1 / 124

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น Introduction to Logic ( Ph.๑๒๑ )

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น Introduction to Logic ( Ph.๑๒๑ ). รักคนชอบเข้าเรียนนะครับ. Yes. No. ผศ. โกเมนทร์ ชินวงศ์. E-mail: komentr.c @ ku.ac.th Tel. : ๐๒-๕๗๙๖๕๒๕-๒๖ ต่อ๑๑๓. แผนการสอน( Course Syllabus ). http :// philos - reli . hum . ku . ac . th /. โลกทัศน์การคิดแนวตะวันตก

awen
Download Presentation

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น Introduction to Logic ( Ph.๑๒๑ )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตรรกศาสตร์เบื้องต้นIntroductionto Logic(Ph.๑๒๑) รักคนชอบเข้าเรียนนะครับ Yes No ผศ. โกเมนทร์ ชินวงศ์ E-mail: komentr.c @ ku.ac.th Tel.: ๐๒-๕๗๙๖๕๒๕-๒๖ ต่อ๑๑๓

  2. แผนการสอน(Course Syllabus ) http://philos-reli.hum.ku.ac.th/ • โลกทัศน์การคิดแนวตะวันตก • ตรรกะนิรนัย- ตรรกะอุปนัย - เหตุผลวิบัติ • กระบวนการของความคิด :เรื่องเทอม - ประโยคตรรกะ • การพิสูจน์ความสมเหตุสมผลที่แสดงออกมาในรูปการอ้างเหตุผลแบบนิรนัยและอุปนัย • การอธิบายเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และการใช้ภาษาในเหตุผลทั่วไป(การนิยาม) • การตัดสินความน่าเชื่อถือ : เหตุผลวิบัติ • โลกทัศน์การคิดแบบตะวันออก • ตรรกะแนวพุทธ • หลักกาลามสูตร 10 • การคิดเชิงปฏิบัติการ (practical thinking):โยนิโสมนสิการ 10

  3. วัตถุประสงค์ของวิชา 1.เพื่อความเข้าใจในกฎเกณฑ์การอ้างเหตุผลอย่างถูกต้อง 2.เพื่อฝึกฝนการรู้จักใช้ความคิดอย่างถูกต้องตามหลักการอ้างเหตุผล 3.เพื่อฝึกวุฒิปัญญาและสามารถนำหลักการอ้างเหตุผลประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้ 4.เพื่อความเข้าใจในวิชาตรรกศาสตร์อันเป็นรากฐานของวิชาการแขนงต่าง ๆ การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์:โดยมีแนวคิดอยู่บนทฤษฎีการเรียนเพื่อรอบรู้ ที่ว่าด้วยการให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถอะไร และทำอะไรได้บ้าง คะแนนที่ได้จากแบบการทดสอบ ใช้แทนความรู้ความสามารถของผู้เรียนในขอบเขตของเนื้อหาที่สำคัญของวิชานี้

  4. คะแนนรวม ๑๐๐ % จาก: การมีส่วนร่วมในการเรียน: - การเข้าเรียน ๑๐ % การทำกิจกรรมการเรียน - แบบฝึกหัดตลอดเทอม ๕ % การสอบ สอบกลางภาค ๔๐ % สอบปลายภาค๔๐ % เกณฑ์จุดตัดของแต่ละเกรด เกรด Aช่วงคะแนน เกรด B+ช่วงคะแนน ๗๕-๗๘ เกรด Bช่วงคะแนน ๗๐-๗๔ เกรด C+ ช่วงคะแนน ๖๕-๖๙ เกรด Cช่วงคะแนน ๖๐-๖๔ เกรด D+ช่วงคะแนน ๕๕-๕๙ เกรด Dช่วงคะแนน ๕๐-๕๔ เกรด F ช่วงคะแนน ๐๐-๔๙ ตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ ๗๙-๑๐๐ - ผู้ที่เข้าเรียนไม่ขาดเลย +๕ % ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 90/90 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมง http://philos-reli.hum.ku.ac.th/

  5. คณิตศาสตร์เป็นการใช้เหตุผลในตัวเลขคณิตศาสตร์เป็นการใช้เหตุผลในตัวเลข ตรรกศาสตร์เป็นการใช้เหตุผลในภาษา ตรรกศาสตร์คืออะไร? ตรรก+ศาสตร์ มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ตกฺก / ตรฺกแปลว่า การตรึกตรอง การคิด Logic มาจากภาษากรีก • Logos แปลว่าคำพูดแทนสิ่งที่เข้าใจในความคิด • (มโนภาพ / มโนทัศน์ / โลกทัศน์ ) * มนุษย์มีวิธีการคิดและการเรียนรู้ โดยการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อ... สร้างคุณค่า ให้ความหมาย กำหนดท่าทีและการปฏิบัติที่เหมาะสม • เช่นเมื่อเห็นภาพ.....ทำให้นึกถึง........ • การเกิดมโนทัศน์จากการอ่านข้อความต่าง ๆที่รับรู้

  6. มโนทัศน์ทางตรรกศาสตร์ : สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า: “โลกอันความคิดย่อมนำไป” .โสเครติส : “Unexamined life is not worth living.” .เรเน่ เดคาร์ตท์: “ I think therefore I am.” .แจ็ค เวลซ์ : “จงเปลี่ยนแปลง(ความคิด)ก่อนจะถูกบังคับให้เปลี่ยน” พระมูฮัมมัดกล่าวว่า “แน่แท้การกระทำย่อมเป็นไปตามแรงผลักดัน และความตั้งใจทั้งสิ้น” *โลกไม่ได้เปลี่ยนเพราะกำลังหรืออำนาจแต่โลกเปลี่ยนไปเพราะนักคิด *การคิดมีผลกระทบต่อการวางแผนและเป้าหมายของชีวิตเรา และต่อการตัดสินใจของเรา (นิรนาม) “เราไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อที่จะคิด ในทางตรงข้ามเราจำเป็นต้องคิดเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่” (J.O Gasset)

  7. ถามว่า บทที่ ๒ ความคิด (Thought) การคิดคืออะไร

  8. การคิด (Thinking) เป็นเครื่องมือ มนุษย์ใช้”การคิด”เป็นเครื่องมือในการพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เป็น” ”สำหรับแก้ไขการดำรงชีวิตของตน ปัญหา

  9. การคิด (THINKING) คือการจัดระบบ ของข้อมูล ที่ได้มาให้เป็นระเบียบ (ความสัมพันธ์กัน) ข้อเท็จจริง (Fact)

  10. การคิดเหมือนการเรียงอิฐการคิดเหมือนการเรียงอิฐ คนคิดเป็นเหมือนคนเรียงอิฐอย่างเป็นระเบียบ คนคิดไม่เป็นเหมือนคนโยนอิฐเข้ามากองกัน

  11. จุดกำเนิดของความคิด : สมอง จะออกข้อสอบนะค่ะ “มนุษย์ยังคงเป็นคอมพิวเตอร์ที่วิเศษสุด กว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ทั้งหมด” 1. สมองส่วนที่ทำหน้าที่เหมือนสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชื่อ(เซ็นทรัล คอร์) 2. สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบการคิดและการใช้เหตุผล ชื่อ(ซีรีบรัล คอร์เท็กซ์)

  12. สมองส่วนที่ 2 นี้เองที่แยกมนุษย์ให้ต่างจากสัตว์อย่างชัดเจน มีอยู่ประมาณ 70% ของสมองทั้งหมด แยกออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ (Feldman, 1996) 1. ฟรอนทอลโลบ (Frontal Lobe) คือ สมองสวนหน้า ควบคุมกล้ามเนื้อ การรับรู้อารมณ์ ความรู้สึก การเรียนรู้ ความจำ ความฉลาด และคำพูด 2. พารายทอลโลบ (Parietal Lobe) คือ สมองส่วนข้าง รับความรู้สึกทางประสาทสัมผัส 3. เทมโพราลโลบ (Temparal Lobe) คือ สมองส่วนขมับ เกี่ยวกับการได้ยิน พฤติกรรม ความจำ ภาษา การได้กลิ่น ความจำระยะยาว การเรียนรู้ อารมณ์ 4. ออกซิปิทอลโลบ (Occipital Lobe) คือ สมองส่วนท้ายทอย เกี่ยวกับระบบการมองเห็น

  13. หน้าที่ของสมอง สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา ทำหน้าที่ในเรื่องของ ความเข้าใจ การเห็นภาพสามมิติ ความรู้สึกทางด้านสุนทรียะด้านศิลปะ ดนตรี และการใช้จินตนาการในการดำเนินชีวิต การควบคุมการทำงานมือซ้าย ทำหน้าที่ในเรื่องของ การใช้ภาษา การเขียน การอ่าน ทักษะด้านตัวเลข การให้เหตุผล การควบคุม การพูด ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ การควบคุมการทำงานมือขวา

  14. โคลงโลกนิติ • เป็นคนคิดแล้วจึง เจรจา • อย่าลนหลับตา แต่ได้ • เลือกสรรหมั่นปัญญา ตรองตรึก • สติรอบให้ ถูกแล้วจึงทำ

  15. กฎการใช้ความคิด (หน้าที่ 9) • จะได้เรียนอย่างละเอียดข้างหน้าครับ ๑. กฎแห่งความเป็นเอกลักษณ์ “สิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง” ๒.กฎแห่งความไม่ขัดแย้ง “สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เป็นในสิ่งที่ตรงกันข้าม” ๓.กฎแห่งการไม่มีตัวกลาง “สิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องเป็นหรือไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง” ๔.กฎแห่งความเป็นเหตุผล“สิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องมีมาจากเหตุและผลเสมอ”

  16. กฎแห่งความคิด คือกฎการใช้เหตุผล เป็นมูลบท (Postulation) ข้อตกลงหรือกติกาหรือความเชื่อร่วมกันที่ใช้เป็นหลักยึดในเบื้องต้น โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์หาเหตุผล ของตรรกศาสตร์ กฎการใช้เหตุผล กฎแห่งความคิด ๑. กฎเอกภาพ / กฎแห่งเอกลักษณ์ (The Low of Identity) การใช้ความคิดต้องเอกภาพ เมื่อเรากล่าวหรือครุ่นคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเราต้อง ความหมายที่แท้จริงของเทอม ก) หมายถึงสิ่งนั้นตลอดเวลา ข) คุณสมบัติของสิ่งที่หมายถึงคงที่ไม่เปลี่ยนเลย

  17. กฎ :สิ่งที่อยู่ในประเภทเดียวกันย่อมอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันเสมอ ตัวอย่าง - มะขามทุกต้นเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง - สิ่งมีชีวิตทุกชนิดย่อมต้องการอาหารในการดำรงชีวิต - ถ้า ก คือ ข ... ก ก็ไม่ใช่สิ่งทีไม่ใช่ ข ทุกชนิด นั่นคือ สิ่งที่ไม่ใช่ ข ทุกอย่างถือว่าไม่ใช่ ก - น้ำทะเลต้องเค็ม น้ำทะเลเป็นน้ำเค็ม

  18. สูตร : A is B (ทุกสิ่งที่กำหนดลงตัวแล้ว จะไม่มีความหมายปฏิเสธในตัวเองอีกว่าเป็นสิ่งอื่นจากสิ่งนี้) ‘Everything determination is negation’ แนวคิดการทำให้โลกเหลือขั้วความคิดเดียว/อุดมการณ์เดียว: ทุนนิยมหรือคอมมิวนิสต์ ประชาธิปไตยหรือเผด็จการ

  19. ความขัดแย้งในทางตรรกศาสตร์หมายถึง การปฏิเสธในสิ่งเดียวกัน ๒. กฎความไม่ขัดแย้ง (The Law of non contradiction) การใช้ความคิดต้องไม่ขัดแย้งกันเอง ในประโยคเดียวประธานตัวเดียวกันที่เชื่อมด้วยสันธาน “และ” , “แต่” / “ . ” ความจริงกับความเท็จจะถูกต้องพร้อมกันไม่ได้ ในกรณีนี้ถ้าประโยคหนึ่งจริง อีกประโยคต้องเท็จ สูตร : A cannot be both p and ~ p หรือ ~ p (p . ~ P)

  20. ตัวอย่าง แม้ว่าเขาจะไม่เป็นคนกล้าหาญแต่เขาก็เป็นคนซื่อสัตย์ ( a ไม่เป็น b . a เป็น c ) = ไม่ขัดแย้ง การโกหกเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ (ดี) และไม่มีประโยชน์ (ไม่ดี) = ขัดแย้ง ( a เป็น b. a ไม่เป็น b) = ขัดแย้ง

  21. ไม่มีสิ่งที่ 3 ระหว่างความจริงกับความเท็จของข้อเท็จจริง ๓. กฎความไม่มีตัวกลาง (ทางเลือกใหม่ / ข้อความใหม่) (The Law of Excluded Middle) เกี่ยวกับภาวะที่ขัดแย้งของสิ่งหนึ่งหรือกรณีหนึ่ง ๆ หรือปัญหาหนึ่ง ๆ ที่เกิดมีความเห็นให้เลือกเป็น 2 ประเด็น กรณีใดกรณีหนึ่งต้องเป็นจริง อีกอย่างหนึ่งต้องเป็นเท็จ ต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียวจะไม่มีกรณีที่สามให้เลือก

  22. ตัวอย่าง - 5 จะต้องเป็นจำนวนคี่หรือจำนวนคู่อย่างใดอย่างหนึ่ง - เปรตมีจริงหรือไม่ก็ไม่มีอยู่จริง • ไม่เป็นความจริงที่กล่าวกันว่าในคน ๆ เดียวกัน ทั้งเชื่อหรือไม่เชื่อว่ามีชีวิตหลังความตาย สูตร : A is either p or not pหรือ A(p v ~p)

  23. ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดอย่างไม่มีสาเหตุไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดอย่างไม่มีสาเหตุ ๔. กฎเหตุผล (The Law of Causality) กฎนี้เพิ่มเข้ามาเพื่อแสดงความถูกต้องตามกฎแห่งเหตุผล / กฎธรรมชาติ ตัวอย่าง - ถ้าแผ่นดินไหวต้องมีการสั่นสะเทือน - มีกลางวันและกลางคืน เพราะโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ - เพราะมีการเกิดจึงมีการตาย สูตร :P ===> Q (ถ้า พี ก็ คิว)

  24. กฎเกณฑ์ที่เรียกกันต่าง ๆ ของโลก “ผู้ทำความดีแม้จะไม่พึงหวังผลตอบแทน แต่การกระทำของเขา ก็ต้องยังผลให้เกิดขึ้นแก่เขาแน่นอน” = ปรัชญา * บางคนเรียกกฎนี้ว่า พระเจ้า (God) * บางคนเรียกกฎนี้ว่า กฎแห่งกรรม / บาป - บุญ * ตรรกศาสตร์ เรียกว่า กฎแห่งเหตุและผล = ศาสนา = วิทยาศาสตร์

  25. วิธีการนำเสนอความคิด 1.เชิงบรรยาย 2.เชิงพรรณนา 3.เชิงอธิบาย 4.เชิงชวนให้เชื่อ สาธยาย/บอกเล่า

  26. การเสนอความคิด เชิงบรรยาย การบอก/เล่าเรื่อง(เหตุการณ์) ตามความเป็นจริง(ข้อเท็จจริง) เพื่อให้ผู้ฟังทราบเรื่องนั้น

  27. การบอกเล่าความรู้สึกเพื่อให้ผู้ฟังการบอกเล่าความรู้สึกเพื่อให้ผู้ฟัง เกิดอารมณ์คล้อยตาม การเสนอความคิด เชิงพรรณนา

  28. การเสนอความคิด เชิงอธิบาย การเล่า/ขยายเรื่อง(เหตุการณ์)เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจความสัมพันธ์(ของข้อเท็จจริง) อย่างเป็นระบบ

  29. การเสนอความคิด เชิงชวนให้เชื่อ การอ้างหลักฐาน มาสนันสนุนข้อสรุปว่าเป็นจริงเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความมั่นใจ

  30. การนำเสนอความคิดเชิงชวนให้เชื่อการนำเสนอความคิดเชิงชวนให้เชื่อ การนำเสนอความคิดเชิงอธิบาย การใช้เหตุผล การนำเสนอเหตุผลของมนุษย์

  31. เทอม ประพจน์และช่วงความคิด ความคิดแสดงมาออกเป็นภาษา ๓ อย่าง อำนาจคือสมรรถนะ • เทอม (Term): อำนาจในการรับรู้ เช่น คน มหาวิทยาลัย ต้นไม้ แผ่นดินไทย สุนัข ฯลฯ • ประโยค (Proposition): อำนาจในการเทียบเคียง เช่น เมืองไทย เป็นเมืองพระมหากษัตริย์ ฯลฯ ๓. ช่วงความคิด (Syllogism): อำนาจในการหาเหตุผล เช่น เพราะน้ำเพชรตั้งใจเรียนจึงได้ A รูปแบบช่วงความคิดที่สมบูรณ์คือ • ทุกคนที่ตั้งใจเรียน เป็น ผู้ได้ A • น้ำเพชร เป็น ผู้ตั้งใจเรียน • ∴น้ำเพชร เป็น ผู้ได้ A จะได้อธิบายในบทข้างหน้าครับ

  32. บทที่ 3 เทอม (Term) หมวดศัพท์ เทอมคือ สิ่งที่ถ่ายทอดจากความรู้ที่อยู่ในความคิด (Concept) ออกมาเป็นภาษาที่มีความหมาย เช่น คน แมว ปากกา น้ำตาลทราย กกต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สะพานพระราม๙ ตรรกศาสตร์เบื้องต้น โพไซดอน ฯลฯ ภาษาคือเครื่องมือสื่อกลางของ ตรรกศาสตร์ อำนาจในการรับรู้ (Power of Perception) = Concept > Term

  33. สมองสามารถสร้างมโนทัศน์(เทอม) สมองรับข้อมูลมาจะทำการแยกแยะ และจัดระเบียบเป็นหมวดหมู่และบันทึกหมวดหมู่หนึ่งๆ ที่คล้ายๆ กัน เรียกว่า “หนึ่งมโนทัศน์” เป็นภาพต้นแบบ (คือมโนภาพหรือจินตภาพ) มโนทัศน์ 2 แบบ คือ รูปธรรมกับนามธรรม

  34. มโนทัศน์รูปธรรม คือความจริงที่ทุกคนรู้ได้ มโนทัศน์นามธรรม คือกรอบโลกทัศน์ / ชีวทัศน์ ของแต่ละคน (ถูกหรือผิดก็ได้) กรอบโลกทัศน์ / ชีวทัศน์ คือสิ่งที่ทำให้แต่ละคนมีทัศนะต่อเรื่องเดียวกันแตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น มโนทัศน์เกี่ยวกับ “ความยุติธรรม” ความยุติธรรมของคุณคืออะไรคืออะไร?

  35. มโนภาพ (Concept) = ภาพ ความเข้าใจทั่ว ๆ ไป Ex. คน สุนัข ต้นไม้ ปลา สิ่งมีชีวิต จินตภาพ (Image) = ภาพ ความเข้าใจเฉพาะหน่วย Ex. แหม่ม ไอ้ตูบ ไม้ยาง ปลาวาฬ Concept / Image ==> มโนภาพ/จินตภาพหรือความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นมาในความคิดต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยมีภาษาเป็นสื่อแสดงออกมาเรียกว่า เทอม

  36. ตัวอย่างกระบวนการการทำงานของความคิดตัวอย่างกระบวนการการทำงานของความคิด ตัดสินสรุป/เข้าใจ ต้นแบบ สร้างมโนทัศน์ จัดเก็บ เทียบเคียง สมอง เนื้อหา นี้คือเต่า

  37. มโนภาพหรือจินตภาพแยกเป็นเทอม มี 2 ประเภท • (Without words, how dose one think ?) • สำหรับสัตว์ที่ไม่มีกล่องเสียงก็มีการสื่อสารทางภาษาร่างกาย / ใช้สารเคมี • เช่นผึ้งสื่อสารกันโดยการบิน • มดและต้นไม้หลายชนิดสื่อสารกันด้วยสารเคมี ก. เทอมกระจาย คือ 1- เทอมที่มีความหมายบ่งถึงสมาชิกทั้งหมดเช่น นิสิต ม.เกษตรฯ ทุกคน เป็นความหวังของแผ่นดิน 2- เทอมที่ระบุจำนวนจำกัดตายตัวเช่น มด 4 ตัวนี้ เป็น มดงาน 3- เทอมที่เป็นภาคแสดงของประโยคปฏิเสธในประโยคตรรก เช่น นักการเมืองบางคนคน ไม่เป็น คนขี้ขลาด 4- เทอมที่เป็นวิสามานยนาม เช่น สะเดา เชอรี่ น้ำเพชร อ้อย สะพานพระราม๙ ฯลฯ

  38. ข. เทอมไม่กระจาย คือ 1- เทอมที่มีความหมายบ่งถึงสมาชิกบางส่วนเช่น นิสิต ม.เกษตรฯ บางคน เป็น นักกีฬาทีมชาติ 2-เทอมที่เป็นภาคแสดงของประโยคยืนยัน เช่น คนไทยทุกคน เป็นคนรักชาติ

  39. ประโยคบอกเล่าเกิดจากเทอม +เทอม ได้ 1 ประโยค 1.ปี 2550คือ(เป็น)ปีแห่งการเฉลิมฉลองของคนไทย 2.ปี 2550ไม่เป็นปีที่คนไทยควรทะเลาะกัน 2. ประโยคเหตุผลเกิดจากเทอม + เทอม +เทอม (ได้ 3 ประโยค) ดังนั้น 3.ปีแห่งการฉลองของคนไทยไม่ควรเป็นปีที่คนไทยจะมาทะเลาะกัน

  40. แหล่งกำเนิดประโยคและเหตุผล ในชีวิตประจำวัน คนเราเสนอความคิดเพื่อจุดประสงค์อะไรบ้าง... • - เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึก • เพื่อแสดงความรู้ • เพื่อแสดงความเข้าใจ • -เพื่อความเชื่อถือและการยอมรับ (เหตุผล) แหล่งที่มาของประโยคทั้งหลาย ๑ . ประโยคเหตุผลเกิดจากอารมณ์ความรู้สึก… ๒ . ประโยคเหตุผลเกิดจากการสร้างกฎเกณฑ์ / ธรรมเนียมประเพณี… ๓ . ประโยคเหตุผลเกิดจากกฎแห่งเหตุผล / กฎแห่งธรรมชาติ…

  41. ภาษาประโยคบอกเล่าแยกตามจุดมุ่งหมาย 4 ประการ 1. รัฐบาลนี้เป็นทุนนิยมเผด็จการ ==> เชิงบรรยาย • เกิดเป็นผู้ชายถ้าไม่ดิ้นรน ไม่ต่อสู้ ค่าของความเป็นชาย... ถึงจะพอขายได้ก็ต้องแบกะดิน ==> เชิงพรรณา 3. ฉันได้เรียนฟรีเพราะได้ 5 A ==> เชิงอธิบาย (สมเหตุสมผล) ==>เชิงอธิบาย (ไม่สมเหตุสมผล) -เป๊ปซี่ดีที่สุด เพราะคนดื่มมาก 4. เป๊ปซี่ดีที่สุด เพราะคนดื่มมากแม้แต่เบ็คแฮมก็ยังดื่ม ==> เชิงชวนเชื่อ (ไม่สมเหตุสมผล) หนูไอซ์ไม่ยอมให้แฟนไปส่งเพราะเธอบอกว่ามีตีนเดินเองได้ ==> แสดงเหตุผล ( การทิ้งเหตุผล )

  42. ข้อความที่เป็นประโยคเหตุผลมีลักษณะ 3 ข้อคือ • มี 2 ข้อความสัมพันธ์ในรูปประโยคบอกเล่าเสมอ • ข้อความหนึ่งต้องสนับสนุนอีกข้อความหนึ่งซึ่งจะเรียกว่าข้ออ้าง • ส่วนข้อความที่ถูกสนับสนุนเรียกว่าข้อสรุป ให้สังเกตจากคำสันธาน = เพราะว่า, จึง, เพราะฉะนั้น เป็นต้น

  43. ประโยคเหตุผลต่อไปนี้ข้อความใดเป็นข้ออ้าง ข้อความใดเป็นข้อสรุป - ถูกปรับ 2,000 บาท เพราะทิ้งขยะไม่ลงถัง (ข้อสรุป<===> ข้ออ้าง) - เพราะไม่ได้โบนัสคนงานจึงประท้วง (ข้ออ้าง <===> ข้อสรุป) - ปุ้มไม่เคยใส่กระโปรงสั้นเพราะขาลาย - เม่นไม่ชอบผู้ชายเพราะเม่นเป็นตุ๊ด

  44. ประโยคตรรกะ: ข้อความสัมพันธ์ที่แสดงข้อเท็จจริงของเทอม องค์ประกอบของประโยคตรรกะ มี๓ ส่วน 1. ภาคประธาน> Term 2. คำเชื่อม > เป็น / ไม่เป็น 3. ภาคแสดง> Term

  45. หมวดประโยค ประโยคตรรกะ: ข้อเท็จจริงที่แสดงค่าจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง องค์ประกอบของประโยคตรรกะ มี๓ ส่วน 1. ภาคประธาน > Term 2. คำเชื่อม > เป็น / ไม่เป็น คนไม่เป็นสิ่งสมบูรณ์ คนเป็นสิ่งต้องตาย 3. ภาคแสดง > Term ประโยคตรรกะเชิงความหมาย มี ๒ ประเภท ประโยคเชิงเดี่ยวหรือเอกัตถะประโยค ประโยคเชิงซ้อนหรืออเนกัตถะประโยค

  46. ประโยคใจความเดียวมีข้อเท็จจริงเดียว(ประโยคง่าย ๆ) I Love you / Some hate you / (Some) a arenot b (All) a are b • "ปรัชญาการกิน" ของชาวยุทธจักรกำลังภายในเขาบอกว่า"อาหารที่กิน ไม่สำคัญเท่ากับคนที่กินด้วย" "อาหารที่กิน ไม่สำคัญเท่ากับคนที่กินด้วย" (All) a arenot b ประโยคใจความซ้อนมีข้อเท็จจริงมากกว่าหนึ่ง(มีประโยคหลักและอนุประโยค) คนและสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตและรู้จักสืบพันธุ์ 1.คนเป็นสิ่งมีชีวิต 4.สัตว์เป็นสิ่งรู้จักสืบพันธุ์ 5.สิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งรู้จักสืบพันธุ์ 2.สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต 3.คนเป็นสิ่งรู้จักสืบพันธุ์

  47. 1.ประโยคเชิงเดี่ยวหรือเอกัตถะประโยค1.ประโยคเชิงเดี่ยวหรือเอกัตถะประโยค ประโยคตรรกะมาตรฐาน(เชิงปริมาณและคุณภาพ 4 ชนิด 1. ประโยค A ประโยคบอกเล่ายืนยัน ภาคประธานกระจาย ภาคแสดงไม่กระจาย เช่น All S are P 2. ประโยค E ประโยคบอกเล่าปฏิเสธ ภาคประธานกระจาย ภาคแสดงกระจาย เช่น All S are not P 3. ประโยค I ประโยคบอกเล่ายืนยัน ภาคประธานไม่กระจาย ภาคแสดงไม่กระจาย เช่น Some S are P 4. ประโยค O ประโยคบอกเล่าปฏิเสธ ภาคประธานไม่กระจาย ภาคแสดงกระจาย เช่น Some S are not P

  48. ความเป็นปรปักษ์ของประพจน์ความเป็นปรปักษ์ของประพจน์ มี 4 แบบคือ 1. แบบที่แย้งกันคือ ประพจน์ A กับ I และประพจน์EกับO (ต่างกันที่ปริมาณ) 2. แบบที่ขัดกันคือ ประพจน์ A กับ E (ต่างกันที่คุณภาพ) 3. แบบที่คล้ายขัดกันคือประพจน์ I กับ O (ต่างกันที่คุณภาพ) 4. แบบที่ขัดแย้งกันคือประพจน์ A กับ O และประพจน์ Eกับ I (ต่างกันที่ปริมาณและคุณภาพ)

  49. วิธีทำประโยคบอกเล่าทั่วไปเป็นประโยคตรรกวิทยาวิธีทำประโยคบอกเล่าทั่วไปเป็นประโยคตรรกวิทยา 1. สังเกตความหมายที่ภาคประธาน กระจายหรือไม่กระจาย (ดูที่เทอมภาคประธานว่ามีคำวลี ทั้งหมด หรือ บางส่วน อยู่หรือไม่ แต่ถ้ากล่าวกว้าง ๆ ส่วนมากให้ถือว่า ประธานกระจาย) 2. ใส่คำว่า “เป็น” หรือ “ไม่เป็น” หลังประธานแล้วแต่กรณีตามเนื้อหาของประโยคยืนยันหรือปฏิเสธ

More Related