1 / 4

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Master of Arts in Pali and Sanskrit

วัตถุประสงค์. อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Master of Arts in Pali and Sanskrit Chulalongkorn University.

camden
Download Presentation

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Master of Arts in Pali and Sanskrit

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วัตถุประสงค์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยMaster of Arts in Pali and SanskritChulalongkorn University มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ด้านวิชาการอย่างลึกซึ้งในลักษณะรู้รอบ รู้ลึก และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านภาษาบาลีและสันสกฤตเพื่อพัฒนา การวิจัยระดับสูง บัณฑิตที่จบการศึกษามีความรู้ด้านภาษาบาลีและสันสกฤต สามารถทำงานในสายวิชาการด้านภาษาหรือวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้องกับภาษาและวัฒนธรรมอินเดียโบราณ หรือใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านศาสนา ปรัชญา ภาษาหรือวัฒนธรรมไทย ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีตามความสนใจได้

  2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษาคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต สาขาวิชาภาษาไทย หรือสาขาวิชาอื่นที่มีขอบข่ายใกล้เคียงเช่น โบราณคดี การศึกษาพระปริยัติธรรม และมีคะแนนสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ หรือเทียบเท่า หากท่านสนใจ และมีเป้าหมายที่จะศึกษาเชิงลึกในภาษาบาลี สันสกฤต หรือวรรณคดีพุทธศาสนาทั้งสายเถรวาท มหายาน ปรัชญาอินเดีย หรือ วรรณคดีสันสกฤต และเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ยังไม่มีความรู้ภาษาบาลี หรือสันสกฤต ท่านสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตพื้นฐานในปีแรกของหลักสูตรได้

  3. รายวิชาเรียน วิทยานิพนธ์ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชาบังคับ ๔ วิชา ได้แก่ สัมมนาไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต สัมมนาไวยากรณ์และวรรณคดีปรากฤต สัมมนาวรรณคดีบาลี สัมมนาวรรณคดีสันสกฤต รายวิชาเลือก เลือกเรียน ๔ วิชา ได้แก่ สัมมนาประวัติวรรณคดีบาลี สัมมนาประวัติวรรณคดีสันสกฤต สัมมนาคัมภีร์ปรัชญาอินเดีย สัมมนาทฤษฎีวรรณคดีบาลีและสันสกฤต สัมมนาจารึกบาลีสันสกฤต สัมมนานาฏยศาสตร์และการละครสันสกฤต เลือกทำประเด็นที่อยู่ในขอบเขตการศึกษาภาษาหรือวรรณคดีบาลีสันสกฤต ตามความสนใจและความถนัดของผู้ศึกษา

  4. ระยะเวลาในการศึกษา ทุนการศึกษา ๒ - ๔ ปี หากท่านสนใจเข้าศึกษา ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ. ทัศนีย์ สินสกุล ภาควิชาภาษาตะวันออก โทร ๐๒-๒๑๘-๔๗๕๓ ในเวลาราชการหรือ ดูรายละเอียดจาก คู่มือการสมัครเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตที่ขาดแคลน ๑ ปีการศึกษา ทุนผู้ช่วยสอน ทุนเมฆิน เอื้ออนันต์ จากมูลนิธิคีตาอาศรมประเทศไทย

More Related