1 / 25

เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. บทที่ 5. เนื้อหา. ความรู้เบื้องต้นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยและการประยุกต์ใช้งาน ระบบเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัย และการประยุกต์ใช้งาน

brina
Download Presentation

เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บทที่ 5

  2. เนื้อหา • ความรู้เบื้องต้นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • ระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยและการประยุกต์ใช้งาน • ระบบเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัย และการประยุกต์ใช้งาน • ระบบเครือข่ายเสมือนส่วนตัว (Virtual Private Network)ของมหาวิทยาลัย และการประยุกต์ใช้งาน • ระบบ Voice Over IP ของมหาวิทยาลัยและการประยุกต์ใช้งาน

  3. ความรู้เบื้องต้นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความรู้เบื้องต้นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • จุดมุ่งหมายของการติดต่อสื่อสาร คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยฝ่ายหนึ่งอาจจะเป็นฝ่ายรับหรือฝ่ายส่ง หรือเป็นทั้งฝ่ายรับและฝ่ายส่ง • ปัจจุบันวิทยาการคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล ถูกรวมเข้าด้วยกันหมายความว่าเมื่อมีการติดต่อสื่อสาร ก็จะมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ประกอบ และในทำนองเดียวกัน เมื่อกล่าวถึง การประมวลผลบนระบบ คอมพิวเตอร์ จะมีเรื่องของ การสื่อสาร หรือการรับส่งข้อมูล

  4. ความรู้เบื้องต้นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความรู้เบื้องต้นเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • การรวมกันของวิทยาการคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลทำให้เกิดความจริงที่ว่า • ไม่มีความแตกต่างพื้นฐานระหว่าง การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) ซึ่งเป็นงานของ คอมพิวเตอร์โดยตรง และการสื่อสารข้อมูล (Data Communications) ที่ใช้อุปกรณ์สื่อสารเช่น อุปกรณ์ที่ใช้ รับส่งข้อมูล (Transmission equipment) หรือ อุปกรณ์ค้นหาเส้นทาง (Switching equipment) • การรับส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลธรรมดา เสียง หรือ วีดีโอ ถือว่าเป็นข้อมูลเหมือนกัน • เกิดความแตกต่างที่แยกกันไม่ออก ระหว่างการประมวลผลที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีโปรเซสเซอร์ ตัวเดียว กับคอมพิวเตอร์ที่โปรเซสเซอร์หลายตัว

  5. องค์ประกอบพื้นฐานของโครงสร้างระบบสื่อสารองค์ประกอบพื้นฐานของโครงสร้างระบบสื่อสาร • อุปกรณ์ต้นทาง (Source) อุปกรณ์นี้ทำหน้าที่สร้างข้อมูลขึ้นมาที่ใช้ในการกระจายออกไป • อุปกรณ์กระจายข้อมูล (Transmitter) โดยปกติข้อมูลที่สร้างขึ้นมาจากต้นทาง ไม่สามารถกระจาย หรือส่งข้อมูลในรูปแบบนั้นให้กับผู้รับอื่นได้โดยตรงจำเป็นต้องอาศัยตัวกระจายข้อมูล ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบข้อมูลให้อยู่ ในสภาพที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วส่งผ่านเข้าไปในระบบรับส่งข้อมูล • อุปกรณ์รับสัญญาณ (Receiver) เป็นอุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่รับสัญญาณจากระบบ กระจายสัญญาณ แล้วเปลี่ยนแปลงสัญญาณกลับเป็นรูปแบบที่เหมือน กับต้นฉบับก่อนที่จะส่งออกมาจากต้นทางทำให้อุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถจัดการกับข้อมูลที่รับเข้ามาได้ • อุปกรณ์ปลายทาง (Destination) รับข้อมูลเข้ามาจาก อุปกรณ์รับสัญญาณ

  6. แสดงรูปแบบการสื่อสารข้อมูลพื้นฐานแสดงรูปแบบการสื่อสารข้อมูลพื้นฐาน

  7. เครือข่ายการสื่อสารข้อมูล • คือการนำอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลแก่กันได้ • ชนิดของเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล แบ่งออกเป็นสองประเภท • เครือข่ายระไกล (Wide Area Network) • เครือข่ายระยะใกล้ (Local Area Network)

  8. เครือข่ายระยะไกล(Wild Area Networks) • เครือข่ายระบบนี้เป็นระบบสื่อสารที่ครอบคลุมบริเวณกว้างไกล ประกอบด้วยโหนดจำนวนหนึ่งที่ต่อเชื่อมกันโดยวิธีการทำสวิทชิ่ง (Switching) การส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่ง จะมีการค้นหาเส้นทางโดยโหนดที่ ทำหน้าที่สวิทชิ่ง เพื่อให้ได้ปลายทางของอุปกรณ์ที่ข้อมูลนั้นจะส่งผ่านไปให้

  9. เครือข่ายระยะไกล(Wild Area Networks)

  10. เครือข่ายระยะใกล้(Local Area Networks : LAN) • LAN เป็นเครือข่ายติดต่อสื่อสาร ที่มีอุปกรณ์หลากหลายเชื่อมต่ออยู่และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สารสนเทศระหว่างอุปกรณ์เหล่านั้น

  11. ข้อแตกต่างระหว่าง WAN และ LAN • โครงสร้างของระบบเครือข่ายระยะใกล้ LAN เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก โดยทั่วไปเป็นเครือข่ายภายใน อาคารเดียวหรือส่วนเดียวกัน • เครือข่ายระยะใกล้ LAN มักจะมีเจ้าของเป็นองค์กรเดียวที่มีสิทธิเข้ามาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใน ระบบ ส่วนเครือข่ายระยะไกล WAN อาจมีอุปกรณ์บางส่วนไม่ใช่เป็นทรัพย์สินขององค์กร หรือ เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้งานร่วมกันระหว่างองค์กรหลายองค์กร • อัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ของระบบเครือข่ายระยะใกล้ LAN จะมีความเร็วสูงกว่า เครือข่ายระยะไกล WAN มาก

  12. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตและการประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตและการประยุกต์ใช้งาน • การเชื่อมอาคารต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยด้วยสายใยแก้วนำแสง(Fiber Optic) • อุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายด้วยอุปกรณ์เครือข่ายความเร็วสูง (Gigabit Ethernet) • การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต • เครือข่ายเพื่อการศึกษา (Uninet) ของกระทรวงศึกษาธิการที่ความเร็ว 70 Mbps • เชื่อมกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต 2 ราย คือ บริษัท ซี เอส ล๊อกอินโฟ จำกัด ที่ความเร็ว 20 Mbps

  13. บริการเชื่อมคอมพิวเตอร์จากบ้านหรือที่ทำงานเข้าสู่เครือข่ายมหาวิทยาลัยบริการเชื่อมคอมพิวเตอร์จากบ้านหรือที่ทำงานเข้าสู่เครือข่ายมหาวิทยาลัย • เชื่อมกับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยชนิด Digital ที่ความเร็ว 56 Kbps จำนวน 20 E1 หรือ 600 คู่สาย • เชื่อมกับระบบโครงข่ายโทรศัพท์หมายเลข 1222 ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อให้บริการแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่กระจายอยู่เกือบทั่วประเทศ เชื่อมต่อระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยผ่านระบบเครือข่ายขององค์การโทรศัพท์ เสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 3 บาท โดยผ่านโมเด็มเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย • เชื่อมกับระบบโครงข่ายโทรศัพท์ (Q-Net) เพื่อให้บริการ ADSL และบริการเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network: VPN) ซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสาธารณะได้ด้วยความสูงและราคาถูก

  14. ภาพเครือข่ายของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตภาพเครือข่ายของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

  15. บริการต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยให้บริการ • บริการเมล์ Server • บริการ web server • บริการ Proxy Server • บริการพื้นที่ใช้งาน Host Server • บริการ download โปรแกรม Anti-Virus • ระบบลงเวลาของบุคลากร Dusit Personal • ระบบถ่ายทอดสัญญาณผ่านอินเตอร์เน็ท Streaming Server • ให้บริการไอพีแอดเดรส DHCP server เป็นต้น

  16. ระบบเครือข่ายไร้สายและการประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายและการประยุกต์ใช้งาน

  17. แสดงการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตแสดงการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

  18. ระบบเครือข่ายเสมือนส่วนตัว(Virtual Private Network) • VPN หรือ Virtual PrivateNetwork หมายถึง เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของ เครือข่ายสาธารณะ หรืออาจจะวิ่งบน เครือข่ายไอพีก็ได้ แต่ยังสามารถ คงความเป็นเครือข่ายเฉพาะ ขององค์กรได้ ด้วยการ เข้ารหัสแพ็กเก็ตก่อนส่ง เพื่อให้ข้อมูล มีความปลอดภัยมากขึ้น

  19. รูปแบบบริการ VPN • Access VPN : เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ใน 2 ลักษณะ โดยลักษณะแรก เป็นการเข้าถึงจากไคลเอ็นต์ใดๆ ก็ได้ โดยอาศัย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นตัวกลาง ในการติดต่อ ซึ่งจะมีการเข้ารหัสในการ ส่งสัญญาณ จากเครื่องไคลเอ็นต์ ไปยังไอเอสพี และลักษณะที่สอง เป็นการเข้าถึง จากเครื่องแอ็กเซสเซิร์ฟเวอร์ (Network Access Server-NAS) โดยเริ่มต้นจาก ผู้ใช้หมุนโมเด็ม ติดต่อมายังไอเอสพี และจากนั้น จะมีการเข้ารหัสข้อมูล และส่งต่อไปยังปลายทาง

  20. รูปแบบบริการ VPN • Intranet VPN : เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN ที่ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น อาทิ การต่อเชื่อมเครือข่าย ระหว่างสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ และสาขาย่อย ในต่างจังหวัด เสมือนกับ การทดแทน การเช่าวงจรลีสไลน์ ระหว่าง กรุงเทพกับต่างจังหวัด โดยที่แต่ละสาขา สามารถ ต่อเชื่อมเข้ากับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในท้องถิ่นของตน เพื่อเชื่อมเข้า โครงข่าย VPN ขององค์กรอีกทีหนึ่ง

  21. รูปแบบบริการ VPN • Extranet VPN : เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย ที่คล้ายกับ Intranet VPN แต่มีการขยายวงออกไป ยังกลุ่มลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพาร์ตเนอร์ เพื่อให้ใช้เครือข่ายได้ จุดสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกติดตั้ง VPN คือการเลือก ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่วางระบบรักษาความปลอดภัย เป็นอย่างดี มีส่วนอย่างมาก ในการส่งข้อมูลบน VPN ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะถ้า ไอเอสพี มีระบบรักษาความปลอดภัย ที่รัดกุม ก็จะช่วยให้ ข้อมูลที่ส่งมา มีความปลอดภัยมากขึ้น

  22. ระบบ Voice Over IP หรือ IP Phone และการประยุกต์ใช้งาน • เป็นระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่าย หรือ VoIP โดยการใช้การเชื่อมโยงผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นนวัตกรรมที่สามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้โทรศัพท์สำหรับติดต่อสำนักงานสาขา หรือต่างประเทศ สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะ หรือโทรทางไกลระหว่างประเทศในราคาประหยัด มีกล่องแปลงสัญญาณเพื่อเชื่อมต่อผ่านตู้สาขา PABX หรือเชื่อมต่อผ่านคอมพิวเตอร์

  23. แสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Voice Over IP ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

  24. สรุป • ในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้รับการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการหลอมรวมหน้าที่บางอย่างของอุปกรณ์เข้าด้วยกัน เช่นความสามารถของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคปัจจุบัน มีความสามารถทำงานได้เช่นเดียวหรือใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในขณะเดียวกันก็ยังทำหน้าที่เป็นเป็นเครื่องโทรศัพท์ได้ด้วย ตลอดทั้งยังมีขนาดเล็กลง

  25. The End

More Related