1 / 45

Knowledge Management

Knowledge Management. ตอน : การนำ IT มาใช้ในการจัดการความรู้ ( IT for Knowledge Management). โดย นายพรเทพ จรัสศรี SCG Academy บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). สารบัญ. หน้า.

avian
Download Presentation

Knowledge Management

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Knowledge Management ตอน : การนำ IT มาใช้ในการจัดการความรู้(IT for Knowledge Management) โดย นายพรเทพ จรัสศรีSCG Academy บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

  2. สารบัญ หน้า - ความรู้เบี้องต้นเกี่ยวกับ Knowledge Management (KM)- ประเภทของความรู้- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้- ขั้นตอนในการจัดการความรู้- เครื่องมือเพื่อใช้ในการจัดการความรู้ (Knowledge Management Tools)- ตัวอย่างการจัดหา Server เพื่อจัดเก็บ Knowledge Database- ตัวอย่าง Applications บน Web Server- แนะนำ Application : SCG eLearning (http://scgelearning.cementhai.co.th) - System Module : User Management and Permission Control - System Module : Reports System - System Module : Menu Builder - Module : Annoucement (ประกาศ/ข่าวสาร) - Module : Content (เนื้อหาความรู้) - Module เพื่อใช้สำหรับเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - Module : Webboard (กระดานสนทนา) - Module : Blog (บันทึกส่วนตัว) - Module : Chat (ห้องพูดคุย)- Module : Upload / Download (แบ่งปันไฟล์เอกสาร) - Module : Links (ลิ๊งค์เชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง) - Module : Photo Album (ประมวลภาพถ่าย) - Module : Calendar (ปฏิทินกิจกรรม) - Module : e-Classroom และ e-Community of Practice (CoP) - Module : e-Questionnaire (แบบสอบถามออนไลน์) - Module : e-Questionnaire (ปรับปรุงใหม่) - Module : e-Vote / Poll (สำรวจประชามติออนไลน์) - Module : e-Examination (ข้อสอบออนไลน์) - Module : Video Clip Sharing - Module : SCG Wiki - Module : ทำเนียบพนักงาน - Module : e-Form- เครื่องมือที่ใช้บันทึกความรู้ลงสื่อแบบมัลติมีเดีย (Knowledge Capturing Tools)- YouTube แหล่งรวมความรู้ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย - การใช้งาน YouTube เบื้องต้น - การบันทึกวิดีโอจาก YouTube มาเก็บไว้ใน Harddisk 3 3 4 5 6 7 8 910111213151617182021222324252728293034353637384143

  3. หน้า 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Knowledge Management (KM) การจัดการความรู้ คือกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่ มาใช้ซ้ำหรือต่อยอด เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยนและใช้ความรู้ เป็นต้น ประโยชน์ของการจัดการความรู้ คือทำให้ตัวเราเองและเพื่อนร่วมงานเป็นบุคคลเรียนรู้ หรือ Learning Person และหน่วยงานหรือองค์กรที่บุคคลเหล่านี้สังกัดอยู่ ก็จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Organizationซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการชื่นชมยินดีในความสำเร็จของกันและกัน มีการนำเอาวิธีการทำงานดีๆ ของเพื่อนร่วมงานไปปรับใช้กับงานประจำของตนเอง แล้วเอาประสบการณ์นั้นออกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน เป็นวงจรหรือวัฏจักรไม่สิ้นสุด ซึ่งทำให้ KM เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หน่วยงานมีผลงานดีมีคุณภาพ ประเภทของความรู้ ในการจัดการความรู้ ได้แบ่งประเภทของความรู้ออกเป็น 3 ประเภท ดังภาพต่อไปนี้ ความรู้ทั้ง 3 ประเภทนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงสถานะระหว่างกันได้ตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักร หรือวงจรความรู้ การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ความรู้เปลี่ยนสถานะได้เร็วขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ฝังอยู่กับตัวบุคคล ออกมาใช้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ IT for Knowledge Management

  4. หน้า 4 จากหนังสือ “การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ”โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนจำนวนหนึ่งกระทำร่วมกัน ไม่ใช่กิจกรรมของคนเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็จริงแต่ต่างคนต่างทำ ดังนั้นจึงควรทราบบทบาทของบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ดังต่อไปนี้ 1. คุณเอื้อ หรือ Chief Knowledge Officer (CKO) ซึ่งได้แก่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั้น โดยจะทำ หน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ความรู้ (Knowledge Vision) หรือทิศทางที่ทุกคนในองค์กรจะต้องมุ่งหน้าไป2. คุณอำนวย หรือ Knowledge Facilitator ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากคุณเอื้อ ให้ทำหน้าที่เป็น ผู้จัดการทั่วไป ที่กระทำทุกอย่างเพื่อให้การจัดการความรู้ขององค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้3. คุณประสาน หรือ KM Co-Ordinator เป็นคณะทำงานที่เป็นตัวแทนมาจากหน่วยงานต่างๆ ใน องค์กร โดยมีคุณอำนวยเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ทำหน้าที่ร่วมกันวางแผนดำเนินการตามนโยบาย หรือทิศทางที่คุณเอื้อกำหนด และนำแผนดังกล่าวไปถ่ายทอดต่อให้แต่ละหน่วยงานรับไปปฏิบัติ4. คุณกิจ หรือ Knowledge Practitioner ได้แก่พนักงานทั้งหมดขององค์กร ที่ลงมือปฏิบัติกิจกรรมให้ เป็นไปตาม Action Plan ที่กำหนดไว้5. คุณลิขิต (Knowledge Capturer) ทำหน้าที่บันทึกความรู้ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและ ภายนอกองค์กรหรือจาก Tacit Knowledge ที่มีอยู่ในตัวบุคคลให้ออกสู่สื่อที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ เครื่องมือที่คุณลิขิตใช้ในการบันทึกความรู้ อาจจะเป็นการ Take Note ธรรมดา หรือเป็นเครื่องมือHigh Technology ที่สร้างโดยคุณวิศาสตร์ก็ได้6. คุณวิศาสตร์ (IT Wizard) ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ - ออกแบบระบบ IT และเครื่องมือต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการจัดการความรู้ในองค์กร - จัดหา Hardware และ Software - จัดอบรมการใช้งาน - ดูแลระบบและคอยให้ความช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาการใช้งาน - ประสานงานกับที่ปรึกษาทางด้าน IT Technology จากภายนอก (ถ้ามี) - ตรวจรับผลงานของ Suppliers หรือจากที่ปรึกษาภายนอก คุณเอื้อ (CKO) คุณอำนวย (Facilitator) คุณลิขิต คุณวิศาสตร์ คุณประสาน คุณประสาน คุณประสาน คุณประสาน คุณประสาน คุณกิจ (Knowledge Wokers) IT for Knowledge Management

  5. หน้า 5 ขั้นตอนในการจัดการความรู้ ขั้นที่ 1 ตั้งวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธุรกิจ เช่น SCG มีกลยุทธ์ที่จะ Go Regional จึงตั้งวัตถุประสงค์ว่าจะพัฒนาความรู้ของพนักงาน เพื่อรองรับการขยายตัวไปยังภูมิภาคอาเซียน ภายในปี 2515 ขั้นที่ 2 กำหนดขอบเขตของคำว่า “ความรู้” ที่ต้องการ เพื่อให้ทราบว่าเราจะต้องจัดการกับเรื่อง อะไรบ้าง ขั้นที่ 3 จัดทำ Knowledge Mapping เพื่อให้ทราบว่าองค์กรของเรามีความรู้อะไรอยู่บ้าง เก็บอยู่ ในรูปแบบใด เก็บอยู่ที่ใครบ้าง และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับความรู้ที่องค์กรต้องการจะ ทำให้ทราบว่า องค์กรยังขาดความรู้อะไรบ้าง และความรู้ใดบ้างที่เป็นสิ่งสำคัญต่อองค์กร ขั้นที่ 4 สร้างและเสาะแสวงหาความรู้ที่องค์กรยังขาดอยู่ หรือจัดเก็บรักษาความรู้สำคัญที่มีอยู่ใน องค์กรเอาไว้เพื่อใช้ซ้ำ หรือนำมาต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ต่อไป โดยใช้ Tools ในการสร้าง สื่อความรู้ต่างๆ หรือ Tools ในการจัดเก็บหรือบันทึกความรู้ที่มีอยู่มากมายในองค์กรมิให้ สูญหายไป (Knowledge Capturing Tools) ขั้นที่ 5 การจัดเก็บความรู้ที่ได้มาอย่างเป็นระบบ เช่น จัดหมวดหมู่ความรู้ จัดทำระบบสืบค้นที่ มีประสิทธิภาพ (Search Engine) จัดทำระบบการเข้าถึงความรู้ที่ง่ายต่อการใช้งาน เช่น การทำ Knowledge Web Portal เป็นต้น ขั้นที่ 6 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) เป็นขั้นตอนที่สำคัญและต้องดำเนินการ อย่างต่อเนื่องและต้องปรับปรุงทั้งรูปแบบและเนื้อหาอย่างเสมอ เช่น - การสร้าง Forum สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น Blog , Chat room , Webboard - การสร้าง Community of Practices (CoP) หรือ ชุมชนนักปฏิบัติที่มีความสนใจใน เรื่องเดียวกัน หรือมีจุดประสงค์ร่วมกัน - การสร้างระบบ e-Learning ที่มีลักษณะ Blended Learning คือผสมผสานวิธีการ เรียนรู้หลายๆ แบบ เช่น เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้จากเพื่อน หรือเรียนรู้จากวิทยากร ขั้นที่ 7 การวัดผลและการประเมินผล เพื่อช่วยให้ทราบจุดบกพร่องต่างๆ และนำมาแก้ไข - การสร้างระบบทดสอบ - การสร้างระบบประเมินผล เช่น Vote / Poll หรือ Questionnaire - การสร้างระบบรายงาน ที่สามารถเก็บข้อมูลการใช้งานได้อย่างละเอียด ทุกช่วงเวลา ที่ต้องการ IT for Knowledge Management

  6. หน้า 6 Knowledge Management Tools เครือซิเมนต์ไทยหรือ SCG นำ IT มาใช้เพื่อการจัดการความรู้ในแทบทุกขั้นตอนของการดำเนินงานโดยอาศัย Infrastructure และระบบ SCG Computer Network ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงสามารถสร้างระบบWeb Based Applications ที่เข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปัจจุบันมี Web Portal ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานได้ 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) ซึ่งมีขอบเขตการทำงานครอบคลุมทั้ง E-Learning และ Knowledge Management System ระบบงานถูกออกแบบให้สามารถเพิ่มเติม Function การทำงานได้โดยไม่จำกัดตามแนวคิดในการออกแบบระบบที่เรียกว่า JigsawModule สำหรับเนื้อหาความรู้ (Contents) ใช้หลักการเดียวกับ Wikipedia คือผู้ใช้ คือผู้ให้ความรู้แก่กันและกัน โดยระบบ จะ Provide เครื่องมือง่ายๆ แก่ผู้ใช้ที่จะนำเสนอเรื่องราวต่างๆ แก่ผู้อื่น หรือร่วมเป็นผู้ดูแลระบบตามสิทธิที่ได้รับมอบหมายจาก Administrator Objective พัฒนาระดับความรู้ความสามารถและทักษะการทำงานในหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานน.บค. KM ProcessandActivities 1. แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการความรู้ของสำนักงานการบุคคลกลาง 2. บริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 3. ชี้ชัดให้ได้ว่าอะไรคือความรู้ที่สำคัญของ น.บค. และยังขาดความรู้อะไร 4. สร้างหรือแสวงหาความรู้แล้วรวบรวม จัดเก็บอย่างเป็นระบบใน KM Database 5. สร้างช่องทางเพื่อให้เกิดการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงาน 6. การเรียนรู้ของพนักงาน และการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร 7. จัดสถานที่ทำงานให้มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้8. จัดทำ “ระบบพี่เลี้ยง” (Mentoring System) 9. จัดทำ “ระบบที่ปรึกษา” (Expert System)สำหรับให้คำปรึกษาหรือตอบคำถาม10. จัดทำโครงการ “ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากพนักงานที่ใกล้จะเกษียณ”11. จัดทำกิจกรรม “ทบทวนการกระทำหลังเสร็จสิ้นภารกิจ” (After Action Review)12. จัดทีมงานให้บริการ “บันทึกและจัดเก็บความรู้” ด้วยมัลติมีเดีย เทคโนโลยี13. ขอการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2008 14. ทำให้เกิดเป็นวงจรการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ 15 นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสร้างเครื่องมือด้าน E-Learning และKM KM Tools 1. Knowledge Database on Web Server with Streaming Technology2. KM Web Portal& Web Applications : - Wiki / Blog / Webboard / Chat Room / e-CoP / e-Classroom - Search Engine3.Knowledge Capturing Tools: - AcuLearn / SnagIT / Camtasia / MS-Producer / E-Maggazine4. Knowledge Management Tools : - Story Telling / Show & Share - Book Briefing - Knowledge Mapping - Community of Practices (CoP) Infrastructure 1. SCG Intranet2. MS-SharePoint3. E-Mail IT for Knowledge Management

  7. หน้า 7 Knowledge Database ดำเนินการจัดหา Web Server พร้อม Software และการรับประกันโดยวิธีเช่า ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. ผู้ขาย Hardware บริษัท โมเดอร์นฟอร์ม อินทิเกรชั่น เซอร์วิสเซส จำกัดSoftware บริษัท ฟูจิตสึ ซิสเต็ม บิสซิเนส (ประเทศไทย) จำกัด2. ผู้ให้เช่า บริษัท กรุงไทย ไอบีเจ ลิสซิ่ง จำกัด3. ระยะเวลาการเช่า 3 ปี เริ่มตั้งแต่ กรกฎาคม 2552 – มิถุนายน 25554. ระยะเวลาการรับประกัน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ กรกฎาคม 2552 – มิถุนายน 2555 5. Operating System MS Windows Server 2008 EnterpriseEdition6. Database System SQL Server , MySQL 7. Applications - AcuManager Version 3.20 - SCG eLearning8. Storage - 1024 GB. IT for Knowledge Management

  8. หน้า 8 Application : AcuManager Version 3.20 จุดประสงค์ของการนำ Software นี้มาใช้ คือ1. ทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายในการถ่ายทอดรายการสด (Live Broadcasting) บน SCG Intranet2. ทำหน้าที่จัดการเนื้อหาแบบ On-Demand โดยสามารถกระจาย Video Streaming แบบ Multi Castไปยังผู้ใช้ โดยไม่มีปัญหาเรื่อง Network Traffic IT for Knowledge Management

  9. หน้า 9 Application : SCG eLearning (http://scgelearning.cementhai.co.th) จุดประสงค์ของการนำ Software นี้มาใช้ คือ1. ทำหน้าที่เป็น LMS (Learning Management System) 2. ทำหน้าที่เป็น CMS (Content Management System)3. ทำหน้าที่เป็น Web Portal ของระบบ Knowledge Management (KM)4. ทำหน้าที่เป็น Web Tools ที่สามารถเรียกใช้งานได้จากเว็บอื่นๆ โดยวิธีการสร้าง Links เข้ามาที่ระบบนี้ แนวคิดในการออกแบบระบบ ระบบงานนี้ใช้แนวคิดที่เรียกว่า Jigsaw Modules คือ สร้างเป็น Module ย่อยๆ ที่ทำงานเป็นอิสระแต่สามารถนำมาประกอบเพื่อใช้งานร่วมกับ Module อื่นๆ ได้อย่างกลมกลืน ภายใต้ระบบใหญ่ที่สามารถให้สิทธิ์กับผู้ใช้ระดับต่างๆ เพื่อเข้าไปใช้งานหรือเพื่อเข้าไปจัดการ (เช่น Add/Change/Delete) กับข้อมูลในModule ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว จุดเด่นประการหนึ่งของระบบนี้คือ ระบบสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ที่สามารถค้นหาข้อมูลได้จากชื่อเรื่อง (Title) จากรายละเอียดที่เป็นตัวอักษร (Description) และจากคำหลัก (Keyword หรือ Tag) นอกจากนี้ ระบบ SCG eLearning ยังมีระบบรายงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถรายงานพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ได้ตลอดทุกวินาทีตั้งแต่เริ่มต้น Log-in จนกระทั่งออกจากระบบ โดย Administratorสามารถสร้างรายงานตามช่วงระยะเวลาที่ต้องการได้ และสามารถ Export รายงานไปยัง Excel เพื่อนำไปวิเคราะห์หรือสามารถนำไปสร้าง Chart เพื่อใช้ในการนำเสนอต่อไป Module ต่างๆ ในระบบ1. System Modules (for Administrator only) - User Management and Permission Control - Reports System - Menu Builder - Configuration Setup - User’s Manual - Backup System 2. Annoucement 3. Up/Download 4. Webboard 5. Blog/Chat 6. Wiki 7. Links 8. Photo Album 9. Video Clip Sharing 16. อื่นๆ เช่น ทำเนียบพนักงาน / e-Form / Personal Message 10. Calendar11. e-Classroom12. Community of Practice (CoP)13. e-Questionnaire14. e-Vote / Poll15. e-Examination IT for Knowledge Management

  10. หน้า 10 System Modules : User Management and Permission Control หลักการทำงานของระบบ 1. ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานทั้งหมดของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) จะเก็บอยู่ในฐานข้อมูลของระบบ e-HR ซึ่ง ใช้ SQL Server 2000 เป็น DBMS ระบบงานย่อยๆ ทั้งหลาย ถ้าจำเป็นต้องใช้ข้อมูลพนักงานที่ Update ล่าสุดจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อ Interface กับ SQL Server ผ่านระบบ e-HR เสมอ ซึ่งระบบ scgelearning นี้ก็เช่นเดียวกัน2. ผู้ใช้รายใหม่จะต้องลงทะเบียน โดยกรอก Email Address ของตนเข้าไป ระบบจะตรวจสอบว่า Emailนี้มีอยู่ในฐานข้อมูลพนักงานหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเป็นพนักงาน SCG จริง ก็จะนำข้อมูลที่จำเป็นต้อง ใช้ในระบบเข้ามาเก็บไว้ใน Table ของระบบนี้ เช่น ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด หมายเลข โทรศัพท์ ฯลฯ จากนั้นผู้สมัครต้องกำหนด User Name และ Password ด้วยตนเองและใช้ User Name และ Password นี้ เพื่อการ Log in เข้าใช้งานในครั้งต่อๆ ไป แต่ถ้า Email Address ที่ใส่ เข้าไปไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลพนักงาน ก็จะอนุญาตให้สมัครต่อได้ แต่จะมีสถานะเป็นเพียง Guest หรือ แขกผู้มาเยือนเท่านั้น ดังนั้นสิทธิต่างๆ ในการใช้งานจึงไม่เท่ากับพนักงานของ SCG นอกจากว่าAdministrator จะกำหนดให้เป็นอย่างอื่น 3. ผู้ใช้ทุกรายที่สมัครเป็นสมาชิกรายใหม่ จะได้รับสิทธิเป็น “ผู้ใช้ทั่วไประดับ 1” มีพื้นที่บน Host สำหรับ ใช้งาน เช่น Upload ไฟล์ต่างๆ ได้ 20 MB. แต่ถ้าเข้ามาใช้งานบ่อยๆ และมีไฟล์ที่ต้อง Upload มากขึ้น จะพิจารณาปรับระดับผู้ใช้เป็น “ผู้ใช้งานทั่วไประดับ 2” หรือสูงขึ้นไปอีกตามที่ Administrator จะเห็น สมควร เช่น อาจจะปรับให้เป็น “ผู้ดูแลระบบ” ในระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบก็ได้ ซ้าย ภาพหน้าจอการการ Login เข้าระบบ http://km ขวา ภาพหน้าจอการกำหนดสิทธิผู้ใช้ IT for Knowledge Management

  11. หน้า 11 System Modules : Reports System รายงานสามารถแบ่งออกเป็นหลายมุมมอง 1. รายงานที่เป็นมุมมองทางด้านผู้ใช้ สามารถให้ข้อมูลดังต่อไปนี้ - รายชื่อผู้ใช้ ทำให้ทราบว่าผู้ใช้เป็นใคร อยู่ที่ไหน สามารถติดต่อได้อย่างไร ผู้ใช้เข้ามาใช้ Function ใด บ้าง เข้าเมื่อไร ออกเมื่อไร รวมเวลาใช้งานเท่าไร สามารถเรียงลำดับ (Sort) เวลาที่ใช้งาน เพื่อนำมา วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ได้ถ้าต้องการ2. รายงานที่เป็นมุมมองทางด้าน Function การทำงาน - มี Function การใช้งานอะไรบ้าง แต่ละ Function มีผู้เข้ามาสร้างข้อมูลเป็นจำนวนกี่ Record แล้ว และแต่ละ Record มีผู้ใช้ชื่ออะไรบ้างที่เข้ามาใช้งาน เวลาที่เข้า-ออกจากการใช้งาน สามารถเรียง ลำดับ (Sort) ได้ว่า Function ใด Record ใด มีผู้เข้ามาใช้งานหรือเข้ามาเยี่ยมชมมากที่สุด หรือน้อย ที่สุด เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความชอบ หรือ Hot Topic Analysis ต่อไป3. รายงานทั้งสองมุมมองด้านบนสามารถจัดทำรายงานตามมุมมองของช่วงเวลาได้ ตามที่กำหนดดังนี้ - ข้อมูล ณ ขณะนี้ เช่น อยากทราบว่าขณะนี้มีผู้ใช้งานอยู่กี่คน เป็นใครบ้าง และเข้ามาทำอะไรบ้าง - ข้อมูลสะสมของวันนี้ จนถึงขณะนี้ เช่น ตั้งแต่เที่ยงคืนของวันนี้ จนถึงขณะนี้ มีผู้เข้ามาใช้งานกี่คน - ข้อมูลสะสมตั้งแต่ต้นสัปดาห์นี้ จนถึงขณะนี้ - ข้อมูลสะสมตั้งแต่ต้นเดือนนี้ จนถึงขณะนี้ - ข้อมูลสะสมตั้งแต่ต้นปีนี้ จนถึงขณะนี้ - ข้อมูลสะสมตั้งแต่เริ่มต้นให้บริการ จนถึงขณะนี้ - ข้อมูลตั้งแต่วันที่ที่กำหนด จนถึง วันที่ที่กำหนด4. รายงานที่เป็นมุมมองของผู้บริหาร - ผู้บริหารจะสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ Utilization ของระบบ ได้แก่ ตัวเลขสถิติต่างๆ เกี่ยวกับผู้ใช้ หรือ เกี่ยวกับ Function การทำงานต่างๆ ว่ามีการใช้งานมากน้อยเพียงใด เช่น ในช่วงเวลาที่กำหนด มีผู้ใช้งานจำนวนเท่าไร ช่วงเวลาไหนมีคนใช้งานมากที่สุด ช่วงเวลาใดน้อยที่สุด มี Blog จำนวน เท่าใด มี Webboard กี่กระทู้ มีบทความกี่เรื่องและมีคนเข้ามาอ่านกี่คน มี CoP กี่กลุ่ม เป็นต้น บน ภาพหน้าจอการเลือกช่วงเวลาทำรายงาน ซ้าย ภาพหน้าจอรายงานพฤติกรรมผู้ใช้ IT for Knowledge Management

  12. หน้า 12 System Modules : Menu Builder หลักการทำงานของระบบ 1. Administrator สามารถสร้างหรือแก้ไขเมนูหลักและเมนูย่อย ได้โดยไม่จำกัด อีกทั้งยังสามารถจัดเรียง ลำดับของเมนูทั้งหมดได้ด้วยทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการดูแลและจัดการกับระบบที่มีความต้องการ ไม่มีที่สิ้นสุด 2. นอกจากนั้น Administrator ยังสามารถจัดทำหน้าแรกหรือ HomePage ของแต่ละเมนูหลัก โดยการ วาง Object ที่ต้องการลงบนหน้าจอว่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้เห็นข้อมูลลึกลงไปในระดับ Record ประมาณ 5-10 รายการล่าสุด โปรดดูตัวอย่างในภาพต่อไปนี้ IT for Knowledge Management

  13. หน้า 13 Modules : Annoucement หรือ ประกาศ/ข่าวสาร หลักการทำงานของระบบ 1. Module นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับประกาศข่าวสาร หรือแจ้งให้พนักงานทราบข้อมูลต่างๆ ที่ ต้องการ เช่น ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ประกาศแจ้งกำหนดการจัดอบรม/สัมมนา หรือรายงานข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ ภายในองค์กร เป็นต้น2. ผู้ที่สามารถเพิ่ม/แก้ไขข่าวสาร ได้แก่ผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิเท่านั้น โดยต้องกรอกชื่อหัวข้อเรื่อง (Title) รายละเอียดเพิ่มเติม (Description) เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องราวอย่างย่อ โดยไม่ต้องเข้า ไปอ่านรายละเอียดภายในเนื้อหาข่าว3. สำหรับเนื้อหาประกาศ/ข่าวสารโดยละเอียด จะมีพื้นที่เฉพาะสำหรับกรอกข้อมูล เรียกว่า Java Word Editor ซึ่งเป็น Editor ที่ให้ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น (ดูตัวอย่างหน้าถัดไป) - ข้อความธรรมดา (Text) ที่กำหนดรูปแบบตัวอักษรและสีตัวอักษร/พื้น ได้เหมือนกับ MS-Word - สามารถกำหนด Bullet / Table / Special Character ได้ - สามารถวางรูปภาพได้ / สามารถวาง Multimedia Object ได้ - สามารถใส่ Links ได้ - สามารถเปลี่ยนมุมมองเป็น HTML Script เพื่อเขียน Script ต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้ใช้4. สามารถกำหนดคำหลัก (Keyword หรือ Tag) เพื่อใช้ในการค้นหา5. สามารถเปิดหรือปิดรับ Comment จากผู้อ่านได้6. สามารถเปิดหรือปิดรับ Rating จากผู้อ่านได้7.สามารถแนบไฟล์ (Files Attach) ได้ สามารถแนบ Link ได้8. สามารถกำหนดหมวดหมู่ของเนื้อหาได้เองโดยผู้ใช้9. สามารถกำหนดวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุดการนำเสนอข้อมูลให้สาธารณชนทราบได้10.สามารถค้นหาได้จาก Title , Description และ Tag11.สามารถจัดลำดับการแสดงข่าวสารได้ใหม่ ตามความต้องการหรือตามความสำคัญของข่าวสาร12.สามารถแนบภาพเล็กๆ คู่ไปกับชื่อหัวข้อเรื่อง เพื่อดึงดูดความน่าสนใจของข่าวสารได้ ภาพหน้าจอประกาศ/ข่าวสาร IT for Knowledge Management

  14. หน้า 14 บริเวณนี้ สำหรับใส่เนื้อหาต่างๆ เช่น- ตัวอักษรข้อความ ตาราง - รูปภาพ- ภาพเคลื่อนไหว- Links ต่างๆ ซ้าย ภาพหน้าจอ การวาง Script Mutimedia Object IT for Knowledge Management

  15. หน้า 15 Modules : Content หรือเนื้อหาความรู้ หลักการทำงานของระบบ 1. Module นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับนำเสนอเนื้อหาความรู้ เพื่อร่วมแบ่งปันให้ผู้ใช้รายอื่นๆ ใน ระบบ หรือเพื่อจัดเนื้อหาความรู้ในหลักสูตรต่างๆ ให้กับผู้เรียนที่ลงทะเบียนไว้ โดยทำงานร่วมกับModule e-Classroom , e-Examination , e-Questionnaire เพื่อให้เป็นการเรียนรู้ที่สมบูรณ์2. ผู้ที่สามารถเพิ่ม/แก้ไขเนื้อหาความรู้ ได้แก่ผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิเท่านั้น โดยต้องกรอกชื่อหัวข้อเรื่อง รายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องราวอย่างย่อ และตัดสินใจว่าจะเข้าไปศึกษา ในรายละเอียดของเนื้อหาหรือไม่ โดยไม่ต้องเข้าไปอ่านรายละเอียดภายในเนื้อหาความรู้3. สำหรับเนื้อหาความรู้โดยละเอียดนั้น จะมีพื้นที่เฉพาะสำหรับกรอกข้อมูล เรียกว่า Java Word Editor ซึ่งเป็น Editor ที่ให้ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลได้หลายรูปแบบ ได้แก่ (ดูตัวอย่างหน้าถัดไป) - ข้อความธรรมดา (Text) ที่กำหนดรูปแบบตัวอักษรและสีตัวอักษร/พื้น ได้เหมือนกับ MS-Word - สามารถกำหนด Bullet / Table / Special Character ได้ - สามารถวางรูปภาพได้ / สามารถวาง Multimedia Object ได้ - สามารถใส่ Links ได้ - สามารถเปลี่ยนมุมมองเป็น HTML Script เพื่อเขียน Script ต่างๆ ได้ตามความต้องการของผู้ใช้4. สามารถกำหนดสิทธิอนุญาตให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูล เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้5. สามารถกำหนดคำหลัก (Keyword หรือ Tag) เพื่อใช้ในการค้นหา6. สามารถเปิดหรือปิดรับ Comment จากผู้อ่านได้7. สามารถเปิดหรือปิดรับ Rating จากผู้อ่านได้8.สามารถแนบไฟล์ (Files Attach) ได้ สามารถแนบ Link ได้9. สามารถกำหนดหมวดหมู่ของเนื้อหาได้เองโดยผู้ใช้10.สามารถกำหนดวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุด ของการนำเสนอเนื้อหาความรู้ให้สาธารณชนทราบได้11.สามารถค้นหาได้จาก Title , Description และ Tag12.สามารถแนบภาพเล็กๆ คู่ไปกับชื่อหัวข้อเรื่อง เพื่อดึงดูดความน่าสนใจของเนื้อหาความรู้ได้ ภาพหน้าจอเนื้อหาความรู้ IT for Knowledge Management

  16. หน้า 16 Modules : เพื่อใช้สำหรับเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Module ที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพนักงาน มีอยู่หลายประเภท ดังนั้นการเลือกว่าจะนำเครื่องมือประเภทใดมาใช้งานนั้น จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดและคุณสมบัติของเครื่องมือแต่ละประเภทอย่างถ่องแท้เสียก่อนดังต่อไปนี้ 1. กระดานสนทนา (Webboard) คือเวทีสาธารณะที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทั่วไป หรือกำหนดให้เฉพาะสมาชิก เข้ามาตั้งประเด็น คำถามหรือตั้งหัวข้อสนทนาหรือเข้ามาเพื่อเยี่ยมชมพร้อมกับเก็บเกี่ยวความรู้ในประเด็นต่างๆ ที่ ปรากฏอยู่ในกระดานสนทนา หรืออาจจะเข้ามาเพื่อตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่ ตนมีความรู้หรือมีประสบการณ์ในเรื่องเหล่านั้นมาก่อน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า กระดานสนทนามีไว้ สำหรับให้สมาชิกที่มีข้อสงสัยเข้ามาเพื่อตั้งคำถาม และรอให้สมาชิกหรือผู้เยี่ยมชมที่ทราบคำตอบ เข้ามาตอบคำถามนั้น ซึ่งมักจะเป็นประเด็นคำถามที่สั้นๆ สามารถจบได้ในคำตอบเดียว หรือใน บางกรณีอาจมีผู้ให้ความสนใจในคำถามนั้นๆ ร่วมกันตอบ หรือแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก หรือเป็นระยะเวลายาวนานก็เป็นได้ 2. บันทึกส่วนตัวกึ่งสาธารณะ (Weblog) หรือเรียนสั้นๆ ว่า Blog Blog คือบันทึกส่วนตัวบนเว็บ ที่เจ้าของสามารถกำหนดได้ว่าจะเก็บไว้ดูส่วนตัวหรืออยากจะ แบ่งปันเรื่องราวในบันทึกให้กับผู้อื่นได้เข้ามาอ่านและยังกำหนดได้ด้วยว่าจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นต่อบันทึกของเราได้หรือไม่เจ้าของ Blog หรือที่เรียกว่า Blogger มีสิทธิเต็มที่ที่จะ จัดการใดๆ กับบันทึกของตนเอง เช่น ตกแต่ง Blog ของตนให้ดูสวยงามตามรสนิยมส่วนตัว หรือจะ ลบหรือแก้ไขข้อความใดๆ ในบันทึกหรือใน Comment ของผู้เข้ามาเยี่ยมชมได้ สามารถจัดหมวดหมู่ บันทึกต่างๆ ภายใน Blog ของตนเองได้ Blog เหมาะสำหรับการนำเสนอเรื่องราวที่เป็นการบอกเล่า มากกว่าเป็นการตั้งกระทู้ถาม ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจาก Webboard อย่างเห็นได้ชัด บันทึกใหม่ทุกรายการ จะถูกนำไป Post ไว้บนบอร์ดที่ส่วนกลาง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนในระบบ สามารถมองเห็นและเข้าเยี่ยมชมได้ทันที ยกเว้น บันทึกส่วนตัวที่ไม่เปิดเผยแก่สาธารณชน โดยแยก เรื่องราวออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการค้นหา 3. ห้องสนทนาแบบ Real-Time หรือ Chat Roomเป็นการพูดคุย (โดยการพิมพ์ข้อความหรือพูดผ่านไมโครโฟน) กับกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจใน เรื่องเดียวกัน พูดภาษาเดียวกันรู้เรื่อง หรืออาจจะปลีกตัวโดยการจับคู่คุยกันแบบสองต่อสองในห้อง ส่วนตัวก็ได้ นอกจากนั้นยังสามารถเห็นหน้าคู่สนทนาผ่านทางกล้องวิดีโอหรือ Web Camera ก็ได้จุดที่ Chat Room ต่างจาก Webboard คือ เรื่องประเด็นการสนทนา กล่าวคือ ใน Webboard มักจะ เป็นการเปิดประเด็นคำถามที่ต้องการคำตอบ หรือต้องการความเห็นจากผู้เข้าเยี่ยมชม ซึ่งอาจจะยัง ไม่ได้ Online อยู่ในขณะนั้นก็ได้ ส่วน Chat Room เป็นการร่วมวงสนทนาแบบ Online กับผู้อื่น ในเรื่องที่เขากำลังสนทนากันอยู่ ซึ่งประเด็นสนทนาอาจจะเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ตามสภาพการณ์ Chat Room จึงเหมาะกับการพูดคุยหรือการตกลงที่ต้องการข้อสรุปในทันที โดยนัดเวลาที่ตรง กันเพื่อเข้ามาพูดคุยกัน IT for Knowledge Management

  17. หน้า 17 Modules : กระดานสนทนา (Webboard) หลักการทำงานของระบบ 1.ใน SCG เรียกกระดานสนทนาหรือ Webboard ว่า Knowledge Sharing Boardหรือ KSB ซึ่งใช้ เป็นช่องทางให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยแยกหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนและมีการ กำหนดตัวบุคคลทำหน้าที่เป็น Expert คอยดูแลเว็บและตอบคำถามหรือส่งคำถามให้ผู้เกี่ยวข้อง2. การทำงานของระบบ เหมือนกับ Webboard ทั่วไป ต่างกันตรงที่ผู้ตั้งคำถามจะได้รับคำตอบแน่นอน จากผู้เข้าเยี่ยมชมรายอื่น หรือจาก Expert ในหมวดหมู่นั้นๆ บน ภาพหน้าจอแสดง Knowledge Sharing Board(KSB) ขวา ภาพหน้าจอแสดง Expert List ในแต่ละหมวดหมู่ IT for Knowledge Management

  18. หน้า 18 Modules : SCG Blog หลักการทำงานของระบบ 1. SCG Blog สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น “พื้นที่ประเทืองปัญญา” ที่เปิดโอกาสให้พนักงานSCG ใช้เป็นเวทีในการเขียนบันทึกหรือเรื่องราวที่เป็น Tacit Knowledge ของตนเอง และพร้อมจะนำ ออกเผยแพร่หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนพนักงาน SCG คนอื่นๆ 2. หลักการทำงานของ SCG Blog คือ - ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็น SCG Blogger และได้รับการอนุญาตจาก Administrator ก่อน จึงจะได้รับ การจัดสรรพื้นที่สำหรับสร้าง Blog ของตนเอง - ใน Blog ของ SCG Blogger แต่ละคน สามารถสร้าง “บันทึก” ได้โดยไม่จำกัดจำนวน และยัง สามารถสร้างหมวดหมู่ของตนเอง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจัดเก็บบันทึกอีกด้วย นอกจากนั้นเจ้าของ Blog ยังสามารถกำหนดสิทธิการเข้ามาอ่าน ว่าต้องการให้ “บันทึก” ใดเป็น บันทึกส่วนตัว และ “บันทึก” ใดเป็นบันทึกที่อนุญาตให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านและให้ Comment ได้ - บันทึกที่สร้างใหม่จะถูก Post ขึ้นบนบอร์ดที่ส่วนกลางเพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนในระบบสามารถมองเห็น และเข้าเยี่ยมชมได้ทันที ยกเว้นบันทึกส่วนตัวที่ไม่เปิดเผยแก่สาธารณชน โดยที่บอร์ดส่วนกลาง นี้จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกสำหรับผู้ใช้ในการค้นหาเรื่องที่ต้องการ - การสร้างหรือแก้ไข “บันทึก” ใดๆ สามารถกระทำบน Java Word Editor เหมือนกับการสร้าง เนื้อหา (Contents) อื่นๆ IT for Knowledge Management

  19. หน้า 19 Modules : SCG Blog ขวา ภาพหน้าจอ หมวดหมู่ของ SCG Blog ซ้าย ภาพหน้าจอ รายชื่อบันทึกในหมวดหมู่ บน ภาพตัวอย่างหน้าจอ Blog ของ SCG Blogger ท่านหนึ่ง IT for Knowledge Management

  20. หน้า 20 Modules : Chat Room หรือห้องพูดคุยแบบ Real Time หลักการทำงานของระบบ 1. SCG Chat Room สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นช่องทางหนึ่ง สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียน รู้ผ่านสื่ออิเล็กโทรนิค ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ในหลักสูตร BCD ซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบผสม ผสาน (Blended Learning) ที่มีรู้แบบการเรียนรู้หลายวิธีผสมผสานกัน ได้แก่ การเรียนแบบ Face to Face ในห้องเรียน การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่ออิเล็กโทรนิค การทำข้อสอบ Online การประ เมินผลผ่านระบบ e-Questionnaire ในหลักสูตรนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีช่องทางในการ ซักถามวิทยากรหรือพูดคุยกับเพื่อนร่วมรุ่นผ่าน Webboard และถ้าต้องการพูดคุยแบบ Real Time ก็จะนัดเวลากัน เข้าห้องพูดคุย (SCG Chat Room) เพื่อพูดคุยกันแบบสดๆ 2. หลักการทำงานของ SCG Chat Room คือ - Administrator จะเป็นผู้สร้างห้องเตรียมไว้ให้ - ผู้ใช้สามารถเลือกห้องที่ต้องการเข้าไปพูดคุยได้ตามความต้องการ - ผู้ใช้ต้องพิมพ์ข้อความลงในช่องรับข้อความ โดยสามารถเลือกสีของตัวอักษรได้ และยังเลือกรูป ภาพที่แสดงอารมณ์ต่างๆ แนบไปกับข้อความได้อีกด้วย - ถ้าผู้ใช้ต้องการ Upload ไฟล์เอกสารให้กันและกันในระหว่างพูดคุย ก็สามารถทำได้เช่นกัน (ดังตัวอย่างในภาพต่อไปนี้) IT for Knowledge Management

  21. หน้า 21 Modules : Upload / Download หลักการทำงานของระบบ 1. Upload/Download สร้างขึ้นเพื่อให้บริการโอนข้อมูลผ่านเครือข่าย SCG Intranet โดยสามารถโอน ข้อมูลด้วยการ Upload ไฟล์ขนาดใหญ่ได้ถึง 100 MB. ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการส่งไฟล์ระหว่างกัน โดย เฉพาะไฟล์ขนาดใหญ่ๆ ที่ไม่สามารถแนบไปกับ Email ได้ การให้บริการโอนข้อมูลนี้จะช่วยให้การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน SCG สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถส่งผ่านไฟล์ความรู้ในรูปแบบ Multimedia ที่มีขนาดใหญ่ๆ เช่น ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วกว่าการบันทึกลง แผ่นซีดีและส่งให้ทางไปรษณีย์2. หลักการทำงานของ Module Upload/Download ไฟล์ - ผู้ใช้ต้องลงทะเบียนขออนุญาตใช้บริการ Upload/Download ไฟล์ โดย Administrator จะเป็นผู้ พิจารณาอนุญาตการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้ต้องยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เช่น ไม่ Upload ไฟล์ที่ไม่สมควร ได้แก่ไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิ ภาพลามกอนาจารหรือมีสิ่งที่เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นต้น - สามารถทวนสอบได้ว่า ไฟล์แต่ละไฟล์ที่ Upload นั้น มาจากผู้ใช้รายใด Upload เมื่อไร และ มีใครบ้างที่ Download ไฟล์ดังกล่าวไปบ้าง - ผู้ Upload ไฟล์ จะต้องให้ข้อมูลของไฟล์ที่จะทำการ Upload ดังนี้ 1. ชื่อเอกสาร เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าเป็นไฟล์เกี่ยวกับอะไร 2. รายละเอียด เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าไฟล์นั้นมีไว้ใช้ประโยชน์อะไร และรายละเอียดเพิ่มเติม 3. วันหมดอายุ เพื่อให้ระบบ ทำการลบไฟล์นั้นออกไปเมื่อครบกำหนดแล้ว - สามารถ Upload ได้ครั้งละหลายๆ ไฟล์ - สามารถกำหนดผู้ที่มีสิทธิ Download ได้ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล ซ้าย ภาพหน้าจอ การ Upload ไฟล์ ซึ่งต้องตั้งชื่อเอกสารด้วย ขวา ภาพหน้าจอ การ กำหนดสิทธิว่าจะให้ ผู้ใดสามารถ Download ได้บ้าง IT for Knowledge Management

  22. หน้า 22 Modules : Links หลักการทำงานของระบบ 1. Module : Links สร้างขึ้นสำหรับรวบรวม Links ที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ และมี คำอธิบายสั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบได้ทันทีว่า เมื่อคลิ๊กลิ๊งค์นี้เข้าไปแล้ว จะพบเนื้อหาสาระอะไรบ้าง 2. หลักการทำงานของ Module นี้คือ - ผู้สร้างลิ๊งค์ใหม่ต้องระบุชื่อหัวเรื่อง และรายละเอียดของลิ๊งค์นั้น สามารถใส่ภาพประกอบลิ๊งค์ได้ - เลือกหมวดหมู่ของลิ๊งค์ ซึ่งหมวดหมู่นี้ Administrator เป็นผู้กำหนดขึ้นมา - กำหนดคำสำหรับใช้ในการค้นหาจาก Search Engine กำหนดวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุดของลิ๊งค์ - สามารถเปิดรับ Comment และ Rating จากผู้เข้ามาใช้งานได้ด้วย IT for Knowledge Management

  23. หน้า 23 Modules : Photo Album หลักการทำงานของระบบ 1. Module : Photo Album สร้างขึ้นสำหรับนำเสนอรูปภาพครั้งละมากๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประมวลภาพ เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นการดึงดูดหรือสร้างความน่าสนใจให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมได้เป็นอย่างดี 2. หลักการทำงานของ Module นี้คือ - ระบุชื่ออัลบั้ม เลือกหมวดหมู่ของอัลบั้ม สามารถกำหนดได้ว่าจะเปิด/ปิด รับ Comment จากผู้ชม - สามารถแนบไฟล์รูปภาพได้ครั้งละหลายๆ ภาพ - สามารถกำหนดอายุการใช้งานของอัลบั้มได้ - สามารถเรียงลำดับอัลบั้มได้ตามความต้องการ - วิธีการดูรูปภาพสามารถ เลือกได้ว่าจะดูแบบ คลิ๊กทีละภาพ หรือ ดูแบบสไลด์โชว์ก็ได้ IT for Knowledge Management

  24. หน้า 24 Modules : Calendar หลักการทำงานของระบบ 1. Module : Calendar สร้างขึ้นสำหรับนำเสนอกำหนดการที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีต ในรูปแบบปฏิทิน โดยผู้ใช้สามารถเลือกมุมมองของปฏิทินได้หลายรูปแบบ นอกจากนั้นยังสามารถ ใช้เป็นกำหนดการของ Event ต่างๆ เพื่อให้รายละเอียดแก่ผู้ใช้ เป็นรายชั่วโมงในเหตุการณ์อีกด้วย 2. หลักการทำงานของ Module นี้คือ - ระบุชื่ออัลบั้ม เลือกหมวดหมู่ของอัลบั้ม สามารถกำหนดได้ว่าจะเปิด/ปิด รับ Comment จากผู้ชม - สามารถแนบไฟล์รูปภาพได้ครั้งละหลายๆ ภาพ - สามารถกำหนดอายุการใช้งานของอัลบั้มได้ IT for Knowledge Management

  25. หน้า 25 Modules : e-Classroom และ Community of Practice (CoP) หลักการทำงานของระบบ 1. Module ทั้งสองมี Function การทำงานเหมือนกัน แต่สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่าง กัน e-Classroom ใช้สำหรับสร้างห้องเรียนอิเล็กโทรนิค ที่ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตร และผู้เรียน เช่น รายละเอียดหลักสูตร รายชื่อผู้เรียน เนื้อหาต่างๆ ของบทเรียน การสอบ Pre-PostTest แบบสอบถาม เว็บบอร์ด Chatroom ลิ๊งค์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง บริการ Upload/Download ไฟล์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และกับวิทยากร สำหรับ Module : CoPหรือCommunity of Practiceมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นเวทีสำหรับกลุ่มผู้สนใจในเรื่องเดียวกัน ได้ใช้ ติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยได้จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับความ ต้องการใช้งานอย่างครบครัน เช่นรายชื่อสมาชิกที่มีระบบติดต่อสื่อสารหลายทาง เช่น ทางโทรศัพท์ ทางอีเมล์ และทาง Short Message (PIM) มีบริการเว็บบอร์ด Chatroom , Blog , Links , Upload /Download ไฟล์ มี Photo Album มี Vote / Poll และ Questionnaire ไว้สำหรับให้สมาชิกในชุมชน ได้ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว2. หลักการทำงานของ Module นี้คือ - Module : e-Classroom ผู้ดูแลระบบจะสร้างห้องเรียนขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้จัดการ เรียนการสอนในหลักสูตรใดๆ โดยมอบอำนาจให้ผู้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนั้นๆ สามารถ กำหนดผู้มีสิทธิ์เข้าเรียนได้เองและจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับบทเรียนต่างๆ การทดสอบก่อนหรือหลัง การเรียน การทำแบบสอบถามหลังการเรียน การทำ Vote / Poll ต่างๆ เป็นต้น และสามารถติด ตามผลการเรียนของผู้เรียน ผ่านทางรายงานแบบต่างๆ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้ อีกทั้งยังสามารถ ติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนผ่านทางเว็บบอร์ด ทาง Short Message หรือทางอีเมล์ได้อย่างสะดวก - Module : CoP ผู้ดูแลระบบจะมอบสิทธิให้แก่ผู้ดูแลชุมชน ได้สร้างชุมชนขึ้นมา โดยสามารถเลือก ได้ว่าต้องการให้ชุมชนมีเครื่องมืออะไรไว้ใช้บ้าง เช่น ถ้าต้องการใช้งานเว็บบอร์ด ก็เลือก Module : Webboard ถ้าต้องการประกาศข่าวสารหรือปฏิทินกิจกรรมก็เลือก Module : Annoucement และCalendar ถ้าต้องการเขียนบันทึกส่วนตัวแบบออนไลน์ ก็เลือก Module : Blog เป็นต้น IT for Knowledge Management

  26. หน้า 26 ภาพแสดง Modules : e-Classroom และ Community of Practice (CoP) IT for Knowledge Management

  27. หน้า 27 Modules : e-Questionnaire หลักการทำงานของระบบ 1. Module : Questionnaire สร้างขึ้นเพื่อเป็นแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็น โดยแบ่งระดับความ คิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ และ 2 ระดับ (Yes/No , ถูก/ผิด) สามารถแสดงผลเป็นกราฟ และค่าสถิติ ต่างๆ เช่น ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น 2. หลักการทำงานของ Module นี้คือ ผู้สร้างแบบสอบถาม สามารถตั้งคำถามได้ไม่จำกัดจำนวน โดยเลือกได้ว่าต้องการให้แสดงความเห็นแบบ 2 Scales (Yes/No) หรือ 5 Scales นอกจากนั้นยัง สามารถกำหนดอายุการใช้งานว่า จะให้แบบสอบถามนี้อยู่บนระบบตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร ผู้ใช้ แต่ละรายสามารถทำแบบสอบถามได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และสามารถให้ความคิดเห็นโดยเขียน ข้อความเพิ่มเติมได้ โดยผู้สร้างแบบสอบถามสามารถทราบได้ว่าใครเป็นผู้ตอบแบบสอบถามใด IT for Knowledge Management

  28. หน้า 28 Modules : e-Questionnaire (ปรับปรุงใหม่) • รูปแบบของคำตอบ 10 ประเภท • Single Line • Multiple Lines • ตัวเลข (Numeric) • Drop Down List • Radio Buttons • Check Boxes • Matrix - Radio Buttons • Matrix - Check Boxes • Ranking • Date / Time • หลักการทำงานของระบบ • สามารถแนบรูปภาพ/วิดีโอหรือเสียงในคำถามได้ • มีรูปแบบของคำตอบให้เลือกใช้ถึง 10 ประเภท • สามารถกำหนดเงื่อนไขการตอบคำถามได้ เช่น - ต้องตอบคำถามนี้ (ห้ามข้าม) - กระโดดข้ามคำถามไปยังข้อที่ต้องการ - จบการสอบถามเพียงเท่านี้ • ใช้งานง่ายและประมวลผลได้ทันทีที่มีผู้ตอบคำถาม • มีรายงานที่แสดงรายละเอียดแยกตามแต่ละรูปแบบของคำถาม พร้อมแสดงกราฟ • Export รายงานไปยัง MS-Word/Excel ได้ • นำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่าง เช่น แบบฟอร์มออนไลน์ ข้อสอบออนไลน์ • กำหนดวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุดการทำแบบสอบถาม • กำหนดให้ทำแบบสอบถามได้ครั้งเดียวหรือไม่จำกัดก็ได้ • จะให้แสดงชื่อของผู้ตอบแบบสอบถามหรือไม่ก็ได้ • สามารถประมวลผลให้ทราบทันที พร้อมแสดงกราฟ • สามารถจัดกลุ่มของคำถามได้ IT for Knowledge Management

  29. หน้า 29 Modules : e-Vote/Poll หลักการทำงานของระบบ 1. Module : Vote/Poll สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้ได้แสดงประชามติต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งสะท้อน ให้เห็นถึงความมีอิสระและกล้าแสดงออกในความคิดของสมาชิกในชุมชนนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ผลของ การโหวตจะแสดงให้เห็นเป็นกราฟได้ทันที 2. หลักการทำงานของ Module นี้คือ ผู้สร้าง Vote จะตั้งคำถาม และตัวเลือกได้ไม่จำกัดจำนวน โดย กำหนดได้ว่าจะให้ผู้ใช้แต่ละคนโหวตได้เพียงครั้งเดียว หรือสามารถโหวตได้หลายครั้ง นอกจากนั้น ยังสามารถกำหนดอายุการใช้งาน ว่าจะให้แบบสำรวจประชามตินี้อยู่บนระบบตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร IT for Knowledge Management

  30. หน้า 30 Modules : e-Examination หลักการทำงานของระบบ 1. Module : Examination สร้างขึ้นเพื่อทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้อาจจะ เป็นการสอบก่อนการเรียน (Pre-Test) หรือทดสอบหลังการเรียน (Post-Test) แล้วก็ได้ โดยผู้สอบ จะสามารถทราบผลการทดสอบทันทีที่สอบเสร็จ 2. หลักการทำงานของ Module นี้คือ 2.1 การสร้างคำถาม ใส่ชื่อของข้อสอบและรายละเอียดของข้อสอบนั้น สามารถจำกัดจำนวนครั้ง ของการทำข้อสอบได้ กำหนดได้ว่าจะให้เฉลยทันทีทุกข้อหรือไม่ สามารถจำกัดเวลาในการทำ ข้อสอบหรือไม่ก็ได้ กำหนดคะแนนที่ถือว่าผ่านเกณฑ์ สามารถเลือกได้ว่าจะให้สุ่มคำถามหรือ ให้แสดงคำถามเรียงลำดับข้อก็ได้ และสามารถกำหนดอายุของข้อสอบว่าจะให้เริ่มทำข้อสอบ ได้ในวันที่เท่าไรและวันที่สิ้นสุดการทำข้อสอบในวันใดก็ได้ การสร้างข้อคำถามให้ดูหน้าถัดไป IT for Knowledge Management

  31. หน้า 31 Modules : e-Examination (ต่อ) การสร้างข้อคำถามแต่ละข้อ สามารถเขียนคำถามเป็นข้อความและ/หรือภาพนิ่ง หรือสื่อด้วยMultimedia อื่นๆ เช่น วิดีโอ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบแอนนิเมชั่น ก็ได้ โดยสามารถกำหนด คะแนนของแต่ละข้อไม่เท่ากันได้อีกด้วย สำหรับคำตอบก็สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นแบบ 2 ตัวเลือก (ถูก/ผิด) หรือ 3-5 ตัวเลือก (ปรนัย) ได้อีกด้วย และต้องระบุด้วยว่าตัวเลือกใดเป็น คำตอบที่ถูกต้อง IT for Knowledge Management

  32. หน้า 32 Modules : e-Examination (ต่อ) 2. หลักการทำงานของ Module นี้ (ต่อ) 2.2 การทำข้อสอบ เมื่อผู้สอบเลือกชุดข้อสอบแล้วจะพบหน้าจอแสดงรายละเอียดและคำอธิบาย วิธีการทำข้อสอบ เมื่อผู้ทำข้อสอบเข้าใจวิธีการและพร้อมแล้วให้คลิ๊กที่ปุ่ม “เริ่มทำข้อสอบ” ในคำถามแต่ละข้อจะแสดงให้ผู้ทำข้อสอบทราบถึงจำนวนข้อสอบที่ยังเหลือและเวลาที่ยังเหลืออยู่ เพื่อให้ทราบสถานการณ์และประมาณเวลาในการทำข้อสอบในแต่ละข้อได้ด้วยตนเอง และเมื่อ เลือกคำตอบที่ต้องการแล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม “ตกลง” เพื่อทำข้อสอบข้ออื่นต่อไป IT for Knowledge Management

  33. หน้า 33 Modules : e-Examination (ต่อ) 2. หลักการทำงานของ Module นี้ (ต่อ) 2.3 การดูผลการสอบ สำหรับผู้สอบสามารถดูผลการสอบของตนเองได้ทันทีที่สอบเสร็จ ดังภาพนี้ แต่สำหรับผู้ดูแลระบบหรือผู้จัดการสอบ สามารถดูผลการสอบของผู้สอบได้ทั้งหมด ดังภาพต่อไปนี้ โดยถ้าต้องการดูผลการสอบอย่างละเอียดของผู้สอบคนใด ก็สามารถคลิ๊กที่ชื่อของผู้สอบคนนั้นได้ IT for Knowledge Management

  34. หน้า 34 Modules : Video Clip Sharing แนวคิดในการสร้างระบบ ระบบงานนี้ได้แนวคิดมาจาก YouTube.com โดยนำวิธีการมาประยุกต์ใช้กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างพนักงาน SCG ตัวอย่างเช่น พนักงานใน Line การผลิต ที่มีความรู้และทักษะต่างๆในงาน อยู่มากมาย ถ้าให้พนักงานเหล่านั้นเขียนบรรยายความรู้หรือทักษะที่ตนมีอยู่เป็นลายลักษณ์อักษร ก็จะเป็นการยากที่จะกระทำ แต่ถ้าให้พนักงานบอกกล่าวเล่าเรื่องหรือถ่ายทอดประสบการณ์ของ เขาเหล่านั้น ผ่านทางวิดีโอคลิปที่สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเองหรือเพื่อนร่วมงานโดยใช้กล้องจาก โทรศัพท์มือถือ ก็จะทำให้ง่ายและรู้สึกสนุกกับการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ออกมา หลักการทำงานของระบบ 1. สร้างโปรแกรมที่สามารถให้ผู้ใช้สามารถ Upload วิดีโอคลิปจากโทรศัพท์มือถือได้ง่ายๆ โดยแบ่ง หมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา โดยมีเว็บบอร์ดต่อท้ายแต่ละคลิปเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าเยี่ยมชม ได้แสดงความคิดเห็นหรือสอบถามปัญหาต่างๆ ได้2. จัดทำระบบช่วยเหลือ (Help) เพื่อสอนวิธีการใช้งานให้กับผู้ใช้ทั้งวิธีการ Upload ไฟล์ และวิธีการ เรียกชมวิดีโอคลิป3. สร้างลิ้งค์ไปยังวิดีโอคลิปอื่นๆ หรือบล็อกของผู้ Upload ไฟล์ เพื่อสร้าง Series ของการรับชมได้อย่าง สะดวกและต่อเนื่อง โดยไม่ต้องไปค้นหาวิดีโอคลิปจากหน้าจออื่นๆ IT for Knowledge Management

  35. หน้า 35 Modules : SCG Wiki แนวคิดในการสร้างระบบ ระบบงานนี้ได้แนวคิดมาจาก Wikipedia.com โดยนำวิธีการมาประยุกต์ใช้กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างพนักงาน SCG โดยนำเสนอในรูปแบบสารานุกรม ที่เรียงลำดับชื่อหัวข้อของบทความตาม ตัวอักษร ก-ฮ A-Z 0-9 ซึ่งบทความแต่ละเรื่องจะเปิดโอกาสให้พนักงาน SCG ที่มีความรู้ในเรื่อง นั้นๆ สามารถเข้ามาร่วมกันเขียน ร่วมกันแก้ไขบทความนั้น จนเป็นบทความที่สมบูรณ์ หลักการทำงานของระบบ 1. สร้างโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถเปิดหัวข้อเรื่องที่ตนเองถนัดหรือมีความรู้อยู่ โดยระบุชื่อผู้เขียนคนแรก แล้วเปิดโอกาสให้พนักงาน SCG คนอื่นๆ ที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เข้ามาช่วยกันเขียนเพิ่มเติมหรือ แก้ไขเนื้อหาจะเป็นบทความที่สมบูรณ์ โดยเก็บชื่อของผู้ร่วมเขียนทุกคนไว้ในระบบ2. มีระบบแก้ไขกลับคืนเนื้อหาได้หลายเวอร์ชั่น ตามที่ผู้เขียนคนแรกหรือ Admin เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อ ป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีต่อระบบเข้ามาก่อกวน3. สามารถกำหนด Password สำหรับป้องกันหรือจำกัดผู้เข้ามาอ่านบทความได้ IT for Knowledge Management

  36. หน้า 36 Modules : ทำเนียบพนักงาน แนวคิดในการสร้างระบบ จากการสังเกตพบว่าเมื่อมีการรวมกลุ่มที่ใด สมาชิกในกลุ่มก็ย่อมที่จะอยากที่จะรู้จักกับเพื่อน สมาชิกรายอื่นๆ มากขึ้น บางครั้ง Organizer ก็จัดให้มี Session ที่เรียกว่า Ice Breaking เพื่อเร่งหรือกระตุ้นให้สมาชิกในกลุ่มได้รู้จักการมากขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นบางครั้งก็มีการทำหนังสือทำเนียบรุ่นขึ้นมาเพื่อบันทึกความทรงจำระหว่างสมาชิกให้ยืนยาวและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หรือบางกลุ่มอาจจะสร้างเว็บไซต์ประจำรุ่นก็มี จากที่มาดังกล่าวจึงมีแนวคิดที่จะอำนวย ความสะดวกในการสร้างทำเนียบพนักงานขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำเนียบรุ่นต่างๆ ในเว็บ หรือรายชื่อสมาชิกของ CoP หรือรายชื่อผู้เข้าอบรมสัมมนา ฯลฯ หลักการทำงานของระบบ 1. สร้างโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลของสมาชิกได้อย่างไม่จำกัดประเภทของข้อมูล เช่น เป็น Textเป็นตัวเลข เป็นรูปภาพ หรือไฟล์วิดีโอ/ไฟล์เสียง 2. สามารถ Export / Import ข้อมูลไป-มา ระหว่างระบบงานนี้กับ MS-Excel ได้ เพื่อสะดวกต่อการเก็บ ข้อมูลเบื้องต้น ที่ปกติทั่วไปแล้วมักจะเริ่มต้นด้วยการบันทึกข้อมูลเหล่านี้ด้วย MS-Excel3. สมาชิกสามารถแก้ไข/เพิ่มเติมข้อมูลของตนเองได้4. สามารถพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ได้ IT for Knowledge Management

  37. หน้า 37 Modules : E-Form แนวคิดในการสร้างระบบ E-Form เกิดจากความต้องการของผู้จัดอบรม/สัมมนา ที่ต้องการอยากทราบว่าหลักสูตรอบรมที่ ประกาศออกไป จะมีคนสนใจตอบรับการเข้าอบรม/สัมมนามากน้อยเพียงใด สมัครเข้ารุ่นใดบ้าง เลือกเดินทางไปสถานที่จัดอบรมโดยวิธีใด เลือกกิจกรรมพิเศษใดที่จัดเตรียมไว้ และอื่นๆ ที่อยาก ทราบซึ่งเดิมผู้จัดอบรมจะสร้างแบบฟอร์มแล้วให้ผู้เข้าอบรม/สัมมนาตอบกลับมาแล้วนำมาสรุปผล ซึ่งใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างนาน ทั้งเวลาในจัดเตรียมเอกสารและเวลารอคอยให้ตอบกลับมา ระบบงานนี้เดิมจัดทำอย่างง่ายๆ เป็นครั้งคราวด้วยโปรแกรม ASP ร่วมกับ MS-Access ซึ่งยากต่อ การใช้งานโดยผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีทักษะในด้านการเขียนโปรแกรมหรือการใช้ MS-Access ดังนั้นจึง พัฒนาะบบ E-Form ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างฟอร์มใดๆ ที่ต้องการได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องมี ความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมแต่อย่างใดเลย หลักการทำงานของระบบ 1. ผู้ใช้สามารถกำหนดหัวข้อคำถามที่ต้องการอยากทราบได้โดยไม่จำกัด2. สามารถเรียกดูผลการตอบแบบฟอร์มได้ทั้งเป็นรายบุคคลและผลสรุปรวม3. สามารถส่งผลออกทาง MS-Word หรือ MS-Excel เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลอย่างอื่นๆ ต่อไปได้ IT for Knowledge Management

  38. หน้า 38 Knowledge Capturingวัตถุประสงค์ เพื่อบันทึกความรู้จาก Tacit Knowledge ให้ออกมาเป็น Explicit Knowledge ผ่าน สื่อ Multimedia ได้แก่ ซีดี เว็บไซต์ หรือถ่ายทอดสดผ่าน SCG Intranetวิธีดำเนินการ 1. จัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบัน SCG ใช้ Software ชื่อ AcuLearn ซึ่งประกอบด้วย-AcuStudio/Liveโดยติดตั้งที่ Notebook เพื่อใช้ปฏิบัติการบันทึกความรู้ใน ภาคสนามเช่น ที่เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องอบรม/สัมมนา ในสถานที่ ทำงานหรือสถานที่ใดๆ ที่ต้องการจัดเก็บความรู้-AcuManagerโดยติดตั้งที่ Web Server เพื่อใช้จัดการกับเนื้อหาความรู้ (Contents) ที่บันทึกโดย AcuStudio/Live เช่น การถ่ายทอดสดรายการต่างๆ ไปยังคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย SCG Intranet หรือ นำเสนอแบบ Web On-Demand บน KM Web Portal ซึ่งจัดทำระบบที่ง่ายต่อการค้นหาของผู้ใช้ เช่น แบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจนหรือจัดทำระบบ Search Engine ที่ค้นหาได้ อย่างรวดเร็ว-AcuStreamโดยติดตั้งที่ Streaming Server ที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับNetwork Traffic ระหว่าง Campus ต่างๆ ใน SCG เช่น บ้านโป่ง ระยอง ท่าหลวง แก่งคอย ลำปาง และทุ่งสง เป็นต้น 2.จัดหาอุปกรณ์ ได้แก่ กล้องถ่ายวิดีโอ โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ ที่มี Specificationsที่เหมาะสมกับการใช้งาน 3.เตรียมบุคลากรที่มีความสามารถ ด้านการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว และมีความ สามารถด้านการเขียนเว็บเพ็จ และคอมพิวเตอร์กราฟิค/มัลติมีเดีย 4. บันทึกรายการที่ต้องการจัดเก็บความรู้ โดยเลือกวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม เช่น การถ่ายทอดสด การจัดทำเป็นซีดี หรือการนำเสนอบนเว็บ เป็นต้น 5.จัดเก็บความรู้ดังกล่าวไว้ใน Knowledge Database เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป IT for Knowledge Management

  39. หน้า 39 Web On-Demand IT for Knowledge Management

  40. หน้า 40 Software Digital Camera Notebook Computer สาย Fire wire IT for Knowledge Management

  41. หน้า 41 How to use YouTube (แหล่งรวมความรู้ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย) YouTube คือเว็บไซต์ (http://www.youtube.com) ที่เป็นแหล่งรวมวิดีโอจากผู้ใช้ทั่วโลกที่ ใหญ่ที่สุด เนื่องจากมีจำนวนวิดีโอคลิปในฐานข้อมูลมากที่สุด และมีจำนวนผู้ใช้ ที่เข้าไปชมคลิปวิดีโอมากที่สุดในขณะนี้ (มกราคม 2551) เพราะอะไร YouTube จึงได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก 1. YouTube เข้าตลาดในจังหวะที่เหมาะสม ซึ่งไม่ใช่รายแรกที่เข้าตลาดวิดีโอคลิป ออนไลน์ แต่ YouTube เข้าตลาดมาในจังหวะที่เทคโนโลยีมีความพร้อมมากที่ สุด กล่าวคือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมีราคาถูกและเป็นที่นิยมมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีของกล้องวิดีโอ มีการพัฒนาไปยังเครื่องโทรศัพท์มือถือ ทำให้ประชาชนทั่วโลกสามารถสร้างวิดีโอคลิปได้ง่ายๆโดยไม่ต้องเตรียมการมาก เหมือนกับในอดีตที่เวลาจะถ่ายวิดีโอ ต้องเตรียมกล้อง/เทป/สายไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่ง มีความยุ่งยากและจะไม่ได้ภาพเหตุการณ์สดๆ ที่น่าสนใจ 2. YouTube มีวิดีโอคลิปมากกว่าเว็บไซต์อื่นๆ ที่สำคัญคือมีวิดีโอคลิปของคนไทย อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้ YouTube อยู่ในลำดับต้นๆ ของการค้นหาจากSearch Engine อยู่เสมอ เช่น จาก Google เป็นต้น 3. YouTube ทำงานได้รวดเร็วมากทั้งการค้นหาและการโหลดข้อมูล 4. YouTube สามารถทำงานกับภาษาไทยได้ 5. TouTube มีการจัดระบบหมวดหมู่ที่ดี และมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่สัมพันธ์กัน ไปสู่วิดีโอคลิปอื่นๆ ได้อย่างน่าสนใจมาก 6. วิดีโอคลิปใน YouTube สามารถ Download มาเก็บไว้ใน Harddisk ของเราได้ วิธีสมัครเป็นสมาชิกของ YouTube 1. เปิดเว็บไซต์ http://www.youtube.comและคลิ๊กที่ Sign Up (ดูภาพด้านล่าง) 2. จากนั้นให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม โดยเลือก Account Type เป็น Standard 3. เมื่อสมัครเสร็จแล้ว จะได้ User Name กับ Password เพื่อ นำไปใช้สำหรับการLog In เข้าใช้งาน ทุกครั้ง ที่มา : จากหนังสือ “วิชามาร เซียนโหลดคลิปวิดีโอ YouTube” โดย ณัฐวุฒิ ปิยบุปผชาติ กุมภาพันธ์ 2550 IT for Knowledge Management

  42. หน้า 42 ถ้าท่านไม่สมัครเป็นสมาชิกของ YouTube จะไม่สามารถ Upload วิดีโอคลิปได้ แต่สามารถค้นหาและรับชมวิดีโอคลิปได้ แต่อาจจะมีบางคลิปที่สงวนไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น วิธีการค้นหาวิดีโอคลิปที่ต้องการ 1. ใส่คำสำหรับใช้ค้นหา (Keyword) ที่ต้องการ ในช่อง Search จากนั้นให้คลิ๊กที่ปุ่ม Search 2. ถ้าสามารถค้นหาคำที่ต้องการได้ ท่านจะพบกับหน้าจอที่ Link ไปยังวิดีโอคลิปต่างๆ เมื่อท่านคลิ๊กเลือกวิดีโอคลิปที่ต้องการแล้วท่านอาจจะต้องรอสักครู่เพื่อให้ข้อมูล ไหลเข้าสู่ที่พักข้อมูลหรือ Buffer และจะทยอยแสดงวิดีโอจากBuffer ไปเรื่อยๆในขณะที่ กำลังโหลดข้อมูลส่วนที่เหลือ ไปพร้อมๆ กัน โดยท่านสามารถ ดูภาพสถานะเหล่านี้ ได้จากPanel ที่อยู่ใต้ภาพวิดีโอ ระหว่างที่กำลังรอการโหลดข้อมูลอยู่นั้น ท่านอาจจะทำการโหลดข้อมูลอื่นๆ ควบคู่กันไป โดยคลิ๊กขวาที่ลิ๊งค์ที่ท่านต้องการ แล้วเลือกคำสั่ง Open Link in New Window ดังภาพขวามือนี้ IT for Knowledge Management

  43. หน้า 43 การบันทึกวิดีโอจาก YouTube มาเก็บไว้ใน Harddisk มี 2 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. ขั้นตอนการบันทึกไฟล์จาก Host Server ซึ่งเก็บอยู่ใน Flash Video Format (flv) มาเก็บไว้ ที่ Harddisk ของเรา 2. ขั้นตอนการ Convert จาก flv Format มาเป็น Format ที่เราต้องการ เช่น wmv,mpg,mp4 ขั้นตอนที่ 1 การบันทึกไฟล์จาก Host ของ YouTube มาไว้ที่เครื่องของเรา จำเป็นต้องใช้ Software ช่วย ซึ่งมีอยู่หลายตัว เช่น YouTube Downloder , YouTube Grabber โดยท่านสามารถหา Download ไม่ยากแต่จะขอแนะนำเว็บไซต์หนึ่งที่ให้บริการเพื่อการนี้โดยเฉพาะโดยเราไม่ต้อง Install Software ดังกล่าวข้างต้นเลย เว็บไซต์นี้คือ http://keepvid.com/ หลักการง่ายๆ คือเราต้องหาว่า URL ของวิดีโอคลิปที่เราต้องการคืออะไร แล้วนำ URL นั้นไปให้เว็บkeepvid.com จัดการให้ ตามที่แสดงวิธีการดังภาพต่อไปนี้ในขณะที่แสดงคลิปวิดีโอที่ต้องการ ให้ท่านคลิ๊กที่คำว่า more… เมื่อได้ URL ของวิดีโอคลิปที่ต้องการแล้ว ให้ท่านนำไป Paste ในเว็บไซต์ http://www.keepvid.comดังภาพต่อไปนี้ จากนั้นเป็นขั้นตอนการบันทึกไฟล์ (flv) ลงใน Folder ที่ต้องการ แล้วรอการ Download ไฟล์จาก Hostเมื่อได้ไฟล์ที่ต้องการมาแล้ว จะต้องนำมาผ่านขั้นตอน Convert เพื่อให้อยู่ใน Format ที่ต้องการต่อไป IT for Knowledge Management

  44. หน้า 44 ขั้นตอนที่ 2 การแปลง (Convert) ไฟล์ Flash Vodeo Format (flv) เพื่อให้อยู่ใน Format ที่ต้องการ เช่น wmvซึ่งจะขอแนะนำ Software ชื่อ Total Video Converter (TVC) โดยเข้าสู่โปรแกรม TVC แล้วทำตามคำอธิบายในภาพนี้ จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอเพื่อให้ท่านเลือกว่าจะ Convert ไปยัง Format ใด ซึ่งมีให้เลือกมากมาย ดังนี้ คำแนะนำสำหรับการเลือกว่าจะใช้ Format ใด 1. ถ้าต้องการนำไปใช้ในเว็บให้เลือก wmv หรือ swf 2. ถ้าต้องการนำไปดูในโทรศัพท์มือถือให้เลือก 3GP Video หรือ Mpeg4 Video 3. ถ้าต้องการนำไปดูใน iPod ให้เลือก iPod Mpeg4 4. ถ้าต้องการนำไปสร้างแผ่น DVD ให้เลือก DVD Mpeg ถ้าแผ่น VCD เลือก VCD Mpeg IT for Knowledge Management

  45. หน้า 45 จากนั้นจะกลับมาสู่หน้าจอดังนี้ ให้ท่านเลือกคลิ๊กเครื่องหมาย “ถูก” หน้าไฟล์ที่ต้องการ และกดปุ่มConvert Now เพื่อเริ่มต้นการ Convert ซึ่งอาจจะใช้เวลานานพอสมควร ในหน้าจอนี้ท่านอาจจะเปลี่ยนแปลงชื่อ Folder สำหรับเก็บไฟล์ที่ Convert เสร็จแล้ว โดยคลิ๊กที่ปุ่ม … ดังภาพด้านล่างนี้ ถ้าท่านไม่ต้องการ Convert ไฟล์ flv ไปยัง Format อื่นๆ ต้องการเพียงเปิดดูวิดีโอคลิปเท่านั้น ท่านก็สามารถใช้โปรแกรม Total Video Player ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ติดมากับโปรแกรม TVC สำหรับวิธีการใช้งานก็เรียบง่ายเหมือนกับโปรแกรม WinAmp (โปรดดูภาพด้านซ้ายมือ) IT for Knowledge Management

More Related