1 / 24

การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สิน Replacement and Retention Decisions

การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สิน Replacement and Retention Decisions. อาจารย์พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สิน Replacement and Retention Decisions.

derex
Download Presentation

การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สิน Replacement and Retention Decisions

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สินReplacement and Retention Decisions อาจารย์พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

  2. การตัดสินใจทดแทนทรัพย์สินReplacement and Retention Decisions • การพิจารณาว่าจะทิ้งทรัพย์สินเก่าและนำทรัพย์สินใหม่มาทดแทนนั้น องค์ประกอบในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจนั้นมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น - เรื่องของการลดลงของสมรรถนะ - การเปลี่ยนแปลงความต้องการ และ - ความล้าสมัย ดังนั้น การตัดสินใจทดแทนจึงต้องพิจารณาทั้งในเรื่องของมูลค่าทรัพย์สินเก่า อายุใช้งาน และต้นทุน

  3. ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สินความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน ความจำเป็นในการศึกษาการทดแทนทรัพย์สินนั้นอาจเกิด จากหลายสาเหตุด้วยกันคือ • การลดลงของสมรรถนะ: เนื่องจากการเสื่อมสภาพทางด้านกายภาพของทรัพย์สินทำให้ความ สามารถในการทำงานลดลง ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การซ่อมงาน การเพิ่มขึ้นของเศษวัสดุ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่คุณภาพลดลง

  4. ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สินความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน • การเปลี่ยนแปลงความต้องการ: มีความต้องการในการทำงานที่เพิ่มขึ้น เช่น ต้องการมีความถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น มีความเร็วเพิ่มขึ้น ทำงานได้หลายอย่างมากขึ้น ทำให้ต้องการที่จะเปลี่ยนหรือทดแทนทรัพย์สินที่เคยมีอยู่

  5. ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สินความรู้พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน • ความล้าสมัย: ท่ามกลางการแข่งขันอย่างมากและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยี ทำให้ทรัพย์สินเดิมไม่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดไป แม้ว่าจะยังคงทำงานได้ดีตามที่ควรจะเป็น แต่อาจจะยังน้อยกว่าหรือช้ากว่าของทรัพย์สินใหม่ที่จะนำมาทดแทน

  6. คำศัพท์ที่ต้องเข้าใจ • ผู้ป้องกันและผู้ท้าชิง (defender,D and Challenge, C): เป็นคำที่ใช้สำหรับการตัดสินใจแบบต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง (เลือกผู้ป้องกัน หรือผู้ท้าชิง) ผู้ป้องกัน มักหมายถึงทรัพย์สินที่กำลังถูกพิจารณาว่าสมควรถูกทดแทนหรือไม่ ส่วนผู้ท้าชิง หมายถึง ทรัพย์สินใหม่ที่กำลังถูกพิจารณาว่าสมควรนำมาทดแทนทรัพย์สินเก่าหรือไม่ • มูลค่ารายปี (Annual Worth, AW): เป็นค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่นิยมนำมาใช้เปรียบเทียบระหว่างผู้ท้าชิงและผู้ป้องกัน บางครั้งใช้คำว่ามูลค่าเทียบเท่ารายปี (Equivalent Uniform Annual Worth, EUAW

  7. คำศัพท์ที่ต้องเข้าใจ • อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐ์ศาสตร์ (Economic Service Life):เป็นจำนวนอายุ (ปี) ของทรัพย์สินใด ๆ ที่ให้ค่าใช้จ่ายรายปี (AW of costs) สามารถนำมาใช้คำนวณหาค่า ESL ของทั้งผู้ท้าชิงและผู้ป้องกัน • ราคาเริ่มต้นของผู้ป้องกัน (First Cost, Initial Cost): เป็นราคาเริ่มต้น (P) ของผู้ป้องกัน ส่วนมูลค่าตลาดในปัจจุบัน (the current market value, MV); มูลค่าแลกเปลี่ยน (Trade-in value) นั้นเป็นมูลค่า P ของทรัพย์สินต่อเมื่อการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน • ราคาเริ่มต้นของผู้ท้าชิง (First Cost, Initial Cost): (คือมีผู้ท้าชิงเกิดขึ้นมา) เป็นราคาเริ่มต้น (P) ของผู้ท้าชิง

  8. คำศัพท์ที่ต้องเข้าใจ • มูลค่าตามบัญชี (Book value):เป็นมูลค่าทรัพย์สินซึ่งเจ้าของทรัพย์สินประเมินราคาไว้ ณ เวลาใด ๆ • มูลค่าตลาด (Market value):เป็นมูลค่าทรัพย์สินซึ่งกำหนดโดยตลาด ณ เวลาใด ๆ • ต้นทุนจม (Sunk cost): เป็นผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชี กับมูลค่าตลาดต้นทุนจมเป็นความสูญเสียของต้นทุนซึ่งไม่สามารถนำมาทดแทนได้ในการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน

  9. สมมติฐานของการทดแทนทรัพย์สินสมมติฐานของการทดแทนทรัพย์สิน • การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินเป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน โดยใช้วิธีมูลค่ารายปีเป็นหลัก สมมติฐานของการทดแทนทรัพย์สินจึงคล้าย ๆ กับสมมติฐานของวิธีวิเคราะห์มูลค่ารายปี ข้อสมมติฐานมีดังนี้ - การใช้บริการของโครงการเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนในอนาคต - ผู้ท้าชิงเป็นผู้ท้าชิงที่ดีที่สุดในขณะนี้ (เวลาปัจจุบัน) ของผู้ป้องกัน เมื่อผู้ท้าชิง เข้ามาทดแทนผู้ป้องกันจะต้องทดแทนไปตลอดอายุการใช้งานของผู้ท้าชิง - การประมาณต้นทุนของผู้ท้าชิง ทุก ๆ รอบอายุของผู้ท้าชิงจะต้องคงเดิมเสมอ

  10. ตัวอย่าง • ตัวอย่างตัวอย่างที่ 11.1 พื้นฐานทางการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน P.214

  11. อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์(Economic Service Life, ESL) • อายุงานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Service Life, ESL) เป็นจำนวนปีใด ๆ ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่ารายปี (AW, EUAW) ของต้นทุนที่ต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาจากจำนวนปีทั้งหมดนี้ทรัพย์สินจะถูกนำมาใช้งาน • ค่า ESL บางครั้งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อายุที่มีต้นทุนต่ำที่สุด (minimum cost life)

  12. อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ • ค่า ESL สามารถคำนวณหาได้โดยใช้ผลรวมของต้นทุนรายปีทั้งหมด (AW) ของทรัพย์สินที่ใช้พิจารณา ผลรวมของต้นทุนรายปี ประกอบไปด้วยมูลค่ารายปี (Capital Recovery, CR) ของเงินลงทุนครั้งแรก และมูลค่าซากใด ๆ กับมูลค่ารายปี (AW) ของต้นทุนการดำเนินการรายปี (AOC) แสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้ ต้นทุนรายปี = – CR – AW of AOC [11.1]

  13. ลักษณะของเส้นโค้งต้นทุนรายปี (AW of costs curve) เมื่อส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดของต้นทุนทั้งหมดรายปีลดลง

  14. สมการที่สมบูรณ์ของต้นทุนทั้งหมดรายปี ตลอด k ปี • สมการ 11.3 P.216 • ตัวอย่างที่ 11.2 อายุใช้งานที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ P.217

  15. การศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน(Performing a Replacement Study) • การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินนั้นอาจกระทำได้ในแนวทางหนึ่งแนวทางใด ของ 2 วิธีดังต่อไปนี้ - ศึกษาโดยไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอนกำหนดมาให้ - ศึกษาโดยมีช่วงเวลาที่แน่นอนกำหนดมาให้

  16. การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินการศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน

  17. การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินใหม่ (New Replacement study) การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินใหม่ (New Replacement study) • ใช้ค่า AWC หรือ AWD ในการประเมินการเลือกผู้ท้าชิง (C) หรือผู้ป้องกัน (D) • เมื่อผู้ท้าชิงถูกเลือกนั้นคือ ทรัพย์สินเก่าจะถูกทดแทนด้วยทรัพย์สินใหม่ทันที และหมายความว่า นับจากเวลานี้ไปจะใช้ทรัพย์สินใหม่นี้ไปจนตลอดอายุการใช้งาน nc ปี ถือว่าการศึกษาการทดแทนกรณีได้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ • แต่ถ้าผู้ป้องกันถูกเลือกมีการวางแผนจะใช้ทรัพย์สินเก่าต่อไปตลอดอายุการใช้งาน nD ปี (ขั้นตอนนี้จะอยู่ด้านซ้ายมือของรูปที่ 11.2) ในปีหน้าให้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป

  18. การศึกษาการทดแทนทรัพย์สินใหม่ (New Replacement study) การวิเคราะห์หนึ่ง – ปี – ต่อมา (One – Year – Later Analysis) • ให้ตรวจสอบดูว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งราคาเริ่มต้น มูลค่าตลาด และ AOC ถูกแปลง ให้อยู่ในรูปเดียวกันทั้งหมดแล้วหรือไม่ ถ้ายังให้ข้ามไปขั้นตอนต่อไป ถ้าใช่และ ปีที่ nD ให้ทดแทนผู้ท้าชิง ถ้ายังไม่ใช่ปีที่ nD ให้ยังคงใช้ผู้ป้องกันต่อไปอีก 1 ปี และให้ทำขั้นตอนนี้อีกครั้งซึ่งบางครั้งอาจต้องทำซ้ำหลายครั้ง • ถ้าค่าประมาณการต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงให้ปรับค่าเหล่านั้นเสียใหม่ และคำนวณหาค่า AWC และ AWD

  19. ตัวอย่าง • ตัวอย่างที่ 11.4 การศึกษาการทดแทนทรัพย์สิน P.219

  20. การบ้าน • ข้อที่ 11.1 หน้า 221 • ข้อที่ 11.4 หน้า 221 • ข้อที่ 11.6 หน้า 222

More Related