1 / 33

นำเสนอโดย อาจารย์ ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา Weerapun.R@chula.ac.th

โครงสร้างหลักสูตรวิศวกรรม ศาสตร บัณฑิต ที่เน้นผลการเรียนรู้ตาม TQF กรณีศึกษา : หลักสูตรวิศวกรรม ศาสตร บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นำเสนอโดย อาจารย์ ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา Weerapun.R@chula.ac.th

Download Presentation

นำเสนอโดย อาจารย์ ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา Weerapun.R@chula.ac.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงสร้างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ที่เน้นผลการเรียนรู้ตาม TQF กรณีศึกษา: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอโดย อาจารย์ ดร.วีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา Weerapun.R@chula.ac.th อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้แทนเครือข่ายการศึกษาทั่วไป เครือข่ายภาคกลางตอนบน

  2. หัวข้อการนำเสนอ • ความเป็นมาและข้อจำกัดของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต • รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสู่หลักสูตรตาม TQF • แนวความคิดการกำหนดผลการเรียนรู้กับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  3. ความเป็นมาและข้อจำกัดของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตความเป็นมาและข้อจำกัดของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอน และได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเกือบร่วม 100 ปี นับจากการก่อตั้งโรงเรียนยันตรศึกษา จนมาเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตจากสภาวิศวกรมีประมาณ 70 แห่ง • สภาวิศวกรมีการกำหนดให้นิสิตนักศึกษาที่ต้องการใบประกอบวิชาชีพวิศวกร (กว.) จำเป็นต้องสอบวัดความรู้

  4. สาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม 7 สาขา • วิศวกรรมโยธา • วิศวกรรมเหมืองแร่ • วิศวกรรมเครื่องกล • วิศวกรรมไฟฟ้า • วิศวกรรมอุตสาหการ • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม • วิศวกรรมเคมี

  5. หน่วยงานกำกับมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยหน่วยงานกำกับมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตอนาคตจะมีหน่วยงานที่กำกับมาตรฐานการศึกษาทั้งในและต่างประเทศอาทิเช่น • หน่วยรับรองหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติเช่น ABET, APECเป็นต้น • หน่วยรับรองหลักสูตรในระดับประเทศเช่น สภาวิศวกร และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นต้น • หน่วยรับรองหลักสูตรในระดับมหาวิทยาลัยเช่น สภามหาวิทยาลัย

  6. มาตรฐานในกรอบนานาชาติมาตรฐานในกรอบนานาชาติ • ข้อมูลจากการนำเสนอของ Prof.Dr.Methi Wecharatana, New Jersey Institute of Technology, Aug.6,2009.ได้นำเสนอว่าบัณฑิตวิศวกรไทยในปี 2025 ควรเป็นอย่างไร

  7. หน่วยรับรองหลักสูตรในประเทศหน่วยรับรองหลักสูตรในประเทศ • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตมีหน่วยรับรองหลักสูตรในประเทศคือ • สมาคมวิชาชีพ  สภาวิศวกร • ระเบียบสภาวิศวกรว่าด้วย เกณฑ์การรับรองหลักสูตรและสถาบันการศึกษาเพื่อเทียบปริญญา ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตรเทียบเท่าในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ.2544 • สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา • ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548

  8. ฝึกงาน 2 หน่วยกิต และโครงงานปี 4 อีก 3 หน่วยกิต 18 x 8 + 2 = 146

  9. การบริหารรายวิชาสหกิจศึกษาของหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการการบริหารรายวิชาสหกิจศึกษาของหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ

  10. ข้อเสนอแนะสำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตข้อเสนอแนะสำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสำหรับประเทศไทย แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มหลักสูตรที่ควบคุมโดยสภาวิศวกร 7 สาขาวิชา และกลุ่มที่ไม่มีการควบคุม • ผู้บริหารหลักสูตรควรพิจารณาตัดรายวิชาที่ซ้ำซ้อน และมีเนื้อหาที่มากจนเกินไปลงให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของสภาวิศวกร และความต้องการผลการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้อย่างเหมาะสมของแต่ละสถาบันทั้งความรู้ที่เชี่ยวชาญ (วิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมได้) และทักษะวิชาชีพ (มีความสามารถในการทำงานทางวิศวกรรมได้)

  11. ข้อเสนอแนะสำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตข้อเสนอแนะสำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตที่เหมาะสมนั้นควรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่ต้องการเน้นทักษะวิชาชีพ ซึ่งอาจจะมีการเรียนรู้ผ่านวิชาสหกิจศึกษา และหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องการเน้นสายวิชาการอย่างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  12. แนวทางการปรับเปลี่ยนหลักสูตรวิศวกรรมศาตรบัณฑิต กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรทั้งหลักสูตร 13 สาขาวิชา ให้เป็นหลักสูตรที่มีวิชาการศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต โดยการปรับเปลี่ยนดังนี้ • วิชาศึกษาทั่วไปเดิม 12 หน่วยกิต ใน 4 กลุ่มวิชา คือ วิทย์-คณิต มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสหศาสตร์ • วิชาภาษาอังกฤษเดิม 6 หน่วยกิต ไปเป็น 12 หน่วยกิต • วิชาศึกษาทั่วไปของคณะฯ อีก 6 หน่วยกิต ซึ่งเป็นวิชาเปิดใหม่ได้แก่Engineering Essential และ Exploration Engineering World

  13. นอกจากนี้ยังมีการปรับเพิ่มจำนวนหน่วยกิตการเขียนแบบทางวิศวกรรมจากเดิม 2 หน่วยกิต ให้เป็น 3 หน่วยกิต • จากการเปลี่ยนแปลงที่มีการเพิ่ม ทำให้ต้องมีการลดรายวิชาลงดังนี้ • ตัดรายวิชา Manufacturing Process • ตัดรายวิชา Engineering Mangament • ตัดรายวิชาอื่นๆ ในหลักสูตร เช่น จำนวนหน่วยกิตในวิชาบังคับ และวิชาเลือก แล้วแต่การพิจารณาของหลักสูตร เพื่อให้เหลือหน่วยกิตรวมไม่เกิน 145 หน่วยกิต

  14. ผลการเรียนรู้ที่กำหนดโดยสำนักงานศึกษาทั่วไป จุฬาฯ

More Related