1 / 21

การสรุปเนื้อหา Chapter 4 Storm Water Ordinances and Requlations (ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ Storm Water )

การสรุปเนื้อหา Chapter 4 Storm Water Ordinances and Requlations (ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ Storm Water ). 4.1 Introduction.

brygid
Download Presentation

การสรุปเนื้อหา Chapter 4 Storm Water Ordinances and Requlations (ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ Storm Water )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสรุปเนื้อหาChapter 4 Storm Water Ordinances and Requlations(ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ Storm Water)

  2. 4.1 Introduction กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ Storm Water เป็นเครื่องมือเบื้องต้นของการปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ในการ ควบคุมจัดการ ปัญหา การระบายน้ำท่วม การจัดการกับปัญหาน้ำท่วมในบริเวณกว้าง เป็นต้นว่า การควบคุมพื้นที่การป้องกันการกัดเซาะ และปัญหาการสะสมของตะกอนและสิ่งกีดขวางทางน้ำ ปัญหาเหล่านี้ น้ำไปสู่การออกกฎระเบียบ การควบคุมคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำ ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันระหว่าง กฎ มติ ข้อบังคับและนโยบาย แต่ต้องนำมาประยุกต์ใชรวมกันในการแก้ปัญหา การยกตัวอย่าง การนำกฎข้อบังคับเกี่ยวกับ Storm Water มาใช้ในแต่ละ states ของ U.S.A เพื่อใช้ในการป้องกัน Chapter 4 กฎระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ Storm Water บรรเทาปัญหา

  3. 4.2 การพิจารณากำหนดกฎหมายเบื้องต้น ในแต่ละประเทศ ต่างมีข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ กับกฎหมาย ในภาษาของตนอยู่แล้ว ควรที่จะต้องทำความเข้าใจกับกฎหมายเบื้องต้น แล้วนำมาประยุกต์ใช้ ปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่นภายใต้การปกครองของตน ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบาย และหน่วยงานนี้ดูและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการป้องกันเรื่องน้ำ ทั้งน้ำบาดาล แม่น้ำ/ทางน้ำไหล และการระบายน้ำ (Diffused surfare water low)

  4. Water course law (กฎหมายเกี่ยวกับแม่น้ำทางน้ำไหล) เกิดจากกรณีศึกษาในอดีต อยู่ 2 ลักษณะ คือ ฝั่งตะวันออกมีความชุ่มชื้น ปริมาณน้ำมาก กับฝั่งตะวันตกที่มีลักษณะแห้งแล้งฝั่ง/ริมฝั่งแม่น้ำ เจ้าของที่ดินริมฝั่งแม่น้ำ มีสิทธิที่จะใช้น้ำ ใช้ประโยชน์จากที่ริมฝั่งน้ำ ในส่วนของการควบคุมน้ำท่วม เจ้าของที่ดินมีสิทธิที่จะป้องกันน้ำท่วมได้ แต่ต้องไม่คุกคามหรือทำความเดือดร้อนให้กับเจ้าของที่ดินริมฝั่งรายอื่นๆ โดยอาจใช้วิธีการสร้างกำแพงกั้น (flood walls) ทำเขื่อนกั้นไม่ให้น้ำท่วมพื้นที่ (diking land which floods upstream property) การเคลื่อนย้ายทรัพย์สินออกจากบริเวณน้ำท่วม ทางไหลของน้ำ

  5. Diffused Surface Water Low (กฎหมายการระบายน้ำ) 1. Common Enemy Doctrine (กฎหมายประเพณี) แนวคิดเกี่ยวกับการป้องกันภายใต้กฎหมาย เจ้าของที่ดินสามารถจัดการใดๆ กับน้ำในที่ดินของตน จนกระทั้งเกิดปัญหาเรื่องของน้ำท่วม เจ้าของที่ย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันทรัพย์สินไม่ให้เสียหาย โดยอย่างยิ่งในกรณีที่ดินอยู่ในพื้นที่ด้านล่างที่จะต้อง รองรับปริมาณน้ำจากต้นน้ำ

  6. 2. Civil Law Doctrine กฎหมายแพ่ง เจ้าของที่ดินจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจาก การไหลออกของน้ำจากที่ดินของตัว แต่ก็อาจจะอ้างถึงว่าเป็นทิศทางการไหลของน้ำตามธรรมชาติก็ได้ที่จะไม่ต้องรับผิดชอบต่อที่ดินผู้อื่น

  7. 3. Reasonable Use Doctrine ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในการประนีประนอมปัญหา 4. Liability and Damages ความเสียหายและความรับผิดชอบ Property law กฎหมายทรัพย์สิน Fort law กฎหมายละเมิด การรับผิดชอบขึ้นอยู่กับเจตนา ความเพิกเฉยความประมาทไม่รอบคอบ 5. Individual Liability ความรับผิดชอบส่วนบุคคล การป้องกัน/ปกป้องภายใต้กฎหมายทรัพย์สิน มีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องพิจารณาตำแหน่งที่ตั้ง กิจกรรมการใช้ประโยชน์ การคาดการณ์ความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้น วิธีการป้องกัน เป็นต้น 6. Municipal Licbility ความรับผิดชอบของส่วนการปกครองท้องถิ่น ท้องถิ่นไม่ต้องรับผิดชอบต่อความบกพร่องในการวางระบบการระบายน้ำ หรือเหตุอันเนื่องมาจากการระบายน้ำมีประสิทธิภาพ ฝ่ายปกครองท้องถิ่น มีหน้าที่ในการดูแลออกแบบ การระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีการก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ ป้องกัน กักน้ำให้ระบายไปในช่องทางระบายน้ำตามธรรมชาติ

  8. 7. Takings การเวนคืนที่ดินเอกชนของฝ่ายปกครอง การสงวนพื้นที่ของฝ่ายปกครอง สำหรับการบำบัด ควบคุมการเกิดน้ำท่วม หรือมักจะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามมา เช่น กฎระเบียบข้อบังคับที่รัฐสามารถไปเวนคืนที่ดิน ผู้ถือครองที่ดินไม่สามารถที่จะสร้างความรำคาญหรือคุกคามต่อความปลอดภัยมั่นคงของรัฐ (ส่วนรวม) ฝ่ายปกครองสามารถหลีกเลี่ยงการ Takings ได้หลายทาง การออกระเบียบข้อบังคับในการอนุญาตเป็นพิเศษในกรณีต่างๆ เน้นเรื่องความมั่นคงความปลอดภัยและปัญหาด้านสุขภาพในการป้องกันการเกิดมลภาวะ ควบคุมการบังคับใช้กฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เตรียมพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้รองรับการระบายน้ำจากบริเวณที่มักเกิดความเสียหาย 8. Water Quality and Water low (กฎหมาย เรื่องน้ำและคุณภาพน้ำ) ป้องกัน แก้ปัญหาการเกิดมลพิษทางน้ำ การบำบัดน้ำเค็มก่อนปล่อยสู่ทางสาธารณะ

  9. 4.3 Municipal Ordinance ระเบียบข้อบังคับการปกครองส่วนท้องถิ่น มีองค์ประกอบ 4 อย่างด้วยกัน คือ 1. Legal Authority and Contert กฎข้อตกลงขึ้นอยู่กับฝ่ายปกครองในแต่ละพื้นที่ ในส่วนที่จะใช้ในการดูแลควบคุมการจัดการกับปริมาณและคุณภาพของน้ำ 2. Technical Basis หลักการวิธีการในการสนับสนุน 3. Administrative Apparatus อุปกรณ์ในการจัดการดูแล รวมถึงนโยบาย ระเบียบปฎิบัติในการดำเนินงานอำนวยการ 4. Enforcemunt Provisians การบังคับใช้ ข้อกำหนดต่างๆ ต้องยุติธรรม เริ่มตั้งแต่การเตือน จยถึงบทลงโทษ เบา-หนัก ขึ้นอยู่กับ การเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและชุมชน Special Water Quality Considerations Detention การเก็บกัก เพื่อป้องกัน การท่วมสูงในเวลาเฉียบพลันในพื้นที่ส่วนล่าง เป็นวิธีการจัดการ storm water ที่ดีอย่างหนึ่ง

  10. 4.4 Drafting Local Ordinances and Regulations การร่างกฎระเบียบข้อบังคับของแต่ละท้องถิ่นมีกระบวนการ ดังนี้ Part 1 กำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาที่สำคัญ กำหนดขอบเขต ลักษณะของปัญหา ที่ต้องการจัดการแก้ไข เช่น ปัญหาการควบคุมการเกิดอุทกภัยในบางพื้นที่ การควบคุมน้ำท่วม การปรับปรุงคุณภาพน้ำ การควบคุมการกัดเซาะและการทับถมของตะกอน การออกแบบระบบที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงการออกแบบวิเคราะห์ระบบ การพัฒนาระบบป้องกันในอนาคต

  11. การกันส่วนพื้นที่สำหรับการดำเนินการเรื่อง Storm water • การควบคุมพื้นที่น้ำท่วมไม่ให้แพร่กระจาย • การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือในการจัดการปัญหาน้ำท่วม • แหล่งเงินทุนสนับสนุนโครงการจัดการปัญหาน้ำท่วม • การควบคุมปัญหาที่อาจเกิดขึ้นบนพื้นที่ระบายน้ำออก • การปรับปรุงสภาพแวดล้อม รองรับปํญหา • การรับฟังข้อร้องเรียน/ ปัญหาของประชาชน • การอบรมให้ความรู้การจัดการปัญหาน้ำท่วม • การทบทวนกระบวนการแก้ไขปัญหาให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพ • เตรียมความพร้อมขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ

  12. Part 2 กำหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ควรมีความชัดเจน เช่น • การกำหนดแผนงานในระยะยาวต่อเนื่องกัน • กำหนดทิศทางขอบเขตของโครงการ • การมีประสิทธิภาพในการดำเนินการแก้ปัญหาที่แตกต่างออกไป • การเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนด • การตีความหมาย กำหนดตัวชี้วัดการบรรลุวัตถุประสงค์ Part 3ปรับปรุงพัฒนานโยบาย เพื่อรองรับการดำเนินงาน Part 4ร่างกฎระเบียบข้อบังคับ Part 5พัฒนา/จัดทำ คู่มือ การจัดการ Storm Water

  13. 4.5 Flexility In a Storm Water • Flexible ข้อบังคับที่ยืดหยุ่นได้ • Rigid ordinances ข้อบังคับที่เข้มงวดเคร่งครัด

  14. 4.6 เมื่อไรที่ต้องยอมรับให้กฎข้อบังคับ • ปัญหาน้ำท่วมมีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากปัญหาอื่นๆ ไม่เหมือนการก่อตั้งโรงงานที่จะทำงาน 24 ชั่วโมง 7 วัน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชน จึงจะต้องมีการวางผังเมืองพื้นที่สำหรับโรงงานโดยเฉพาะอย่างไรก็ตาม ลักษณะการเกิดปัญหาน้ำท่วมมีลักษณะพิเศษดังนี้ • ปัญหาน้ำท่วมในชนบทมีผลกระทบกับประชากรในพื้นที่เล็กๆ เท่านั้น ไม่ใช่ประชากรทั้งหมด โดยเพฉาะผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับคู คลอง แม่น้ำ • เกือบทุกๆครั้งของ ปัญหา ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม คือ ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ นอกฤดูกาลน้ำหลาก

  15. ภายหลังน้ำท่วมไม่นาน ประชากรจะให้ความสนใจและเห็นใจกับความเสียหายที่เกิดขึ้น และก็จะละความสนใจไปในเวลาไม่นาน • การแก้ปัญหา/จัดการ Storm water มีตั้งแต่วิธีการพื้นฐานที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ จนถึงวิธีการที่มีความสลับซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง • การเกิดน้ำท่วมไม่ค่อยมีที่ กินเวลาหลายวัน ดังนั้น พื้นที่ภายหลังน้ำลดไม่ค่อยได้รับความกระทบกระเทือนมากนัก • ปัญหาการระบายน้ำก็เป็นอีกปัญหาที่นำไปสู่อีกหลายๆ ปัญหา ทั้งทิศทางการปล่อยน้ำธรรมชาติ และการวางระบบการระบายที่ต้องใช้/ออกแบบ ให้คุ้มค่าการลงทุน

  16. การออกระเบียบข้อบังคับที่เร็วเกินไปก็ไม่เกิดประโยชน์เพราะการออกระเบียบข้อบังคับที่เร็วเกินไปก็ไม่เกิดประโยชน์เพราะ • การกำหนดระเบียบต้องศึกษาปัญหาและผลกระทบอย่างจริงจังและระมัดระวังในการนำนโยบายไปใช้ • การแก้ปัญหาไม่ได้จบสิ้นแค่นำโครงการหรือออกระเบียบบังคับเสร็จแต่หมายถึงต้องสามารถนำไปปฏิบัติแก้ปัญหาได้จริง ต้องมีงบประมาณและกำลังคนสนับสนุน • การเตรียมวางแผนจัดสรร Storm water ต้องรับรู้กันในวงกว้างเพื่อแต่ละฝ่ายจะได้เตรียมจัดงบประมาณไว้รองรับโครงการ และปรับทิศทางการทำงานให้เป็นไปตามนโยบายการแก้ปัญหา

  17. 4.7 The Complete Storm Water Maregement Program(โครงการการจัดการ storm water ที่สมบูรณ์) - Lord Use Planning Aspects การวางแผนเรื่องการใช้พื้นที่ ต้องมีการใช้พื้นที่ - Municipal Role In Encouraging Inrovative Salutions การได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาจากการปกครองท้องถิ่นทั้งการออกกฎข้อบังคับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบเก่า ให้ไปในทิศทางที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ อำนวยความสะดวกให้แก่คณะทำงานแก้ปัญหาซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ฝ่ายปกครองจะต้องให้ความสำคัญกับปัญหา storm water และผลกระทบ ตลอดจนความเสียหายโดยรวมที่จะเกิดขึ้น และร่วมกันให้ข้อมูล หาวิธีการป้องกันกับคณะทำงาน

  18. - Administrative Problems การวางแผนจัดการ Storm Water จำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญ/ทีมวิศวกรร่วมด้วยตั้งแต่เริ่มเพราะไม่สามารถใช้เพียงความรู้พื้นฐานหรือสัญชาตญาณในการแก้ปัญหาได้ วิศวกรจะต้องช่วยในการวิเคราะห์ลักษณะของลำน้ำตอนบน ตอนล่าง การไหลของน้ำการใช้เครื่องมือกักเก็บ ระบายน้ำ ฯลฯ -Technical Requirement อุปกรณ์เครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานตั้งแต่คอมพิวเตอร์ช่วยในการจำลองสถานการณ์ แผนที่ การตรวจวัดระดับน้ำ การพยากรณ์ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือหนักอื่นๆ - Staff and Financial Rosources Necded การได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและกำลังคน ผู้เชี่ยวชาญประจำตำแหน่ง - Field Irsection เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ในการจัดการ Storm Water ฝ่ายปกครองต้องให้มี คณะทำงาน (Field Insprctor) ที่มีความรู้ความชำนาญและมีจำนวนที่เพียงพอ มิเช่นนั้นการแก้ไขจัดการ Storm Water อาจไม่บรรลุผลตามที่ตั้งไว้

  19. - Enforcement การให้อำนาจ การบังคับใช้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.Paper Work เช่นแผนการปรับปรุงพัฒนาการศึกษาเรื่องกำลังน้ำ การระบาย การกัดเซาะ การควบคุมตะกอน/สิ่งกีดขวางทางน้ำ จะต้องผ่านการอนุมัติจากการปกครองท้องถิ่น 2.การควบคุมตรวจสอบติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน - Legal Considerations ก่อนการนำ ระเบียบข้อบังคับการจัดการ Storm Water ไปใช้จะต้องรับการตรวจทานจากฝ่ายกฎหมายก่อนว่าจำไม่ขัดต่อกฎหมาย

  20. 4.8 Conclusion บทสรุป • ปัจจุบัน Storm Water มีมากขึ้นและซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจำเป็นที่จะต้องดูแลจัดการสนับสนุนการแก้ปัญหาทั้ง คน และอุปกรณ์ การแก้ปัญหาอย่างจริงจังจะต้องมีการศึกษาปัญหา ผลกระทบวิธีการปฏิบัติการควบคุม จึงจำเป็นต้องมีการออกกระเบียบข้อบังคับ สนับสนุน การป้องกันควบคุม Storm Water เพื่อช่วยให้ทีมงานดำเนินการได้สะดวกและมีประสิทธิภาพต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง จัดหาเงินและคน เครื่องมือสนับสนุนให้เพียงพอ ดำเนินการอย่างมีระบบจึงจะช่วยจัดการ

  21. จบการนำเสนอขอบคุณครับจบการนำเสนอขอบคุณครับ

More Related