1 / 40

การสื่อสารผ่านดาวเทียม

การสื่อสารผ่านดาวเทียม. ความเป็นมาของดาวเทียม.

issac
Download Presentation

การสื่อสารผ่านดาวเทียม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสื่อสารผ่านดาวเทียมการสื่อสารผ่านดาวเทียม

  2. ความเป็นมาของดาวเทียมความเป็นมาของดาวเทียม ผู้ริเริ่มให้แนวคิดการสื่อสารดาวเทียมคือนายออาเธอร์ ซิ คลาร์ก เขาได้สร้างสรรค์จินตนาการของการสื่อสารดาวเทียม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 โดยเขียนบทความเรื่อง WIRELESS WORLD"ฉบับเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2488 ซึ่งบทความนั้นได้กล่าวถึงการเชื่อมระบบสัญญาณวิทยุจากมุมโลกหนึ่งไปยังอีกมุมโลกหนึ่งให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้สถานีถ่ายทอดวิทยุที่ลอยอยู่ในอวกาศเหนือพื้นโลก ขึ้นไปประมาณ 35,780 กิโลเมตร โดยให้โคจรในรูปวงกลมรอบโลกจุดนี้จะใช้เวลา 24 ชั่วโมงพอดี เสมือนว่าสถานีถ่ายทอดวิทยุที่ลอยอยู่นั้นอยู่กับที่ ซึ่งต่อมาเรียกวงโคจรนี้ว่าวงคจรค้างฟ้า (geosynchronous orbit หรือ (geostationaryorbit) ข้อคิดในบทความของ อาร์เธอร์ซี คลาร์ก เริ่มเป็นจริงขึ้นมาเมื่อ๖สหภาพโซเวียตรัสเซียได้ส่ง ดาวเทียม สปุทนกิ 1 ในวันที่ 4 ตุลาคม 2500 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสูงอวกาศได้สำเร็จแล้วในเดือนต่อมาก็ได้ส่ง สปุทนิก 2 ดาวเทียมดวงที่ 2 ขึ้นสู่ห้วงอวกาศโดยมีสุนัข ชื่อไลก้าขึ้นไปด้วย และปีถัดมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2501 สหรัฐอเมริกาก็ส่งดาวเทียมชื่อเอ็กซ์พลอเรอ 1 ขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ หลังจากนั้นเป็นต้นมาทั้งรัสเซียและสหรัฐอเมริกาต่างก็ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศอีกหลายตวง แต่ดาวเทียมเหล่านั้นเป็นดาวเทียมเพื่อการสำรวจบรรยากาศ

  3. การส่งดาวเทียมขึ้นสู่บรรยากาศการส่งดาวเทียมขึ้นสู่บรรยากาศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ประเทศสหภาพ โซเวียต (รัสเซีย) เป็นชาติแรกที่ส่งดาวเทียมชื่อว่า สปุตนิค 1" (Sputnik 1) ไปโคจรในอวกาศในระดับต่ำ แล้วส่งข้อมูลเกี่ยวกับความหนาแน่นและอุณภูมิของบรรยากาศชั้นสูงกลับมาสู่โลก ด้วยความถี่ 20.005MHz และ 40.005 MHz ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีทางดาวอวกาศ และดาวเทียมของโลกทีเดียว มาถึงในปี พ.ศ. 2505 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมชื่อว่า " เทลสตาร์ 1" (Telstar 1) ขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นวงรี แต่ยังไม่อยู่ในวงโคจรที่เรียกว่า Geostationary โดยใช้การควบคุมการโคจรจากสถานีภาคพื้นดินที่อยู่บนโลก ดาวเทียมดวงนี้ถือว่าเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกที่ใช้ในการสื่อสารอย่างแท้จริง และใช้ส่งรายการโทรทัศน์รวมด้วย ต่อมาอีก 3 ปี คือปี พ.ศ. 2508 ได้มีการส่งดาวเทียมที่ชื่อว่า " เออร์ลี่เบริร์ด " ( Early Bird) ขึ้นไปโครจรในวงโคจร Geostationary ซึ่งถือว่าเป็นดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรแบบค้างฟ้า และใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นดาวแรกอย่างแท้จริง โดยมีช่องสัญญาณการถ่ายทอด สัญญาณเกี่ยวกับโทรทัศน์ , เทเล็กซ์ , ข่าวสารต่างๆ รวมทั้งรายการโทรทัศน์ ที่รับมาจากด้านหนึ่ง ของมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านดาวเทียมเพื่อส่งไปส่วนอื่นๆ ของประเทศ หลังจากที่ดาวเทียมเออร์ลี่เบิร์ด ประสบความสำเร็จแล้ว องค์การดาวเทียม เพื่อการสื่อสารโทรคมระหว่างประเทศ ก็ได้ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโจรอีกหลาย ดวงภายใต้ชื่อของอินเทลแซท ( INTELSAT)

  4. ความเป็นมาเบื้องต้นของระบบดาวเทียมความเป็นมาเบื้องต้นของระบบดาวเทียม การสื่อสารดาวเทียมนับว่าเป็นวิธีการในการส่งข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันที่นิยมกันมาก ซึ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว เป็นการสื่อสารที่มีวิวัฒนาการมาจากการสื่อสารแบบไมโคเวฟ และมีผู้ที่เขียน นวนิยายวิทยาศาสตร์ขึ้นเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน และต่อมาก็สามารถทำขึ้นได้จริง ๆ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มาจนมีเทคโนโลยีในการสื่อสารที่สูงมากขึ้น ในช่วงแรกๆ ดาวเทียมได้ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในด้านการทหาร และได้พัฒนามาใช้ทางด้านการพยากรณ์อากาศ การค้นหาทรัพยกรธรณี และการสื่อสาร ซึ่งจะกล่าวถึงในที่นี้คือ " ดาวเทียมสื่อสาร " ที่ใช้ในกิจการระบบโทรทัศน์ ( DTH: DIRECT TO HOME)  ดาวเทียมสื่อสารที่ส่งขึ้นไปครั้งแรกเมื่อปี 2508 โดยองค์การโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( INTERNATIONAL TELECOMMUNICATIONS SATELLITE

  5. ดาวเทียมนั้นจะลอยอยู่ในอวกาศ โคจรรอบโลก ในลักษณะการโคจรเป็นแบบวงกลม ที่เรียกว่า " Geostationary Orbit " ซึ่งดาวเทียมจะลอยอยู่ เหนื่อเส้นศูนย์สูตร ที่ระดับความสูงประมาณ 35,786 กิโลเมตร วัดจากพื้นโลก ซึ่งวงโคจรนี้จะต้องทำให้ดาวเทียมนั้น โคจรด้วยความเร็วเท่ากับที่โลกนั้นหมุนรอบตัวเอง เท่ากับ 24 ชั่วโมง หรือหนึ่งรอบพอดี ดังนั้นเมื่อเรามองไปยังดาวเทียม จึงทำให้เป็นภาพลวงตาซึ่งมองเห็นว่า ดาวเทียมนั้นลอยอยู่กับที่ แต่จริงแล้วมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา แนวคิดนี้เองที่ทำให้ส่งสัญญาณรายการโทรทัศฯและวิทยุได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก และครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง แต่มีการลงทุนที่ค่อนข้างต่ำเพราะไม่จำเป็นต้องสร้างสถานีทวนสัญญาณ ( Repeater) มากเหมือนการสื่อสารภาคพื้นดินอื้นๆ ซึ่งทำให้สามารถส่งสัญญาณมายังลูกค้าโดยตรงอย่างที่เรียกกันว่า DTH Direct To Home

  6. นอกจากนี้นายอาเธอร์ ซี. คลาค ยังให้แนวคิดไว้ว่า โลกจะทำการสื่อสารผ่านดาวเทียม โดยทั่วโลกได้นั้นจำเป็นต้องมีการนำเอาสถานีทวนสัญญาณที่เรียกว่าดาวเทียม ไปลอยอยู่ในอวกาศเหนือมหาสมุทรทั้งสามมหาสมุทรหลักๆ คือ มหาสมุทรแอตแลนติก , มหาสมุทร แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งดาวเทียมทั้ง 3 จุดนี้ จะต้องลอยและโคจรอยู่ในวงโคจรเหนือเส้นศุนย์สูตร ที่มีชื่อเรียกตามสัญญานามว่า Clarke Orbit หรือเรียกเป็นไทยว่า " ดาวเทียมค้างฟ้า "

  7. ความเป็นมาของดาวเทียมธีออสความเป็นมาของดาวเทียมธีออส กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2547 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการพัฒนาดาวเทียม RemoteSensing ของประเทศไทย หรือดาวเทียมธีออส งบประมาณเป็นระยะเวลา 3 ปี ทั้งนี้ ดาวเทียม ธีออส จะเป็นดาวเทียมดวงแรกของไทย โดยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส ภายใต้สัญญาการค้าต่างตอบแทน (CounterTrade) โดยกระทรวงวิทยา ศาสตร์ฯ มีวัตถุประสงค์ในการจัดซื้อดาวเทียมดังกล่าวเพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศในระดับต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้ในด้านสร้างความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และป้องกันประเทศ

  8. การสื่อสารผ่านดาวเทียมการสื่อสารผ่านดาวเทียม หลักการของดาวเทียมมาจากหลักการของฟิสิกส์หรือกฎของเคปเลอร์ที่ว่า คาบของดาวที่โคจรอยู่รอบโลกจะแปรตามยกกำลัง 3/2 ของรัศมี ดาวที่ใกล้โลกมากจะมีคาบประมาณ 90 นาที แต่ไม่มีประโยชน์ที่ว่าจะนำมาทำดาวเทียมเพราะว่า เมื่อมองจากพื้นดินจะเห็นดาวเทียมเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น แต่ที่ระยะประมาณ 36000 Km เหนือเส้นศูนย์สูตร คาบของดาวเทียมจะเป็น 24 ชั่วโมงทำให้เสมือนอยู่นิ่งเมื่อมองจากพื้นโลกตลอดเวลา บนท้องฟ้าดาวเทียมจะอยู่ห่างกันประมาณ 4 องศาตามมุม 360 องศาของเส้นศูนย์สูตร ถ้าหากดาวเทียมอยู่ใกล้มากกว่านี้จะทำให้สัญญาณที่ขึ้นมาจากพื้นดินรบกวนดาวเทียมตัวข้าง ๆ ที่อยู่ถัดไปด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการแก่งแย่งความถี่และตำแหน่งบนท้องฟ้า จึงได้มีการกำหนดข้อตกลงระหว่างชาติขึ้นว่าใครบ้างที่จะได้ใช้ความถี่ใดและตำแหน่งใด ช่วงความถี่ 3.7-4.2 GHz และ 5.925-6.425 GHz ได้ถูกกำหนดสำหรับการสื่อสารดาวเทียม หรือมีการเรียกย่อ ๆ กันว่า 4/6 GHz หมายถึง ความถี่ขึ้นมีค่าอยู่ในช่วง 6 HGz และความถี่ลงอยู่ในช่วง 4 GHz อย่างไรก็ตามความถี่ช่วงนี้ก็หนาแน่นมากเพราะถูกใช้โดยไมโครเวฟของบริษัทสื่อสารอยู่แล้ว

  9. ปัญหาด้านความถี่ ความถี่ช่วงที่สูงกว่านี้ก็คือ 12/14 GHz ทำให้ดาวเทียมสามารถวางอยู่ใกล้กันได้ถึง 1 องศา แต่มีปัญหาที่ตามมาก็คือ ความถี่ช่วงนี้ถูกลดทอนได้สูงด้วยฝนและพายุได้ง่าย ทางแก้ที่เป็นไปได้ก็คือตามหลักความจริงที่ว่าพายุหรือฝนมักจะเกิดเป็นหย่อม ๆ ถ้าหากตั้งจานรับเอาไว้กระจายไปทั่ว ( และต่อถึงกันด้วยสายเคเบิล) เมื่อมีฝนที่ใดที่หนึ่ง ก็ใช้สถานีพื้นดินที่บริเวณอื่นที่ไม่มีฝนตกรับแทนได้ ดาวเทียมทั่วไปจะแบ่งแถบกว้างความถี่ขนาด 500 MHz ออกเป็นทรานส์ปอนด์ เดอร์ แต่ละ ทรานส์ปอนด์เดอร์มีแถบกว้างความถี่ 36 MHz แต่ละทรานส์ปอนด์เดอร์อาจจะใช้ส่งข้อมูลขนาด 50 Mbps เพียงชุดเดียว หรือส่งขนาด 64 Kbps จำนวน 800 ชุดหรือจะรวมในลักษณะอื่นก็ได้ และแต่ละทรานส์หอนด์เดอร์สามารถใช้การส่งแบบคนละขั้วคลื่น ( polarize) ได้ทำให้ 2 ทรานส์ปอนด์เดอร์สามารถใช้ความถี่เดียวกันโดยไม่มีการรบกวนกันได้ ในดาวเทียมยุคแรก ๆ การแบ่งแถบกว้างความถี่ของทรานส์ปอนด์เดอร์ออกเป็นช่อง ๆ นั้นทำแบบตายตัว (static) ที่ความถี่เดียว แต่ในปัจจุบันช่องแต่ละช่องจะถูกแบ่งออกตามเวลา เช่นช่อแรกสำหรับสถานีแรก ช่องทีสองสำหรับสถานีที่สอง และต่อ ๆ ไป การทำแบบนี้ช่วยให้การจัดการอ่อนตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย มีชื่อเรียกว่า time-division multiplex

  10. ความก้าวหน้าทาง ดาวเทียม ดาวเทียมดวงแรกนั้นมีลำคลื่นจากอวกาศลำเดียวครอบคลุมสถานีพื้นดินทั้งหมด และเมื่อเวลาผ่านไป ราคาของอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ , ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ และขนาดได้ลดลง จนปัจจุบันสามารถ ที่จะใช้ทำให้ดาวเทียมมีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ละลำคลื่นที่ส่งลงมาสามารถที่จะเจาะจงลงไปยัง บริเวณใด ๆ ที่ต้องการและสามารถใช้ลำคลื่นหลาย ๆ ลำขณะส่งขึ้นหรือส่งลงพร้อม ๆ กันได้ บริเวณ ที่ลำคลื่นเล็งไปนั้นเรียกว่า ลำคลื่นเป็นจุด ( spot beam) ซึ่งบริเวณที่เล็งอาจจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่กี่ ร้อยกิโลเมตรการสื่อสารผ่านดาวเทียมมีคุณลักษณะหลายอย่างต่างจากการสื่อสารผ่านตัวกลางบน พื้นดิน เช่น การหน่วงของเวลา ถ้าเทียบกับไมโครเวฟแล้วจะมีค่าเพียง 3 ไมโครวินาที/กิโลเมตร หรือ ถ้าเป็นโคแอกเชียลก็จะมีค่า 5 ไมโครวินที/กิโลเมตรเท่านั้น ( คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางในอากาศได้ เร็วกว่าเดินทางในสายทองแดง)แต่โดยอีกนัยหนึ่งถ้าคำนึงถึงแถบกว้างความถี่และอัตราการเกิด ผิดพลาด ( error rate) ของข้อมูลด้วยแล้วการหน่วงเวลาของสัญญาณอาจจะไม่ใช่จุดสำคัญก็ได้ เช่น เวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล x กิโลไบท์ผ่านสายขนาดความเร็ว 9600 bps คือ x/19.6 วินาที แต่ถ้าส่งผ่าน ดาวเทียมที่มีความเร็วการส่งข้อมูล 5 Mbps แล้วจะใช้เวลา x/5000+0.270 วินาที (รวม 0.27 วินาที สำหรับเวลาที่หน่วงในอากาศ) สำหรับข้อมูลมากกว่า 2.6 Kbps แล้วดาวเทียมจะเร็วกว่า และถ้าหากว่า นับเวลาที่เสียไปเนื่องจากการส่งใหม่ (เมื่อมีการส่งข้อมูลผิดพลาด จะมีการส่งข้อมูลชุดนั้นมาใหม่ ทำ ให้เวลาที่ใช้ส่งข้อมูลจนครบเท่าที่ต้องการเพิ่มขึ้นไปด้วย) ดาวเทียมก็จะได้เปรียบมากกว่าเพราะว่า ดาวเทียมมีอัตราส่งข้อมูลผิดพลาดต่ำกว่ามาก

  11. นอกจากนั้นค่าเวลาที่หน่วงที่เสียไปไม่ขึ้นกับระยะทาง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องรับและเครื่องส่ง ที่อยู่คนละฟากของมหาสมุทรก็จะใช้เวลาเท่ากับส่งระหว่างที่อยู่ตรงข้ามถนน ทำให้การคิดราคาค่าส่ง ข้อมูลไม่ขึ้นอยู่กับระยะทางไปด้วย จุดอื่นที่ต่างกันอีกก็คือการสื่อสารผ่านสายเช่า สามารถส่งข้อมูลได้เร็วสุดเพียง 56 Kbps เท่านั้น (ถึงแม้ว่าจะมีสายขนาดความเร็ว 1.544 Mbps ให้ใช้ ถ้าหากว่าสามารถจ่ายค่าเช่าไหวให้ใช้ใน บางพื้นที่ก็ตาม) แต่การส่งจากจานสายอากาศบนหลังคาไปยังอีกฝ่ายที่มีจานอากาศอยู่บนหลังคาผ่าน ดาวเทียมนั้น สามารถทำได้เร็วกว่าถึง 1000 เท่า และสำหรับการส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้วละก็ การส่งข้อมูลปริมาณมาก ในช่วงเวลาสั้น ๆ นั้นเป็นที่ต้องการมากกว่าใช้เวลานาน ๆ เช่น การส่งข้อมูล ในม้วนเทปผ่านสายโทรศัพท์ที่มีความเร็ว 56 Kbps ใช้เวลา 7 ชั่วโมง แต่ถ้าผ่านดาวเทียมจะใช้ เวลา 30 วินาที เท่านั้น คุณสมบัติที่น่าสนใจอีกอย่างของดาวเทียมก็คือว่าเป็นการส่งข้อมูลแบบ กระจายไปทุกที่ (broadcast) ทุก ๆ สถานีพื้นดินที่อยู่ภายใต้รัศมีลำคลื่นสามารถที่จะรับ สัญญาณได้หมด รวมทั้งสถานีเถื่อนด้วย และบริษัทสื่อสารเองก็ไม่มีทางรู้ด้วยดังนั้นจึงต้องมีกา เข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย

  12. เทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่เทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่ เทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมกำลังได้รับความสนใจอย่างยิ่ง การสื่อสารเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกมาก มีการให้บริการระบบสื่อสารสมัยใหม่อยู่มากมาย เทคโนโลยีเหล่านี้จึงได้รับความสนใจ

  13. การสื่อสารผ่านดาวเทียมการสื่อสารผ่านดาวเทียม ( satellite-based communication) เนื่องจากท้องที่ทางภูมิศาสตร์เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขา หรือเป็นเกาะอยู่ในทะเลการสื่อสารที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจร รอบโลก โดยมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนของโลก ทำให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งคงที่เมื่อมองจาก พื้นโลก ดาวเทียมจะมีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดตั้งอยู่ การสื่อสารโดยผ่านดาวเทียมจะทำโดยการส่ง สัญญาณสื่อสารจากสถานีภาคพื้นดินแห่งหนึ่งขึ้นไปยังดาวเทียม เมื่อดาวเทียมรับก็จะส่งกลับมายังสถานี ภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง เราจึงใช้ดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ได้การรับจะ ครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและทำได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ เช่น มีแนวเขาบังสัญญาณดาวเทียมจึงเป็นสถานีกลางที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้

  14. การสื่อสารผ่านดาวเทียมการสื่อสารผ่านดาวเทียม ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคมสามดวงลอยอยู่เหนือประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดียและอ่าวไทย ดาวเทียมไทยคมนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารของประเทศได้มาก เพราะเป็นการให้บริการสื่อสารของประเทศในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจากวิทยุ สัญญาณข้อมูลข่าวสารต่างๆ

  15. ดาวเทียมไทยคม ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ ( mobile phone system) หรือที่เรียกว่าระบบเซลลูลาร์โฟน ( cellular phone system) ที่ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก ลักษณะการทำงานของระบบสื่อสารแบบนี้คือ มีการกำหนดพื้นที่เป็นเซลเหมือนรวงผึ้ง แต่ละเซลจะครอบคลุมพื้นที่บริเวณหนึ่ง มีระบบสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างเซลเข้าด้วยกัน ครอบคลุมพื้นที่บริการไว้ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บริเวณพื้นที่บริการใด และมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ สัญญาณจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จเชื่อมโยงกับสถานีรับส่งประจำเซลขึ้น ทำให้ติดต่อไปยังข่ายสื่อสารที่ใดก็ได้ครั้นเมื่อเราเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่ก็จะโอนการรับส่งไปยังเซลที่อยู่ข้างเคียงโดยทสัญญาณสื่อสารไม่ขาดหาย

  16. โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบสื่อสารไร้สาย ( wireless communication)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายระบบที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายคือ ระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) เป็นระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายด้วยสัญญาณวิทยุสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบด้วยความสูงถึง 11 เมกะบิตต่อวินาทีระบบเครือข่ายไร้สายที่รู้จักและนำมาประยุกต์ใช้กันมากอีกระบบหนึ่งคือ ระบบบลูทูธ ( bluetooth) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายในระยะใกล้ เพื่อลดการใช้สายสัญญาณ และสร้างความสะดวกในการใช้งาน

  17. เทคโนโลยีไร้สายกับดาวเทียม และอวกาศ ดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกนับร้อยๆดวงนั้นมีการยิงสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ มาที่พื้นโลก และยิงสัญญาณจากพื้นโลกไปยังดาวเทียม โดยมี วัตถุประสงค์หลายอย่าง รวมทั้งการตรวจสอบสภาพอากาศ การส่งสัญญาณโทรศัพท์ ทีวี และสัญญาณวิทยุมีการใช้งานในการระบุตำแหน่ง และส่งไปให้ผู้ที่ต้องการใช้และอื่น ๆ บางเรื่องจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะมีการส่งข้อมูลจากนอกโลกหรือในอวกาศ เช่น จากดาวอังคารหรืออาจจะส่งมาจากระบบสุริยะจักรวาล ของเราก็ได้ และในการสื่อสารเช่นนี้ได้นั้นก็จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีไร้สายในการทำงานทั้งสิ้น สิ่งที่น่าสนใจและน่าแปลกใจในการสื่อสาร ผ่านดาวเทียมก็คือการใช้เครื่องมือสื่อสารพื้นฐานที่ใช้อยู่บนโลกในการสื่อสารผ่านดาวเทียม เช่น อุปกรณ์ส่งสัญญาณ จานรับสัญญาณ อุปกรณ์รับสัญญาณ และอื่น ๆ ซึ่งในความคิดของคนทั่วไปนั้นอาจคิดว่าการสื่อสารอย่างนี้จะต้องใช้อุปกรณ์ราคาสูง และเทคโนโลยีขั้นสูงมาก

  18. ดาวเทียมหลาย ๆ ชนิดนั้นเกี่ยวข้องกัน ทำงานร่วมกันในด้านการสื่อสาร ดาวเทียมชนิดแรกคือGeostationary ซึ่งโคจรรอบโลกที่ความสูง จากพื้นโลก 35,784 กิโลเมตร โดยที่ความสูงขนาดนั้นจะมีรอบของการโคจรอยู่ที่ 24 ชั่วโมง หรือพูดอีกอย่างก็คือดาวเทียมโคจรที่ความเร็วเท่ากับ ความเร็วของโลกที่โคจรครบ 1 รอบนั่นเอง ดังนั้นดาวเทียมจึงอยู่กับที่เมื่อเทียบกับตำแหน่งบนพื้นโลก ณ จุด ๆ หนึ่ง เนื่องจากสาเหตุนี้เองจาน ดาวเทียมบนโลกจึงทำการชี้ตรงไปที่ดาวเทียม โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายเนื่องจากตำแหน่งสัมพันธ์ระหว่างดาวเทียมและจานดาวเทียมนั้นจะคงที่เสมอ ดาวเทียมชนิดที่สองคือดาวเทียม Middle Earth Orbit (MEO) ซึ่งโคจรอยู่ที่ความสูงระหว่าง 5,000 ถึง 15,000 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก ดาวเทียม ที่อยู่ในช่วงความสูงระยะนี้เป็นดาวเทียมสำหรับการระบุตำแหน่งบนพื้นโลก( Global Positioning System หรือ GPS) อย่างที่คุณจะได้เห็นในการทำงานของ GPS ในตัวอย่างต่อไป คือการที่ GPS สามารถที่จะระบุตำแหน่งและบอกว่าคุณอยู่ที่ลองติจูดและละติจูดที่เท่าไรบนพื้นโลก ณ ในขณะนั้น และเมื่อนำมารวมกับเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูลของแผนที่ ก็จะทำให้สามารถสร้างระบบการนำทางได้ และนอกจากนี้ยังสามารถที่จะบอกเวลาที่ถูกต้องแม่นยำได้อีกด้วย

  19. ดาวเทียมชนิดที่สาม คือ ดาวเทียม Low Earth Orbit (LEO) คือดาวเทียมที่โคจรอยู่ที่ความสูงตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 กิโลเมตร การสื่อสารผ่านดาวเทียมแรกๆนั้น สื่อสารโดยการใช้ดาวเทียมสะท้อนสัญญาณ ( Echo Satellite) ซึ่งเป็นแบบ LEO โดยเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1960 บริษัท Iridium ได้ทำการปล่อยดาวเทียมชนิด LEO ถึง 12 ดวงเพื่อใช้สำหรับบริการให้คนที่ใช้โทรศัพท์สามารถที่จะติดต่อกันได้ทุกๆที่บนโลก โดยการยิงสัญญาณและรับสัญญาณกับดาวเทียม แต่ด้วยเหตุผลด้านการเงินและด้านเทคนิค ดาวเทียมเหล่านี้มีการใช้งานน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1990 และสุดท้ายการดำเนินธุรกิจก็ล้มละลาย แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจก็กลับฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ เนื่องจากมีหลายบริษัทอย่างเช่น Globalstar นั้นมีแผนการที่จะขายบริการด้านโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมโดยการใช้ดาวเทียมของบริษัทนี้

  20. ดาวเทียมชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ระบบการสื่อสารไร้สายถูกใช้สำหรับด้านการสำรวจอวกาศ เมื่อคุณมองดูที่รูปภาพที่ถ่ายจากดาวอังคารหรือดาวพฤหัสบดี ภาพเหล่านั้นถูกส่งมาที่โลกโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย คุณจะได้เห็นจากตัวอย่างภายในบทความนี้ ว่าจริง ๆ แล้วอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ทำงานในงานด้านนี้นั้นไม่ได้ใช้ความเข้มของสัญญาณมาก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 8 เท่า ของสัญญาณโทรศัพท์ที่เราใช้อยู่ เทคโนโลยีหลาย ๆ ด้านนำมาใช้เพื่อให้เกิดสิ่งเหล่านั้น เพื่อทำให้ดาวเทียมสามารถที่จะส่งข้อมูลมาที่โลก หรือแม้กระทั่งส่งมาจากขอบของระบบสุริยะจักรวาลของเราก็ตามก็สามารถทำได้

  21. องค์ประกอบระบบสื่อสารดาวเทียม (Satellite System) ในระบบการสื่อสารดาวเทียมจะมีองค์ประกอบหลัก ๓ ส่วน คือ ดาวเทียมอยู่ในอวกาศ , ระบบควบคุมและสั่งการ และสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน โดยมีการทำงานง่ายๆ ดังนี้ สถานีภาคพื้นดินจะส่งสัญญาณขาขึ้น (Uplink) กำลังส่งสูงผ่านจานสายอากาศไปยังจานสายอากาศไปยังจานสายอากาศและเครื่องบนดาวเทียม ทำการขยายสัญญาณ , แปลงความถี่ แล้วขยายให้กำลังสูงส่งผ่าน จานสายอากาศเป็นสัญญาณขาลง (Downlink) มายังจานสายอากาศรับสถานีภาคพื้นดิน สถานีรับจะทำการขยายสัญญาณแล้วดำเนินกรรมวิธีนำข้อมูลต่างๆ ไปใช้งาน ก . สถานีภาคพื้นดิน ( Earth Station) ประกอบด้วยส่วนหลักๆ คือระบบจานสายอากาศ , ระบบการส่ง , ระบบการรับ และอุปกรณ์ช่องสัญญาณ ๑ ) จานสายอากาศ (Antenna) ทำหน้าที่แพร่กระจายคลื่นสัญญาณขาขึ้นไปยังดาวเทียม ๒ ) ภาคขยายกำลังสูง (High Power Amplifier:HPA) ทำหน้าที่ขยายกำลังให้สูงก่อนส่งกำลังออกอากาศ อาจใช้หลอด Klystron, TWT (Travelling Wave Tube) หรือ Solid State ๓ ) ภาคขยายสัญญาณรบกวนต่ำ (Low Noise Amplifier: LNA) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณกำลังต่ำมากๆ ที่เครื่องรับรับได้เพื่อให้มีกำลังพอที่จะนำมาใช้งาน โดยให้มีสัญญาณรบกวน

  22. ๔ ) ภาคแปลงความถี่ขาขึ้น (Up Converter) และภาคแปลงความถี่ขาลง (Down Converter) ภาคแปลงความถี่ขาขึ้น ทำหน้าที่แปลงความถี่ IF ให้เป็นความถี่ RF ก่อนส่งอากาศ และภาคแปลงความถี่ IF เพื่อให้สะดวกในการขยายสัญญาณ ข . ดาวเทียม (Satellite) ดาวเทียมมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ระบบควบคุมตำแหน่งและวงโคจร , ระบบตรวจจับและสั่งการดาวเทียม (TT&C), ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า , ระบบสื่อสารของดาวเทียมและระบบสายอากาศดาวเทียม ๑ ) ระบบควบคุมตำแน่งและวงโคจรดาวเทียม ปกติจะประกอบด้วยมอเตอร์จรวดที่คอยทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนวงโคจรดาวเทียม ให้อยู่ในวงโคจรถูกต้องเมื่อเกิดการคลาดเคลื่อน (Beam) มายังตำแหน่งบนพื้นโลกอย่างถูกต้อง ระบบการควบคุมตำแหน่งอาจใช้ตัวดาวเทียมหมุน ที่เรียกว่า spinners & Momentum ๒ ) ระบบตรวจจับและสั่งการดาวเทียม (Telemetry, Tracking and Command:TT&C) ระบบนี้มีทั้งส่วนที่อยู่บนดาวเทียมและบนพื้นดินทำงานสัมพันธ์กัน โดย Telemetry จะส่งข้อมูลได้จากการตรวจจับ (Sensor) สัญญาณควบคุมต่างๆ บนดาวเทียม แล้วส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นดิน ระบบ Tracking ๓ ) ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า ดาวเทียมทุกแบบได้รับพลังงานมาจากแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cells) เพื่อนำไปใช้ในระบบสื่อสารของดาวเทียมโดยเฉพาะภาคส่งพลังงานที่เหลือจะนำไปใช้ในส่วนอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า Housekeeping เพื่อสนับสนุนดาวเทียมให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  23. ๔ ) ระบบสื่อสารดาวเทียม เป็นส่วนประกอบหลักของดาวเทียมสื่อสารระบบอื่นเป็นเพียงส่วนสนับสนุนระบบนี้จะประกอบด้วยจานสายอากาศที่คอบรับส่งสัญญาณแบนด์กว้าง , ภาครับ - ส่ง และขยายกำลังของสัญญาณ ที่เรียกว่า Transponder ซึ่งเป็นหน่วยรับ - ส่งสัญญาณแต่ละช่องในตัวดาวเทียม ๕ ) ระบบสายอากาศ ระบบนี้อาจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบสื่อสารดาวเทียมโดยแยกออกมาจากทรานสปอนเดอร์ (Transponder) ปัจจุบันดาวเทียมมีระบบจานสายอากาศที่ซับซ้อนเพื่อให้สามารถแยกลำคลื่น (beam) ส่งมาครอบคลุมพื้นโลกในรูปแบบต่างๆ ได้ตามต้องการ •  การสื่อสารระบบโทรศัพท์ ซึ่งเป็นแบบจุดถึงจุดโดยใช้เป็นเครือข่ายเพิ่มเติมหรือ ทดแทนเครือข่ายการสื่อสารที่มีอยู่ •  การสื่อสารแบบจุดถึงหลาย ๆ จุด (Point To Multipoint Transmission) •  การสื่อสารแบบเครือข่ายมีการสื่อสารไม่มากนัก (Thin Route) โดยใช้เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงไปหาพื้นที่ที่อยู่โดดเดี่ยว เช่น ในหุบเขาหรือหมู่เกาะ เป็นต้น •  การสื่อสารข้อมูล ซึ่งอาจเป็นจุดถึงจุดหรือจุดถึงหลายๆ จุด •  บริการพิเศษ ได้แก่ การประชุมเห็นกันได้ (Video Conference) โทรทัศน์เพื่อการศึกษา และการเชื่อมโยงเข้ากับวิทยุติดรถยนต์ วิทยุ

  24. การส่งสัญญาณ •  การแพร่ภาพโทรทัศน์ (TV Boardcast) ตัวอย่างของการบริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมในประเทศไทย คือ iPSTAR โดยโครงสร้างของระบบเครือข่าย iPSTAR จะเป็นแบบดาวกระจาย คือ ทุกๆอุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้ จะต้องติดต่อกับเกตเวย์ (Gateway) ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ชุมสายโทรศัพท์ หรือ เกตเวย์ (Gateway) ในระบบ iPSTAR ในประเทศอื่นๆ

  25. ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าของ iPSTAR ในการจัดรูปแบบคลื่นวิทยุ และภาคติดต่อ ( Wave Forms and Air Interface) ที่ใช้ในทั้งภาคส่งและรับ ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ทั้งระบบนั้น ส่งผลให้อุปกรณ์พื้นดินของ iPSTAR นั้นมีต้นทุนราคา ที่ต่ำกว่า ระบบต่างๆที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สำหรับอุปกรณ์ภาครับส่งสัญญาณปลายทางรูปแบบสัญญาณของภาครับใช้เทคโนโลยีแบบ CFDM/TDM เทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้การส่งข้อมูลมีความเร็วที่สูงขึ้น รูปแบบสัญญาณของภาคส่งจะใช้เทคโนโลยีใน ๒ รูปแบบ คือ แบบ Slotted Aloha สำหรับการใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet) ทั่วไป และแบบ TDMA สำหรับการใช้งานที่ต้องการความเร็วสูงมากๆ ( มีขีดความสามารถในการส่งสัญญาณสูงสุดเท่ากับ ๔ Mbps ต่อหนึ่งช่องสัญญาณ)

  26. จุดเด่นของระบบ iPSTAR •  ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับ การให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ผู้ใช้บริการปลายทางหรือที่เรียกว่า Last Mile User โดยเฉพาะทำให้ โครงการมีศักยภาพที่สูงกว่าดาวเทียมปัจจุบัน ในด้านการให้บริการที่ถึงตรงแก่ผู้บริโภครายย่อย และการให้บริการเสริมต่างๆ •  ใช้ดาวเทียมแบบวงจรค้างฟ้า ไม่ใช้เทคโนโลยีที่ยังมีความเสี่ยง หรือ ต้นทุนสูง เช่น ดาวเทียมวงโคจรระดับกลาง หรือ ระดับต่ำ ระบบประมวลผลบนอวกาศ (On-board Processing) หรือ ระบบติดต่อเชื่อมโยงระหว่างดาวเทียม เป็นต้น และใช้ความถี่ย่าน เคยู แบนด์ ( Ku-Band) ในส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้บริการ ทำให้ดาวเทียม iPSTAR มีความได้เปรียบในด้านต้นทุนและมีความเสี่ยงทางเทคโนโลยีต่ำ •  นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการสูงสุด iPSTAR ได้ถูกปรับปรุงและใช้เทคโนโลยีใหม่ๆที่สำคัญต่างๆ ดังนี้ •ตัวดาวเทียม ( iPSTAR) •  ใช้เทคโนโลยีการกระจายคลื่นแบบรังผึ้ง เหมือนกับที่ใช้ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ผนวกกับ ระบบจานสายอากาศดาวเทียมแบบ ใหม่ทำให้ดาวเทียม iPSTAR สามารถนำความถี่กลับมาใช้งานใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรับส่ง สัญญาณเพิ่มขึ้นมาก

  27. •  ใช้ระบบบริหารกำลังส่งตามสภาพความต้องการ เพื่อทำให้การส่งสัญญาณบนดาวเทียม มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยระบบจะจัดการบริหารกำลังส่งให้สอดคล้องกับความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้ ให้เหมาะสมกับสภาพสภาวะอากาศต่างๆ •  อุปกรณ์ปลายทาง และกระบวนการรับส่งสัญญาณ ( Satellite Modem) ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสและการปรับแต่งสัญญาณแบบใหม่ ทำให้สามารถเพิ่มความสามารถในการรับส่งสัญญาณ โดยใช้กำลังส่งที่ต่ำลง ซึ่งมีผลให้สามารถลดขนาดจานสายอากาศ กำลังส่งและค่าใช้จ่ายในส่วนอุปกรณ์ปลายทาง •  เทคโนโลยีการรับส่งสัญญาณแบบใหม่ที่ได้ถูกนำมาใช้ดังกล่าวนี้ ทำให้ iPSTAR มีระบบการสื่อสารแบบใหม่ ที่มีความสามารถพิเศษดังนี้ •  สามารถจัดสรรแถบความถี่ในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งเหมาะสมกับรูปแบบการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ที่เป็น Asymmetric และ Bursty Traffic •  สามารถปรับเปลี่ยนการเข้ารหัส ให้เหมาะสมกับตามสภาพสภาวะอากาศต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการขาดการติดต่ออันเนื่องจากสภาวะอากาศรบกวนการรับ-ส่งสัญญาณ จากเทคโนโลยีต่างๆของ iPSTAR ที่ได้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นนี้ ทำให้ iPSTAR เป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพ และประหยัด ทางด้านต้นทุน ให้แก่การบริการหรือธุรกิจต่างๆที่ต้องความเร็วสูงในการรับส่งข้อมูล อย่างเช่น การประชุมผ่านวิดีทัศน์ (Video Conference) หรือ การบริการวิดีทัศน์ตามความต้องการ ( Video on Demand ) ให้มีโอกาส

  28. ประเภทของดาวเทียม ดาวเทียม ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด จำแนกตามแนวโคจรที่มันโคจรอยู่ดังนี้ •  ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรทั่วไป มีวงโคจรเป็นรูปวงรี มีระบาบไม่แน่นอน ตำแหน่งของตัวดาวเทียมเมื่อเทียบกับโลกก็ไม่แน่นอน มักใช้ในการสำรวจสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ แหล่งทรัพยกรธรณี และงานทางด้านการทหาร ดาวเทียมค้างฟ้า ( Geostationary Satellite) เป็นดาวเทียมที่อยู่กับที่ เมื่อเทียบกับโลกมีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตร อยู่สูงจากผิวโลกประมาณ 35,786 กิโลเมตร วงโคจรพิเศษนี้อาจเรียกว่า " วงโคจรค้างฟ้า "   หรือ " วงโคจรคลาร์ก "เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย Arthur C. Clarke ผู้ค้นพบวงโคจรนี้ ดาวเทียม คือ วัตถุที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นโดยมันสมองของมนุษย์ ซึ่งสามารถจะลอยอยู่ในอวกาศ และคจรรอบโลก หรือขับเคลื่อนไปยังจุดหมายปลายทางที่มนุษญ์ต้องการได้ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ดาวเทียมมีมากมายหลายประเภท สามารถแบ่งประเภทการใช้งานได้ 11 ประเภท ดังนี้ •  ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างจุดต่อจุด •  ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารระหว่างดาวเทียม

  29. •  ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่บนบก ในน้ำ และในอากาศ •  ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ •  ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลก สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ •  ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ •  ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ •  ดาวเทียมเพื่อการปฎิบัติในห้วงอวกาศ •  ดาวเทียมเพื่อกิจการวิทยุสมัครเล่น •  ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่ง •  ดาวเทียมเพื่อการนำร่องเรือ  

  30. กำหนดรูปแบบการให้บริการดาวเทียมกำหนดรูปแบบการให้บริการดาวเทียม ITU (International Telecommunication Union) ได้กำหนดรูปแบบการให้บริการดาวเทียม เป็น ๒ แบบ ได้แก่ •ดาวเทียมสำหรับผู้ใช้บริการประจำที่ () ได้แก่ สถานีภาคพื้นดินที่ จานดาวเทียมติดตั้งประจำที่ สามารถพบเห็นได้ในกิจการทั่วไป ดาวเทียมหลักที่ให้บริการแบบนี้ เช่น INTELSAT, EUTELSAT, THAICOM เป็นต้น •  ดาวเทียมสำหรับผู้ใช้บริการเคลื่อนที่ ได้แก่ดาวเทียมที่ใช้สถานีดาวเทียมภาคพื้นดินติด ตั้งอยู่บนยานพาหนะบนบก เรียกดาวเทียม LMS ติดตั้งอยู่บนเครื่องบินเรียกดาวเทียม AMS(Airborne Mobile Satellite) เทคนิคการเข้าถึงหลายทาง ( Multiple Access Technique ) เนื่องจากทรัพยากรด้านดาวเทียมเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น จำนวนดาวเทียมในวงโคจรค้างฟ้าที่ มีอยู่ ๓๖๐ องศา ห่างกัน ๒ องศาเป็นอย่างน้อย จึงดาวเทียมเพียงประมาณ ๑๘๐ ดวงเท่านั้น นอกจากนี้ ทรานสปอนเดอร์ (Transponder) ที่ใช้งานในดาวเทียมแต่ละดวงก็มีจำกัด แม้จะใช้หลักการความถี่ซ้ำเข้า ช่วยแล้ว จึงต้องพัฒนาเทคนิคการเข้าถึงหลายทางเพื่อให้สามารถเข้าไปใช้งานช่องดาวเทียมได้อย่างเต็มที่ และให้ผู้ใช้เข้าใช้ ทรานสปอนเดอร์ (Transponder) ดาวเทียมเดียวกันพร้อมกันได้มากมายโดยไม่รบกวน กันปัจจุบันมีเทคนิคที่นิยมใช้กันอยู่ ๓ แบบ คือ

  31. ๑ . การเข้าถึงหลายทางแบบแบ่งความถี่ ( Frequency Division Multiple Access: FDMA ) ผู้ใช้แต่ละรายจะได้รับการจัดสรรช่องความถี่มาให้แม้ช่องความถี่ว่างไม่มีผู้ใช้งาน ผู้อื่นก็ไม่สามารถเข้ามาใช้งานได้ซึ่งเป็นข้อจำกัดประการหนึ่ง แต่ก็มีใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากหลักการง่ายคือ สถานีภาคพื้นดินที่อยู่ในข่ายสื่อสารดาวเทียมจะทำการส่งคลื่นพาห์หนึ่งคลื่น หรือ หลายคลื่นความถี่ในทรานสปอนเดอร์ (Transponder) ใดทรานสปอนเดอร์ (Transponder) หนึ่ง คลื่นพาห์แต่ละคลื่นจะประกอบด้วยแถบความถี่ทีมีความกว้างตามที่กำหนดในกิจการนั้นๆ เช่น ใช้ความกว้างของแบนด์ ๓๖ KHz สำหรับการส่งแบบ SCPC ( Single Carrier Per Channal ) หรือกว้าง ๓๐ MHz

  32. ๒. การเข้าถึงหลายทางแบบแบ่งเวลา ( Time Division Multiple Access : TDMA ) ผู้ใช้จำนวนมากสามารถใช้ช่องสัญญาณความถี่ร่วมกันได้ แต่จะส่งข้อมูลเฉพาะช่วงเวลาที่ได้รับการจัดสรรมาให้เท่านั้น วิธีการ คือ ทุกสถานีในข่ายการสื่อสารดาวเทียมจะใช้ความถี่คลื่นพาห์เดียวกัน ในการส่งสัญญาณแบต่างๆผ่าน ทรานสปอนเดอร์

  33. ๓ . การเข้าถึงหลายทางแบบสุ่ ม ( Random Multiple Access : RMA ) หรือ แบบแบ่งรหัส ( Code Division Multiple Access: CDMA ) สถานีภาคพื้นดินใช้ความถี่ร่วมกันและจะส่งเวลาใดก็ได้โดยใช้ช่องสัญญาณร่วมกันหลายสถานีโดยผู้รับสามารถแยกแยะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนได้ เนื่องจากมีรหัส ( Code ) เป็นของตนเอง วิธีการเข้าถึงหลายทางแบบแบ่งรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ความถี่ในการส่งสัญญาณดาวเทียม

  34. ดาวเทียมแต่ละดวงนั้นเป็นเหมือนสถานีทวนสัญญาณ หรือที่เรียกว่า รีพีทเตอร์ (Repeater) ซึ่งติดตั้งอยู่สูงมากถึง 35,786 กิโลเมตร จึงต้องทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับ และเครื่องส่งเพื่อติดต่อกับสถานีภาคพื้นดิน โดยสถานีภาคพื้นดินจะส่งสัญญาณในช่วง "ขาขึ้น" ที่ความถี่หนึ่งซึ่งเรียกว่า Uplink ไปให้ดาวเทียม เมื่อดาวเทียมได้รับก็จะทำการเปลี่ยนความถี่ ที่รับได้ให้เป็นอีกความถี่หนึ่ง และส่งกลับมาให้สถานีภาคพื้นดินอื่นๆ ซึ่งสัญญาณที่ส่งลงมาจากดาวเทียมจะเรียกว่า Downlink หรือความถี่ " ขาลง"   โดยสัญญาณที่ส่งลงมานี้ สามารถจะครอบคลุมพื้นผิวโลกได้ถึง 40%  ของจำนวนพื้นที่โลกทั้งหมด ช่องสัญญาณของดาวเทียม ดาวเทียมทุกดวงที่ใช้อยู่นี้จะมีช่องสัญญาณซึ่งเรียกว่า ทรายสปอนเดอร์ (Transponder) ซึ่งมีหลายๆรูปแบบ เพื่อใช้กับการสื่อสารลักษณะต่างๆกัน ดาวเทียมดวงหนึ่งๆ สามารถจะมีทรายสปอนเดอร์ได้มากถึง 24 ช่อง หรืออาจจะมากกว่า เพื่อใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน โดยแต่ละช่องสามารถใช้ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ได้หนึ่งสัญญาณหรือสามารถรับ - ส่งสัญญาณโทรศัพท์พูดติดต่อพร้อมกันได้ เป็นจำนวนหลายพันคู่สาย

  35. ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการทำงานต่างๆซึ่งเทคโนโลยีพื้นฐานที่ใช้กันอยู่มี  2  ระบบคือ ระบบเครือข่ายแบบใช้สายนำสัญญาณ  ( Wireline network )  และระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless  network )  ในรายงานฉบับนี้ขอกล่าวถึงเรื่องเครือข่ายไร้สาย              ( Wireless  network )  ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้และพัฒนาเพิ่มมากขึ้นอาทิเช่นระบบการสื่อสารผ่านไมโครเวฟและการสื่อสารผ่านดาวเทียม

  36. ดาวเทียมสื่อสารดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที มันจุส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดิน สถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "Transponder" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก ดาวเทียมสื่อสารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่ง

  37. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดาวเทียมสำรวจทรัพยากร การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกลหลักการที่สำคัญของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ Remote Sensing โดยใช้คลื่นแสงที่เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (EME : Electro - Magnetic Energy) ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางส่งผ่านระหว่างวัตถุเป้าหมาย และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล อุปกรณ์ถ่ายถาพที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม มักจะได้รับการออกแบบให้มีความสามารถถ่ายภาพ และมีความหลากหลายในรายละเอียดของภาพได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกประเภททรัพยากรที่สำคัญๆ

  38. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศด้วยภาพถ่ายเรดาร์ (Radar) และภาพถ่ายอินฟาเรด(Infared) เนื่องจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมสำรวจประเภทหนึ่งจึงมีอุปกรณ์บนดาวเทียมคล้ายกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร จะแตกต่างก็เพียงหน้าที่ การใช้งาน ดังนั้นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจึงมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร กล่าวคือ อุปกรณ์สำรวจอุตุนิยมวิทยาบนดาวเทียมจะส่ง สัญญาณมายังเครื่องรับที่สถานีภาคพื้นดิน ซึ่งที่สถานีภาคพื้นดินนี้จะมีระบบรับสัญญาณแตกต่างกันไปตามดาวเทียมแต่ละดวง

  39. ดาวเทียมประเภทอื่นๆ ดาวเทียมสมุทรศาสตร์ เราสามารถนำดาวเทียมไปใช้กับงานได้หลากหลายสาขา งานทางด้านสำรวจทางทะเลก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ดาวเทียมได้เข้าไปมีบทบาทปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และนักชีววิทยาทางทะเลสามารถตรวจจับความ เคลื่อนไหวของทุกสรรพสิ่งในท้องทะเลได้ ก็ด้วยการใช้งานจากดาวเทียมนั่นเอง โดยนำข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมสำรวจทางทะเลมาตรวจวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ลักษณะสิ่งมีชีวิต ความแปรปรวนของคลื่นลมและกระแสน้ำ จนกระทั่งได้รายงานสรุปสภาพทางทะเลที่สมบูรณ์ ดาวเทียมสำรวจอวกาศดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่มาก โดยดาวเทียมประเภทนี้จะถูกนำขึ้นไปสู่วงโคจรที่สูงกว่าดาวเทียมประเภทอื่น ๆ ลึกเข้าไปในอวกาศ ดังนั้นดาวเทียมสำรวจอวกาศจึงให้ภาพที่ไร้สิ่งกีดขวางใด ๆ ไม่มีชั้นบรรยากาศของโลกมากั้น ดาวเทียมสำรวจอวกาศบางดวงก็จะนำอุปกรณ์ตรวจจับ และบันทึกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางดวงก็จะมีหน้าที่ตรวจจับและบันทึกรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต

More Related