1 / 50

การเปลี่ยนสภาพของเซลล์ เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่า

การเปลี่ยนสภาพของเซลล์ เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่างๆ 4 กระบวนการคือ 1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication) ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ได้เซลล์ใหม่มากขึ้นและมีขนาดเพิ่มขึ้น 2. การเจริญเติบโต (growth)

ayame
Download Presentation

การเปลี่ยนสภาพของเซลล์ เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเปลี่ยนสภาพของเซลล์การเปลี่ยนสภาพของเซลล์ เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่างๆ 4 กระบวนการคือ 1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication)ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ได้เซลล์ใหม่มากขึ้นและมีขนาดเพิ่มขึ้น 2. การเจริญเติบโต (growth) 3. การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆ (cell differentiation)สิ่งมีชีวิตที่เป็น เซลล์เดียวก็มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆ เหมือนกัน เช่น มีการสร้างเซลล์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ เมื่อไข่และอสุจิผสมกันก็จะได้เซลล์ใหม่คือไซโกต ซึ่งมีเพียงเซลล์เดียว ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เซลล์ใหม่ๆ ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปเพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆ กัน เช่น เซลล์กล้ามเนื้อทำหน้าที่ในการหดตัวทำให้เกิดการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว เป็นต้น เซลล์ภายในร่างกายของเราจะเริ่มต้นมาจากเซลล์เซลล์เดียวกันแต่มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ กันไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ กันได้ 4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis)

  2. การวัดการเติบโต (mesurement of growth)เป็นการวัดขนาดที่เพิ่มมากขึ้นทำได้หลายวิธี คือ 1.การวัดน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เป็นการวัดน้ำหนักเป็นเกณฑ์ที่สำคัญที่ใช้ในการวัดการเติบโต และ การเพิ่มของน้ำหนักจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอัตราการเติบโต จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการวัดการเติบโตมากกว่าเกณฑ์อื่นๆ 2. การวัดความสูงที่เพิ่มขึ้น 3. การวัดปริมาตรที่เพิ่มขึ้น 4. การนับจำนวนเซลล์ที่เพิ่มขึ้น เป็นการนับที่ใช้ไม่ได้กับสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ๆ เส้นโค้งของการเติบโต (growth curve) เส้นโค้งที่แสดงอัตราการเติบโตอาจจะวัดออกมาเป็นหน่วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วยเวลาที่เปลี่ยนไปหรือหน่วยความสูงที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วยเวลาที่เปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีเส้นโค้งของการเติบโตเป็นรูปตัวเอส (S) หรือ sigmoid curve เสมอ

  3. การเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอของสัตว์การเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอของสัตว์ • การจำแนกชนิดของไข่ • 1. ใช้ปริมาณของไข่แดง (amount of yolk) ในการจำแนกชนิดของไข่ แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ • - ไข่ชนิดอะเลซิทัล (alecithal egg) หมายถึง ไข่ที่มีไข่แดงสะสมอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย • - ไข่ชนิดไมโครเลซิทัล (microlecithal egg) เป็นไข่ที่มีไข่แดงสะสมอยู่เล็กน้อย • - ไข่ชนิดมีโซเลซิทัล (mesolecithal egg) หมายถึง ไข่ที่มีไข่แดงสะสมอยู่พอสมควร ได้แก่ ไข่ของพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ไข่ของปลากระดูกแข็ง • - ไข่ชนิดพอลิเลซิทัล (polylecithal egg) หมายถึง ไข่ที่มีไข่แดงบรรจุเป็นอาหารสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก • 2. ใช้การแพร่กระจายของไข่แดง (distribution of yolk) ในการจำแนกชนิดของไข่ โดยวิธีนี้ • แบ่งไข่ออกเป็น 2 แบบ คือ • - ไข่ชนิดไอโซเลซิทัล (isolecithal egg) เป็นไข่ที่มีการแพร่กระจายของไข่แดงในไซโทพลาซึมอย่างสม่ำเสมอไข่แบบนี้มักมีขนาดเล็ก ได้แก่ ไข่ของดาวทะเล เม่นทะเล • - ไข่ชนิดเทโลเลซิทัล (telolecithal egg) เป็นไข่ที่มีไข่แดงรวมตัวกันอยู่ ทางด้านใดด้านหนึ่งของไข่ เราจะแบ่งไข่ออกเป็น 2 ส่วน โดยถือเอาการรวมตัวของไข่แดงเป็นหลักในการแบ่งด้านบนของไข่จะมีไข่แดงน้อยจะมีนิวเคลียสอยู่ด้วย เรียกบริเวณว่า “แอนิมัลโพล (animal pole) ” ส่วนด้านล่างจะมีไข่แดงสะสมอยู่มาก เรียกว่า “วีจีทัลโพล (vegetal pole) ” ไข่แดงมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์มาก

  4. รูปแสดงชนิดของไข่

  5. isolecithal egg telolecithal egg

  6. รูปแสดงไข่ชนิดเทโลเลซิทัล(telolecithal egg)

  7. ข. การแบ่งเซลล์ของไซโกต • 1. คลีเวจ (cleavage)เป็นการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของไซโกตทั้งในแนวดิ่งและแนวขวาง • การแบ่งเซลล์ของคลีเวจมี 2 แบบ คือ • - แบ่งตลอดเซลล์ไซโกต (holoblastic cleavage) • - แบ่งไม่ตลอดเซลล์ไซโกต (meroblastic cleavage)

  8. รูปแสดงคลีเวจของเม่นทะเลเป็นชนิดแบ่งตลอดเซลล์ไซโกตรูปแสดงคลีเวจของเม่นทะเลเป็นชนิดแบ่งตลอดเซลล์ไซโกต

  9. รูปแสดงคลีเวจของนกพิราบเป็นชนิดแบ่งไม่ตลอดเซลล์ไซโกตตั้งแต่ (a) - (f)

  10. 2. บลาสทูลา (blastula) เมื่อไซโกตถูกแบ่งให้เล็กลงโดยไม่มีการเพิ่มเนื้อที่ของเซลล์ผลสุดท้ายจะได้ เซลล์ใหม่ (blastomeres หรือ cleavage cell) ประมาณ 100 – 250 เซลล์แล้ว จะอัดตัวกันแน่นจนเป็นรูปทรงกลม (spherical shape) และจะมีการเคลื่อนตัวของเซลล์ ทำให้เกิดช่องกลวงขึ้นตรงกลาง (central cavity) ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่เต็ม เรียกช่องนี้ว่า “ บลาสโทซีล (blastocoel) ” ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของระยะบลาสทูลา ส่วนชั้นของเซลล์ที่ล้อมรอบบลาสโทซึมอยู่เรียกว่า “ บลาสโทเมียร์ (blastomere) ” 3. แกสทรูลา (gastrula)เป็นระยะที่บลาสทูลาที่มีเซลล์เพียงชั้นเดียว (single-layered blastula)มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปทรงกลมที่มีเซลล์ 2 ชั้น (double-layered sphere) ซึ่งจะเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นทางเดินอาหารในระยะนี้จะเกิดเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ขึ้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) เนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) **** ****

  11. รูปการเปลี่ยนแปลงใน ระยะแกสทรูลา

  12. 4. การเกิดรูปร่างของเอ็มบริโอ (embryogenesis)เป็นการเปลี่ยนแปลง เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ เป็นรูปร่างของเอ็มบริโอที่สมบูรณ์ต่อไป ซึ่งประกอบด้วย - อวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอก เช่นผิวหนัง (skin) , ส่วนของปาก , ระบบประสาท เป็นต้น - อวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง เช่นระบบกล้ามเนื้อ , โครงกระดูก , ระบบขับถ่าย , ระบบสืบพันธุ์ ,ระบบหมุนเวียนโลหิต เป็นต้น - อวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อชั้นใน เช่น ระบบทางเดินอาหาร , ระบบหายใจ , อื่นๆ เป็นต้น

  13. การเจริญระยะเอ็มบริโอของกบการเจริญระยะเอ็มบริโอของกบ ไข่กบมีลักษณะกลม ครึ่งบนมีสีเทาเข้มเกือบดำ ครึ่งล่างมีสีขาวเหลืองเป้นบริเวณที่มีไข่แดงซึ่งเป็นอาหารสะสมอยู่หนาแน่น ขณะไข่กบลอยน้ำด้านสีดำจะอยู่ด้านบน ทำให้กลมกลืนกับสีของผิวน้ำและรับความร้อนจากแสงสว่างได้ดี ด้านที่มีสีขาวเหลืองอละมีไข่แดงหนาแน่นจะหนักกว่า จึงอยู่ด้านล่าง ไข่กลมเมื่อถูกผสมจากอสุจิเป็นไซโกตแล้ว ก็จะแบ่งเซลล์แบบไมโทซีสจาก 1 เป็น 2 4 8 ไปเรื่อยๆ โดยที่ขนาดของเซลล์เล็กลงทุกที ในขณะที่จำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นระยะนี้เรียกว่า คลีเวจ (cleavage) จนได้เอ็มบริโอรูปร่างคล้ายน้อยหน่าเรียกว่า มอรูลา (morula) จากนั้นเซลล์ที่อยู่ด้านในจะเคลื่อนที่แยกออกจากกันทำให้เกิดช่องว่างขึ้น ระยะนี้เรียกว่า บลาสทูลา (blastula) และต่อมาพบว่าเซลล์ที่อยู่ด้านบนจะมีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วกว่าเซลล์ที่อยู่ด้านล่าง มีผลทำให้เซลล์ด้านบนเคลื่อนที่ลงมาคลุมด้านล่างไว้ พร้อมทั้งดันเซลล์ด้านล่างให้บุ๋มเข้าไปข้างบน แล้วเซลล์ด้านบนที่แบ่งลงมาก็เคลื่อนที่ตามเข้าไป ผลจากการเคลื่อนย้ายเซลล์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว มีผลทำให้เซลล์ต่าง ๆ ของตัวอ่อนเรียงกันเป็นชั้น ๆและมีช่องใหม่เกิดขึ้นคือ แกสโทรซีส (gastrocoel) ซึ่งบริเวณปากช่องแกสโทรซีสคือบลาสโทพอร์ ซึ่งทั้งส่วนจะเจริญเป็นทางเดินอาหาร โดยพบว่าส่วนของบลาสโทพอร์จะเจริญเป็นทวารหนัก ส่วนตรงข้ามกับบลาสโทพอร์ จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นปาก ดังนั้นกบจึงเป็นสัตว์ที่มีทวารหนักเกิดก่อนปาก (dueterostrome) ในขณะที่บลาสโทซีสจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ เนื่องจากถูกเบียดจนแฟบและหายไปในขณะที่

  14. EggCleavage MorulaBlastula Glastrula ภาพการเจริญในระยะต่าง ๆ ของเอ็มบริโอกบ

  15. การเจริญระยะเอ็มบริโอของไก่การเจริญระยะเอ็มบริโอของไก่ เซลล์ของไข่ไก่คือส่วนที่เรียกว่าไข่แดงเท่านั้น ไข่ขาวและเปลือกไข่เป็นส่วนประกอบที่อยู่ภายนอกเซลล์ ไก่มีการปฏิสนธิภายในตัว(internal fertilization) อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ก่อนที่จะมีการไข่ขาวและเปลือกไข่มาหุ้ม เซลล์ของไข่ไก่จะเต็มไปด้วยไข่แดง มีเพียงบริเวณเล็ก ๆ ใกล้ ๆผิวเซลล์เท่านั้นที่ไม่มีไข่แดงอยู่ ส่วนเล็ก ๆนี้มีนิวเคลียสและไซโทพลาซึมอยู่ (germinal spot) ไข่แดงเป็นอาหารสะสมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ในแวคิวโอลของเซลล์ (food vacuole)เมื่ออสุจิเข้าปฏิสนธิกับนิวเคลียสของไข่ก็จะได้ไซโกตและคลีเวจทันที การแบ่งเซลล์นี้จะเกิดจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนได้เอ็มบริโอระยะมอรูลา บลาสทูราและแกสทรูลา ตามลำดับซึ่งจะทำให้จุดบนไข่แดงเกิดเป็นบริเวณกว้างขึ้น เรียกว่า germinal disc หรือ embryonic disc แกสทรูลาของเอ็มบริโอได้เริ่มด้วยการแยกชั้นของเซลล์ในระยะบลาสทูลาออกเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเรียกว่า เอพิบลาสต์ (epiblast) ซึ่งจะเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อชั้นนอก ส่วนชั้นล่าง (hypoblast) ซึ่งจะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อชั้นในช่องระหว่างชั้นทั้งสองเรียกว่า บลาสโทซีล (blastocoel) ระยะแกสทรูลาจะเกิดการเคลื่อนที่ของเซลล์ชั้นเอพิบลาสต์เข้าไปใน ช่องบลาสโทซีล ซึ่งจะเจริญพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อชั้นกลาง

  16. เนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้นจะเจริญไปเป็นอวัยวะต่างของไก่ นอกจากเจริญไปเป็นอวัยวะต่าง ๆแล้วยังเจริญไปเป็นโครงสร้างที่อยู่นอกเอ็มบริโอ (extraembryonic structure)4 อย่างคือ ถุงไข่แดง (yolk sac) ถุงน้ำคร่ำ (amnion) คอเรียน (chorion) และแอลแลนทอยส์ (allantois) โครงสร้างเหล่านี้จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ออกลูกเป็นไข่ 1. ถุงไข่แดง (yolk sac) ภายในบรรจุอาหารคือไข่แดงไว้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมาย โดยนำอาหารไปเลี้ยงตัวอ่อน ถุงไข่แดงเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นในและบางส่วนของเนื้อเยื่อส่วนกลาง เจริญแผ่ลงไปล้อมรอบไข่แดงซึ่งอยู่ข้างล่างแล้วมีการสร้างเส้นเลือดเพื่อลำเลียงอาหารจากเซลล์เอนโดเดอร์มัล (endodermal cell) ไปเลี้ยงตัวอ่อน 2. แอนแลนทอยส์ (allantois)เจริญจากเนื้อเยื่อชั้นใน ส่วนเนื้อเยื่อชั้นกลางเจริญเป็นเส้นเลือดไปเลี้ยงถุงแอนแลนทอยส์จะค่อยๆ เจริญออกจากตัวเอ็มบริโอแทรกชิดไปกับเปลือกไข่ ถุงแอนแลนทอยส์ทำหน้าที่ แลกเปลี่ยนแก๊สกับภายนอกและเก็บของเสียพวกกรดยูริก (uric acid) ซึ่งเอ็มบริโอขับออกมา เมื่อเอ็มบริโอมีอายุมากขึ้น ถุงแอนแลนทอยส์ก็มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

  17. 3. ถุงน้ำคร่ำ (amnion)และคอเรียน (chorion) ถุงทั้งสองเกิดจากการพับซ้อน (folding) ของเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นกลาง เรียกว่า แอมนิโอติกโฟลด์ (amniotic fold) การพับซ้อนโดยการยกตัวขึ้นไปเหนือเอ็มบริโอ แล้วเคลื่อนที่ไปเชื่อมกันเป็นถุงน้ำคร่ำ ต่อมามีการหลั่งของเหลวเข้าไปในถุงทำให้ถุงมีขนาดใหญ่ขึ้น เอ็มบริโอจึงลอยตัวอยู่อย่างอิสระ เป็นการช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนจากภายนอกให้แก่เอ็มบริโอ เยื่อด้านในที่เชื่อมกันคือถุงน้ำคร่ำอยู่ใกล้เอ็มบริโอ ส่วนเยื่อด้านนอกคือคอเรียนหุ้มอยู่รอบนอกโดยล้อมรอบเอ็มบริโอและโครงสร้างที่อยู่นอกเอ็มบริโอทั้งหมดไว้ระหว่างถุงน้ำคร่ำและคอเรียนเป็นช่องเรียกว่า ช่องคอริโอนิก (chorionic cavity) ซึ่งติดต่อไปถึงช่องเอ็มบริโอได้ 4. เปลือกไข่ (shell) ทำหน้าที่ป้องกันส่วนประกอบทั้งหมดภายในไข่และป้องกันการสูญเสียน้ำได้อย่างดีทำให้ภายในไข่ดำรงสภาพปกติไว้ได้ **** ****

  18. ภาพแสดงการพัฒนาของเอ็มบริโอไก่ภายในไข่ในช่วงเวลาต่าง

  19. การเจริญระยะเอ็มบริโอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมการเจริญระยะเอ็มบริโอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การเจริญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะแตกต่างไปจากสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆมาก เนื่องจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีการปรับตัวโดยมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่วางไข่บนบก โดยมีเจริญในตัวแม่ แต่ยังคงได้อาหารจากไข่แดงที่มีอยู่ในเซลล์ไข่ และมีคลีเวจแบบไม่ตลอดเซลล์ของไซโกต เช่นเดียวกับที่พบในสัตว์เลื้อยคลาน จึงเป็นหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีบรรพบุรุษที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นมา เริ่มมีการเจริญของเอ็มบริโอ ในตัวแม่โดยอาศัยอาหารจากผนังมดลูกของแม่ ไข่แดงในเซลล์ไข่จึงลดความสำคัญลงไป สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชั้นสูงเช่น กระต่าย ลิง และคน จึงมีเซลล์ไข่ซึ่งไม่มีไข่แดงอยู่เลย การเจริญของเอ็มบริโอ อาศัยอาหารจากเลือดแม่ส่งผ่านทางรก (placenta) การสร้างรกจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของการเจริญซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ อย่างไรก็ตามหลังจากการฝังตัวของเอ็มบริโอ และเริ่มสร้างรกแล้ว เอ็มบริโอ จะมีอวัยวะขั้นต้นครบถ้วน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีการสร้างโครงสร้างที่อยู่นอกเอ็มบริโอทั้ง4อย่างเช่นเดียวกับในสัตว์เลื้อยคลานแต่วิธีการสร้างอาจแตกต่างกันไป จะเห็นได้ว่าโครงสร้าง ซึ่งมีความสำคัญต่อสัตว์ที่วางไข่บนบกมีวิวัฒนาการมาถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย แต่มีการเจริญที่ดัดแปลงไปเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพภายในมดลูกของแม่

  20. การเจริญเติบโตหลังระยะเอ็มบริโอของสัตว์การเจริญเติบโตหลังระยะเอ็มบริโอของสัตว์ สัตว์บางชนิดเช่น แมลงและกบ มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะเจริญเติบโต โดยรูปร่างขณะที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัยแตกต่างกันมาก เรียกการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ว่า เมทามอร์โฟซิส (metamorphosis) 1. เมทามอร์โฟซิสของแมลง แบ่งออกเป็น 4 แบบคือ 1.1 ไม่มีเมทามอร์โฟซิส (without metamorphosis หรือ ametamorphosis) ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีรูปร่างเหมือนกับพ่อแม่ทุกอย่าง แล้วตัวอ่อนก็ค่อย ๆ เจริญเติบโตแล้วลอกคราบเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป เช่น แมลงสามง่าม แมลงหางดีด

  21. 1.2 มีเมทามอร์โฟซิสแบบค่อยเป็นค่อยไป (gradual metamorphosis)ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่มีรูปร่างคล้ายพ่อแม่ แต่มีอวัยวะบางอย่างไม่ครบ เช่น ไม่มีปีก เมื่อแมลงโตขึ้นและลอกคราบปีกจะเริ่มงอกขึ้นเรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า นิมฟ์ (nymph) ต่อจากนั้นก็จะมีการลอกคราบหลายครั้งและเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป เช่น ตั๊กแตน แมลงสาบ ปลวก เหา ไร่ไก่ จักจั่น

  22. 1.3 มีเมทามอร์โฟซิสแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis)มีลักษณะคล้ายแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ขณะที่เจริญเติบโตนั้น มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างมากกว่า ตัวอ่อนมักเจริญอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือกเรียกว่า ไนแอด (naiad) ต่อจากนั้นตัวอ่อนจะลอกคราบขึ้นมาอยู่บนบกและหายใจด้วยระบบท่อลม เช่น ชีปะขาว แมลงปอ

  23. 1.4 มีเมทามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis)โดยมีการเจริญเปลี่ยนแปลงรูปร่างของร่างกาย เป็น4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ ไข่ (egg) แล้วฟักเป็นตัวอ่อนหรือตัวหนอน(larva) ซึ่งกินอาหารเก่งมากและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่อจากนั้นจึงเป็นดักแด้ (pupa) หยุดกินอาหารมักใช้ใยหรือใบไม้หุ้มตัวและฟักตัวอยู่ระยะหนึ่ง ตัวเต็มวัย (adult) ออกจากเกราะและสืบพันธุ์ได้ต่อไป เช่น ด้วง ผีเสื้อ แมลงวัน ยุง ผึ้ง ไหม

  24. รูปแสดงการเจริญเติบโตของยุงรูปแสดงการเจริญเติบโตของยุง

  25. ไข่ ลูกอ๊อด ลูกกบ 2. เมทามอร์โฟซิสของกบ กบมีการผสมพันธุ์และวางไข่ในน้ำ ซึ่งตามปกติแล้วฤดูผสมพันธุ์นั้นคือฤดูฝน ไข่ไม่มีเปลือกหุ้มแต่มีวุ้นหุ้มอยู่รอบ ๆ หลังจากปฏิสนธิตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่เป็นลูกอ๊อด (tadpole)ว่ายน้ำและหายใจด้วยเหงือกซึ่งอยู่ภายนอก (external gill) มีการงอกขาหลังและขาหน้าตามลำดับ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยส่วนหางหดสั้นเข้า ขึ้นมาอาศัยอยู่บนบกได้ หายใจด้วยปอดและผิวหนังแทนเหงือก พออายุได้ 3 ปีก็จะเป็นกบที่สมบูรณ์และสืบพันธุ์ได้ต่อไป

  26. การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน คือ 1. ระยะไข่ตก (Ovulation)ได้แก่ ระยะ 2 สัปดาห์แรก ปกติเดือนหนึ่งจะมีไข่ตกเพียง 1 ฟอง โดยประมาณช่วงกลางของรอบเดือน (วันที่ 12 -16) ไข่จะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในท่อนำไข่ (ส่วนโป่ง) ถ้ามีการร่วมเพศในระยะนั้น อสุจิตัวหนึ่งจากจำนวนหลายล้านตัว จะเข้าผสมกับไข่ แล้วมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก 1 เป็น 2 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 เป็นต้น เมื่อมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น จะโตเป็นก้อนดูคล้ายผลน้อยหน่า ระยะนี้เรียกว่า ระยะมอรูลาร์ (morular) แล้วผ่านเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ (blastocyst) ซึ่งเป็นระยะที่ไข่ผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและฝังตัว ตำแหน่งที่ไข่ฝังตัวนี้จะกลายเป็นรกในเวลาต่อมา เพื่อเป็นสื่อนำอาหารจากมารดามาเลี้ยงทารก ในขณะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ 2. ระยะคัพภะ (Embryo)ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3-7 หรือ 8 เป็นระยะที่มีการสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย (organogenesis) เช่น หัวใจ ตา หู ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ แขน ขา เป็นต้น ระยะนี้เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุด สำหรับการติดเชื้อหรือการกินยาบางอย่าง เพราะอาจทำให้เด็กที่เกิดมานั้นพิการได้

  27. 3. ระยะตัวอ่อน (Fetus)ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ 7 หรือ 8-40 เป็นระยะของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นในระยะคัพภะ เพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์เมื่อตัวอ่อนคลอดมาเป็นทารก เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ในระยะตัวอ่อนนี้ เมื่ออายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ มีไขเคลือบทั่ว อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานได้ ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม เมื่ออายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,600-2,000 กรัม เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะ การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนด ถ้าคลอดในระยะนี้ มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น เมื่ออายุครรภ์ครบ 36 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 45 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2,000-2,400 กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไป แต่ยังมีไขเคลือบอยู่ อวัยวะต่าง ๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่ เมื่ออายุครบ 40 สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด อวัยวะต่าง ๆ ของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ควรน้อยกว่า 2,500 กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มารดารู้สึกว่า "ท้องลด" หายอึดอัด สลายขึ้น

  28. รูปแสดงการตกไข่ การเคลื่อนที่ของไข่ที่ได้รับการผสม การแบ่งเซลล์ของไซโกตและระยะเวลาของการเคลื่อนที่

  29. 1. ฝาแฝดแท้ (identical twins) หรือฝาแฝดร่วมไข่เป็นฝาแฝดที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการเป็นเพศเดียวกัน ฝาแฝดแบบนี้เกิดจากการผสมของไข่ใบเดียวและอสุจิตัวเดียว 2. ฝาแฝดเทียม (fraternal twins) หรือฝาแฝดต่างไข่ เป็นฝาแฝดที่มีลักษณะเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกันก็ได้ ฝาแฝดแบบนี้เกิดจากไข่ 2 เซลล์และอสุจิ 2 ตัว หรือมากกว่านี้ รูปแสดงการฝังตัวของบลาสโทซีสท์โดยเซลล์โทรโฟบลาสท์

  30. (a)

  31. (b)

  32. (c)

  33. (d)

  34. (e)

  35. (f)

  36. รูปแสดงการเจริญเอ็มบริโอของคนตั้งแต่เริ่มคลีเวจครั้งแรกจนถึงคลอดรูปแสดงการเจริญเอ็มบริโอของคนตั้งแต่เริ่มคลีเวจครั้งแรกจนถึงคลอด

  37. การเกิดฝาแฝด 1. ฝาแฝดแท้ (identical twins) หรือฝาแฝดร่วมไข่เป็นฝาแฝดที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการเป็นเพศเดียวกัน ฝาแฝดแบบนี้เกิดจากการผสมของไข่ใบเดียวและอสุจิตัวเดียว 2. ฝาแฝดเทียม (fraternal twins) หรือฝาแฝดต่างไข่ เป็นฝาแฝดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือ ต่างกันก็ได้ เป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกันก็ได้ ฝาแฝดแบบนี้เกิดจากไข่ 2 เซลล์และอสุจิ 2ตัวหรือมากกว่านี้ **** ****

  38. รูปแสดงการเกิดแฝดแท้และแฝดเทียมรูปแสดงการเกิดแฝดแท้และแฝดเทียม

  39. การเจริญเติบโตของคนระยะหลังคลอดการเจริญเติบโตของคนระยะหลังคลอด การเจริญเติบโตของคนหลังคลอด ส่วนใหญ่จะเป็นความสูงและน้ำหนักของร่างกาย นอกจากนี้ร่างกายแต่ละส่วนก็จะเจริญได้ไม่เท่ากัน สมองจะมีการเติบโตในตอนแรกมากแต่ในระยะหลังจะมีการเพิ่มการเติบโตน้อยมาก ส่วนหัวใจและร่างกายจะมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างจะมีความสัมพันธ์เป็นแบบเดียวกันคือเมื่อน้ำหนักร่างกายมากขึ้น ในคนการเติบโตของส่วนต่างๆในร่างกายจะไม่เท่ากัน ตอนที่เป็นตัวอ่อน(ฟีตัส)จะมีส่วนหัวใหญ่ แต่ส่วนขาจะสั้นมาก แต่เมื่อคลอดออกมาแล้วส่วนขาก็จะเริ่มขยายยาวขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นส่วนขาก็จะยาวขึ้นเป็นครึ่งหนึ่งของลำตัว **** ****

  40. กราฟแสดงการเพิ่มขนาดของอวัยวะและเนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายคนกราฟแสดงการเพิ่มขนาดของอวัยวะและเนื้อเยื่อบางส่วนของร่างกายคน จากกราฟจะเห็นได้ว่าสมองและศีรษะจะเจริญเติบโตมากในช่วงทารกอัตราการเพิ่มจะน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ขนาดของร่างกายจะเพิ่มเร็วมากขณะที่เป็นทารก หลังจากนั้นการเจริญเติบโตช้าลง แล้วเพิ่มมากอีกครั้งหนึ่งเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น

  41. สภาวะบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์สภาวะบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาหารมีความสำคัญต่อทารกในครรภ์มากเพราะไข่คนเป็นชนิดไข่แดงน้อย ดังนั้นแม่จึงต้องรับประทานอาหารให้ครบทั้ง5หมู่ให้เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกาย แคลเซียมซึ่งนำไปใช้ในการสร้างกระดูกของทารก วิตามินช่วยในการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ คาร์โบไฮเดรต และไขมันให้พลังงาน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีรกทำหน้าที่ในการให้อาหารแก่ลูกอ่อนที่อยู่ภายในมดลูก ทำให้ลูกได้รับอาหารและสิ่งจำเป็นต่างๆอย่างเพียงพอ การอุ้มท้องของสัตว์แต่ละชนิดจะกินเวลาแตกต่างกัน **** ****

  42. ตารางแสดงระยะเวลาการตั้งครรภ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดตารางแสดงระยะเวลาการตั้งครรภ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด

  43. รูปเด็กที่แม่ใช้ยาทาลิโตไมต์ ทำให้แขนขากุดและพิการ

  44. สารเคมีพวกเทอราโทเจน (teratogens) ทำให้การเจริญเติบโตของอวัยวะผิดปกติ มีผลต่อการเจริญของเอมบริโอในระยะ2เดือนแรกมาก เช่น ยากล่อมประสาททาลิโดไมด์ (thalidomide) มีผลทำให้การเจริญของแขนขาผิดปกติ ทารกที่แม่ใช้ยาทาลิโดไมด์อาจทำให้แขนขากุดได้ การรักษาสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญมาก ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ระยะต้นติดเชื้อหัดเยอรมันจะทำให้ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตของสมอง หูส่วนใน เลนส์ตา และกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งครรภ์ในระยะแรก การได้รับรังสีเอ็กซ์ (x-ray) จากการเอ็กซเรย์มากเกินไปก็มีผลต่อการเจริญเติบโตและทำให้เกิดการผิดปกติของทารกได้เช่นกัน

  45. ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอและลูกอ่อนปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอและลูกอ่อน ก. อาหาร ข. การคุ้มภัยให้เอ็มบริโอและลูกอ่อน การคุ้มภัยให้ลูกอ่อนแบ่งออกเป็น2วิธี คือ 1. เอ็มบริโอที่เจริญนอกตัวแม่ เอ็มบริโอพวกนี้จะต้องมีส่วนที่ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เอ็มบริโอที่อยู่ภายใน เช่น ไข่ไก่ ไข่กบ 2. เอ็มบริโอที่เจริญภายในตัวแม่ เอ็มบริโอพวกนี้จะมีความปลอดภัยสูงมากเพราะแม่จะเป็นตัวคุ้มภัยให้

More Related