1 / 52

การสื่อสารทางไกลและเครือข่าย TELECOMMUNICATION AND NETWORKS

การสื่อสารทางไกลและเครือข่าย TELECOMMUNICATION AND NETWORKS. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วัตถุประสงค์รายวิชา. นักศึกษาสามารถ เข้าใจระบบการสื่อสารทางไกลและเครือข่าย ชี้และแสดงความสำคัญของการสื่อสารทางไกลและเครือข่าย

kalona
Download Presentation

การสื่อสารทางไกลและเครือข่าย TELECOMMUNICATION AND NETWORKS

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสื่อสารทางไกลและเครือข่ายTELECOMMUNICATION AND NETWORKS สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

  2. วัตถุประสงค์รายวิชา นักศึกษาสามารถ • เข้าใจระบบการสื่อสารทางไกลและเครือข่าย • ชี้และแสดงความสำคัญของการสื่อสารทางไกลและเครือข่าย • ดำเนินการ และปฏิบัติงานในระบบการสื่อสารทางไกลและเครือข่ายได้ • ประยุกต์ใช้งานทางวิทยาการสารสนเทศในระบบการสื่อสารทางไกลและเครือข่าย

  3. หนังสืออ้างอิง • ฉัตรชัย สุมามาลย์, การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย, กรุงเทพฯ : ไทยเจริญการพิมพ์, ไม่ระบุปีที่พิมพ์. • เชลลี, การี บี (สัลยุทธ์ สว่างวรรณ : ผู้แปล), การสื่อสารข้อมูลระดับพื้นฐาน, กรุงเทพฯ : ทอมสัน, 2544,

  4. บรรยายครั้งที่ 1ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารทางไกล

  5. วัตถุประสงค์รายครั้ง นักศึกษาสามารถ • บอกความหมาย และวิวัฒนาการของการสื่อสารทางไกลได้อย่างถูกต้อง • บอกองค์ประกอบของระบบการสื่อสารทางไกลได้อย่างถูกต้อง • บอกหลักการส่งสัญญาณอนาล็อกและดิจิตอลได้อย่างถูกต้อง

  6. หัวข้อการบรรยาย • วิวัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล • ความหมายเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล • องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล • รหัสที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล • วิธีการส่งข้อมูล • ความรู้พื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล • องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูล

  7. การส่งสัญญาณอนาล็อก • การส่งสัญญาณดิจิตอล

  8. วิวัฒนาการของการสื่อสารข้อมูลวิวัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล • มาร์โคนี ได้ทำการทดลองส่งสัญญาณวิทยุข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก • การพัฒนารหัสมอร์ส โดยใช้รหัสจุดขีดเพื่อแทนข้อความ • การให้บริการโทรเลข วิทยุกระจายเสียง โทรพิมพ์ โทรศัพท์ โทรภาพ โทรสำเนา โทรทัศน์ • การให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอเท็กซ์ การซื้อของระยะไกล

  9. ความหมาย • การสื่อสารข้อมูล (DATA COMMUNICATION) เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารที่เข้ารหัสแล้วจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งโดยอาศัยระบบการส่งบนตัวนำแบบใดแบบหนึ่ง • การสื่อสารทางไกล (TELECOMMUNICTION) การติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านโครงข่าย (ทั้งสาธารณะ และส่วนตัว) ต่าง ๆ อย่างน้อยหนึ่งโครงข่าย

  10. การส่งสัญญาณข้อมูล (TRANSMISSION) การส่ง (นำ) ข้อมูลหรือข่าวสารจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางสื่อหรือตัวกลางไปยังเครื่องรับหรือผู้รับ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกส่งออกไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแสงก็ได้ • การสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างต้นทางและปลายทางโดยผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

  11. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลองค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล ข้อมูล ผู้ส่ง ผู้รับ ตัวกลางสื่อสาร

  12. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) และ ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) • DTE (Data Terminal Equipment) เช่น เทอร์มินัลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ • DCE (Data Communications Equipment) เช่น Modem จานไมโครเวฟ หรือ จานดาวเทียม

  13. ข่าวสาร (Message) ได้แก่สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร บางครั้งเรียกว่า Information มี 4 รูปแบบ • เสียง (Voice) • ข้อมูล (Data) • ข้อความ (Text) • ภาพ (Image)

  14. สื่อกลาง (Medium) เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางของสัญญาณแบ่งเป็น 2 ประเภท • จำพวกที่สามารถกำหนดเส้นทางได้ (Guided Media) ได้แก่ สายเกลียวคู่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล และสายไฟเบอร์ออปติก • จำพวกที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้ (Unguided Media) ได้แก่ ชั้นบรรยากาศ สุญญากาศ และน้ำ

  15. โปรโตคอล (Protocol) และซอฟต์แวร์ (Software) • โปรโตคอล คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกัน หรือคุยกันรู้เรื่อง เช่น X.25, BSC, SDLC, HDLC • ซอฟต์แวร์ มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ เช่น Novell’s Netware, UNIX, MS-DOS, OS/2, Windows 95/98/2000, Windows NT

  16. รหัสมอร์ส (MorseCode) • รหัสสากลรูปแบบแรกที่เกิดขึ้นในโลกการสื่อสารข้อมูล • ใช้ในการส่งข่าวสื่อสารทางโทรเลข • ปัจจุบันรูปแบบและเทคนิคการส่งข่าวสารได้เปลี่ยนไปตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ข่าวสารที่ติดต่อสื่อสารสามารถเป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ (รวมเรียกว่าอักขระ) เพื่อความเหมาะสมในการสื่อสารข้อมูล จึงมีการแปรอักขระดังกล่าวให้เป็นสัญญาณพัลส์ไฟฟ้าหรือบิต ( Bit ) แทนรหัส • รหัสที่ถือว่าเป็นสากลในวงการสื่อสารข้อมูลได้แก่ รหัสแอสกี (ASCII) รหัสโบดอต (Baudot) รหัสเอบซีดิก (EBCDIC)

  17. รหัสแอสกี ( ASCII Code ) • รหัสแอสกี ( ASCII Code ) หรือ American Standard Code for Information Interchange เป็นรหัสที่มีการใช้แพร่หลายกันมากที่สุดเช่น ในไมโครคอมพิวเตอร์ IBM และ IBM คอมแพทิเบิล • รหัสแอสกี เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กร ANSI ประกอบด้วยรหัส 7 บิต+1 พาริตี้บิต เท่ากับ 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ ซึ่งแต่ละบิตจะแทนด้วยตัวเลข “0” หรือ “1”

  18. รหัสโบดอต ( Baudot Code ) • รหัสของโบดอตเป็นมาตรฐานของ CCITT ซึ่งใช้ในระบบโทรเลขและเทเล็กซ์ทั่วโลก • ประกอบด้วยรหัส 5 บิต ดังนั้นจึงใช้แทนตัวอักขระได้ 25 =32 ตัวและเพิ่มอักขระพิเศษเพิ่มอีก 2 ตัว คือ • 11111 หรือ LS ( Leter Shift Character ) เพื่อเปลี่ยนเป็นกลุ่มตัวอักษร • 11011 หรือ FS (Figure Shift Character) เพื่อเปลี่ยนเป็นกลุ่มเครื่องหมาย • ทำให้มีรหัสแทนตัวอักขระเพิ่มอีก 32 ตัว โดยมีอักขระซ้ำกับกลุ่มตัวอักขระเดิม 6 ตัว • รหัสโบดอตจึงสามารถใช้แทนอักขระได้ทั้งหมด 32+32-6=58 ตัว สำหรับรหัสโบดอต ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยจะใช้เป็นขนาด 6 บิต

  19. รหัสเอบซีดิก ( EBCDIC ) • EBCDIC ย่อมาจาก Extended Binary Coded Becimal Interchange Code • พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM รหัสเอบซีดิกมีขนาด 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ บิตที่ 9 เป็นพาริตี้บิต ดังนั้นจึงสามารถใช้แทนอักขระได้ 28 หรือ 256 ตัว หรือสองเท่าของรหัสแอสกี • รหัสเอบซีดิก ถือว่าเป็นรหัสมาตรฐานในการเข้าตัวอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน

  20. รหัสยูนิโค้ด ( UNICODE ) • กำหนดให้หนึ่งตัวมี 16 บิต แทน 8 บิต จึงสารมารถใช้แทนตัวอักษรได้ 65,536 ตัว • 128 ตัวแรกเหมือนรหัสแอสกี้ในรุ่นเก่า • มีตัวอักษรภาษาอื่น ๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ฮิบรู กรีก • มีสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สัญลักษณ์พิเศษ

  21. การส่งข่าวสาร : ตามลักษณะการจัดข้อมูล • แบบขนาน (Parallel Transmission) เป็นการส่งทุก ๆ บิทของรหัสที่ประกอบเป็นอักษรหนึ่งตัวส่งออกไปพร้อม ๆ กัน ในเวลาเดียวกัน • แบบอนุกรม (Serial Transmission) เป็นการส่งบิททั้งหมดของตัวอักษรหนึ่งตัวส่งออกไปทีละบิท

  22. การส่งข่าวสาร : ตามทิศทางการส่งภายในสาย • แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex) เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การแพร่ภาพของโทรทัศน์ เป็นต้น • แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Either-Way of Two Ways หรือ Half Duplex) เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น • แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Both-Way หรือ Full-Duplex) เช่น โทรศัพท์ เป็นต้น • แบบสะท้อนสัญญาณหรือเอ็กโคเพล็กซ์ (Echo-Plex) เช่น การคีย์ข้อมูลที่คีย์บอร์ดไปที่โฮสต์คอมพิวเตอร์ จะมาปรากฏที่จอภาพด้วย

  23. การส่งข่าวสาร : ตามความสัมพันธ์ของข้อมูล • แบบสัมพันธ์ (Synchronous Transmission) จะใช้สัญญาณคล็อก (Clock Signal) ในการรับและส่งข้อมูล • แบบไม่สัมพันธ์ (Asynchronous Transmission) ตัวอักขระจะถูกส่งออกไปที่เวลาใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรว่าจะต้องมีเวลาที่แน่นอน

  24. ความรู้พื้นฐานในการสื่อสารความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร • ช่องทางการสื่อสาร (Channel) ช่องทางการสื่อสารจะนำข่าวสารจากจุดต้นกำเนิดไปยังจุดปลายทางหนึ่งหรือมากกว่า • ชนิดของช่องทางการสื่อสาร (Channel Types) ได้แก่ ช่องทางอนาล็อก และช่องทางดิจิตอล • การเบาบางของสัญญาณ (Signal Attenuation) ความต้านทาน (Resistance) ของช่องทางสื่อสารทำให้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนแผ่สู่สภาพแวดล้อมใกล้เคียง

  25. ความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ) • แบนด์วิดท์หรือแถบความถี่ (Bandwidth) หมายถึงขีดจำกัดที่ช่องทางสื่อสารสามารถนำข่าวสารหรือข้อมูลผ่านทางช่องทางในช่วงเวลากำหนด หรืออีกนัยหนึ่ง คือช่วงที่เป็นค่าความถี่ต่ำสุดและความถี่สูงสุดของสัญญาณอนาล็อก ความถี่มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาทีหรือเฮิรตซ์ (Hertz)

  26. ความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ) • ช่องทางบอร์ดแบนด์และเบสแบนด์ (Broadband andBestband Channel) ช่องทางอนาล็อก จะเรียกว่า ช่องทางบรอดแบนด์ ก็ต่อเมื่อช่องทางนั้นสามารถส่งผ่านสัญญาณอนาล็อกได้หลาย ๆ สัญญาณ ช่องทางที่ส่งผ่านสัญญาณดิจิตอลเราจะเรียกว่า ช่องทางเบสแบนด์ วิธีที่นิยมใช้ก็คือการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นบิต หรือตัวเลขไบนารี (Binary digits)

  27. ความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ) • อัตราบิท และอัตราบอด (Bit Rate and Baud Rate) อัตราบิท เป็นความจุของช่องทางดิจิตอล คือ จำนวนบิทที่ช่องทางสามารถนำผ่านได้ภายใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น บิทต่อวินาที (bps หรือ bit per second) อัตราบอด คือจำนวนสัญญาณดิจิตอลหรืออนาล็อก (ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นดิจิตอลแล้ว) ที่ส่งผ่านไปในช่องทางสื่อสารภายใน 1 วินาที มีหน่วยเป็นบอดต่อวินาที (baud per second)

  28. ความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ) • อัตราบิทของบรอดแบนด์และเบสแบนด์ การเพิ่มจำนวนของอัตราบิท ในช่องทางบรอดแบนด์ สามารถเพิ่มอัตราบิทได้โดยการเพิ่มจำนวนบิทเข้าไปในช่องทาง โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแบนด์วิดท์ของช่องทางเลย สัญญาณดิจิตอลที่ผ่านมาในช่องทางเบสแบนด์จะใช้ช่องทางเต็มแบนด์วิดท์ที่มี มีเพียงวิธีเดียวที่จะเพิ่มอัตราบิทในช่องทางเบสแบนด์ได้คือลดเวลาในแต่ละบิทลง (คือเพิ่มสัญญาณนาฬิกาให้เร็วขึ้น)

  29. ความรู้พื้นฐานในการสื่อสาร (ต่อ) • การเบาบางของสัญญาณ • สัญญาณรบกวน • การเข้ารหัส (Encoding) และการถอดรหัส (Decoding)

  30. ISO (The International Standards Organization) • เป็นองค์กรพัฒนามาตรฐานสากลในเรื่องของการสื่อสารข้อมูล • เป็นสถาบันที่พัฒนารูปแบบ OSI ( Open Systems Interconnection Model ) ซึ่งเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่าย โดยมีการแบ่งโครงสร้างการติดต่อสื่อสารออกเป็น 7 ชั้น หรือ 7 เลเยอร์ (Layer) สำหรับการเชื่อมโยงการสื่อสารในเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกัน • สถาบัน ISO ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการจาก 89 ประเทศสมาชิก • มาตรฐานที่ ISO ได้ประกาศใช้มีมากกว่า 5,000 มาตรฐาน

  31. CCITT (The Consultative Committee in International Telegraphy and Telephony) • เป็นองค์กรพัฒนามาตรฐานสากลในเรื่องของการสื่อสารข้อมูล • มาตรฐานที่ CCITT ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ มาตรฐาน V และ X • มาตรฐาน V จะประยุกต์ใช้สำหรับวงจรโทรศัพท์และโมเด็ม เช่น โมเด็ม V.29 • มาตรฐาน X จะประยุกต์ใช้กับเครือข่ายข้อมูลสาธารณะ เช่น เครือข่าย X.25 แพ็กเกจสวิตซ์

  32. ANSI (The American National Standards Institute) • เป็นองค์กรพัฒนามาตรฐานในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนของกลุ่มประเทศสมาชิกใน ISO • มาตรฐานที่ ANSI กำหนดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย • มาตรฐานที่พัฒนาส่วนใหญ่ จะเป็นมาตรฐานการประดิษฐ์ตัวเลขของการติดต่อสื่อสารข้อมูล และมาตรฐานเทอร์มินัล • ล่าสุด ANSI ยังรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการสื่อสารในเครือข่ายแบบ FDDI (Fiber Distributed Data Interface) อีกด้วย

  33. IEEE (The Institute of Electrical and Electronic Engineers) • เป็นกลุ่มนักวิชาการและผู้ประกอบอาชีพทางสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสหรัฐอเมริกา • มาตรฐานที่ IEEE กำหนดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นมาตรฐานทาง อุตสาหกรรมทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และมาตราฐานเกี่ยวกับไมโครโปรเซสเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไมโครคอมพิวเตอร์ • มาตรฐานที่คุ้นเคยกันดี เช่น IEEE802.3 สำหรับระบบเครือข่ายท้องถิ่น LANCSMA/CD หรือ Ethernet

  34. EIA (The Electronics Industries Association) • เป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานทางอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศสหรัฐอเมริกา • มาตรฐานของ EIA จะขึ้นต้นด้วย RS (Recommended Standard) เช่น อินเตอร์เฟซ RS-232-C

  35. Analog Signal • สัญญาณอนาล็อกที่ส่งออกจะมีความต่อเนื่องกันตลอดเวลา เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น • สัญญาณอนาล็อกที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณวิทยุกระจายเสียง สัญญาณโทรทัศน์ • คนสามารถเปล่งเสียงตั้งแต่ 20 - 18,000 Hz แต่ระบบโทรศัพท์ออกแบบมาสำหรับช่วง 300 - 3,300 Hz

  36. สัญญาณอนาล็อก

  37. สัญญาณอนาล็อกที่ส่งออกไป พลังงานจะอ่อนลงเรื่อย ๆ เมื่อระยะทางเพิ่มขึ้น ในการส่งสัญญาณอนาล็อกไประยะไกล ๆ จะต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรือแอมปลิไฟเออร์ (Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ • การขยายสัญญาณจะมีการสร้างสัญญาณรบกวน (Noise) รวมกับสัญญาณข้อมูล จึงมีวงจรกรองของสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกอีก

  38. การเข้ารหัสโดยใช้สัญญาณอนาล็อกการเข้ารหัสโดยใช้สัญญาณอนาล็อก

  39. Digital Signal • สัญญาณดิจิตอล หมายถึง สัญญาณที่ Amplitude ถูกจัดระดับให้แปรผันไปกับเวลาตามค่าที่กำหนดให้ เช่น ถ้าแปรผันอยู่ระหว่าง 2 ค่า เรียกว่า Binary Signal • วงจรสัญญาณดิจิตอลสามารถส่งสัญญาณรูปร่างลักษณะเป็นพัลส์ (Pulse) ซึ่งแสดงค่า “0”หรือ “1” • การส่งสัญญาณดิจิตอลระยะไกลจะทำให้สัญญาณดิจิตอลจางหายไป จะต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater)

  40. สัญญาณดิจิตอล

  41. การเข้ารหัสโดยใช้สัญญาณดิจิตอลการเข้ารหัสโดยใช้สัญญาณดิจิตอล

  42. ลักษณะการส่งสัญญาณดิจิตอลลักษณะการส่งสัญญาณดิจิตอล

  43. Signal Modulation • เป็นเทคนิคการพาสัญญาณที่ต้องการส่งเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางผ่านตัวกลางการสื่อสาร สัญญาณที่เป็นตัวพาสัญญาณข้อมูลไปเรียกว่า คลื่นพาหะ (Carrier wave) • วิธีการมอดูเลตสัญญาณอนาล็อก • การมอดูเลตทางแอมปลิจูด (Amplitude Modulation, AM) • การมอดูเลตทางความถี่ (Frequency Modulation, FM) • การมอดูเลตทางเฟส (Phase Modulation, PM)

  44. การมอดูเลททางขนาด (Amplitude modulation : AM) • วิธีนี้จะทำให้ขนาดของสัญญาณพาหะเปลี่ยนไป โดยที่ความถี่ของสัญญาณพาหะยังคงเดิม • โดยอาจจะทำได้โดยให้ค่าสูงแทนค่าบิตที่มีค่า 1 และขนาดที่มีค่าต่ำแทนบิตที่มีค่า 0 • การมอดูเลทวิธีนี้จะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพด้อยที่สุด ทั้งนี้เพราะอาจถูกรบกวนด้วยสัญญาณรบกวนทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย

  45. การมอดูเลททางความถี่ (Frequency Modulation : FM) • เป็นการเปลี่ยนค่าความถี่ของสัญญาณพาหะไปตามค่าบิตที่มีค่า 1 และ 0 โดยการใช้ความถี่ 2 ความถี่สำหรับค่าทั้ง 2 • สัญญาณพาหะจะมีขนาดคงที่เสมอ • เทคนิคการมอดูเลทนี้เรียกว่า FSK (Frequency Shift Keying)

  46. Frequency Shift Keying

  47. มาตรฐาน CCITT V.21 สำหรับโมเด็มความเร็วต่ำ 300 บอด

  48. การมอดูเลททางเฟส (Phase Modulation : PM) • เป็นวิธีการที่เข้าใจค่อนข้างยาก เพราะการมอดูเลทอาศัยค่าเฟส • ค่าเฟส 2 เฟส คือ 0 องศา และ 180 องศา • ค่าเฟส 4 เฟส (0, 90, 180 และ 270 องศา) • ค่าเฟส 8 เฟส (10, 45, 90, 135, 180, 225, 270 และ 315 องศา) • การมอดูเลททางเฟสที่เรียกว่า Phase Shift Keying) สำหรับชุดของไบนารี 0 และ 1 ในระบบ 2 เฟส ที่มีค่าเฟสต่างกัน 180 องศา เมื่อมีการเปลี่ยนของข้อมูลระหว่าง 0 กับ 1 ทุกครั้ง ค่าเฟสของสัญญาณจะเปลี่ยนไป 180 องศา

  49. การมอดูเลททางเฟสที่เรียกว่า DPSK (Differential Phase Shift Keying) จะมีการเปลี่ยนของเฟสทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลบิตที่มีค่า 1 แต่หากเป็นกรณีอื่นค่าเฟสจะไม่เปลี่ยนแปลง

  50. การมอดูเลททางเฟสที่เรียกว่า QPSK (Quadrature Phase Shift Keying) จะมีการแยกสัญญาณออกเป็น 4 เฟส จะสามารถส่งข้อมูลได้ 2400 บิตต่อวินาที

More Related