1 / 18

โรควัวบ้า

โรควัวบ้า. BSE or Mad Cow Disease. BSE คืออะไร ประวัติการพบโรค ระบาดวิทยา สาเหตุ รู้ได้อย่างไรว่าโคเป็นโรค มาตรการในการควบคุมโรค การติดต่อมาสู่คน สถานการณ์การติดโรคในประเทศไทย. บ้า ไม่บ้า ข้าก็จะกิน ?. BSE คืออะไร.

gabby
Download Presentation

โรควัวบ้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรควัวบ้า

  2. BSE or Mad Cow Disease • BSE คืออะไร • ประวัติการพบโรค • ระบาดวิทยา • สาเหตุ • รู้ได้อย่างไรว่าโคเป็นโรค • มาตรการในการควบคุมโรค • การติดต่อมาสู่คน • สถานการณ์การติดโรคในประเทศไทย บ้า ไม่บ้า ข้าก็จะกิน?

  3. BSE คืออะไร • มาจาก (Bovine Spongiform Encephalopathy) หรือที่รู้จักกันว่าโรควัวบ้า หรือ โรคสมองฝ่อ หรือ สมองพรุน ซึ่งทำให้วัวแสดงอาการผิดปกติในระบบประสาท • ไม่ใช่ เรื่องเดียวกับโรคพิษสุนัขบ้าที่อาจเกิดกับวัว • เป็นโรคในกลุ่ม Transmissible Spongiform Encephalopathies ซึ่งพบว่าเป็นโรคในสัตว์หลายชนิดและคน • ลักษณะเด่นเมื่อตรวจดูรอยโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์คือ การพบช่องว่าง (vacuole) แทรกในเนื้อสมอง

  4. ประวัติการพบโรค • ได้ถูก identify ในปี 1986 (2526) • คาดว่าได้มีการก่อโรคขึ้นตั้งแต่ ช่วง ปี 1970s เนื่องจากมีการผลิต Meat and Bone Meal ด้วยวิธีที่เรียกว่า rendering process ซึ่งต่างจากการผลิตในประเทศอื่นๆ คือ • ซากแกะที่ป่วยเป็น scrapie มาเป็นส่วนผสม esp. ทั้งส่วนสมอง ไขสันหลัง • มีการเปลี่ยนบางขั้นตอน rendering process

  5. จำนวนโคป่วยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีในประเทศอังกฤษจำนวนโคป่วยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีในประเทศอังกฤษ

  6. ระบาดวิทยา • เป็นโรคที่พบทั้งในโคเนื้อและโคนม [โคนม 63% โคเนื้อ (beef suckler) 27% ที่เหลือเป็นโคอื่นๆเข้าใจว่าเป็นผลมาจากปริมาณอาหารเสริมจาก MBM ที่ได้รับมากกว่าโคเนื้อ] • ช่วงที่มีการระบาดสูงสุดคือปี 1992-1993 โดยพบโคป่วยเพิ่มขึ้น 1000 suspected cases/ week ในขณะที่ปัจจุบันลดเหลือเพียง 1100 confirmed case/ year • การติดต่อ • horizontal transmission (ติดจากโคที่อยู่ในฝูงเดียวกัน) 0% • vertical transmission โอกาสที่พบจากแม่ที่แสดงอาการ 1-10% แต่จากพ่อ ไม่พบ

  7. สาเหตุ • โปรตีนเชิงซ้อนในสมองที่เกิดความผิดปกติ (PrPSc) “ rogue prion” ซึ่งถูก ควบคุมการสร้างโดยยีน โปรตีนพวกนี้จะมาจับกลุ่ม (clump) และทำให้มีการทำลายตัวเอง จากภาพซ้าย PrPc คือโปรตีนที่ปกติ ประกอบด้วย 3alpha helix bundles (สีเขียว) ภาพขวาในกรณีที่ผิดปกติ โปรตีนจะถูกเปลี่ยนแปลงรูปร่าง จาก helix เป็น pleated เรียก PrPSc

  8. สมมติฐานของการสร้าง prion ที่ทำให้เกิดโรค • PrPc เป็นโปรตีนปกติที่ถูกสร้างขึ้นจาก rER จะถูกส่งออกมานอกเซล (สีเขียว) แต่เมื่อโปรตีนนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็น PrPSc ก็จะถูกสะสมอยู่ในเซล (สีม่วง) และสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยน PrPc อื่นๆ ตามมาด้วย (บริเวณตำแหน่ง “f”)

  9. คุณสมบัติของ prion • เป็น normal membrane associated protein พบมากที่สุดใน CNS • มีขนาดเล็กกว่าไวรัส และไม่มี nucleic acid ทำให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้แต่ถูกควบคุมการสร้างโดยยีน • ทนทานต่อความร้อน รังสี และ สารเคมีทั่วๆ ไปที่สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียและไวรัส • การถูกเปลี่ยนโครงสร้างทำให้การทำหน้าที่ของ prion เปลี่ยนแปลงไป • prion ที่ผิดปกติไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันเหมือนการติดเชื้อชนิดอื่นๆ

  10. การก่อโรค • การทดลองให้ลูกโคกินสมองเพียง 1 g สามารถทำให้เกิดโรคได้ • ยังไม่ทราบขั้นตอนการก่อโรคอย่างแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าระยะฟักตัวของโรคในโคทดลองใช้เวลาประมาณ 35 เดือน (โดยให้ได้รับเชื้อในขนาดที่สูงกว่าปกติ 10-100 เท่า) ในขณะที่ในการติดเชื้อโดยธรรมชาติ มีระยะเวลาประมาณ 60 เดือน (21 months - 19 years) • การฉีดเชื้อเข้าสัตว์ทดลอง (10% suspension) สามารถก่อโรคได้ใน mice, calves, sheep, goats, mink, monkeys (marmosets, spider monkey, macaque) • ยังไม่เคยพบผลการทดลองว่าการให้กินเนื้อสามารถทำให้เกิดการติดโรคได้

  11. รู้ได้อย่างไรว่าโคเป็นโรค • เป็นในโคอายุมากกว่า 20 เดือน • เริ่มจากอาการประสาทอย่างอ่อนๆ และค่อยๆ รุนแรงขึ้น esp. เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว อาการจะติดต่อกันเป็นอาทิตย์ หรือ เป็นเดือน คือ • กระวนกระวาย วิ่งหนี ลังเลในการเดิน เช่น ข้ามคอนกรีต เลี้ยว เดินเข้าแปลงหญ้า ผ่านประตู การก้าวขาสูง • ไม่ยอมให้รีดนม ผอม นมลด • ก้มหัว ไม่ยอมเงย คันจมูก • ลุกขึ้นลำบาก • ผิวหนังกระตุก

  12. มาตรการในการควบคุมโรคในประเทศอังกฤษ • สัตว์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า “สงสัย” จะต้องถูกกักบริเวณ ห้ามนำออกนอกฟาร์ม หากคลอดจะต้องมีการดูแล ป้องกันโรคเป็นพิเศษ • ห้ามใช้น้ำนมเพื่อบริโภคทั้งในคนและสัตว์ • มีการตรวจดูอาการโดยสัตวแพทย์เป็นระยะ หากได้รับการวินิจฉัยว่า “เป็นโรค” จะถูกทำลายและให้ได้รับค่าตอบแทนชดเชยตามราคาท้องตลาด (ไม่มีการอ้างรอทำลายหลังคลอด และห้ามผ่าตัดเอาลูกออก) • โคที่ถูกทำลายต้องผ่าสมองตรวจยืนยันผลด้วยวิธีทางจุลพยาธิวิทยา • ให้มีการเก็บประวัติสัตว์โดยใช้แบบฟอร์มที่กำหนด เป็นเวลา 10 ปี • ลูกโคหรือโคที่นำเข้าประเทศหลังปี 1996 ต้องมี passport

  13. การติดโรคมาสู่คน • การพบโรคสมองฝ่อในปัจจุบันมีความแตกต่างจากรายงานที่เคยพบ จึงมีชื่อเรียกว่า variant Creutzfeldt Jakob Disease (vCJD) คือ อายุผู้ป่วยยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว(>41 ปี) ระยะฟักตัวของโรคสั้นลงและตำแหน่งที่พบรอยโรคในสมองมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า มีสาเหตุมาจาก BSE ตั้งแต่ปี 1996 • อาการผู้ป่วย คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ตัวชา ความรู้สึกต่างๆ ลดลง (numbness) ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ มักตายหลังแสดงอาการได้ 4 เดือน

  14. การติดโรคมาสู่คน • มีรายงานว่า คน จากประเทศอังกฤษ 125 คน ได้เสียชีวิตด้วยโรค vCJD ตั้งแต่ปี 1995 (พ.ศ. 2538) ซึ่งคาดว่าเนื่องมาจากการบริโภคเนื้อวัว • มีการทดลองหาแนวทางในการรักษา 3 วิธี คือ ค้นคว้าหายาในการรักษา, กระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานต่อโปรตีนชนิดนี้ และเทคนิคล่าสุดคือให้ artificial prions ซึ่งจะมีส่วนเข้าไปรวมตัวกับprion ที่ผิดปกติและต่อต้านการถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบที่ผิดปกติ และพบว่าทำให้หนูทดลองมีอายุยืนนานกว่าหนูที่ไม่ได้รับ artificial prions 3 เดือน ที่มา http://www.nature.com/nsu/030331/030331-12.html accessed on 9 April 2003

  15. สถานการณ์ของโรคในประเทศไทย • จากการแถลงข่าวการพบผู้ป่วย 2 รายว่าได้ตายด้วยสาเหตุมาจาก BSE ก็ได้รับการชี้แจงภายหลังว่าเป็นแค่ “คล้ายคลึง” เท่านั้น เนื่องจากเป็นผู้ป่วยสูงอายุ • กรมปศุสัตว์ได้ชี้แจงว่าประเทศไทยไม่เคยมีการนำเข้าโค เนื้อโคและผลิตภัณฑ์ (บางชนิด) จากประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี 1996 • ความเสี่ยงของโรคอาจยังมีอยู่ เนื่องจาก มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อก่อนหน้านั้น และ อย. ก็ยอมรับว่ามีการลักลอบนำเข้า MBM ในปีที่ผ่านมา ( ปี 2000) แต่ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ได้วางมาตรการที่เข้มงวดขึ้นสำหรับฟาร์มและผลผลิตปศุสัตว์

  16. บรรณานุกรม • Http:// www.maff.gov.uk accessed on 26 Feb-5 Mar 2001 • Http:// www.rkm.com.au/BSE accessed on 26 Feb-5 Mar 2001 • Http://www.fortunecity.co.uk./roswell/psychic/24/prionpage/Project.htm • http://www.nature.com/nsu/030331/030331-12.html No beef, please

  17. จัดทำโดย สพ.ญ.อุษา เชษฐานนท์ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

More Related