1 / 21

เด็กพิเศษ

เด็กพิเศษ. เป็นชื่อที่เรียกขาน ทางการศึกษา ของเด็กกลุ่มหนึ่ง คือ เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ( Special Need Children). เด็กพิเศษ. เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย ( Handicap Children) เด็กสมาธิสั้น ( ADHD) เด็กปัญญาอ่อน ( Down’s Syndrome) เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (LD)

dick
Download Presentation

เด็กพิเศษ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เด็กพิเศษ เป็นชื่อที่เรียกขาน ทางการศึกษาของเด็กกลุ่มหนึ่ง คือ เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (Special Need Children)

  2. เด็กพิเศษ เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย (Handicap Children) เด็กสมาธิสั้น (ADHD) เด็กปัญญาอ่อน (Down’s Syndrome) เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (LD) เด็กออทิสติก (Autistic) เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Children)

  3. เด็กพิเศษ เด็กแต่ละกลุ่มต้องการความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน แต่ก็สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย (Handicap Children) เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Children) เด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง

  4. เด็กที่มีความบกพร่องทางสมองเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง เด็กกลุ่มนี้ สามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆได้ แต่พวกเขาก็ต้องการความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นความต้องการจำเป็นพิเศษ ที่แตกต่างจากเด็กปรกติทั่วไป เช่น การบำบัดแก้ไขข้อบกพร่อง, สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม, สื่อการเรียนการสอน, การจัดการศึกษา เป็นต้น

  5. การจัดการศึกษา การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับเด็กกลุ่มนี้ คือ การจัดการศึกษาแบบห้องเรียนคู่ขนานออทิสติกและห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ ซึ่งเด็กๆจะได้รับการบำบัดช่วยเหลือ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง รวมทั้งได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ ในสถานการณ์จริง และ ได้เรียนรู้อยู่ในสังคมของเด็กในวัยเดียวกัน

  6. การจัดการศึกษาแบบห้องเรียนคู่ขนานฯการจัดการศึกษาแบบห้องเรียนคู่ขนานฯ เป็นการจัดการศึกษา ที่ออกแบบให้สอดคล้องกับศักยภาพของเด็กแต่ละคน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ 1. การจัดการศึกษาในห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก 2. การจัดการศึกษาในห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ 3. การจัดการศึกษาในห้องเรียนปรกติที่เป็นห้องเรียนรวมหรือห้องเรียนคู่หู

  7. การจัดการศึกษาในห้องเรียนคู่ขนานการจัดการศึกษาในห้องเรียนคู่ขนาน • สอนทักษะในการดำรงชีวิต • สอนทักษะทางวิชาการ • สอนทักษะทางสังคม • แก้ไขข้อบกพร่องในการสื่อสาร • แก้ไขข้อบกพร่องทางการเคลื่อนไหว • ฯลฯ ห้องเรียนคู่ขนาน

  8. การจัดการศึกษาในห้องเรียนคู่ขนานการจัดการศึกษาในห้องเรียนคู่ขนาน ความต้องการจำเป็นพิเศษ คือ • ห้องเรียนคู่ขนาน รวมถึงสื่อการเรียนการสอน • บุคคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น ครูฝึกพูด, นักกิจกรรมบำบัด,นักกายภาพบำบัด, ครูการศึกษาพิเศษ เป็นต้น • การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน (หลักสูตรคู่ขนาน)

  9. การจัดการศึกษาในห้องเรียนสอนเสริมการจัดการศึกษาในห้องเรียนสอนเสริม • สอนเสริมทักษะทางวิชาการ อย่างเข้มข้น • สอนเสริมทักษะทางสังคมต่างๆ ในการเรียนรู้ในห้องเรียนปรกติ เพื่อเตรียมเด็กใน การส่งต่อ และ การถ่ายโอน • ฯลฯ ห้องเรียนสอนเสริม

  10. การจัดการศึกษาในห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษการจัดการศึกษาในห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ ความต้องการจำเป็นพิเศษ คือ • ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ รวมถึงสื่อการเรียนการสอน • บุคคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น นักพฤติกรรมบำบัดมีทีมนักบำบัดเป็นทีมที่ปรึกษาของโรงเรียน), ครูการศึกษาพิเศษ, ครูประสานงาน เป็นต้น • การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน (แผนการสอนเสริมเฉพาะบุคคล)

  11. การเชื่อมต่อ การส่งต่อ และ ถ่ายโอนเด็ก ห้องเรียนปรกติ ห้องเรียนคู่ขนานฯ เด็กที่มีความพร้อม

  12. การเชื่อมต่อ การส่งต่อ และ ถ่ายโอนเด็ก เด็กที่ได้รับการแก้ไขข้อบกพร่อง ได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ จากห้องเรียนคู่ขนาน มีความจำเป็นที่จะต้องมีการเชื่อต่อ การส่งต่อ ถ่ายโอน ให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกับเด็กปรกติ ในสถานการณ์จริงทั้งในห้องเรียนปรกติซึ่งเป็นห้องเรียนบัดดี้ของนักเรียนออทิสติกแต่ละคนจากห้องเรียนคู่ขนานฯ การร่วมกิจกรรมรวมต่างๆ ของโรงเรียน ฯลฯ โดยอาศัยความร่วมมือของทั้งครูในห้องเรียนปรกติ ครูในห้องเรียนคู่ขนาน ฯ ครูประสานงาน ครูอำนวยการ

  13. การเชื่อมต่อ การส่งต่อ และ ถ่ายโอนเด็ก ระบบการเชื่อมต่อ – หมายถึง การเชื่อต่อกิจกรรมของห้องเรียนคู่ขนานฯ เข้ากับกิจกรรมของโรงเรียนทั้งโรงเรียน เช่น กิจกรรมการปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนปกติ การปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนออทิสติก และการปฐมนิเทศรวมผู้ปกครองของนักเรียนทั้งโรงเรียน การประชุมครูห้องเรียนคูขนานฯ การประชุมครูทั้งโรงเรียน ฯลฯ

  14. การเชื่อมต่อ การส่งต่อ และ ถ่ายโอนเด็ก การส่งต่อ – เมื่อเด็กมีศักยภาพพอจะเรียนร่วมกับเด็กปรกติได้ เป็นบางรายกิจกรรมหรือบางรายวิชา เช่น วิชาศิลปะ ดนตรี ก็จะต้องทำการส่งต่อผู้เรียนจากห้องเรียนคู่ขนาน ไปเรียนร่วมกับผู้เรียนปกติ ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้จากครูผู้สอนทั่วไป ในระยะแรกอาจต้องใช้ระบบ ครูผู้สอนร่วมกัน ( Co-Operation Teacher) โดยมีครูผู้สอน 2 คน คนหนึ่งสอนผู้เรียนปกติ อีกคนหนึ่งช่วยสอนเด็กพิเศษในเนื้อหาสาระเดียวกัน

  15. การเชื่อมต่อ การส่งต่อ และ ถ่ายโอนเด็ก ระบบถ่ายโอน – เด็กที่มีความบกพร่องเล็กน้อย หรือ เด็กที่สามารถผ่านระบบส่งต่อ จนมีศักยภาพ อยู่ในระดับที่สามารถจะถ่ายโอนไปสู่ระบบการจัดการการศึกษาแบบผู้เรียนปรกติได้ ก็จะต้องเตรียมพร้อมเด็ก และ ถ่ายโอนเด็กเข้าสู่ระบบการจัดการศึกษาแบบปกติ

  16. การจัดการศึกษาในห้องเรียนปรกติการจัดการศึกษาในห้องเรียนปรกติ • ห้องเรียนปรกติ จำเป็นต้องมีการจัดหา ครูประสานงาน ครุภัณฑ์ และ จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม • มีการให้ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงสร้างเจตคติที่ดี แก่ นักเรียนปรกติในชั้นเรียน รวมถึงกลุ่มเพื่อน buddy • มีเทคนิคการสอนที่สอดคล้องและสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก (เด็กแต่ละคน ต้องการสื่อการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน)

  17. เด็กที่มีความบกพร่องทางสมองเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง เพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือ และ การจัดการศึกษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับศักยภาพ ความสามารถ และความต้องการของเด็ก ดังนั้นจึงแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น3กลุ่มใหญ่ๆ ตามระดับอาการ / ข้อบกพร่อง 1. กลุ่มที่มีความบกพร่องเพียงเล็กน้อย 2. กลุ่มที่มีความบกพร่องปานกลาง 3. กลุ่มที่มีความบกพร่องรุนแรง

  18. จากศักยภาพ/ระดับอาการความรุนแรงของเด็ก จากศักยภาพ/ระดับอาการความรุนแรงของเด็ก เด็กกลุ่มที่มีความบกพร่องเพียงเล็กน้อยมีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดี บางคนอาจดีมากสามารถเรียนรวมกับเด็กปกติ และ ใช้การจัดการศึกษาเหมือนเด็กปกติได้ เพียงแต่ต้องขจัดข้อบกพร่องบางเรื่องของเด็กที่มีอยู่ และ กระตุ้นความสามารถเด็กให้เต็มที่

  19. จากศักยภาพ/ระดับอาการความรุนแรงของเด็ก จากศักยภาพ/ระดับอาการความรุนแรงของเด็ก เด็กกลุ่มที่มีความบกพร่องปานกลาง มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปานกลางจนถึงใกล้เคียงระดับปกติ สามารถเรียนได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเข้มข้นขึ้น อาจจะต้องมีพี่เลี้ยง หรือ ครูผู้ช่วย คอยกระตุ้นให้เด็กสนใจในการเรียนรู้ พร้อมทั้งขจัดข้อจำกัดต่างๆที่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ และ ส่งเสริมพัฒนาการให้ตรงกับความสามารถ และความต้องการของเด็กแต่ละคน

  20. จากศักยภาพ/ระดับอาการความรุนแรงของเด็ก จากศักยภาพ/ระดับอาการความรุนแรงของเด็ก เด็กที่มีความบกพร่องรุนแรง เด็กกลุ่มนี้อาจถูกมองว่ามีความสามารถน้อย มีปัญหาทางด้านสติปัญญา ซึ่งอันที่จริงแล้ว เป็นเพราะภาวะอาการรุนแรงต่างๆที่ปิดครอบเด็กอยู่ เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้ และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือและกระตุ้นพัฒนาการขั้นพื้นฐานทุกด้านอย่างต่อเนื่อง จากบุคลากรหลายฝ่ายร่วมกัน เพื่อที่จะทำให้ภาวะอาการรุนแรงต่างๆได้ลดลง

  21. จากศักยภาพ/ระดับอาการความรุนแรงของเด็ก จากศักยภาพ/ระดับอาการความรุนแรงของเด็ก เพื่อที่ผู้สอนสามารถสอดแทรกสาระการเรียนรู้ต่างๆในเชิงวิชาการ พร้อมทั้งกระตุ้นทักษะทางสังคมต่างๆ ทักษะในการอยู่ร่วมกับคนทั่วไป โดยเฉพาะกับเด็กวัยเดียวกัน เด็กจะได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง มีการเลียนแบบ มีการเล่น การทำกิจกรรมกลุ่มฯ เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมที่จำเป็น ที่เด็กจะต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ต่อไปในสังคมนี้อย่างมีความสุข และไม่เป็นภาระต่อสังคม

More Related