1 / 40

เนื้อเยื่อสัตว์ (Animal Tissue)

เนื้อเยื่อสัตว์ (Animal Tissue). เนื้อเยื่อ (tissue) คือกลุ่มเซลล์ที่ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะ ซึ่งส่วนมากจะประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีขนาด รูปร่าง และการจัดระเบียบเป็นแบบเดียวกัน. เนื้อเยื่อในร่างกายของสัตว์ชั้นสูง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ. Nervous tissue. Muscular tissue. Epithelial tissue.

bruno
Download Presentation

เนื้อเยื่อสัตว์ (Animal Tissue)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เนื้อเยื่อสัตว์(Animal Tissue) เนื้อเยื่อ(tissue)คือกลุ่มเซลล์ที่ร่วมกันทำหน้าที่เฉพาะซึ่งส่วนมากจะประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่มีขนาด รูปร่างและการจัดระเบียบเป็นแบบเดียวกัน

  2. เนื้อเยื่อในร่างกายของสัตว์ชั้นสูงแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ Nervous tissue Muscular tissue Epithelial tissue เนื้อเยื่อเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะออกไปเพื่อทำหน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพประสานอยู่ในอวัยวะของร่างกาย Connective tissue

  3. เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissue or epithelium) เป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่ปกคลุมป้องกันผิวของร่างกายหรือบุอวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูดซึมสร้างเซครีชั่น(secretion)และรับความรู้สึก

  4. เนื้อเยื่อบุผิวมีลักษณะพิเศษคือประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิวมีลักษณะพิเศษคือประกอบด้วย 1. เซลล์เป็นจำนวนมากซึ่งส่วนมากเป็นเซลล์ชนิดเดียวกันเรียงตัวอยู่ชิดติดกัน 2. ตั้งอยู่บนเยื่อรองรับฐาน(basement membrane)ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นโปรตีน 3. ด้านบนของเนื้อเยื่อบุผิวไม่ติดต่อกับเซลล์อื่นด้านนี้จะเป็นที่อยู่ชิดกับช่องว่างของอวัยวะหรือภายนอกร่างกาย

  5. การแบ่งชนิดของเนื้อเยื่อบุผิวอาศัยหลัก 2 ประการคือ 1. แบ่งตามจำนวนชั้นของเซลล์ simple epitheliumประกอบด้วยเซลล์เรียงกันเป็นชั้นเดียว pseudostratified epitheliumประกอบด้วยเซลล์เรียงกันเป็นชั้นเดียวบนเยื่อรองรับฐานแต่มีเพียงบางเซลล์เท่านั้นที่สูงถึงผิวหน้าด้านบน stratified epitheliumเซลล์เรียงซ้อนกันหลายชั้น

  6. 2. แบ่งตามรูปร่างของเซลล์ที่อยู่ชั้นบนๆได้แก่ รูปร่างแบนบาง(squamous) รูปเหลี่ยมลูกบาศก์(cuboid) รูปแท่งทรงกระบอก(columnar)

  7. Pseudostratified ciliated columnar Stratified squamous Simple cuboidal Simple squamous Stratified columnar Simple columnar

  8. Simple squamous epithelium, Bowman’s capsule Simple squamous epithelium Glomerulus บริเวณcortex ของไตมีBowman’s capsule เป็นวงกลมหุ้มGlomerulus ซึ่งเป็นกระจุกเส้นเลือดฝอยที่Bowman’s capsule เป็นเยื่อบุผิวsimple squamous

  9. Squamous epithelium, from cheek เป็นเซลล์ที่มีลักษณะแบน บางมาก ตัวอย่างเช่น เยื่อบุผิวข้างแก้มในปาก

  10. Stratified squamous epithelium Stratified squamous epithelium Basement membrane

  11. Stratified squamous epithelium เป็นเซลล์ซ้อนกันหลายชั้นด้วยกันชั้นล่างซึ่งอยู่ติดกับBasement membrane นั้นใหญ่และแบ่งตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นเซลล์ใหม่ที่เล็กและบางกว่าอยู่ด้านนอกเซลล์ชั้นนอกนั้นตายและหลุดไปเรื่อยๆตัวอย่างเช่นเยื่อบุผิวข้างแก้มในปากหลอดอาหารและที่ผิวหนังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขี้ไคลและขี้รังแคก็คือเซลล์ผิวชั้นบนที่ตายแล้วและหลุดออกมา

  12. Simple cuboidal epithelium Basement membrane Simple cuboidal epithelium บริเวณcortex ของไตนอกจากจะเห็นBowman’s capsule แล้วยังมีหลอดไตเล็ก(convoluted tubules) ขดไปขดมาซึ่งท่อเหล่านี้เป็นเยื่อบุผิวsimple cuboidal

  13. Simple columnar epithelium, เยื่อบุผิวในลำไส้ Simple columnar epithelium เซลล์มีขนาดสูงมากกว่ากว้างมักอยู่ตามส่วนของร่างกายที่ทำการสร้างsecretion หรือสำหรับดูดของบางอย่างเช่นอาหารที่ย่อยแล้วเช่นเยื่อบุผิวข้างในลำไส้เป็นต้น

  14. Pseudostratified ciliated columnar, from trachea cilia เนื้อเยื่อบุผิวในบางแห่งของร่างกายเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ชั้นบนสุดมีการเปลี่ยนแปลงเป็นซิเลียเรียกว่า ciliated epithelium ซิเลียเคลื่อนไหวได้และทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งผ่านสารที่ผิวเซลล์เนื้อเยื่อที่มีซิเลียพบที่เยื่อบุผิวของท่อทางเดินปัสสาวะและท่อทางเดินหายใจ

  15. Globlet cell Simple columnar epithelium เซลล์เยื่อบุผิวบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ต่างๆเช่นสร้างเซครีชันเรียกว่าต่อม (gland) ในกรณีที่เซลล์เดียวสร้างเซครีชันเรียกว่าต่อมเซลล์เดียว (unicellular gland) ตัวอย่างเช่นโกเบลตเซลล์ (globlet cell) ที่เยื่อบุผนังลำไส้ทำหน้าที่สร้างเมือกภายในเซลล์เต็มไปด้วยเมือกที่สร้างขึ้นและพร้อมที่จะขับออก

  16. Globlet cell Simple columnar epithelium

  17. Glandular epithelium secretes products, e.g. milk, hormones ในกรณีที่เซลล์เยื่อบุผิวอยู่ต่อกันเป็นกลุ่มทำหน้าที่สร้างเซครีชั่นส่งออกไปตามท่อหรือเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงเรียกว่าต่อมหลายเซลล์(multicellular gland)

  18. Taste buds on tongue Taste buds เซลล์เยื่อบุผิวบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่รับความรู้สึกเรียกว่า neuroepithelial cell เช่นเซลล์ที่ปุ่มรับรส (taste bud) เซลล์เปลี่ยนเป็นรูปกระสวยหัวท้ายแหลมด้านบนมีซิเลีย

  19. Transitional epithelium, e.g. Urinary bladder

  20. เยื้อเยื่อเกี่ยวพัน(connective tissue) • เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นเนื้อเยื่อที่พบแทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชนิดอื่นๆ • ทำหน้าที่พยุงและยืดเหนี่ยวให้เนื้อเยื่อเหล่านั้นคงรูปและอยู่รวมกันได้ • ประกอบด้วยเซลล์เรียงกันอยู่ห่างๆอยู่ในสารระหว่างเซลล์(matrix)ที่มีปริมาณมากสารระหว่างเซลล์ประกอบด้วยเส้นใยและสารประกอบที่มีลักษณะใสและมีความหนืด

  21. เซลล์ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเซลล์ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดแต่ละชนิดทำหน้าที่แตกต่างกันไปได้แก่ Fibroblastเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเส้นใยชนิดต่างๆ Adipose cellเป็นเซลล์ที่สะสมไขมัน Macrophageมีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม Mast cellเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างกลมหรือรูปรีภายในมีแกรนูลย้อมติดสีม่วงเข้มบรรจุอยู่เซลล์มาสต์ทำหน้าที่สร้างสารheparinและhistamine

  22. plasma cellทำหน้าที่สร้างแอนติบอดีที่มีความสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน white blood cell or leukocytesเป็นเซลล์ที่แทรกเข้ามาในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจากเส้นเลือดทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย ฯลฯ

  23. เส้นใยในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเส้นใยในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เส้นใยในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดได้แก่   Collagen fiberมีลักษณะเป็นเส้นเหนียวแข็งแรงอยู่รวมกันเป็นมัดใหญ่ Elastic fiberเป็นเส้นใยที่มีความยืดหยุ่นมากแตกเป็นแขนงย่อยส่งไปเชื่อมกับแขนงของเส้นอื่น Reticular fiberมีลักษณะคล้ายเส้นใยคอลลาเจนแต่เป็นเส้นบางกว่ากระจายอยู่ทั่วไปเส้นใยชนิดนี้จะมองไม่เห็นถ้าย้อมด้วยสีย้อมเนื้อเยื่อทั่วไปต้องย้อมด้วยสี silver stain Collagen fiber

  24. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันอาจแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามลักษณะพิเศษเฉพาะของเซลล์และสารระหว่างเซลล์เช่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอาจแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดตามลักษณะพิเศษเฉพาะของเซลล์และสารระหว่างเซลล์เช่น 1. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง(Loose or areolar connective tissue) 2. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบ(Dense connective tissue) 3. เนื้อเยื่อไขมัน(Adipose tissue) 4. กระดูก(Cartilage) 5. กระดูก(Bone) 6. เลือด(Blood)

  25. Connective tissue

  26. Loose or Areolar connective tissue เนื้อเยื่อเกี่ยวพันโปร่งบางหรือแอรีโอล่าร์ Fibers Cells เนื้อเยื่อนี้เชื่อมหนังกับกล้ามเนื้อหรือเชื่อมกล้ามเนื้อกับกล้ามเนื้อmatrix อ่อนและเหนียวมีcollagen fiber และelastic fiber

  27. Dense connective tissue, tendon เนื้อเยื่อเกี่ยวกันแน่นทึบ, เส้นเอ็นต่างๆ Collagen fiber Fibroblast Tendon เนื้อเยื่อยึดระหว่างกระดูกต้องการความแข็งแรงมากmatrix เต็มไปด้วยcollagen fiber ซึ่งเป็นเส้นขนานกันยึดไม่ได้

  28. สำหรับลิกาเมนต์(ligaments) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแน่นทึบซึ่งยึดกระดูก 2 ท่อนเข้าด้วยกันอยู่ตามข้อต่อของกระดูกในmatrix จะมีเส้นใยชนิดelastic fiber มากเห็นเป็นสีเหลืองเส้นใยมีลักษณะเป็นเส้นขนานกันแต่มีกิ่งแยกออกไปเชื่อมกับเส้นใยใกล้เคียงยึดได้

  29. เนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) Nucleus ของAdipose cell ที่ถูกเบียดไปอยู่ขอบเซลล์ เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่สะสมไขมันโดยเซลล์สร้างเส้นใยเกือบทั้งหมดทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมไขมันเนื้อเยื่อไขมันมักอยู่ปะปนกับareolar connective tissue

  30. Matrix Lacunar Chondrocytes กระดูกอ่อน(cartilage) อยู่ตามบางส่วนของโครงกระดูก และมักอยู่ตามข้อต่อของกระดูกซึ่งมีการสัมผัสกันอยู่เสมอๆ

  31. กระดูกอ่อนเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ประกอบด้วยเซลล์กระดูกอ่อนที่เรียกว่าChondrocyteฝังตัวอยู่ใน matrixซึ่งมีความแข็งแรงกว่าเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแท้ • มีเส้นใยชนิดต่างๆกระจายอยู่ในmatrix • เซลล์กระดูกอ่อนจะอยู่ในช่องที่เรียกว่าlacunarใน 1 lacunarอาจพบเซลล์กระดูกอยู่ 1,2,4 หรือ 8 เซลล์ได้ขึ้นอยู่กับการแบ่งตัวของเซลล์ • ในกระดูกอ่อนจะไม่มีเส้นเลือดส่งแขนงมาเลี้ยงเลยอาหารที่เซลล์กระดูกอ่อนได้รับจะแทรกซึมเข้ามาในmatrix • กระดูกอ่อนจะหุ้มด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบเรียกว่าPerichondrium

  32. Hyaline cartilage Matrix Lacunar Chondrocytes Matrix ไม่มีเส้นใยอยู่พบอยู่ตามข้อต่อของกระดูกต่างๆเยื่อกั้นจมูก(Nassal septum) หลอดลมและกระดูกอ่อนของซี่โครง

  33. Fibrocartilage Chondrocytes Collagen fiber Matrix เต็มไปด้วยcollagen fiber พบตามข้อต่อของกระดูกสันหลัง (intervertebral disk) และข้อต่อของกระดูกอื่นๆ

  34. กระดูก (Bone) กระดูกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษมีลักษณะแข็งเพราะมีผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์(hydroxyapatite)เข้ามาเสริมในสารระหว่างเซลล์ กระดูกเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงร่างเป็นส่วนห่อหุ้มป้องกันอวัยวะภายในและเป็นที่เก็บสะสมของเกลือแคลเซียมอีกด้วย

  35. Harversian canal periosteum Volkmann’s canal canaliculi osteocyte lacunar

  36. กระดูกประกอบด้วยเซลล์ที่เป็นตัวสร้างเส้นใยและ matrix • เซลล์กระดูกเรียกว่าosteocyteมีลักษณะที่แตกต่างกับเซลล์กระดูกอ่อนคือมีแขนงยื่นเป็นเส้นเล็กๆออกไปรอบเซลล์ฉะนั้นรอบๆlacunarจึงมีร่องให้แขนงของเซลล์แทรกตัวอยู่ด้วยเรียกว่าcanaliculi • กระดูกมีเส้นเลือดผ่านเข้าไปหล่อเลี้ยงโดยเซลล์กระดูกมาเรียงล้อมรอบช่องที่ทอดไปตามยาวของกระดูกที่เรียกว่าช่องHarversian canalซึ่งภายในมีเส้นเลือดที่จะส่งอาหารผ่านไปตามช่อง canaliculi ไปถึงตัวเซลล์ได้ • ช่อง Harversian canal หนึ่งจะต่อกับอีกช่องหนึ่งทางช่องที่อยู่ตามแนวขวางเรียกว่าช่องVolkmann’s canal • การเรียงตัวของเซลล์กระดูกแบบนี้เรียกว่าHarversian’s system

  37. Compact bone Harversian canal

  38. Harversian canal Canaliculi Lacunar

  39. ในภาพเป็นโครงสร้างของท่อลม(trachea) ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิดประสานอยู่รวมกันแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะเพื่อทำหน้าที่พิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ Smooth muscle Epithelium Cartilage Connective tissue

More Related