1 / 16

ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. บรรยายโดย ศรีประภา ถมกระจ่าง ผู้เชี่ยวชาญภารกิจการส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. วัตถุประสงค์.

Download Presentation

ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 บรรยายโดย ศรีประภา ถมกระจ่าง ผู้เชี่ยวชาญภารกิจการส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ สำนักงาน ก.พ.ร.

  2. วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานของจังหวัดมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการได้ตามแนวทาง วิธีการ ที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 (ข้อ 6) และแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งใช้เป็นกรอบในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามตัวชี้วัดที่ 10 “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” 2

  3. คำอธิบาย • การควบคุมภายใน หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และการใช้ทรัพยากร ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลืองหรือการทุจริต ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายซึ่งรวมถึงการปฏิบัติงานตามระเบียบของฝ่ายบริหาร • ความสำเร็จของการควบคุมภายในภาคราชการ จะพิจารณาจากความสามารถของหน่วยงานในการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544(ข้อ 6) และแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ 3

  4. แนวคิดของการควบคุมภายในแนวคิดของการควบคุมภายใน • การควบคุมภายในเป็นกระบวนการที่รวมไว้หรือเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานตามปกติ • การควบคุมภายในมิใช่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง และมิใช่ผลสุดท้ายของการกระทำแต่เป็นกระบวนการ (Process) ที่มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกำหนดไว้ในกระบวนการปฏิบัติงาน (Builtin) ประจำวันตามปกติของส่วนราชการ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงควรนำการควบคุมภายในมาใช้โดยรวมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารงาน ซึ่งได้แก่การวางแผน (Planning) การดำเนินการ (Executing) และการติดตามผล (Monitoring) • การควบคุมภายในเกิดขึ้นได้โดยบุคลากรของส่วนราชการ • บุคลากรทุกระดับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้ความสนับสนุนระบบการควบคุมภายในของส่วนราชการให้มีประสิทธิผล โดย • ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดและจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล • การสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมการควบคุม • การกำหนดทิศทาง กลไกการควบคุมและกิจกรรมต่าง ๆ • การติดตามผลการควบคุมภายใน • บุคลากรอื่นของส่วนราชการ • ทำหน้าที่ในการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่ฝ่ายบริหารได้กำหนดขึ้น • การควบคุมภายในให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการปฏิบัติงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด • การควบคุมภายในแม้จะออกแบบไว้ให้มีประสิทธิผลดีเพียงใดก็ตาม ก็ไม่สามารถให้ความมั่นใจว่าจะทำให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างสมบูรณ์ตามที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะการควบคุมภายในมีข้อจำกัด เช่น โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากบุคลากร เนื่องจากความไม่ระมัดระวัง การไม่เข้าใจคำสั่ง หรือการใช้ดุลยพินิจผิดพลาด การปฏิบัติผิดกฎหมาย ระเบียบ และกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เป็นต้น 4

  5. เกณฑ์การให้คะแนน : น้ำหนัก ร้อยละ 3 1 2 3 4 5 5

  6. ส่วนราชการประจำจังหวัดมีกลไกการดำเนินการตามแผนการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 และส่งรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการปรับปรุงดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทันภายในวันที่ 29 เมษายน 2554 ขั้นตอนที่ 1 • หลักฐานของส่วนราชการประจำจังหวัดที่แสดงถึงกระบวนการในการติดตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เช่น • บันทึกข้อความการรายงานผลการติดตามฯ ต่อหัวหน้าส่วนราชการ • รายงานการประชุมของคณะทำงานฯ ในการติดตามผลการดำเนินการตามแผนฯ • หนังสือเวียนของคณะทำงานฯ ที่สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการตามแผนการปรับปรุงฯ 0.50 คะแนน 1 คะแนน 0.50 คะแนน รายงานความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สำหรับการติดตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553* * ซึ่งก็คือรายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของงวดก่อน(แบบติดตามปอ. 3 เดิม) 6

  7. จังหวัดจัดทำการประเมินผลการควบคุมภายในได้ตามแนวทาง : การจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน • มีการดำเนินการครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่ 1(0.80 คะแนน) • จัดส่งหลักฐาน (แบบฟอร์มที่ 1) ดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทันภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554(0.20 คะแนน) ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนของแบบฟอร์ที่ 1 • ขั้นตอนที่ 1: ขั้นเตรียมการ (0.20 คะแนน) • คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ พร้อมระบุอำนาจหน้าที่ • แนวทางการประเมินผลการควบคุมภายในในภาพรวมของจังหวัด • ช่องทางการสื่อสารการสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการประเมินผลฯ ดังกล่าวให้กับแต่ละส่วนราชการประจำจังหวัดได้ทราบ • ขั้นตอนที่ 2: การกำหนดงานในความรับผิดชอบของส่วนราชการประจำจังหวัดออกเป็นกิจกรรม/งาน (0.20 คะแนน) • การกำหนดวัตถุประสงค์ของการควบคุม และกิจกรรมของส่วนราชการประจำจังหวัดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การควบคุมของจังหวัด(ดูจากแบบ ปอ. 3 ของแต่ละส่วนราชการประจำจังหวัด) • ขั้นตอนที่ 3: จัดเตรียมเครื่องมือการประเมินผล (0.20 คะแนน) • จังหวัดจัดเตรียมเครื่องมือการประเมินผลการควบคุมภายในไว้ล่วงหน้า (มีอย่างน้อย 1 เครื่องมือ) เช่น • การจัดทำแบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน • การจัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการควบคุมภายใน • อื่น ๆ ได้แก่ ตารางแสดงแผนการดำเนินงาน การประชุมระดมสมอง ฯลฯ • ขั้นตอนที่ 4: การดำเนินการประเมินผลการควบคุมภายใน (0.20 คะแนน)* • ประเมินผลระดับส่วนราชการประจำจังหวัด (ดูจากแบบ ปอ. 2 และ แบบ ปอ. 3 ของแต่ละส่วนราชการประจำจังหวัด) • ประเมินผลระดับจังหวัด (ดูจากแบบ ปอ. 2 และ แบบ ปอ. 3 ภาพรวมของจังหวัด) * เครื่องมือประเมินผลที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 3 เป็นเช่นใดแล้วในขั้นตอนที่ 4 นี้ จะต้องมีหลักฐานการประเมินตามเครื่องมือดังกล่าวด้วยเช่น กรณีมีการจัดทำแบบสอบถาม ส่วนราชการประจำจังหวัดต้องสามารถแสดงหลักฐานการตอบแบบสอบถามดังกล่าว 7

  8. ส่วนราชการประจำจังหวัดสามารถวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ขั้นตอนที่ 3 0.50 คะแนน รายงานผลการวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของส่วนราชการประจำจังหวัด ที่ยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุม และยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554(ให้รายงานตามแบบฟอร์มที่ 2) 1 คะแนน 0.50 คะแนน จังหวัดรวบรวมรายงานตามแบบฟอร์มที่ 2 ของส่วนราชการประจำจังหวัดทั้งหมดแล้วจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 8

  9. การวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของส่วนราชการประจำจังหวัด A กระดาษทำการ ตัวอย่าง ดังนั้นร้อยละของจำนวนจุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของส่วนรารชการประจำจังหวัด A คือ ร้อยละ 20 จำนวนจุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 และยังคงมีอยู่เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวนจุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในทั้งหมดของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 X 100 = (20-16) X 100 = 20 = 20 9

  10. การวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของส่วนราชการประจำจังหวัด A ตัวอย่าง 10

  11. การวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของส่วนราชการประจำจังหวัด A ตัวอย่าง 11

  12. ขั้นตอนที่ 4 จังหวัดจัดทำรายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 (ข้อ 6) หลักฐานของส่วนราชการประจำจังหวัดในการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544(ข้อ 6) โดยจัดส่งเฉพาะหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปอ. 1) ให้สำนักงาน ก.พ.ร.* และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 0.50 คะแนน 1 คะแนน หลักฐานของจังหวัดในการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในในภาพรวมของจังหวัด โดยจัดส่งเฉพาะหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปอ. 1) ให้สำนักงาน ก.พ.ร.* ได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 0.50 คะแนน *ให้จังหวัดรวบรวมหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปอ. 1) ของส่วนราชการประจำจังหวัดทั้งหมด และจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. พร้อมกับหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายในในภาพรวมของจังหวัด (แบบ ปอ. 1 ภาพรวมของจังหวัด) 12

  13. จังหวัดสามารถดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลจังหวัดสามารถดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผล ขั้นตอนที่ 5 ในขั้นตอนนี้จะประเมินจากระดับคะแนนของจังหวัดที่ได้จากตัวชี้วัดที่ 1.2 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัด* โดยจังหวัดไม่ต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานใด ๆ ซึ่งรายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนนปรากฏ ดังนี้ * ค่าคะแนนระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัด ขึ้นอยู่ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของจังหวัดที่ได้คัดเลือกจากรายการใน 8 ประเด็นยุทธศาสตร์ตามที่ได้กำหนดไว้ 13

  14. การรายงานรอบ 12 เดือน สรุปเอกสารหลักฐานที่จะต้องจัดส่งเพื่อใช้ประกอบการประเมินผลตามตัวชี้วัด • หลักฐานที่จังหวัดรวบรวมของส่วนราชการประจำจังหวัดทั้งหมด แล้วจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2554 ประกอบด้วย • หลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการในการติดตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • รายงานความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2554สำหรับการติดตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 การรายงาน รอบ 6 เดือน • หลักฐานที่จังหวัดรวบรวมของส่วนราชการประจำจังหวัดทั้งหมด แล้วจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ประกอบด้วย • แบบฟอร์มที่ 2 รายงานผลการวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบปอ. 1) • หลักฐานการนำส่งหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบปอ. 1) ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน • หลักฐานของจังหวัด ที่จัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ประกอบด้วย • แบบฟอร์มที่ 1 แบบฟอร์มรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในด้วยตนเอง • หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายในในภาพรวมของจังหวัด (แบบปอ. 1 ภาพรวมของจังหวัด) 14

  15. เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ผู้รับผิดชอบ 15

  16. Q & A 16

More Related