1 / 52

Chapter 5 Project Evaluation การประเมินผลโครงการ

Chapter 5 Project Evaluation การประเมินผลโครงการ. ความหมาย. การ ประเมินผลโครงการ หมายถึง กระบวนการที่มุ งแส วงหา คําตอบ ว่านโยบาย/แผนงาน/โครงการบรรลุตามวัตถุประ สงค  และเป าหมายที่ กําหนด ไวหรือไม เพียงใด โดยมีมาตรฐานและเครื่องมือในการวัด ที่เที่ยงตรง และเชื่อถือได .

harper
Download Presentation

Chapter 5 Project Evaluation การประเมินผลโครงการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 5Project Evaluationการประเมินผลโครงการ

  2. ความหมาย • การประเมินผลโครงการ หมายถึง กระบวนการที่มุงแสวงหาคําตอบว่านโยบาย/แผนงาน/โครงการบรรลุตามวัตถุประสงคและเปาหมายที่กําหนดไวหรือไม เพียงใด โดยมีมาตรฐานและเครื่องมือในการวัดที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได

  3. แนวความคิดของการประเมินแนวความคิดของการประเมิน • การประเมิน หมายถึง การวัด เน้นความเป็นปรนัย/ความถูกต้องที่เป็นจริง ความเที่ยงตรงของการวัด มาตรฐานของเครื่องมือที่ใช้วัด การวิเคราะห์เชิงปริมาณจากคะแนนที่วัดได้ การค้นหาเกณฑ์มาตรฐานเพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานโครงการสำหรับการตัดสินและการวินิจฉัยคุณค่า • การประเมินเป็นการวิจัย กล่าวคือการประเมินเป็นการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ เพื่อนำผลการวิจัยมาตัดสินและพัฒนาโครงการทางด้านการวางแผนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนำโครงการไปปฏิบัติ

  4. แนวความคิดของการประเมิน (ต่อ) • การประเมินเป็นการตรวจสอบและการติดตามผลงานที่ได้ประเมินแล้ว เพื่อดูว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ โดยมีกระบวนการและเทคนิควิธีสำหรับอ้างอิงผลการประเมินอย่างเป็นระบบ

  5. จุดมุงหมายของการประเมินผลโครงการจุดมุงหมายของการประเมินผลโครงการ • เพื่อสนับสนุนหรือยกเลิก • เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ • เพื่อปรับปรุงงาน • เพื่อศึกษาทางเลือก • เพื่อขยายผล

  6. องค์ประกอบในการประเมินผลองค์ประกอบในการประเมินผล • งาน หรือสิ่งที่จะวัด • วัตถุประสงค์ของสิ่งที่จะวัด และประเมิน • กฎเกณฑ์หรือมาตรฐานของการวัดและการประเมิน • วิธีการวัด • การเปรียบเทียบผลที่วัดได้

  7. ผลการเปรียบเทียบ • ผลที่คาดหวังและปรารถนาให้เกิด (Expected and desired result) 2. ผลที่คาดหวังและไม่พึงปรารถนา (Expected and undesired result) 3. ผลที่ไม่คาดหวังว่าจะเกิดและน่าพึงปรารถนา (Unexpected and desired result) 4. ผลที่ไม่คาดหวังว่าจะเกิดและไม่พึงปรารถนา (Unexpected and undesired result)

  8. ขอบเขตความต้องการในการประเมินผลขอบเขตความต้องการในการประเมินผล • System Assessment Area เป็นการพยากรณ์ความต้องการ (Demand Projection) คือศึกษาขอบเขตความต้องการเกี่ยวกับโครงการว่าสภาพการที่เป็นปัญหาอยู่นั้นมีเหตุผลที่เชื่อถือได้เพียงใดว่าต้องการโครงการหนึ่งโครงการใดเพื่อการเปลี่ยนแปลง • Program Planning Area เป็นการหาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจได้พิจารณาทางเลือกต่างๆว่าควรเลือกจัดทำโครงการใด

  9. ขอบเขตความต้องการในการประเมินผล (ต่อ) • Program Implementation Area เป็นขอบเขตความต้องการเพื่อการดำเนินงานตามแผน กล่าวคือ ขณะปฏิบัติตามแผน การประเมินผลจะช่วยชี้แนะข้อบกพร่องของการดำเนินงานได้ • Program Improvement Area เป็นขอบเขตความต้องการเพื่อปรับปรุงแผน กล่าวคือ ขณะที่ปฏิบัติงานอยู่อาจมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งสิ่งใด การประเมินผลจะชี้ให้เห็นและช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องได้ปรับปรุงแผนงานให้ตรงกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา

  10. ขอบเขตความต้องการในการประเมินผล (ต่อ) • Program Certification Area เป็นขอบเขตความต้องการประเมินผลเมื่อโครงการแล้วเสร็จ เพื่อดูถึงผลงาน เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ว่าประสบผลสำเร็จ หรือมีปัญหาอุปสรรค์ และข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาโครงการ และสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกันในโอกาสต่อไป

  11. พัฒนาการของการประเมินผลพัฒนาการของการประเมินผล • Effort Evaluation เป็นการประเมินดู input ของโครงการ เช่นดูว่าโครงการนี้ใช้ คน เงิน วัสดุ ตลอดจนเวลาในการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่นๆ • Performance Evaluation เป็นการศึกษาดูผลผลิตของโครงการ หรือดูผลลัพธ์ของ Effort ที่ใช้ไป • Adequacy of Performance เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของโครงการ คือดูว่าผลผลิตที่ได้จากโครงการนั้นสามารถตอบสนองความต้องการ หรือบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด

  12. พัฒนาการของการประเมินผล (ต่อ) • Efficiency Evaluation เป็นการประเมินเพื่อดูประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของโครงการ ซึ่งอาจออกมาในรูปของ Benefit-Cost Ratio เป็นต้น • Process Evaluation เป็นการวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานของโครงการ และคุณสมบัติของตัวโครงการเพื่อแยกแยะให้เห็นสาเหตุของความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ และจะต้องศึกษาความเหมาะสมในด้านสถานที่ และเวลารวมถึงวิเคราะห์ให้เห็นผลกระทบของโครงการในด้านต่างๆด้วย เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

  13. เกณฑ์สำหรับพิจารณาในการประเมินผลเกณฑ์สำหรับพิจารณาในการประเมินผล เกณฑ์พิจารณาการวัดความสำเร็จด้านเป้าหมาย (Target Achievement ) พิจารณาในประเด็นต่างๆดังนี้ • ผลงาน (Product) ที่เสร็จแล้วของโครงการ • กิจกรรม (Activity) ที่ผู้รับบริการใช้เนื่องจากโครงการนั้น • การให้ประโยชน์ของโครงการ • ผลผลิตที่ให้เปรียบเทียบกับปัจจัยการผลิต • ประสิทธิผลของโครงการ

  14. เกณฑ์สำหรับพิจารณาในการประเมินผล (ต่อ) เกณฑ์พิจารณาด้านเศรษฐกิจ (Economic Justification) เป็นการพิจารณาดูว่าโครงการนั้นมีส่วนเสริมสร้างให้เศรษฐกิจของสังคม ชุมชน หรือประเทศดีขึ้นหรือไม่เพียงใด โดยอาจพิจารณาจากกิจกรรมเศรษฐกิจ 5 ด้าน • การเพิ่มผลผลิต • การบริโภคมากขึ้น • การแจกจ่ายทั่วถึง • สร้างความเป็นตัวของตัวเองทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ • ส่งเสริมสิทธิ์และตอบสนองความต้องการของประชาชน

  15. เกณฑ์สำหรับพิจารณาในการประเมินผล (ต่อ) การวิเคราะห์ทางด้านการเงิน (Financial Analysis) เป็นการวิเคราะห์ว่าโครงการได้ใช้จ่ายเงินไปคุ้มกับผลประโยชน์ที่ได้หรือไม่ • แหล่งเงิน • Cost-Benefit Analysis วิเคราะห์ผลประโยชน์ของโครงการเทียบกับเงินที่จ่ายไป • Cost Effectiveness เป็นการวิเคราะห์ถึงการใช้เงินให้ได้รับประโยชน์สูงสุด • บัญชีการใช้จ่ายเงิน • ปัญหาด้านการเงินอื่นๆ

  16. เกณฑ์สำหรับพิจารณาในการประเมินผล (ต่อ) เกณฑ์การพิจารณา ทางด้านเทคนิค (Technical Soundness) เป็นการประเมินดูเทคนิคการดำเนินงานโครงการว่าถูกต้องหรือไม่ ผลของงานมีลักษณะตรงตามกำหนดไว้หรือไม่ • พิจารณาด้าน Specification ของผลงานว่าได้ผลงานตามที่กำหนดไว้หรือไม่ • พิจารณาด้านคุณภาพของงาน

  17. เกณฑ์สำหรับพิจารณาในการประเมินผล (ต่อ) เกณฑ์พิจารณาด้านการบริหาร (Management Capability) พิจารณาถึงกระบวนการบริหารว่าโครงการนั้นได้มีระบบการบริหารที่เกื้อกูล หรือเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของโครงการมากน้อยเพียงใด • การวางแผน • การร่วมมือประสานงาน • การงบประมาณ • การควบคุมและติดตามผล • ประสิทธิภาพและการประหยัด • การบริหารงานบุคคล การสร้างขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติงาน • การจัดองค์การ

  18. ประเภทของการประเมินผลประเภทของการประเมินผล • การประเมินแบบซิป (CIPP evaluation) แบบจำลองของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam)

  19. การประเมินแบบซิป CIPP ย่อมาจาก • Context evaluation การประเมินสภาวะแวดล้อม • Input evaluation การประเมินปัจจัยนำเข้า • Process evaluation การประเมินกระบวนการ • Product evaluation การประเมินผลผลิต การประเมินผลแบบซิป หมายถึง เป็นกระบวนการของการวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่

  20. การประเมินแบบซิป การประเมินสภาพแวดล้อม (context Evaluation ) • เป็นการศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่นำไปสู่การพัฒนาเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ บริบทของสภาพแวดล้อม นโยบาย วิสัยทัศน์ ปัญหา แหล่งทุน สภาพความผันผวนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนแนวโน้มการก่อตัวของปัญหาที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการ เป็นต้น • หรือเป็นการประเมินก่อนการดำเนินการโครงการ เพื่อพิจารณาหลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ ประเด็นปัญหา และความเหมาะสมของเป้าหมายโครงการ เช่น โครงการอาหารเสริมแก่เด็กวัยก่อนเรียน เราจะต้องวัดส่วนสูง และชั่งน้ำหนัก ตลอดจน ดู หิด เหา กลากเกลื้อน ของเด็กก่อน

  21. การประเมินแบบซิป บริบท/สภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ เหตุผล ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ความต้องการและเงื่อนไขที่เป็นจริง

  22. การประเมินแบบซิป บริบท/สภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) Contingency Mode สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น Congruence Mode เหมาะสม, ตรงกัน เปรียบเทียบระหว่าง ปฏิบัติจริงกับวัตถุประสงค์ หาโอกาสและแรกผลักดันจากภายนอกระบบ ประโยชน์ของการวางแผนโครงการในอนาคต วัตถุประสงค์ใดบ้างที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อการปรับปรุง

  23. การประเมินแบบซิป • การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เพื่อค้นหาประสิทธิภาพขององค์ประกอบที่นำมาเป็นปัจจัยนำเข้า ซึ่งในด้านการท่องเที่ยวอาจจะจำแนกเป็นบุคคล สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ศักยภาพการบริหารงาน ซึ่งแต่ละปัจจัยก็ยังจำแนกย่อยออกไปอีก เช่น บุคคล อาจพิจารณาเป็น เพศ อายุ มีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ความพึงพอใจ ความคาดหวัง ทัศนคติ ศักยภาพ ความสามารถ ประสบการณ์ ความรู้ คุณวุฒิทางการศึกษา ถิ่นที่อยู่และลักษณะกระบวนการกลุ่ม เป็นต้น

  24. การประเมินแบบซิป ปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 1. ความสามารถของหน่วยงานหรือตัวแทนในการจัดโครงการ 2. ยุทธวิธีที่ใช้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 3. การได้รับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ

  25. การประเมินแบบซิป • การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการศึกษาต่อจากการประเมินบริบทและปัจจัยป้อนว่า กระบวนการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เป็นการศึกษาค้นหาข้อบกพร่อง จุดอ่อน หรือจุดแข็งของกระบวนการบริหารจัดการโครงการที่จะนำโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

  26. การประเมินแบบซิป กระบวนการ (Process Evaluation) 1. เพื่อหาและทำนายข้อบกพร่องของกระบวนการหรือการดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้ 2. เพื่อรวบรวมสารสนเทศสำหรับผู้ตัดสินใจวางแผนงาน 3. เพื่อเป็นรายงานสะสมถึงการปฏิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้น

  27. การประเมินแบบซิป • การประเมินผลิตผล (Product Evaluation) เป็นการตรวจสอบประสิทธิผลของโครงการ โดยเฉพาะความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ที่ได้แล้วนำเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปตัดสินเกณฑ์มาตรฐานนั้นอาจจะกำหนดขึ้นเองหรืออาศัยเกณฑ์ที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นกำหนดไว้ก็ได้

  28. การประเมินแบบซิป ผลผลิต (Product Evaluation) • เพื่อวัดและแปลความหมายของความสำเร็จ • บรรลุวัตถุประสงค์ไปแล้วหรือกำลังจะบรรลุ

  29. การประเมินแบบซิป

  30. การประเมินแบบซิป เกณฑ์และตัวชี้วัดความสำเร็จ การประเมินผลโครงการนั้นต้องมีเกณฑ์และตัวชี้วัด (Indicator) ระดับความสำเร็จของโครงการให้ทราบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลโครงการมีดังนี้ • บรรลุ เกณฑ์ประสิทธิภาพ (Efficiency) มีตัวชี้วัด เช่น สัดส่วนของผลผลิตต่อค่าใช้จ่าย ผลิตภาพต่อหน่วยเวลา ผลิตภาพต่อกำลังคน ระยะเวลาในการให้บริการผู้ป่วย

  31. การประเมินแบบซิป • เกณฑ์และตัวชี้วัดความสำเร็จ (ต่อ) • เกณฑ์ประสิทธิผล (Effectiveness) มีตัวชี้วัดเช่น ระดับการบรรลุเป้าหมาย ระดับการบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐาน ระดับการมีส่วนร่วม ระดับความเสี่ยงของโครงการ • เกณฑ์ความพอเพียง (Adequacy) มีตัวชี้วัด เช่น ระดับความพอเพียงของทรัพยากร • เกณฑ์ความพึงพอใจ (Satisfaction) มีตัวชี้วัด เช่น ระดับความพึงพอใจ • เกณฑ์ความเป็นธรรม (Equity) มีตัวชี้วัดคือ การให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาส ความเป็นธรรมระหว่างเพศ ระหว่างกลุ่มอาชีพ ฯลฯ

  32. การประเมินแบบซิป เกณฑ์และตัวชี้วัดความสำเร็จ (ต่อ) • 6. เกณฑ์ความก้าวหน้า (Progress) มีตัวชี้วัด เช่น ผลผลิตเปรียบเทียบกับเป้าหมายรวมกิจกรรมที่ทำแล้วเสร็จ ทรัพยากร และเวลาที่ใช้ไป • เกณฑ์ความยั่งยืน ( Sustainability ) ตัวชี้วัด เช่น ความอยู่รอดของโครงการด้านเศรษฐกิจสมรรถนะด้านสถาบัน ความเป็นไปได้ในด้านการขยายผลของโครงการ • เกณฑ์ความเสียหายของโครงการ ( Externalities ) มีตัวชี้วัด เช่น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น

  33. การประเมินแบบซิป เกณฑ์และตัวชี้วัดความสำเร็จ (ต่อ) ตัวชี้วัด (Indicators) ความสำเร็จของโครงการหมายถึง ข้อความที่แสดงหรือระบุประเด็นที่ต้องการจะวัดหรือประเมิน หรือตัวแปรที่ต้องการจะศึกษา โดยจะมีการระบุลักษณะที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรม ทั้งส่วนที่มีลักษณะเชิงปริมาณ และส่วนที่แสดงลักษณะเชิงคุณภาพ

  34. การประเมินแบบซิป หลักการสร้างตัวชี้วัดที่ดี • ในการสร้างตัวชี้วัดที่ดี จำเป็นจะต้องมีหลักการที่ใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินการดังนี้ • เลือกใช้ / สร้างตัวชี้วัดที่เป็นตัวแทนที่สำคัญเท่านั้น • คำอธิบาย หรือการกำหนดตัวชี้วัดควรเป็นวลีที่มีความชัดเจน • ตัวชี้วัดอาจจะกำหนดได้ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพก็ได้ • ควรนำจุดประสงค์ของโครงการ หรือประเด็นการประเมินมากำหนดตัวชี้วัด • การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดควรรวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ

  35. การประเมินแบบซิป ยกตัวอย่างตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่ได้รับการประเมิน ตัวชี้วัดด้านบริบท ( Context ) : ตัวชี้วัดสามารพิจารณาได้ดังนี้ สภาวะแวดล้อมก่อนมีโครงการ (ปัญหาวิกฤต) ความจำเป็น หรือความต้องการขณะนั้น และอนาคต ความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

  36. การประเมินแบบซิป ยกตัวอย่างตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่ได้รับการประเมิน (ต่อ) ตัวชี้วัดด้านปัจจัยนำเข้า ( Input ) : ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้ดังนี้ ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของโครงการ ความพร้อมของทรัพยากร เช่น งบประมาณ คน วัสดุอุปกรณ์ เวลา กฎระเบียบ ความเหมาะสมของขั้นตอนระหว่างปัญหา สาเหตุของปัญหา และกิจกรรม

  37. การประเมินแบบซิป ยกตัวอย่างตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่ได้รับการประเมิน (ต่อ) • ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ ( Process ) : ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้ดังนี้ • 1. การตรวจสอบกิจกรรม เวลา และทรัพยากรของโครงการ • 2. ความยอมรับของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการในพื้นที่ • 3. การมีส่วนร่วมของประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ • 4. ภาวะผู้นำในโครงการ

  38. การประเมินแบบซิป ยกตัวอย่างตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่ได้รับการประเมิน (ต่อ) • ตัวชี้วัดด้านผลผลิต ( Product ) : ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้ดังนี้ • 1. อัตราการมีงานทำของประชาชนที่ยากจน • 2. รายได้ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ • 3. ความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ

  39. การประเมินแบบซิป ยกตัวอย่างตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่ได้รับการประเมิน (ต่อ) • ตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์ ( Outcomes ) : ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้ดังนี้ • 1. คุณภาพชีวิตของตนเอง และครอบครัวตามเกณฑ์มาตรฐาน • 2. การไม่อพยพย้ายถิ่น • 3. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

  40. การประเมินแบบซิป ยกตัวอย่างตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่ได้รับการประเมิน (ต่อ) • ตัวชี้วัดด้านผลกระทบ( Impact ) : ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้ดังนี้ • 1. ผลกระทบทางบวก / เป็นผลที่คาดหวังจากการมีโครงการ • 2. ผลกระทบทางลบ / เป็นผลที่ไม่คาดหวังจากโครงการ

  41. การประเมินแบบซิป ยกตัวอย่างตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่ได้รับการประเมิน (ต่อ) เกณฑ์ และตัวชี้วัดดังกล่าวนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลโครงการได้ดี ซึ่งจะครอบคลุม มิติด้านเศรษฐกิจ สังคม ด้านบริหารจัดการ ด้านทรัพยากร และด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถวัดถึงความสำเร็จ และความล้มเหลวของโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐได้ ซึ่งในทางปฏิบัตินักประเมินผล จะต้องนำเกณฑ์ และตัวชี้วัดดังกล่าวมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะ และบริบทของโครงการ

  42. การประเมินแบบซิป (CIPP Model) ตัวอย่างการประเมินโครงการโดยใช้ CIPP MODEL การประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  43. การประเมินแบบซิป (CIPP Model) วัตถุประสงค์ของการประเมิน • เพื่อวิเคราะห์และประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาอบรมระยะสั้นของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างของการประเมิน กลุ่มตัวอย่างของการประเมินแบ่งได้เป็น 2 ตอน คือ • ตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการประเมินหลักสูตรปีการศึกษา 2523 ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง ปีการศึกษา 2523 ทั้งหมด • ตอนที่ 2 ติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการอบรมทุกรุ่นกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สำเร็จการอบรมทุกรุ่น และผู้บังคับบัญชา

  44. การประเมินแบบซิป (CIPP Model) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้ • ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว และความคิดเห็นทั่วไปของผู้สำเร็จการอบรมทั้งก่อนเข้ารับการอบรม และภายหลังสำเร็จการอบรมแล้ว • ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินการบริหารและการจัดดำเนินหลักสูตร • ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเพื่อประเมินเนื้อหาวิชาของหลักสูตร • ส่วนที่ 4 แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทาง • ส่วนที่ 5 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการสอน

  45. การประเมินสภาวะแวดล้อมการประเมินสภาวะแวดล้อม การประเมินปัจจัยเบื้องต้น การประเมินกระบวนการ การประเมินผลผลิต การประเมินปัจจัยเบื้องต้นต่างๆของหลักสูตร ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากร และทรัพยากรอื่นๆ รวมทั้งแผนการดำเนินงาน การประเมินการจัดการบริหารหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน การประเมินสัมฤทธิผลทางการศึกษาของผู้สำเร็จหลักสูตร การประเมินวัตถุประสงค์ของหลักสูตร การประเมินเนื้อหาสาระของหลักสูตร การติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จหลักสูตร การประเมินแบบซิป (CIPP Model) • วิธีการประเมิน • ในการประเมินผลนี้ ได้ใช้โมเดล ซิป (CIPP Model) เป็นรูปแบบในการกำหนดโครงสร้างการประเมิน ดังแผนภูมิต่อไปนี้

  46. การประเมินแบบซิป (CIPP Model) การวิเคราะห์ข้อมูล • รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร • วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามด้วยการแจกแจงความถี่ • วิเคราะห์เนื้อเรื่อง • คำนวณค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสถิติทีของคะแนนที่ได้จากการทำแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้สำเร็จการอบรม และผู้บังคับบัญชาในส่วนที่เป็นมาตราส่วนประเมินค่า

  47. การประเมินแบบซิป (CIPP Model) • ผลการประเมินสภาวะแวดล้อม พบว่า • 1. การประเมินวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ในด้านลักษณะที่ดีของวัตถุประสงค์ทางการศึกษา ซึ่งควรประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ แต่จากการวิเคราะห์หลักสูตร พบว่า ลักษณะของจุดมุ่งหมายทั่วไปของหลักสูตรมีลักษณะที่ดีของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเพียง 2 ประการ คือ ในส่วนที่แสดงถึงความสามารถ และส่วนของการเป็นผู้มีความรู้ทางวิชาการของผู้สำเร็จหลักสูตร โดยที่มิได้มีส่วนใดแสดงออกให้เห็นถึงทัศนคติที่ควรจะเป็นของผู้สำเร็จหลักสูตร แต่ก็มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันกับปรัชญาการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์ ส่วนวัตถุประสงค์ของแต่ละสาขาวิชา เป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและขยายความเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายทั่วไปของหลักสูตรเป็นอย่างดี

  48. การประเมินแบบซิป (CIPP Model) • 2. การประเมินเนื้อหาสาระของหลักสูตร พบว่า เนื้อหาวิชาในหลักสูตรมีความ • สอดคล้องกันกับวัตถุประสงค์เฉพาะสาขาของหลักสูตรและประสบการณ์ของผู้เข้ารับการอบรม เนื้อหาสาระทางวิชาการส่วนใหญ่มีความเหมาะสมกับหลักสูตร มีเพียงบางส่วนที่ควรปรับปรุงเพื่อลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกัน

  49. การประเมินแบบซิป (CIPP Model) ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น พบว่า 1. การประเมินปัจจัยด้านผู้เข้ารับการอบรม พบว่า หลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรมที่หลักสูตรกำหนดไว้ เป็นหลักเกณฑ์คุณสมบัติที่จะทำให้เลือกผู้มีความเหมาะสมเข้ารับการอบรมเป็นอย่างดี 2. การประเมินปัจจัยด้านบุคลากร พบว่า ในหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางมีบุคลากรทั้งในด้านคณะกรรมการจัดดำเนินงานหลักสูตรที่เหมาะสม รวมทั้งมีคณาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญตรงต่อสาขาวิชาและมีความเข้าใจในจุดประสงค์ของหลักสูตร

  50. การประเมินแบบซิป (CIPP Model) ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (ต่อ) พบว่า 3. การประเมินปัจจัยด้านอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมประกอบการเรียน การสอน พบว่าอุปกรณ์ต่างๆ มีเพียงพอ 4. การประเมินปัจจัยด้านการวางแผนการดำเนินงานตลอดหลักสูตร พบว่า คณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรได้มีการวางแผนตลอดหลักสูตร พบว่า คณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรได้มีการวางแผนการดำเนินงาน ตลอดระยะเวลาการอบรมไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน

More Related