1 / 20

โครงงานประวัติศาสตร์เรื่อง หลวงปู่หลักบ้านกับตำนานความเชื่อ

โครงงานประวัติศาสตร์เรื่อง หลวงปู่หลักบ้านกับตำนานความเชื่อ. จัดทำโดย 1.นางสาวจริยา นามวิชิต เลขที่ 16 2.นางสาวปราริษา ปัสสาไพร เลขที่ 22 3.นางสาวปานระวี ทัดทาน เลขที่ 23 4.นางสาวหนึ่งฤทัย จันทร์เครือยิ้ม เลขที่ 34. ชั้น ม.5/1. จุดประสงค์ในการทำโครงงาน.

zuri
Download Presentation

โครงงานประวัติศาสตร์เรื่อง หลวงปู่หลักบ้านกับตำนานความเชื่อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงงานประวัติศาสตร์เรื่อง หลวงปู่หลักบ้านกับตำนานความเชื่อ

  2. จัดทำโดย 1.นางสาวจริยา นามวิชิต เลขที่ 16 2.นางสาวปราริษา ปัสสาไพร เลขที่ 22 3.นางสาวปานระวี ทัดทาน เลขที่ 23 4.นางสาวหนึ่งฤทัย จันทร์เครือยิ้ม เลขที่ 34 ชั้น ม.5/1

  3. จุดประสงค์ในการทำโครงงานจุดประสงค์ในการทำโครงงาน 1.เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของหลวงปู่หลักบ้านของหมู่บ้านบะยาว 2.เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้านบะยาว 3.เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์นอกห้องเรียน สมมติฐาน ถ้าชาวบ้านให้ความสำคัญหลวงปู่หลักบ้าน(เสาหลักบ้าน)มากพอๆกับการก่อตั้งหมู่บ้าน ก็แสดงว่าเสาหลักบ้านกับหมู่บ้าน ต้องมีการก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกัน

  4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.ได้รู้ถึงความป็นมาและประวัติของหลวงปู่หลักบ้านและประวัติของหมู่บ้านที่ถูกต้อง 2.ได้เผยแพร่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในหมู่บ้านบะยาวให้ชุมชนอื่นได้รับรู้อย่างกว้างขวาง 3.เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในหมู่บ้าน

  5. วัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้ 1.1.สมุด 1.2.ปากกา 1.3.โทรศัพท์ (ใช้บันทึกเสียง) 1.4.กล้องถ่ายรูป 1.5.คอมพิวเตอร์

  6. ศึกษาเกี่ยวกับประวัติหมู่บ้านและเสาหลักบ้าน (ตาปู่) ของหมู่บ้านบะยาว ตำนาน ความเชื่อ ประวัติความเป็นมา ความสัมพันธ์ที่มีต่อประเพณีวัฒนธรรม การเปลี่ยนแต่ละยุคแต่ละสมัย การสักการะบูชา ว่ามีความสำคัญต่อหมู่บ้านและต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในชุมชนอย่างไร โดยจะรวบรวมข้อมูลจาก 1.สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 2.สอบถามข้อมูลจากผู้อาวุโสในหมู่บ้าน 3.สืบค้นในหนังสือ บทคัดย่อ

  7. จากการศึกษาข้อมูลทำให้เราได้ทราบว่าเสาหลักบ้านนั้นเกิดขึ้นมาในเวลาใกล้เคียงกับการสร้างหมู่บ้านซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2463-2464 คนแรกที่สร้างเสาหลักบ้านขึ้นมาคือ นายทำมา (ไม่ทราบนามสกุล) โดยสาเหตุที่สร้างเสาหลักบ้านขึ้นเนื่องจากในช่วงนั้นมีคนในหมู่บ้านเสียชีวิตบ่อยมาก(ติดๆกัน) ทำให้ต้องสร้างเสาหลักบ้านขึ้นมาป้องกันคนในหมู่บ้านไม่ให้ได้รับอันตรายจากสิ่งไม่ดีต่างๆ(ภูติผี) เพราะในสมัยนั้นเชื่อว่าชาวบ้านที่เสียชีวิตนั้นมีสาเหตุมาจากภูติผีมาเอาวิญญาณไป เมื่อสร้างเสาหลักบ้านแล้วก็ไม่มีชาวบ้านตายอีก ทำให้ชาวบ้านมีความศรัทธาต่อเสาหลักบ้านมาก

  8. ต่อมานายทำมาได้เสียชีวิตลงก็ไม่มีใครดูแลเสาหลักบ้าน ชาวบ้านผู้มีศรัทธาต่อเสาหลักบ้านจึงได้ขอให้นายมา บุญเมือง (หมอธรรม) สร้างเสาหลักบ้านขึ้นมาใหม่และย้ายจากที่เดิมมาอยู่บริเวณกลางหมู่บ้าน นายมา บุญเมืองก็ไดสร้างเสาหลักบ้านขึ้นมาใหม่และได้ดูแลรักษาตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน และทุกๆขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 จนถึง 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกๆปี ชาวบ้านก็จะจัดงานทำบุญให้กับเสาหลักบ้านโดยเรียกพิธีกรรมนี้ว่า “บุญเบิกบ้าน”

  9. ผลการศึกษา โครงงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง หลวงปู่หลักบ้านกับตำนานความเชื่อ เป็นการศึกษาค้นคว้าโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการค้นหาข้อมูลดังกล่าว กลุ่มผู้จัดทำจึงขอเสนอเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลดังนี้ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 บ้านบะยาว เป็นหมู่บ้านเล็กๆแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ติดกับเทือกเขาภูพานคำ ทางด้านทิศตะวันตก ติดกับป่าโคกไม้งาม (สวนป่าสาวะถีปัจจุบัน) ทางด้านทิศตะวันออก ติดกับโคกนกชุม ทางด้านทิศเหนือและที่ราบลุ่มเป็นผืนนาทางด้านทิศใต้บริเวณแห่งนี้ ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์นานาชนิด เช่น ช้าง เสือ หมูป่า กวาง กระต่าย กระแต อีเห็น เป็นต้น

  10. ทางทิศตะวันออกมีลักษณะพื้นที่เป็นแอ่ง เป็นที่ร่องน้ำ ยาวจากบ้านโนนค้อลงมาถึงบ้านบะยาว เป็นแหล่งปลูกข้าว และพืชเศรษฐกิจ เช่น ปอ มันสำปะหลัง คำว่า “บะยาว” มาจากการ ตั้งชื่อจากธรรมชาติของพื้นที่ของหมู่บ้าน “บะ”หรือ “บ๋า”หมายถึงร่องน้ำ คล้ายกับคลองแต่ตื้นกว่า มีเนินดินอยู่ 2 ด้าน ความยาวจากบ้านโนนค้อ ยาวมาถึงนาบ้านบะยาว ด้านตะวันออกของหมู่บ้าน และต่อเนื่องไปถึงฝายพญานาคบ้านนาฝายมีราษฎรที่อพยพมาอยู่ที่มาจากหลายแห่ง คือ กลุ่มแรกกลุ่มของผู้ใหญ่กา วงษ์นารี ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านบะยาว อพยพมาจากบ้านโนนรัง ตำบลสาวะถี อำเภอ เมือง จังหวัด ขอนแก่น กลุ่มสอง กลุ่มของผู้ใหญ่กอง (พ่อใหญ่พาน) หร่องบุตรศรี อพยพมาจากบ้านฝาง ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น กลุ่มสาม กลุ่มของพ่อธรรมจิ ศรีโพธ์กลาง พ่อใหญ่เบ้า จันทรา และพ่อใหญ่ดอน จันทรา

  11. พ่อใหญ่ อิ่ม โนนทะวงษ์ อพยพมาจากอำเภอ ราศรีไศล จังหวัด ศรีสะเกษ นอกจากนี้ก็เป็นราษฎรที่เข้ามาอาศัยจากที่ต่าง ๆ ในละแวกใกล้เคียง ด้วยการแต่งงาน และเคลื่อนย้ายครอบครัวแต่ไม่เป็นกลุ่มใหญ่ บริเวณก่อตั้งหมู่บ้านครั้งแรก จะอยู่ที่ทิศใต้ของหมู่บ้าน ปัจจุบันคือ คุ้มขามเจริญ มีประมาณ สิบหลังคาเรือน จากนั้นได้ขยายครอบครัวขึ้นมาทางทิศเหนือเรื่อยๆ ซึ่งเป็นหมู่บ้านในปัจจุบันนี้ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2454 ได้ก่อสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งชื่อว่า วัดโคกสะอาด คือ วัดประจำหมู่บ้านประจำหมู่บ้านในปัจจุบัน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อว่า วัดโคกสามารถในประมาณ พ. ศ. 2486ขณะที่ คุณพ่อจารย์ เที่ยง ร่วมกุศล บวช เป็นเจ้าอาวาส แต่ก่อนประตูวัดจะอยู่ทางทิศตะวันตก จะเห็นว่า ต้นโพธิ์ใหญ่ สองต้น น่าจะเป็นประตูเข้าวัด ที่บรรพบุรุษได้ปลูกไว้ เมื่อชุมชนขยาย ใหญ่ขึ้นทางทิศเหนือ จึ่งเปลี่ยนประตูวัดมาด้านทิศเหนือเหมือนปัจจุบัน

  12. ลักษณะชุมชน ปัจจุบัน แบ่งการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้านคือหมู่ที่6 และหมู่ที่ 9 เป็นชุมชนชนบท มีการพึ่งพาอาศัยกันแบบชนบทในภาคอีสานทั่วไปยึดประเพณีโบราณ วัฒนธรรมแบบไทยอีสาน ยึดถือ ผี พราหมณ์ และศาสนาพุทธปะปนกันมีการดำรงชีวิดกันอย่างสงบสุข การประกอบอาชีพ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ปลูกอ้อย ปลูกปอ ปลูกมันสำปะหลัง รับจ้าง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ค้าขาย และอื่น ๆรายได้โดยเฉลี่ยประมาณ 15,000/คน / ปี มีประชากรที่ยากจนประมาณร้อยละ 60

  13. เสาหลักบ้าน จากการสืบค้นรวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์ชาวบ้านในหมู่บ้านจะสรุปได้ว่าการสร้างเสาหลักบ้านไม่ได้สร้างขึ้นพร้อมกับหมู่บ้าน มีการก่อตั้งหมู่บ้านได้สักพักจึงมีการก่อตั้งเสาหลักบ้านตามมาเพราะช่วงนั้นมีผู้คนล้มตามติดต่อกันจำนวนมากจึงได้มีการสร้างเสาหลักบ้านขึ้น เพราะเชื่อว่าเสาหลักบ้านจะคุ้มครองชาวบ้านให้ปลอดภัยจากภูตผีปีศาจได้ ต่อมาหลังจากสร้างเสาหลักบ้านได้ไม่นานชาวบ้านก็เกิดความเชื่อเพิ่มมากขึ้นว่าเสาหลักบ้านคอยคุ้มครองชาวบ้านให้ปลอดภัยจึงพากันมากราบไหว้สักการะ และมีการทำบุญตักบาตรเสาหลักบ้านมาตลอดเป็นประจำทุกปี จนถึงปัจจุบัน ทีมงานทำโครงงานได้ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ จึงสามารถแบ่งเป็นยุค ดังนี้

  14. ตารางแสดงยุคการเปลี่ยนแปลงตารางแสดงยุคการเปลี่ยนแปลง

  15. ภาพกิจกรรมต่างๆ แต่ก่อนเสาหลักบ้านตั้งอยู่ที่บ้านของพ่อใหญ่เพ็ง แม่บัวสอน ปัจจุบันบ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 9 มีนายเบ้า ศรีคำเป็นเจ้าบ้านก็คือภาพบ้านข้างบนนี้ และบริเวณที่ตั้งของเสาหลักบ้านในอดีตก็คือที่ตั้งของศาลพระภูมิในปัจจุบัน

  16. ปู่มา พ่อผู้ใหญ่บุญมี ย่าสา

  17. ภาพการทำตักบาตรบุญเสาหลักบ้านภาพการทำตักบาตรบุญเสาหลักบ้าน

  18. เอกสารอ้างอิง ข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร -ชื่อของผู้จัดทำหนังสือ นายชัยวิรัตน์ ทัศนจินดา ศษ.บ.,ศษ.ม. ผู้ช่วยศึกษาอำเภอพระยืน ปัจจุบันผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอน้ำพอง -ชื่อหนังสือ ท้องถิ่นของเรา จังหวัดขอนแก่น -ปี พ.ศ. สถานที่พิมพ์ จัดพิมพ์โดย สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ประมาณปี พ.ศ.2543 สถานที่พิมพ์คือ โรงพิมพ์สิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ข้อมูลประวัติหมู่บ้านจากนางบำเพ็ญ จันทร์โสดา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านบะยาว ,20/01/54

  19. จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ

More Related