340 likes | 726 Views
ศ. 401 เศรษฐศาสตร์การเมือง. เศรษฐศาสตร์สวัสดิการ และความล้มเหลวของตลาด. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์. ผู้ผลิตไม่มีอิทธิพลต่อราคา (price-takers) เส้นอุปสงค์เป็นเส้นขนานกับแกนนอน ณ ราคาตลาด ผู้ผลิตแต่ละรายผลิตสินค้าเหมือนกัน (homogenous products) ไม่มีอุปสรรคในการเข้าและออกจากตลาด
E N D
ศ.401 เศรษฐศาสตร์การเมือง เศรษฐศาสตร์สวัสดิการ และความล้มเหลวของตลาด
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ • ผู้ผลิตไม่มีอิทธิพลต่อราคา (price-takers) • เส้นอุปสงค์เป็นเส้นขนานกับแกนนอน ณ ราคาตลาด • ผู้ผลิตแต่ละรายผลิตสินค้าเหมือนกัน (homogenous products) • ไม่มีอุปสรรคในการเข้าและออกจากตลาด • ผู้ซื้อและผู้ขายรู้ราคาสินค้า • ต้นทุนธุรกรรมต่ำ (ต้นทุนในการระบุคู่ค้า และตกลงธุรกรรม)
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ไม่สมจริง?ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ไม่สมจริง? • ตลาดจำนวนมากในโลกเป็นจริงมีลักษณะใกล้เคียงตลาดแข่งขันสมบูรณ์ • ตลาดสินค้าเกษตร ตลาดสินค้าแร่และทรัพยากร • ตลาดหลักทรัพย์ • การค้าส่งและการค้าปลีก • ใช้เป็นบรรทัดฐาน (benchmark) ในการวิเคราะห์ตลาดในโลกที่เป็นจริง --- ตลาดผูกขาด ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ตลาดผู้ผลิตน้อยราย
สวัสดิการผู้บริโภค • ประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้านั้น หักด้วยค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคจ่ายจริง • แต่ละจุดบนเส้นอุปสงค์คือความเต็มใจที่ผู้บริโภคนั้นจะจ่ายเพื่อบริโภคสินค้าหน่วยนั้น ๆ (marginal willingness to pay) • ราคาสูงสุดที่ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเพื่อบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วย • คุณค่าหน่วยสุดท้ายที่ผู้บริโภคประเมินว่าจะได้รับจากการบริโภคสินค้าเพิ่มอีกหนึ่งหน่วย
ส่วนเกินผู้บริโภค (consumer surplus) • ความแตกต่างทางตัวเงินระหว่างราคาที่ผู้บริโภค “ยินดี” ที่จะจ่าย กับราคาสินค้าที่จ่ายจริง ณ ระดับปริมาณสินค้านั้น ๆ p consumer surplus a expenditure e D q o q1
ส่วนเกินผู้ผลิต (producer surplus) • ส่วนต่างระหว่างราคาที่สินค้าขายได้จริงกับราคาต่ำสุดที่จะทำให้ผู้ผลิต “เต็มใจ” ที่จะขาย p S p1 producer surplus q q1
สวัสดิการสังคม p • สวัสดิการสังคม (W) คือผลรวมของส่วนเกินผู้บริโภค (CS) กับส่วนเกินผู้ผลิต (PS) • W = CS + PS • ตลาดแข่งขันทำให้บรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม S CS e p1 PS D q1 q
ปริมาณที่ต่ำกว่าดุลภาพณ q2 p • A = CS; B = CS transferred to producers. • D + B = PS. • C + E = DWL (deadweight loss). • At q2, p2 > MC S = MC A p2 e B C p1 E D D q q2 q1
ปริมาณที่สูงกว่าดุลภาพณ q2 p • A+C+D+E = CS • C+D+ = PS transferred to consumers. • F-B-D-E = PS • -B = DWL • At q2, p2 < MC S MC A B p1 C D E p2 D F H G q q1 q2
ประสิทธิภาพปาเรโต (Pareto Efficiency) • การจัดสรรทรัพยากรหนึ่ง ๆ มีประสิทธิภาพปาเรโตถ้าสถานะของคนหนึ่งไม่อาจปรับปรุงดีขึ้นได้โดยไม่ทำให้คนอื่นสูญเสีย • Two theorems of welfare economics: • Any competitive equilibrium is Pareto efficient. • Any Pareto-efficient equilibrium can be obtained by competition, given an appropriate endowment.
Kaldor-Hicks compensation test • หลักเกณฑ์ปาเรโตกำหนดว่า ผู้ที่ได้ประโยชน์จากนโยบายใด ๆ ต้องชดเชยให้กับผู้สูญเสียจากการเปลี่ยนแปลง • การเปลี่ยนแปลงทุกเรื่องต้องเป็นฉันทามติ • Potential Pareto improvement: ถ้าผู้ที่ได้ประโยชน์จากนโยบายใด ๆ ได้มากกว่าความสูญเสียของผู้อื่น รัฐบาลอาจดำเนินนโยบายนั้นได้โดยจะมีการชดเชยแก่ผู้สูญเสียหรือไม่ก็ได้ • การจะชดเชยความเสียหายแก่ผู้สูญเสียหรือไม่ เป็นการตัดสินใจทางการเมือง
ประสิทธิภาพกับนโยบาย • การเสนอว่า รัฐบาลควรดำเนินนโยบายที่บรรลุประสิทธิภาพปาเรโต เป็นข้อเสนอเชิงบรรทัดฐานนิยม (normative) • นโยบายการค้าเสรี และส่งเสริมการแข่งขัน • จุดเริ่มต้นทรัพยากร (endowments) ที่ต่างกันนำไปสู่ดุลภาพปาเรโตที่ต่างกัน • การเลือกดุลภาพปาเรโตเฉพาะหนึ่ง ๆ จากหลายดุลภาพปาเรโตก็เป็นการตัดสินใจเชิงบรรทัดฐานนิยมเช่นกัน • สังคมอาจมีจุดประสงค์อื่นที่ไม่ใช่ประสิทธิภาพ เช่น เน้นความเท่าเทียมในสังคม
ความเท่าเทียม (Equity) • สังคมตัดสินใจว่า ประชากรกลุ่มใดมีความสำคัญเหนือกว่ากลุ่มอื่น ๆ • ลัทธิอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism): ความพึงพอใจสูงสุดสำหรับจำนวนคนที่มากที่สุด • ในโลกความจริง กลไกการเมืองถูกใช้เพื่อตัดสินปัญหาดังกล่าว • กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมมีอำนาจทางการเมืองไม่เท่ากัน • ระบบการเมืองที่ต่างกันให้ความสำคัญกลุ่มคนที่ต่างกัน • การกระจุกตัวของทรัพยากร (หรือการกระจายรายได้) มีแนวโน้มไปสู่กลุ่มที่มีอำนาจทางการเมืองสูงกว่าประชากรทั่วไป
ประสิทธิภาพกับความเท่าเทียม (Equity) • ประสิทธิภาพกับความเท่าเทียมอาจขัดแย้งกันได้ • การเลือกเป็นการตัดสินใจเชิงบรรทัดฐานนิยมโดยสังคม • ประสิทธิภาพปาเรโตอาจก่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน • สังคมอาจเลือกความเท่าเทียมกัน โดยยอมรับการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ • นโยบายภาษีเพื่อกระจายรายได้ (redistributive taxes) • แรงจูงใจในการทำงานและสร้างรายได้ขัดกับการกระจายรายได้
ประสิทธิภาพมาก่อนความเท่าเทียมประสิทธิภาพมาก่อนความเท่าเทียม • สมมติการจัดสรร A มีการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน • สังคมเลือกการจัดสรร B ซึ่งมีความเท่าเทียม แต่ไม่มีประสิทธิภาพ • การที่ไม่มีประสิทธิภาพ แสดงว่า ยังสามารถยกระดับบางคนให้ดีขึ้นได้โดยไม่กระทบคนอื่น (Pareto improvement) • ถ้าอนุญาตให้แต่ละคนตัดสินใจแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันได้ สังคมจะเคลื่อนจากการจัดสรร B ไปสู่การจัดสรร C ที่มีประสิทธิภาพ (บางคนดีขึ้น โดยไม่กระทบคนอื่น) แต่เท่าเทียมน้อยลง • สรุป: การจัดสรรที่มีประสิทธิภาพย่อมเป็นผลดีต่อสังคมโดยรวมมากกว่าการจัดสรรที่เน้นความเท่าเทียม แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า
นักเศรษฐศาสตร์เน้นประสิทธิภาพนักเศรษฐศาสตร์เน้นประสิทธิภาพ • ประสิทธิภาพเป็นคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ • สามารถวิเคราะห์ และทดสอบเพื่อหาคำตอบที่วัดได้ • ความเท่าเทียมเป็นคำถามเชิงบรรทัดฐานนิยม • มีแง่มุมเชิงสังคม ปรัชญา และการเมือง • เป็นอัตวิสัย ยากที่จะวิเคราะห์ ทดสอบ และวัด • ผู้คนมักเน้นความเท่าเทียม นักเศรษฐศาสตร์จึงถ่วงดุลด้วยการเน้นประสิทธิภาพ!
การจำกัดการทำงานของตลาดการจำกัดการทำงานของตลาด • ตลาดถูกห้ามในกรณีทางสังคมและ “ศีลธรรม” • การค้าทาส ยาเสพติด การค้าประเวณี วัสดุลามก ฆาตกรรม ค้ามนุษย์ ค้าอวัยวะ • แบบแผนการบริโภคที่สังคมส่งเสริมหรือไม่ส่งเสริม • การควบคุมการค้าบุหรี่ สุรา การพนัน • เงินอุดหนุนในสินค้า “ความดี” (หนังสือ ภาพยนต์ อาหารกลางวันเด็ก ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ)
ตลาดถูกกำกับดูแล เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมี “โอกาสที่เท่าเทียมกัน” • การศึกษา สถานที่ทำงาน (สตรี ผู้ทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส ชนกลุ่มน้อยทางศาสนา-เชื้อชาติ) • การแบ่งสรรทรัพยากร “ให้เป็นธรรม” • การปฏิรูปที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ภาษีเงินได้แบบก้าวหน้า
ตลาดที่มีประสิทธิภาพ • สินค้าหรือบริการมีลักษณะ “ส่วนตัว” (private) • การบริโภคในลักษณะ “ปฏิปักษ์” (rivalry) • การกีดกันผู้ไม่จ่าย (excludability) • การผลิตและการบริโภคที่แบ่งส่วนได้ (divisibility) • คุณค่าหรืออรรถประโยชน์ทั้งหมดถูกสะท้อนโดยฟังก์ชั่นอุปสงค์ • ต้นทุนการผลิตทั้งหมดรวมอยู่ในฟังก์ชั่นอุปทาน • ตลาดมีลักษณะแข่งขัน ผู้ผลิตไม่มีอิทธิพลต่อราคา
การล้มเหลวของตลาด • ตลาดให้ผลลัพธ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ • ข้อสมมติบางข้อของตลาดแข่งขันที่มีประสิทธิภาพไม่เป็นจริง • เป็นเหตุผลสนับสนุนให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงเพื่อแก้ไขปัญหา • สมมติ “ภูมิปัญญารัฐบาล” (government wisdom) รู้วิธีการแก้ปัญหาเพื่อไปบรรลุผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ • สมมติหน่วยการเมืองที่ “ปรารถนาดี” ต่อสังคม (นักการเมือง ข้าราชการ)
กรณีของการล้มเหลวของตลาดกรณีของการล้มเหลวของตลาด • ผลกระทบภายนอก (externalities) • สินค้าสาธารณะ (public goods) • การแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ (imperfect competition) • สารสนเทศที่อสมมาตร (asymmetric information) • ต้นทุนธุรกรรมสูง (high transaction cost) • ความไร้เสถียรภาพทางมหภาค (macroeconomic instability) • การกระจายรายได้ที่ไม่เสมอภาค (income inequality)
สินค้าสาธารณะ • การบริโภคสินค้าไม่มีลักษณะ “ปฏิปักษ์” • ไม่สามารถกีดกันผู้บริโภคที่ไม่จ่าย • การผลิตและการบริโภคที่ไม่สามารถแยกส่วนได้ • การป้องกันประเทศ อากาศบริสุทธิ์ ทิวทัศน์สวยงาม การฉีดยาฆ่าแมลง การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม บริการรักษาความปลอดภัย • สินค้าสาธารณะที่ไม่แท้ (impure) สามารถกีดกันผู้ที่ไม่จ่ายได้ แต่ยังมีการบริโภคที่ไม่เป็นปฏิปักษ์ • โรงคอนเสิร์ต ทางด่วนจ่ายเงิน สวนสาธารณะ
สินค้าสาธารณะหนึ่งหน่วยสนองตอบผู้บริโภคทั้งหมดพร้อมกันสินค้าสาธารณะหนึ่งหน่วยสนองตอบผู้บริโภคทั้งหมดพร้อมกัน • แต่ละคนบริโภคสินค้าสาธารณะในจำนวนที่เท่ากัน • ประโยชน์สาธารณะหน่วยสุดท้าย (marginal social benefit) คือผลรวมของประโยชน์ส่วนตนหน่วยสุดท้าย (marginal private benefit) จากการบริโภคสินค้าจำนวนนั้น • เมื่อไม่สามารถกีดกันผู้ที่ไม่จ่ายเงินได้ จึงเกิดปัญหา free-rider • ผู้ประกอบการไม่มีแรงจูงใจที่จะผลิต
ผลลัพธ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพผลลัพธ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ • ตลาดแข่งขันให้ผลลัพธ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ • การผลิตต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมสำหรับสังคม • ประโยชน์สังคมหน่วยสุดท้ายสูงกว่าต้นทุนสังคมหน่วยสุดท้าย • ปัญหา free-riders ทำให้มีการผลิตสินค้าสาธารณะน้อยเกินไป • รัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงด้วยการผลิตและสนองสินค้าสาธารณะ • บังคับให้ผู้บริโภคทุกคนจ่ายด้วยการเก็บภาษี
ผลกระทบภายนอก • กิจกรรมหนึ่งก่อให้เกิด “ผลได้” หรือ “ต้นทุน” ภายนอกต่อผู้อื่นโดยไม่สะท้อนอยู่ในต้นทุนหรือราคาส่วนบุคคล • ผลกระทบภายนอกทางบวก ได้แก่ ผลได้ภายนอกที่เกิดแก่ผู้อื่นโดยที่เจ้าของกิจกรรมไม่ได้รับการชดเชย • ประโยชน์สังคม = ประโยชน์ส่วนบุคคล + ประโยชน์ภายนอก • เจ้าของกิจกรรมไม่อาจได้รับประโยชน์ทั้งหมด • การกระจายวิทยุโทรทัศน์ การศึกษา ห้องสมุดสาธารณะ มัณฑนาการภายนอกอาคาร การค้นพบทางวิทยาศาสตร์
ผลกระทบภายนอกทางลบ กิจกรรมที่เกิดต้นทุนภายนอกต่อผู้อื่นโดยไม่มีการชดเชย • ต้นทุนสังคม = ต้นทุนส่วนบุคคล + ต้นทุนภายนอก • ผู้ก่อกิจกรรมไม่ได้แบกรับต้นทุนทั้งหมด • มลภาวะ เสียงรบกวน • ผลกระทบภายนอกทางบวก การผลิตต่ำกว่าระดับที่เหมาะสม • รัฐบาลแทรกแซงโดยให้เงินอุดหนุน • ผลกระทบภายนอกทางลบ การผลิตสูงกว่าระดับที่เหมาะสม • รัฐบาลบังคับเก็บภาษี หรือเข้ากำกับดูแล
การแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์การแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ • ผู้ผลิตหนึ่งรายหรือน้อยรายมีอิทธิพลต่อราคาหรือปริมาณในตลาด • อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด • การประหยัดขนาดและการผูกขาดตามธรรมชาติ • ปริมาณผลิตต่ำกว่าระดับเหมาะสม ราคาสูงกว่าต้นทุนหน่วยสุดท้าย • Deadweight loss การสูญเสียส่วนเกินผู้บริโภคและส่วนเกินผู้ผลิต • รัฐบาลแทรกแซงด้วยการออกกฎหมายกำกับการแข่งขัน (antitrust law or competition law)
สารสนเทศที่ไม่สมมาตร • ลักษณะบางประการของตลาดไม่เป็นที่รับรู้ของผู้เข้าร่วมบางส่วน • ปริมาณผลิตสูงหรือต่ำกว่าระดับเหมาะสม • สารสนเทศเกี่ยวกับราคา คุณภาพ ปริมาณที่มีอยู่ • ตลาดสินค้ามือสอง ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ สินค้าบริการซับซ้อน (ยารักษาโรค บ้าน รถยนต์ แพทย์ ทนาย ช่างทอง-เพชร ฯลฯ) • สารสนเทศมีต้นทุนค่าใช้จ่าย • รัฐบาลกำกับดูแลโดยการตั้งมาตรฐานและการรับรองคุณภาพ
ต้นทุนธุรกรรมสูง (transaction costs) • ต้นทุนสูงในการทำธุรกรรม ตกลง และการทำสัญญา • แสวงหาและประเมินสารสนเทศที่ได้รับ • ตระเตรียมสถานะเพื่อการต่อรอง • ระบุแหล่งที่อยู่ของคู่ค้าเพื่อการต่อรอง • เจรจาสัญญาธุรกรรมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ • ติดตามการปฏิบัติตามสัญญาธุรกรรม • ต้นทุนธุรกรรมต้องอยู่ในระดับต่ำเพียงพอที่ธุรกรรมของตลาดจะเกิดขึ้นได้จนสำเร็จ
ระดับของต้นทุนธุรกรรมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและสังคมระดับของต้นทุนธุรกรรมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและสังคม • ถ้าต้นทุนธุรกรรมสูงเกินไป คู่ค้าจะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่ให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายได้โดยสมัครใจ • ความขัดแย้งในกรณีมลภาวะ การคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มผลประโยชน์ปะทะกับผู้บริโภค • การกำกับดูแลโดยรัฐบาลในเรื่องมาตรฐานและการรับรองคุณภาพ
ความไม่มีเสถียรภาพทางมหภาคความไม่มีเสถียรภาพทางมหภาค • ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมีลักษณะวัฏจักรและไม่มีเสถียรภาพเป็นช่วงๆ • ภาคธุรกิจเอกชนมีลักษณะไม่มีเสถียรภาพโดยตัวเอง • การปรับตัวของตลาดเป็นไปอย่างเชื่องช้าและเจ็บปวด • นโยบายการเงินและการคลังแบบเคนส์เสียน • รัฐบาลควรแทรกแซงเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจด้วยมาตรการต้านวัฏจักร (counter-cyclical measures)
ความไม่เสมอภาคทางรายได้ความไม่เสมอภาคทางรายได้ • การจัดสรรทรัพยากรผ่านตลาดทำให้เกิดการกระจายรายได้และทรัพย์สินที่ไม่เท่าเทียมกัน • การกระจายทรัพย์สินดั้งเดิมไม่มีกฎเกณฑ์และไม่อาจถือได้ว่า “ยุติธรรม” • การกระจายรายได้ที่ตามมาจึงไม่อาจถือได้ว่า “ยุติธรรม” • นโยบายกระจายรายได้จากคนรวยไปสู่คนจนโดยรัฐบาล • ระบบเครือข่ายสังคมขั้นต่ำ (minimum social safety net) • การกระจายรายได้อย่างเป็นระบบเพื่อลดความไม่เสมอภาค