1 / 19

(หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว10 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2552)

กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552. (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว10 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2552). โดย คุณอัญชลี สงวนพงศ์ ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล

Download Presentation

(หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว10 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2552)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552 (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว10 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2552) โดย คุณอัญชลี สงวนพงศ์ ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล

  2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 107ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเมื่อ • ตาย • พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ • ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือลาออกมีผลตามมาตรา 109 • ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา 59 มาตรา 67 มาตรา 101 มาตรา 110 หรือมาตรา 111 หรือ • ถูกสั่งให้ลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออก

  3. ที่มา..... 1. พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 110(5) ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ 2. หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการ พลเรือนสามัญตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว20 ลงวันที่ 3 กันยายน 2552 “ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ” สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  4. หลักการ • ทรัพยากรบุคคลถือเป็นทุนสำคัญ ซึ่งต้องได้รับการบริหารจัดการเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า • ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน และส่วนราชการมีหน้าที่เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการบริการประชาชนของทางราชการโดยการพัฒนาข้าราชการให้มีคุณภาพในการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  5. หลักการ • ข้าราชการที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการกรณีนี้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฏหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ • ข้าราชการที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการกรณีนี้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  6. วัตถุประสงค์..... เพื่อให้ส่วนราชการมีโอกาสปรับปรุงประสิทธิภาพของกำลังคน และสามารถหมุนเวียนกำลังคนที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาทำหน้าที่แทน โดยการสั่งให้ข้าราชการที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลออกจากราชการ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  7. กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการ ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552 ก สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  8. สาระสำคัญของกฎ ก.พ. 1. ให้ กฎ.ก.พ. นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (18 มี.ค.52) 2. ให้ยกเลิก กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2547 สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  9. สาระสำคัญของกฎ ก.พ. 3. การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการ กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่น่าพอใจของทางราชการนั้น.... ให้พิจารณาจาก ผลการปฏิบัติราชการเป็นหลัก และให้ส่วนราชการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. นี้ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  10. สาระสำคัญของกฎ ก.พ. 4. เมื่อผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามมาตรา 76 แห่ง พรบ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 Note: - กำหนดเป้าหมายการพัฒนาปรับปรุงตนเองในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการให้ชัดเจน เพื่อใช้ในการประเมินผลครั้งถัดไป - การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการพัฒนาปรับปรุงตนเองให้มีระยะเวลาไม่เกินสามรอบการประเมิน - ถ้าเห็นว่าไม่เป็นธรรมอาจทำคำคัดค้านยื่นต่อผู้บังคับบัญชารวมไว้กับผลการประเมินเพื่อเป็นหลักฐานได้ ผลการปฏิบัติราชการ อยู่ในระดับที่ต้องให้ได้รับ การพัฒนาปรับปรุงตนเอง แจ้งให้ข้าราชการผู้นั้นทราบ กำหนดให้ข้าราชการผู้นั้น เข้ารับการพัฒนา • ลงรายมือชื่อรับทราบ • จัดทำคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  11. สาระสำคัญของกฎ ก.พ. 5.เมื่อผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำมั่นในการพัฒนา ปรับปรุงตนเอง แล้วว่า ไม่ผ่านการประเมินให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมี อำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 กรณีที่ 1 และ 3 ให้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวง หาก อ.ก.พ.กระทรวง เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่เหมาะสมและ มีมติประการใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ.กระทรวงมีมติ 1. ถ้าข้าราชการผู้เข้ารับการประเมินประสงค์จะออกจากราชการ ก็ให้สั่งให้ออกจากราชการ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมี อำนาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา 57 2. สั่งให้ข้าราชการผู้นั้นเข้ารับการประเมินเข้ารับการพัฒนาปรับปรุงตนเองอีกครั้งโดยทำคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองเป็นครั้งที่ 2 3. สั่งให้ออกจากราชการ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  12. สาระสำคัญของกฎ ก.พ. 6.เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติเป็นประการใดแล้ว และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีคำสั่งหรือปฏิบัติตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงมีมติแล้ว ให้แจ้งคำสั่งหรือ การปฏิบัติดังกล่าวให้ข้าราชการพลเรือนผู้นั้นรับทราบ 7. ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตาม กฎ ก.พ. นี้ มีสิทธิอุทธรณ์ ต่อ ก.พ.ค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบ หรือวันที่ถือว่าทราบคำสั่งให้ออกจากราชการ 8. การดำเนินการก่อนวันที่ กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ ให้การพิจารณาสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎ ก.พ. ฉบับเดิมต่อไป (ฉบับปี 2547) สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

  13. สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน คำถาม -คำตอบ

  14. คำถาม-คำตอบ 1 สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน คำถาม คำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง ควรจะประกอบด้วยข้อความใดบ้าง คำตอบ คำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง เป็นข้อตกลงในการปรับปรุงตนเอง ในการปฏิบัติราชการหรือสัญญาที่จะปฏิบัติราชการให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายและมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล รวมทั้งการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ดังนั้น คำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง ควรประกอบด้วย 1. งานที่มอบหมายให้ผู้ทำคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองทำให้สำเร็จในรอบการประเมิน (6 เดือน) ถัดไป 2. ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานที่ผู้ทำคำมั่น ในการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นภายในระยะเวลา 6 เดือน (รอบการประเมิน)

  15. คำถาม-คำตอบ 2 สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน คำถาม กรณีข้าราชการ ไม่ผ่านการประเมินใน 2 รอบแรก ในรอบที่ 3 ผ่าน แต่ในรอบที่ 4 ไม่ผ่านอีก ส่วนราชการสามารถให้ออกจากราชการตามกฎ ก.พ. ดังกล่าวได้หรือไม่ หรือนับใหม่ คำตอบ กรณีนี้ผลการประเมิน 2 รอบแรก ปรากฏว่าได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 แต่ รอบที่ 3 ผลการประเมินได้คะแนนสูงกว่าร้อยละ 60 ถือว่าไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องสั่งให้ออกจากราชการตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณี ไม่สามารถปฏิบัติปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552 เนื่องจากระยะเวลาในการประเมินผลการปฏิบัติราชการในช่วงแรกกำหนดไว้ไม่เกิน 3 รอบการประเมิน ในกรณีที่การประเมินผลการปฏิบติราชการรอบที่ 4 ปรากฏว่า ผลการประเมินได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 อีก ก็ต้องนับเป็นการพิจารณาตามกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว ในรอบที่ 1 โดยเริ่มนับใหม่

  16. คำถาม-คำตอบ 3 สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน คำถาม หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 10 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2552 เรื่องกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552 (ว 10/2552) สามารถนำไปใช้บังคับสำหรับลูกจ้างประจำได้หรือไม่ คำตอบ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำ พ.ศ.2539 ข้อ 60(5) กำหนดว่าเมื่อลูกจ้างประจำผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามข้อ 13 สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ พลเรือนโดยอนุโลม ดังนั้น ส่วนราชการจึงต้องนำกฎ ก.พ.ฉบับดังกล่าวฉบับนี้ไปใช้บังคับกับลูกจ้างประจำโดยอนุโลมตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงการคลัง ดังกล่าว

  17. คำถาม-คำตอบ 4 สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน คำถาม กรณีข้าราชการป่วย ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจบรรจุตามมาตรา 57 สามารถสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการตาม กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ.2552 ได้หรือไม่ คำตอบ กรณีข้าราชการป่วยและได้รับอนุญาตให้ลาป่วยบ่อยครั้ง หรือลาป่วยติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้อย่างสม่ำเสมอ ควรพิจารณา สั่งให้ออกตามหลักเกณฑ์ และวิธีการใน กฎ ก.พ. ที่จะออกตามมาตรา 110 (1) ที่บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ เหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณีข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นเจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ จะตรงกับกรณีมากกว่า

  18. คำถาม-คำตอบ 5 สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน คำถาม การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 (5) ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอายุราชการ 10 ปี ขึ้นไป จะได้รับบำนาญหรือไม่ คำตอบ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 15 บัญญัติว่าข้าราชการผู้รับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนซึ่งมีเวลาสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญไม่ถึง 10 ปี บริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ข้าราชการผู้ซึ่งมีเวลาสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่ 10 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิได้บำนาญ ดังนั้น ผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 (5) ที่มีอายุราชการ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้บำนาญ

  19. Thank You!

More Related