ทำให้ค่าสมการนั้นเป็นจริง อัตราผลตอบแทนที่ได้นั้น จะเป็นค่าโดยประมาณในการเริ่มการลองผิดลองถูกที่ดี

  22. ข้อควรระมัดระวังเมื่อใช้วิธีอัตราผลตอบแทน(Cautions When Using the ROR Method) • วิธีอัตราผลตอบแทนเป็นวิธีประเมินโครงการที่ใช้กันโดยทั่วไปในงานวิศวกรรมและงานบริหารธุรกิจ ดังได้กล่าวไปบ้างแล้วในตอนต้น และส่วนการเลือกโครงการเพียงหนึ่งโครงการจากหลายโครงการ • เทคนิคการใช้อัตราผลตอบแทนนั้นโดยทั่วไปแล้ว ให้ผลการตัดสินใจที่ดีเหมือนกับการใช้มูลค่าปีปัจจุบัน มูลค่ารายปี หรือมูลค่าในอนาคต • วิธีอัตราผลตอบแทนนี้มีสมมติฐานบางประการและมีความยุ่งยากบางประการที่ต้องนำมาพิจารณา เมื่อใช้วิธีอัตราผลตอบแทนคำนวณหาค่า i* และในการตีความ ความหมายหาค่า i* ในโลกแห่งความเป็นจริง

  23. ข้อควรระมัดระวังเมื่อใช้วิธีอัตราผลตอบแทน(Cautions When Using the ROR Method) • ค่า i* หลายค่าขึ้นอยู่กับลำดับของกระแสเงินสดสุทธิของทั้งรายรับและรายจ่ายซึ่งมีผลต่อสมการอัตราผลตอบแทน ทำให้ค่า i* มีได้หลายค่า ซึ่งความยุ่งยากประการ • อัตราผลตอบแทนของการลงทุนใหม่ ทั้งการคำนวณโดยใช้วิธีมูลค่าปีปัจจุบัน (PW) และมูลค่ารายปี (AW) มีสมมติฐานเหมือนกันคือ กระแสเงินสดสุทธิที่นำมาคำนวณนั้นใช้อัตราผลตอบแทนต่ำสุดที่น่าสนใจ (MARR) ในการคำนวณ แต่วิธีคำนวณหาอัตราผลตอบแทน (ภายใน) โครงการ ใช้ค่า i* มาคำนวณ เมื่อค่า i* มีค่าไม่ใกล้เคียงกับค่า MARR (ตัวอย่างเช่น ค่า i* มีค่ามากกว่าค่า MARR) จึงเป็นข้อสมมติฐานที่ไม่เป็นจริง ซึ่งในกรณีนี้ถือได้ว่าค่า i* นี้ไม่ใช่ค่าที่ดีที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจ

  24. ข้อควรระมัดระวังเมื่อใช้วิธีอัตราผลตอบแทน(Cautions When Using the ROR Method) • ความยุ่งยากในการคำนวณกับความเข้าใจ โดยเฉพาะกับการคำนวณโดยใช้วิธีลองผิดลองถูก เพื่อหาค่า i* ค่าเดียวหรือหลายค่า ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมาก ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการคำนวณ ทำให้ได้คำตอบที่รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการคำนวณด้านคอมพิวเตอร์ใด ๆ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจขั้นตอนและวิธีการคำนวณได้ดีเท่ากับการคำนวณด้วยมือ • ขั้นตอนการคำนวณสำหรับกรณีมีหลายโครงการให้เลือก เพื่อความถูกต้องในการใช้วิธีอัตราผลตอบแทนในการเลือกโครงการจากหลายโครงการ ทางเลือกจึงได้มีขั้นตอนเฉพาะในการคำนวณ

  25. สรุปได้ว่าในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม วิธีมูลค่ารายปี (AW) และมูลค่าปีปัจจุบัน (PW) ที่คำนวณโดยใช้ค่า MARR เป็นวิธีที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินโครงการเช่นเดียวกับวิธีอัตราผลตอบแทน (ROR) อย่างไรก็ตาม วิธีอัตราผลตอบแทน (ROR) เป็นวิธีที่มีผู้นิยมใช้กันมาก และง่ายต่อการเปรียบเทียบ ผลตอบแทนของโครงการจากโครงการทางเลือกต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน เมื่อต้องพิจารณาโครงการทางเลือก 2 โครงการหรือมากกว่านั้น และเมื่อต้องทราบค่า i* อย่างแท้จริงเป็นเรื่องสำคัญ วิธีการที่ดีคือการใช้วิธีมูลค่าปัจจุบัน (PW) หรือมูลค่ารายปี (AW) โดยใช้ค่า MARR ในการคำนวณแล้วจึงตามด้วยการใช้ค่า i* ในการคำนวณเลือกทางเลือก

  26. ตัวอย่างเช่น โครงการหนึ่งถูกประเมินโดยวิธีคิด MARR = 15% และคำนวณมูลค่าปัจจุบัน (PW) น้อยกว่า 0 จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคำนวณหาอัตราผลตอบแทน (i*) เนื่องจาก i* < 15% อย่างไรก็ตาม ถ้ามูลค่าปีปัจจุบันมากกว่าศูนย์ (PW > 0) ต้องคำนวณหาค่าอัตราผลตอบแทน (i*) ที่แท้จริงต่อไป และตามด้วยการสรุปว่าโครงการนี้มีความเหมาะสมทางเงินที่จะถูกเลือกหรือไม่

More Related