1 / 24

รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

จริยธรรมในวิชาชีพ. รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาระสำคัญ. บรรยาย ความสำคัญของการรักษาจริยธรรมในวิชาชีพ ผลกระทบที่เกิดจากการไม่รักษาความลับของผู้รับบริการ

kanan
Download Presentation

รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จริยธรรมในวิชาชีพ รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

  2. สาระสำคัญ บรรยาย • ความสำคัญของการรักษาจริยธรรมในวิชาชีพ • ผลกระทบที่เกิดจากการไม่รักษาความลับของผู้รับบริการ • แนวทางการปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะบทบัญญัติ มาตรา 157 แห่งประมวลกฏหมายอาญา อภิปราย • ข้อพึงปฏิบัติในการดำเนินงานฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง พ.ศ. 2550 • ข้อปฏิบัติในการเปิดเผยความลับของผู้รับบริการ หาข้อสรุป

  3. จริยธรรม-จรรยาบรรณ

  4. สาระสำคัญของจริยธรรม • เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา • แสดงกฏระเบียบ/หลักการให้ความช่วยเหลือที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง/ไม่ผิดพลาด • เกิดความเที่ยงธรรม • ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีพื้นฐานหลักจริยธรรม-คุณธรรม

  5. นิยามคำว่า วิชาชีพ (Wilbert E. Moore) • การประกอบอาชีพเต็มเวลา/อุทิศเวลา (professional) • อยู่ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน/มีสมาคมวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม • ต้องมีความรู้และทักษะ/ฝึกอบรม/ การศึกษาตรงตามสาขาวิชาชีพ • ต้องยึดมั่นอยู่กับกฎเกณฑ์ของการประกอบวิชาชีพ • ปฏิบัติงาน/บริการด้วยจิตสำนึกในวิชาชีพ • มีความเป็นอิสระ • มีความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพของตนในระดับสูง

  6. ความสำคัญของการรักษาจริยธรรมในวิชาชีพความสำคัญของการรักษาจริยธรรมในวิชาชีพ • ควบคุมมาตรฐาน ประกันคุณภาพ/ปริมาณการปฏิบัติงานงานขององค์กร • ส่งเสริมมาตรฐาน คุณภาพ/ปริมาณผลการปฏิบัติงานขององค์กรให้อยู่ในเกณฑ์ดีเสมอ • ช่วยให้องค์กรมีภาพพจน์ที่ดี มีจริยธรรม • ควบคุมจริยธรรมของบุคคลในองค์กร “ซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม” • ส่งเสริมจริยธรรมของบุคคลในองค์กร ให้มี เมตตา กรุณา เห็นใจ • ลดการเอารัดเอาเปรียบ ฉ้อฉล เห็นแก่ตัว มักง่าย ใจแคบ ไม่เสียสละ • ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิตามกฏหมาย ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

  7. หลักปฏิบัติของผู้ให้คำปรึกษา Code of Ethic Requirement

  8. หลักปฏิบัติอย่างมืออาชีพPrinciple of Professional Conduct

  9. อภิปราย • วิชาชีพใดบ้างที่ไม่ต้องมีจริยธรรม • จริยธรรมวิชาชีพของท่านข้อใดสำคัญที่สุด เพราะอะไร • ถ้าปฏิบัติขัดต่อจริยธรรมวิชาชีพมีบทลงโทษหรือไม่

  10. การรักษาความลับของผู้รับบริการการรักษาความลับของผู้รับบริการ (บังคับเฉพาะ)

  11. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 • มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

  12. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 • มาตรา 9 เมื่อมีการแจ้งตามมาตรา 5 หรือมีการร้องทุกข์ตามมาตรา 6 แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดลงพิมพ์โฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสารธารณชนด้วยวิธีใดๆ ซึ่งภาพ เรื่องราว หรือข้อมูลใดๆ อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในคดีตามพระราชบัญญัตินี้ • ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหากเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  13. แนวทางการปฏิบัติงาน ตามบทบัญญัติ มาตรา 157 แห่งประมวลกฏหมายอาญา

  14. สาระสำคัญของประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 157 “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ที่มา: สราวุธ เบญจกุล สำนักงานศาลยุติธรรม มาตรา 157 ละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต...เป็นอย่างไร? Knowledge Tank ( http://www.vajira.ac.th/kt/modules.php?name=News&file=article&sid=196 )

  15. ใครคือพนักงานเจ้าหน้าที่ใครคือพนักงานเจ้าหน้าที่ • ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย • “ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย ให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทย” (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2490) • สรุป องค์ประกอบของการเป็นเจ้าพนักงาน 1. ต้องมีการแต่งตั้ง 2. เป็นการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ

  16. เหตุใดจึงต้องมีการบัญญัติเรื่องการลงโทษเจ้าพนักงานไว้โดยเฉพาะเหตุใดจึงต้องมีการบัญญัติเรื่องการลงโทษเจ้าพนักงานไว้โดยเฉพาะ • เนื่องจากบุคคลที่เป็นเจ้าพนักงานถูกกำหนดให้มีบทบาทในสังคมที่เหนือกว่าบุคคลธรรมดาบางประการ • มีผลมาจากอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย • ดังนั้นจึงต้องมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองและควบคุมบุคคลผู้เป็นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่

  17. ขยายความ มาตรานี้แยกการกระทำเป็น 2 ความผิด • ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด • ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

  18. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด • คำว่า “โดยมิชอบ” หมายถึง โดยมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเจ้าพนักงานมีอยู่ตามกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2521 วินิจฉัยว่า “การกระทำโดยมิชอบตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นโดยตรงที่ได้รับมอบให้มีหน้าที่นั้นๆ ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานแล้ว ย่อมไม่มีความผิด) • ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ ไม่อยู่ในหน้าที่หรืออยู่ในหน้าที่แต่เป็นการกระทำที่ชอบด้วยหน้าที่โดยสุจริต ก็ไม่เป็นความผิด • ดังนั้น ถ้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็เป็นการกระทำความผิดตามมาตรานี้

  19. ข้อแตกต่างของการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต กับปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ • การปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิด เมื่อกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หากการกระทำนั้นไม่เกิดความเสียหายแล้วย่อมจะไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 • การปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ไม่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าการกระทำนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้อื่นเสียหายหรือไม่ แม้ไม่เกิดความเสียหายก็ยังคงถือว่าเป็นการกระทำความผิดได้

  20. พรบ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง พ.ศ. 2550 • ปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ (ไม่ได้ทำเพราะเหตุผลความจำเป็น) • เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง • กลั่นแกล้ง • ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต • รับผลประโยชน์ • ถูกฝ่ายผู้กระทำขอร้อง

  21. บทสรุป • เจ้าพนักงาน เป็นบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้มีทั้งอำนาจ หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติการ ซึ่งอาจได้รับทั้งคุณและโทษจากบทบัญญัติของกฎหมาย จึงต้องกระทำการด้วยความระมัดระวัง และหากกระทำการนอกขอบเขตที่กฎหมายให้ไว้ ก็มีมาตรการลงโทษเจ้าพนักงานไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งมีบทลงโทษที่หนักยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป

  22. อภิปราย • ในฐานะที่ท่านเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง พ.ศ. 2550 ท่านต้องปฏิบัติงานโดยยึดหลักจรรยาบรรณอย่างไร • ท่านคิดว่ามีข้อยกเว้นในการเปิดเผยความลับของผู้รับบริการหรือไม่ ถ้ามีกรณีใดบ้าง เพราะเหตุใด

  23. กิจกรรม • ขอให้ท่านบอกเล่าตัวอย่างที่ท่านได้เผชิญกับเหตุการณ์ความรุนแรง ที่ท่านได้ใช้หลักจริยธรรมในวิชาชีพ โดยแสดงให้เห็นว่าท่านได้ดำเนินการกับเหตุการณ์ดังกล่าว และแก้ไขปัญหาอย่างไร

  24. กรณีศึกษา • เด็กหญิงวัย 15 ปี ถูกเพื่อนชายข่มขืนและตั้งครรภ์ พ่อแม่อับอายเพื่อนบ้านในชุมชน ไม่ต้องการให้เด็กเกิดมา ขณะนี้รอคลอดอยู่ที่บ้านพักเด็กและครอบครัว เล่าว่าไม่ได้ถูกข่มขืนแต่เต็มใจไปที่บ้านแฟนเองขณะที่พ่อแม่แฟนไม่อยู่บ้าน หลังจากนั้นมีความสัมพันธ์กันหลายครั้งหลังเลิกเรียนและวันหยุด อ้างกับพ่อแม่ว่าไปติวหนังสือกับเพื่อน • พ่อแม่ไม่ยอมรับแฟน แฟนเองก็ไม่กล้ารับผิดชอบ พ่อแม่แฟนก็ไม่ยอมรับเช่นกัน จึงให้กินยาแก้ปวดผสมเหล้าขาว แต่ก็ไม่แท้ง ดัดแปลงจากจิ๊บ จิ๊บ บทเรียนจากเรื่องเล่า บ้านพักเด็กและครอบครัวฯ 2554

More Related