1 / 92

คำนำ

josiah
Download Presentation

คำนำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อ้อยผู้จัดทำ 1.นางสาวจารุรินทร์ ทนยิ้ม เลขที่ 17 2.นางสาวชุติมณฑน์ อนันต์ชัยลิขิต เลขที18 3.นางสาวนันทิยา นาคสวัสดิ์ เลขที่ 20 4.นางสาวปวีณา แจ้งจิต เลขที่ 21 5.นางสาวศิวพร ธรรมกิจ เลขที่ 34 6.นางสาวกนกพร ทับทิมทอง เลขที่40ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2ครูที่ปรึกษานายสนั่น แจ่มแจ้งรายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการสื่อสารและการนำเสนอโรงเรียนคงคาราม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10

  2. คำนำ • รายงานเรื่องอ้อยเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกอ้อย การประอบอาชีพของอ้อย รวมทั้งการแปรรูปผลผลิตที่ได้จากอ้อย ซึ่งน้ำตาลเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศไทย ซึ่งเป็นผลผลิตมากอ้อย และผลผลิตของไม่ใช่แค่น้ำตาลเท่านั้นยังมีทั้งแอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและสารชีวมวลอีกหลายชนิด • รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำวิจัยเรื่องอ้อยเป็นโครงงาน5บทและรายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาหาความรู้และหากรายงานเล่มนี้มีความผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำต้องอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย • ผู้จัดทำ

  3. บทคัดย่อ โครงงานเรื่อง อ้อย ผู้จัดทำ 1.นางสาวจารุรินทร์ ทนยิ้ม 2.นางสาวชุติมณฑน์ อนันต์ชัยลิขิต 3.นางสาวนันทิยา นาคสวัสดิ์ 4. นางสาวปวีณา แจ้งจิต 5.นางสาวศิวพร ธรรมกิจ 6.นางสาวกนกพร ทับทิมทอง โรงเรียน คงคาราม ปีการศึกษา 2555

  4. บทคัดย่อ • โครงงานเรื่องอ้อย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและเพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกอ้อยซึ่งศึกษาเกี่ยวกับประวัติของอ้อย ลักษณะของอ้อย พันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์ของอ้อย แหล่งปลูกอ้อยในประเทศไทย การเตรียมพันธุ์อ้อย วิธีการปลูก การเจริญเติบโตของอ้อย การดูแลรักษาอ้อย การบำรุงรักษาตอ ระบบการซื้ออ้อย การใช้และการเก็บน้ำตาล ผลผลิตการแปรรูป และการใช้ประโยชน์จากอ้อย ซึ่งทำให้ทราบว่าอ้อยสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลผลิตได้หลายชนิดและเกษตรกรเองก็นิยมปลูกอ้อยป็นอาชีพหลักด้วยเช่นกัน

  5. กิตติกรรมประกาศ • การศึกษาค้นคว้าเรื่องอ้อย เป็นรายงานการค้นคว้าถึงวิธีการปลูกอ้อย การประกอบอาชีพของอ้อยและการแปรรูปของอ้อย ซึ่งรายงานในครั้งนี้จะประสบผลสำเร็จได้โดยเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของคุณครูและเพื่อนๆ ขอขอบคุณท่าน ผ.อ.การพล อินทร์จันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนคงคารามที่ช่วยสนับสนุนโครงการนี้ ทั้งในด้านปัจจัย เงินทุนและความช่วยเหลือด้านต่างๆ • ขอขอบคุณ รองเฉลิม จำปาวิจิตร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ที่คอยชี้แนะแนวทางในการทำรายงานครั้งนี้ • ขอขอบคุณ คุณครูเจนจบ นพคุณ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีและคุณครูสนั่น แจ่มแจ้ง คุณครูที่ปรึกษาโครงงานในครั้งนี้ คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำในด้านต่างๆจนประสบผลสำเร็จเป็นรายงานออกมา

  6. ขอขอบคุณ คุณครูชวน เกตุแก้วและคุณครูนวลฉวี เผ่าสำราญ คุณครูที่ปรึกษาประจำชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/2 และเพื่อนๆทุกคนที่คอยช่วยเหลือและให้กำลังใจจนทำให้รายงานครั้งนี้สำเร็จรุร่วงไปได้ด้วยดี • ขอขอบคุณ คุณพ่อ คุณแม่และญาติทุกๆคน ที่คอยเป็นแรงบันดาลใจรวมถึงสนับสนุนให้คำปรึกษาทุกครั้งที่มีปัญหาและท้อใจ จนทำให้รายงานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี • คุณค่าและประโยชน์ของรายงานครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอาชีพของการปลูกอ้อย รวมถึงแปรรูปของอ้อยเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆและรายงานเล่มนี้จะสำเร็จได้จากความร่วมมือร่วมใจของทุกๆคน ที่ช่วยกันสร้างรายงานการวิจัยเล่มนี้ขึ้นมา

  7. ศัพท์มูลวิทยา อ้อย Sugar-cane ชื่อวิทยาศาสตร์Saccharumofficinarum Linn. POACEAE ชื่ออื่นคือ อ้อยขม หรืออ้อยดำ เป็นไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก

  8. การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ • อาณาจักร:Plantae • ดิวิชั่น: Magnoliophyta • ชั้น: Liliopsida • อันดับ: Poales • วงศ์: Poaceae • สกุล: Saccharum • Species • Saccharumarundinaceum • Saccharumbengalense • Saccharumedule • Saccharumofficinarum • Saccharumprocerum • Saccharumravennae • Saccharumrobustum • Saccharumsinense • Saccharumspontaneum

  9. ประวัติอ้อย อ้อยเป็นพืชที่มนุษย์รู้จักมานานนับหมื่นปี การปลูกโดยวิธีตัดลำต้นออกเป็นท่อนๆ มีการกำจัดวัชพืช และป้องกันสัตว์ต่างๆ ที่จะมาทำลายอ้อยที่ปลูก นับว่าเป็นศิลปะที่เก่าแก่มาก ในสมัยโบราณ อ้อยปลูกเป็นพืชสวนครัว สำหรับบริโภคโดยตรงภายในครัวเรือนเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงจากพืชสวนครัวมาเป็นพืชไร่นั้นเชื่อกันว่า เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย เมื่อหลายร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนกรรมวิธีการทำน้ำตาลจากอ้อยนั้น เพิ่งจะมาทราบกันเมื่อไม่นานมานี้เอง ก่อนที่จะกล่าวถึงถิ่นกำเนิดของอ้อย ใคร่ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งพืชในสกุล (genus)Saccharumเสียก่อน การแบ่งชนิด (species) ของพืชในสกุลนี้ ได้กระทำโดยนักพฤกษศาสตร์หลายท่านในวาระต่างๆ กัน แต่ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คือ การแบ่งของกราสซึล (Grassl, 1968) ซึ่งได้แบ่งพืชในสกุลนี้ออกเป็น ๔ ชนิด คือ (๑) อ้อยปลูกดั้งเดิม (S.officinarum L.) (๒) อ้อยป่าแถบร้อน (S. spontaneum L.) (๓) อ้อยอินเดีย (S. barberiJesw.) (๔) อ้อยป่านิวกินี (S. robustum Brand. et Jesw.exGrassl.)

  10. ๑. อ้อยปลูกดั้งเดิม เป็นอ้อยที่เกิดแถบเกาะนิวกินี ลักษณะของอ้อยชนิดนี้ ถือเป็นลักษณะประจำของพืชในสกุลนี้ ลักษณะที่สำคัญคือ ลำใหญ่ ใบยาวและกว้าง มีน้ำตาลมาก เปลือกและเนื้อนิ่ม และมีสีสวย ซึ่งเรารู้จักกันในนามของ "อ้อยเคี้ยว" เท่าที่มีอยู่ในบ้านเรา คือ อ้อยสิงคโปร์ อ้อยมอริเชียส (Mauritius) และอ้อยบาดิลา (Badila) ซึ่งชาวดัทช์ที่อยู่ในชวาสมัยก่อนเรียกอ้อยเหล่านี้ว่า โนเบิลเคน (noble cane) ต่อมา บรานดิซ (Brandes, ๑๙๕๖) เรียกว่า เนทิฟการ์เดน ชูการ์เคน (native garden sugarcane หรือ native sugarcane) เพราะชาวเกาะนิวกีนีปลูกไว้ในสวน เพื่อใช้รับประทานสด อ้อยชนิดนี้มีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของโลก ในสมัยเริ่มแรกเป็นอย่างมาก อ้อยที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันก็สืบเชื้อสายมาจากอ้อยชนิดนี้ ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงประวัติ และถิ่นฐานดั้งเดิมของอ้อยจึงหมายถึงอ้อยชนิดนี้เสมอ

  11. ๒. อ้อยป่าแถบร้อน เป็นอ้อยป่าซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบร้อนและชุ่มชื้น มีอยู่หลายร้อยชนิดแตกต่างกันตามแหล่งกำเนิด แต่มีลักษณะที่สำคัญคล้ายคลึงกัน คือมีอายุยืน (perennial) ขึ้นอยู่เป็นกอ มีลำต้นใต้ดิน (rhizome) ลำต้นผอมและแข็ง ไส้กลวง มีความหวานน้อย ในประเทศไทยเรียกว่า แขมพงหรืออ้อยป่า (wild cane) แขมพงหรืออ้อยป่า ซึ่งงอกเองตามธรรมชาติ จะเห็นช่อดอกสีขาวคล้ายอ้อย ดอกส่วนใหญ่โรยแล้ว

  12. ๓. อ้อยอินเดีย เป็นอ้อยที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ นักวิชาการเชื่อกันว่าเป็นอ้อยที่เกิดจากการผสมตามธรรมชาติ ระหว่าง S.officinarumและ S.spontaneumอ้อยพวกนี้มีลำต้นขนาดเล็ก ใบเล็ก ข้อโป่ง มีความหวานสูง เปลือกและเนื้อนิ่ม อ้อยขาไก่ในประเทศเราอาจเป็นอ้อยพวกนี้

  13. ๔. อ้อยป่านิวกีนี เป็นอ้อยป่าแถบเกาะนิวกินี เปลือกแข็ง ไส้ฟ่าม มีลักษณะลำต้นใหญ่ แข็งแรง อาจสูงถึง ๑๐ เมตร มีความหวานต่ำ ชาวเกาะใช้ปลูกทำรั้ว อ้อยชนิดนี้พบว่า มีในประเทศไทย นักวิชาการเชื่อกันว่า เป็นต้นตระกูลของอ้อยปลูกดั้งเดิม

  14. ลักษณะทั่วไปและลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ลักษณะทั่วไปและลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ • ราก ระบบรากเป็นแบบรากฝอย (fibrous root system) ขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์มีราก 2 ชุด คือ รากของท่อนพันธุ์ (sett root หรือ cutting root) และรากของหน่อ (shoot root) เมื่ออ้อยเติบโตเต็มที่จะมีราก 3 ชนิดทำหน้าที่ต่างๆ

  15. ลำต้น อ้อยขยายพันธุ์โดยใช้ลำต้นตัดเป็นท่อน เรียกว่า cutting, sett, set หรือ seed cane แต่ละท่อนมี 1 ตาหรือมากกว่า แต่ละตาจะเจริญเป็นหน่อแรก (mother หรือ primary shoot) ตาที่อยู่ส่วนโคนของหน่อแรกจะเจริญเป็นหน่อชุดที่สอง (secondary shoot) และตาของหน่อชุดที่สองจะเจริญเป็นหน่อชุดที่สาม (tertiary shoot) ตามลำดับ

  16. ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว (simple leaf) ประกอบด้วย กาบใบ (leaf sheath) และแผ่นใบ (leaf blade) แผ่นใบมีเส้นกลางใบ (vein) เรียกว่า midrib บริเวณรอยต่อระหว่างกาบใบและแผ่นใบ (leaf collar) มีเยื่อกันน้ำหรือลิ้นใบ (ligule) หูใบหรือเขี้ยวใบ (auricle) และลักษณะคล้ายพื้นที่สามเหลี่ยมสองอันติดต่อกัน เรียกว่า dewlap, collar หรือ joint triangle ส่วนใบอ้อยที่หุ้มหน่ออ่อนที่เจริญจากตามีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ เรียกว่า scale leaf

  17. ช่อดอกและดอก ช่อดอกอ้อยเป็นแบบ panicle เรียกทั่วไปว่า arrow หรือ tassel กลุ่มดอกย่อย (spikelet) ของอ้อย เกิดเป็นคู่ประกอบด้วยชนิดที่มีก้านดอก (pedicelledหรือ stalked spikelet) และชนิดที่ไม่มีก้านดอก (sessile spikelet) ที่ฐานของแต่ละกลุ่มดอกย่อยมีขนยาวสีขาวคล้ายไหม (callus hair หรือ bristle) ถัดจาก callus hair เข้าไปเป็น outer glume (first glume) และ inner glume (second glume) ซึ่งหุ้มดอกย่อย (floret) กลุ่มดอกย่อยมี 2 ดอกย่อย ดอกย่อยดอกล่างเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศปรากฏเพียง sterile lemma หรือ third glume อันเดียวเท่านั้น ส่วนดอกย่อยดอกบนถึงแม้จะเป็นดอกสมบูรณ์เพศแต่ไม่มี fertile lemma และ fertile paleaภายในดอกย่อย ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ (stamen) และเกสรตัวเมีย (pistil) ที่มีรังไข่ (ovary) ก้านชูเกสรตัวเมีย (style) ปลายเกสรตัวเมีย (stigma) แยกเป็น 2 แฉก ลักษณะคล้ายขนนกเรียกว่า plumose stigma

  18. ผล ผลหรือเมล็ดเป็นแบบ caryopsis ที่มีเยื่อหุ้มผล (pericarp) เชื่อมติดกับเยื่อหุ้มเมล็ด (seed coat หรือ testa) เอนโดสเปิร์ม (endosperm) และ คัพภะ (embryo)

  19. พันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์ของอ้อยพันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์ของอ้อย • อ้อยโรงงาน • - พันธุ์อู่ทอง ลำต้นมีขนาดใหญ่ ปล้องรูปทรงกระบอก กาบใบสีม่วง ไม่มีขน ทรงกอตั้งสูง ออกดอกยาก อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน • ผลผลิต 18.04 ตัน/ไร่ ซีซีเอส 13.59 ความสูง 299 ซม. • ดินร่วนปนทราย เขตกึ่งชลประทาน

  20. พันธุ์มุกดาหาร ใบแคงตั้ง ปลายใบโค้ง กาบใบสีเขียวปนม่วง • ปล้องรูปทรงกระบอก ทรงกอตั้งตรง ล้มง่าย อายุเก็บเกี่ยว • 12-14 เดือน ผลผลิต 13.4 ตัน/ไร่ ความสูง 274 ซม. • ดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทรายในจังหวัดมุกดาหาร • และกาฬสินธุ์

  21. ขอนแก่น ใบแผ่ตั้งสีเขียวเข้ม ลำอ้อยสีเหลืองอมเขียว • รูปร่างปล้องคอด กลางป่อง ข้อโปน ทรงกอแคบ ตั้งตรง • ไม่ล้มง่าย ออกดอกกลางเดือนธันวาคม อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน • ผลผลิต 13-16 ตัน/ไร่ ความสูง 257 ซม.แหล่งปลูกภาคตะวันออก • เฉียงเหนือ

  22. อ้อยเคี้ยว • - สุพรรณบุรี ใบขนาดกลางปลายโค้ ลำต้นสีเขียวอมเหลือง • ปล้องทรงกระบอก มีร่องเหนือตา ข้อคอดเล็กน้อย อายุเก็บเกี่ยว • 9 เดือน ผลผลิตเนื้ออ้อย 6.3 ตันต่อไร่ ความสูง 270 ซม. • แหล่งปลูกพื้นที่ดินร่วนเหนียว ดินร่วนปนทรายที่สามารถให้น้ำได้

  23. พันธุ์ที่ได้จากงานวิจัยของกระทรวงอุตสาหกรรมพันธุ์ที่ได้จากงานวิจัยของกระทรวงอุตสาหกรรม • - พันธุ์ K 76-4 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมระหว่างพันธุ์ Co 798 กับพันธุ์ Co 775 ให้ผลผลิตอ้อยสด 14 ตันต่อไร่ ความหวาน 12 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ลำต้นตรงสีเหลืองอมเขียว เจริญเติบโตได้เร็ว ทนทานต่อโรคใบขาวและหนอนเจาะลำต้น

  24. พันธุ์ K 84-69 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ F 143 กับพันธุ์ ROC 1 ให้ผลผลิตอ้อยสด 12-15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-13 CCS การแตกกอปานกลาง มี 5-6 ลำต่อกอ ลำต้นตรง สีเขียวมะกอก เจริญเติบโตเร็ว ลอกกาบค่อนข้างง่าย • ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ปลูกในสภาพดินร่วนเหนียวดีกว่าร่วนทราย

  25. พันธุ์ K 87-200 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ ROC 1 กับพันธุ์ CP 63-588 ให้ผลิตอ้อยสด 12-14 ตันต่อไร่ ความหวาน 13 CCS การแตกกอน้อย ไว้ตอค่อนข้างดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นตรงสีเขียวมะกอก ทรงกอแคบ ลำต้นตั้งตรง ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ลอกกาบใบง่าย • ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคกอตะไคร้และโรคใบขาว

  26. พันธุ์ K 88-92 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ PL 310 ผลผลิตอ้อยสด 15 ตันต่อไร่ ความหวาน 12 CCS การแตกกอปานกลาง ลำต้นขนาดปานกลางถึงใหญ่ การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำต้นตรงสีเขียวมะกอก ต้านทานต่อโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง เจริญเติบโตเร็ว • ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรครากเน่าและโรคใบขาว

  27. พันธุ์ K 90-77 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 83-74 กับพันธุ์อู่ทอง 1 ผลผลิตอ้อยสด 12-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-15 CCS การแตกกอปานกลาง ไว้ตอได้ดี ไม่ออกดอก ลำต้นสีเขียวเข้ม เมื่อถูกแสงจะเป็นสีม่วง ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งได้ดี ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคตะไคร้ โรคยอดเน่า และโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อหนอนเจาะยอดและหนอนเจาะลำต้น • ข้อควรระวัง ลอกกาบใบได้ค่อนข้างยาก

  28. พันธุ์ K 92-80 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 84-200 กับพันธุ์ K 76-4 ผลผลิตอ้อยสด 16-19 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดีมาก ไม่ออกดอก ลำสีเหลืองอมเขียว ทรงกอค่อนข้างกว้าง เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม โรคแส้ดำ และหนอนเจาะลำต้น • ข้อควรระวัง งอกช้า อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน หักล้มง่าย กาบใบร่วงหลุดยาก

  29. พันธุ์ K 92-213 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 84-200 กับพันธุ์ K 84-74 ผลผลิตอ้อยสด 15-18 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ออกดอกเล็กน้อย ลำสีเขียวอมเหลือง งอกเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้และโรคแส้ดำ • ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง โรคยอดบิดและโรคใบจุดวงแหวน การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก ควรปลูกในเขตชลประทาน

  30. พันธุ์ K 93-219 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์อีเหี่ยว ผลผลิตอ้อยสด 16-21 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำต้นสีเขียว งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคใบจุดเหลือง โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้น เก็บเกี่ยวอายุ 12 เดือน • ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก

  31. พันธุ์ K 93-347 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์อู่ทอง 1 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 11-13 CCS การแตกกอปานกลาง ขนาดลำปานกลาง การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำสีเขียวอมเหลือง งอกเร็ว เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ และโรคแส้ดำ อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน • ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบจุดเหลือง การหักล้มปานกลาง กาบใบร่วงหลุดยาก

  32. พันธุ์ K 95-84 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ K 90-79 กับพันธุ์ K 84-200 ผลผลิตอ้อยสด 16-20 ตันต่อไร่ ความหวาน 12-14 CCS การแตกกอปานกลาง ลำขนาดใหญ่ (4.1-4.3 ซม.) การไว้ตอดี ไม่ออกดอก ลำสีเขียวมะกอกอมเหลือง เจริญเติมโตเร็ว ทนแล้งปานกลาง ลอกกาบใบง่าย ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคกอตะไคร้ โรคราสนิม และโรคแส้ดำ ต้านทานปานกลางต่อหนอนเจาะลำต้น • ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบขาวและโรคยอดบิด

  33. แหล่งปลูกอ้อยในประเทศไทยแหล่งปลูกอ้อยในประเทศไทย • สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แบ่งเขตการปลูกอ้อยออกเป็น ๔ ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ปลูกอ้อย ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๒ รวม ๓.๑๓ ล้านไร่ และได้ผลผลิตอ้อยทั้งสิ้น ๒๐.๒๔ ล้านตัน เฉลี่ยผลผลิตอ้อยไร่ละ ๖.๔๖ ตัน สาเหตุที่ผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งมาก ประกอบกับมีโรคและแมลงระบาดด้วย จังหวัดที่ผลิตอ้อยในแต่ละภาค เรียงตามปริมาณการผลิตมากไปหาน้อย มีดังนี้ • ภาคกลาง ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม เพชรบุรี อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี ผลิตอ้อยได้รวมกันคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๑๖ ของทั้งประเทศ

  34. ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และจันทบุรี ผลิตอ้อยได้รวมกันคิดเป็นร้อยละ ๑๗.๕๘ ของทั้งประเทศ • ภาคเหนือ ได้แก่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเชียงใหม่ ผลิตอ้อยได้รวมกันคิดเป็นร้อยละ ๙.๓๙ ของทั้งประเทศ • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ นครพนม กาฬสินธุ์ สกลนคร ชัยภูมิ มหาสารคาม เลย และหนองคาย ผลิตอ้อยได้รวมกันคิดเป็นร้อยละ ๖.๘๗ ของทั้งประเทศ

  35. วิธีปลูกอ้อย • อ้อยจัดว่าเป็นอาชีพหลักของคนไทย เพราะเกษตรกรไทยสมัยก่อนเมื่อ20ปีที่แล้วจะนิยมปลูกข้าวและปลูกอ้อยเป็นส่วนใหญ่ • ก่อนอื่นถ้าเรามีที่ที่มีหญ้าปกคลุมไว้หมดคุณต้องทำการนำเอารถไถมาชักร่องทั้งสี่ด้านของไร่เพื่อในเวลาที่คุณเผาหญ้า หรือใบอ้อยเก่า ไฟจะได้ไม่ลุกลามไปที่ ที่ของคนอื่น ไถเสร็จแล้วคุณก็เผาได้เลย แต่ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่นิยมเผาตอนกลางคืนเพราะเวลากลางคืนลมไม่ค่อยแรง และก่อนเผาคุณต้องดูทิศทางลมให้ดีคุณต้องอยูเเหนือลมตลอดไม่งั้นคุณจะสำลักควันตอนเผาคุณต้องเดินลากใบอ้อยหรือใบหญ้าแห้งที่ติดไฟจากมุมไร่หนึ่งไปอีกมุมหนึ่งอย่าให้ไฟมันดับขาดตอนน่ะครับ เสร็จเรียบร้อยจัดยามเผ้าไฟให้ดี ไม่ให้ลุกลามไปที่อื่น

  36. รอสักสามสี่วันก้อทำการไถรุนเกลี่ยที่ให้เสมอกันเสร็จแล้วก็ทำการชักร่องค่าชักร่องคนขับรถไถ่เขาจะคิดเป็นชั่วโมงตามแต่จะตกลงราคากันเองชักร่องเสร็จก็หาพันธุ์อ้อยที่ดีๆสักหน่อยปกติเขาจะใช้พันธุ์อู่ทอง หรือพันธุ์กอแปะ พันธุ์อ้อย1งานต่อไร่อ้อยที่จะปลูก5ไร่ได้พันธุ์อ้อยที่ต้องการ

  37. วิธีการตัดหามีดตัดอ้อยดีๆสักอันคมๆปลอกลำต้นเอาเฉพาะใบที่ห่อหุ้มตาออกอย่าให้ตาอ้อยออกหรือแตกเป็นเด็ดขาดไม่งั้นปลูกไปก้อไม่ขึ้น แล้วทำการตัดโคนตัดยอดสุดออก • แล้วก็มาสับเป็นท่อน ท่อนหนึ่งจะได้3ตาหรือ2ตาก็ได้แล้วแต่ถนัดหั่นไปด้วยนับไปด้วยจะดีมากเลย ช่วยฝึกความทรงจำจะได้ทำเป็นกองๆไว้เวลาขนจะได้ไม่ลำบาก สับพันธุ์อ้อยเสร็จแล้วเอารถมาถอยขนไปได้เลย มาถึงจุดที่หมายเอาอ้อยใส่ตะกร้าสองใบเอาไม้คานสอดตรงกลางแล้วหาบไป

  38. วิธีปลูกมี2วิธี • วิธีที่1ถ้าคุณขึ้นน้ำใช้เครื่องคูโบต้าสูบน้ำ ก่อนที่จะปล่อยน้ำใส่ในร่องอ้อยคุณก็นำอ้อยหาบไปแล้ววางเรียงกันบนคันล่องที่นูนๆเรียงไปเรื่อยๆช่องว่างห้ามเกินครึ่งคืบอ้อยหมดเข่งก้อไปเอาใหม่ทำไปเรื่อยๆไม่ต้องรีบร้อนวางได้สักสามร่องก้อปล่อยน้ำเข้าล่องอ้อยได้เลย เมื่อน้ำถึงปลายอีกด้านก้อขึ้นร่องใหม่หน้าที่ต่อไปเป็นหน้าที่ของคนดำ(ปลูก)กดไปทั้งท่อนโดยให้ท่อนอ้อยขนานกับพื้นกดเรียงๆท่อนเสมอกัน

  39. วิธีที่2หาบอ้อยไปเรียงในร่องได้เลยแล้วเอาจอบกลบตามโดยนำดินจากข้างๆคันล่องทั้งสองด้านมากลบขยายามใช้ดินน้อยกลบอย่าให้มิดมากไม่งั้นล่องจะพังเสร็จเรียบร้อยใช้เครื่องคูโบต้าวางใกล้ๆบ่อน้ำ นำงวงช้างมาต่อแล้วหย่อนงวงช้างลงไปในบ่อต่อแป๊บเรียงๆไปที่ปลายด้านบนของไร่ปล่อยที่สูงลงสู่ที่ต่ำถ้าใช้สายยางคุณจะเหนื่อยขอแน่ะนำใช้แป๊บหรือท่ออันดีที่สุดยอมเสียสละสักท่อนตัดเป็นสี่ส่วนเวลาจะเปลี่ยนร่องใหม่จะง่ายถ้ามันสั้นเกินก้อเอาท่อนที่สั่นๆมาต่อเพิ่มให้พอดีกับร่องเมื่อทำเสร็จแล้วรอประมาณอาทิตย์หนึ่งแล้วขึ้นน้ำใหม่ ขึ้นน้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะโตแตกยอดก้อใส่ปุ๋ยอ้อยพยายามดูตรงไหนที่อ้อยไม่ขึ้นก้อทำการซ่อมมันเลย เอาท่อนใหม่มาใส่พยายามใส่ปุ๋ยลดน้ำบ่อยๆอ้อยจะได้โตและแข็งแรง

  40. รอประมาณ1ปีก้อได้ตัดแล้วนานมากๆ ก่อนตัดหาเฒ่าแก่ไร่อ้อยดีๆสักที่เชื่อใจได้ นำเอาลูกน้องมาตัดให้ส่วนหน้าที่ของคุณเป็นฝ่ายนับว่าได้กี่มัดปกติจะราคามัดละบาทในแต่ละมัดจะมี10ท่อนคนงานจะทำเป็นกองๆละ10มัดเวลานับจะได้นับง่ายๆตัดเสร็จเฒ่าแก่ก้อส่งคนงานเอารถสิบล้อมาขน เสร็จแล้วรอสักพักให้เฒ่าแก่ขายอ้อยได้จะมาบอกว่าได้กี่ตันแล้วเฒ่าแก่ก้อจะมาจ่ายเงินให้

  41. การเจริญเติบโตของอ้อยการเจริญเติบโตของอ้อย ก่อนที่จะกล่าวถึงการเจริญเติบโต ใคร่ขออธิบายถึงธรรมชาติบางอย่างของอ้อยเสียก่อน เป็นที่ทราบกันดีว่า ขณะที่อ้อยเจริญเติบโตเป็นปกตินั้น ตาที่อยู่ตามลำต้น (lateral buds) จะไม่เจริญเป็นแขนง (lalas) ทั้งนี้เพราะว่าส่วนของยอดที่กำลังเจริญเติบโต (growing point) จะผลิตออกซิน (auxin) และฮอร์โมน (hormone) บางชนิดแล้วส่งลงมาตาม ลำต้น ซึ่งจะมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของตาที่อยู่ถัดลงมา ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า "ยอดข่ม" (top dominance หรือ apical dominance) ยอดข่มนี้ จะหมดไปเมื่อส่วนยอดอ้อยถูกทำลาย ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดๆ เช่น การตัดยอด ถูกความร้อนจัดหรือความเย็นจัด โรคหรือแมลงทำลาย ฉีดด้วยสารเคมีบางชนิด ตลอดจนการออกดอก เมื่อยอดข่มหมดไปตาที่อยู่ส่วนยอดของลำต้นจะเจริญเป็นแขนง และทำหน้าที่แทนยอดต่อไป ลักษณะยอดข่มจะปรากฏแม้กระทั่งเมื่อใช้ท่อนพันธุ์ที่มีตามากกว่าหนึ่งตามาปลูก ตาที่อยู่ทางปลายสุดจะงอกออกมาก่อน แล้วทำหน้าที่แทนยอด เป็นผลทำให้ตาที่อยู่ถัดลงมาเติบโตช้าลง ลักษณะยอดข่มจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น เมื่อใช้ท่อนพันธุ์ที่มีหลายๆ ตาปลูกหรือปลูกทั้งลำ โดยไม่ตัดเป็นท่อนๆ

  42. ระยะแตกกอ (tillering phase) • ในระยะงอกนั้นอ้อยแต่ละตาจะงอกขึ้นมาเพียงต้นเดียวเท่านั้น และเมื่อเติบโตพอสมควรจึงจะมีการแตกกอ การแตกกอเป็นลักษณะสำคัญของพืชตระกูลหญ้ารวมทั้งอ้อย เกิดขึ้น เนื่องจากตาที่อยู่ส่วนโคนของลำต้นใต้ดินของหน่อแรก เจริญออกมาเป็นหน่อชุดที่สอง และจากหน่อชุดที่สองก็เจริญเป็นหน่อชุดที่สาม หรืออาจจะมีหน่อชุดต่อไปอีกทำให้มีจำนวนหน่อหรือลำต้นเพิ่มขึ้น ในระยะนี้อิทธิพลของยอดย่อมมีน้อยมาก จึงไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของตาที่อยู่ส่วนโคนได้ ระยะแตกกอเป็นระยะต่อเนื่องกับระยะงอก การแตกกอจะเริ่มเมื่ออายุประมาณ ๑.๕ เดือนเป็นต้นไป แต่ระยะที่มีการแตกกอมากที่สุดอยู่ระหว่าง ๒.๕-๔ เดือน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างตามที่กล่าวแล้ว หน่อที่แตกออกมาทั้งหมดในระยะแตกกอนี้จะเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว หน่อที่อ่อนแอกว่าจะตายไป เพราะการแข่งขันกันเพื่อปัจจัยในการเจริญเติบโต เช่น แสงแดด น้ำ และธาตุอาหารเป็นต้น จำนวนลำต้นต่อกอขณะเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับจำนวนหน่อในระยะแตกกอนี้

  43. ระยะย่างปล้อง (stalk elongation phase) • เป็นระยะต่อเนื่องกับการแตกกอ ระยะนี้จะมีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของปล้องอย่างรวดเร็ว ทำให้อ้อยทั้งลำต้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ ๓-๔ เดือนจนถึงอายุประมาณ ๗-๘ เดือน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะมีน้อยลง และจะเริ่มมีการสะสมน้ำตาล เพิ่มขึ้น ขนาดและความยาวของแต่ละต้นในระยะนี้ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับน้ำหนักของแต่ละลำต้นและน้ำหนักแต่ละลำต้นมีผลโดยตรงต่อผลผลิตน้ำหนักของอ้อยทั้งไร่เมื่อเก็บเกี่ยว

  44. ระยะแก่และสุก (maturity and ripening phase) • ระยะแก่คือระยะที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับระยะต่างๆ ตามที่ได้กล่าวแล้ว เมื่อการเจริญเติบโตเริ่มช้าลง น้ำตาลที่ใบสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์แสงก็จะถูกใช้น้อยลงและมีเหลือเก็บสะสมในลำต้นมากขึ้น ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของระยะสุกนั่นเอง การสะสมน้ำตาลจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย ดังนั้นส่วนโคนจึงหวานก่อน และมีความหวานมากกว่าส่วนปลาย การสะสมน้ำตาลจะมีมากขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งส่วนโคน ส่วนกลางและส่วนปลายมีความหวานใกล้เคียงกัน เรียกว่า สุก ถ้าจะเปรียบการแก่และการสุกของอ้อยกับมะม่วงก็จะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น มะม่วงแก่คือเมื่อเมล็ดเข้าไคลนั้นยังไม่หวานต้องบ่มต่อไปจนหวานสนิทจึงจะเรียกว่า สุก • สิ่งที่เน้นในที่นี้ก็คือ การเจริญเติบโตและการสะสมน้ำตาลของอ้อยมิได้เกิดขึ้นพร้อมๆ กันในขณะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น น้ำตาลที่ใบสร้างขึ้นส่วนใหญ่จะถูกใช้ไปเพื่อการเจริญเติบโตจึงเหลือเก็บสะสมไว้ภายในลำต้นเพียงส่วนน้อย เมื่อการเจริญเติบโตช้าลง การสะสมน้ำตาลจึงมีมากขึ้น

More Related