610 likes | 2.23k Views
กัมมันตภาพรังสี ( radioactivity ). Henri Becquerel. Henri Becquerel (พ.ศ. 2395-2451) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบลทางฟิสิกส์ ในปีพ.ศ.2446 จากผลงานการค้นพบกัมมันตรังสีในธรรมชาติพร้อมกับปิแอร์และ มารี คูรี จากการค้นพบธาตุกัมมันตรังสีสองธาตุคือ เรเดียมและพอโลเนียม .
E N D
กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
Henri Becquerel • Henri Becquerel (พ.ศ. 2395-2451) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบลทางฟิสิกส์ ในปีพ.ศ.2446 • จากผลงานการค้นพบกัมมันตรังสีในธรรมชาติพร้อมกับปิแอร์และ มารี คูรี • จากการค้นพบธาตุกัมมันตรังสีสองธาตุคือ เรเดียมและพอโลเนียม http://dbhs.wvusd.k12.ca.us/webdocs/Gallery/ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
Pierre Curie and Marie Curie • Pierre Curie (พ.ศ. 2402-2449)นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส Marie Curie นักฟิสิกส์ชาวโปแลนด์ • สามี ภรรยาคู่นี้ทำงานทางด้านกัมมันตภาพรังสี และได้รับรางวัลโนเบลเช่นกัน • เป็นที่น่าสังเกตว่า มาดามคูรีเสียชีวิตด้วยโรคลูคีเมีย หรือ มะเร็งในโลหิต ซึ่งอาจเนื่องมาจากการได้รับรังสีจากธาตุกัมมันตภาพรังสีเกินควรก็ได้ http://www.sn.ac.th/web61_3/activity.htm ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
รังสีที่เบนน้อยและไปทางซ้ายของแนวเดิม เรียกว่า รังสีแอลฟา (alpha ray) • รังสีที่เบนมากและในทิศตรงข้ามกับรังสีแอลฟา เรียกว่า รังสีบีตา (beta ray) • รังสีที่พุ่งตรงไม่เบี่ยงเบนเลย เรียกว่า รังสีแกมมา (gamma ray) และ • นิยมเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ α , β และ Y ตามลำดับ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://www.sn.ac.th/web61_3/activity.htm
การเบนในสนามแม่เหล็ก การเบนในสนามแม่เหล็ก http://61.19.145.7/student/science401/chem/chem11/main1.html ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
รังสีจากการสลายตัวตามธรรมชาติรังสีจากการสลายตัวตามธรรมชาติ • ส่วนใหญ่มี 3 ชนิด คือ • รังสีแอลฟา ( - ray) คือ นิวเคลียสของ He มีมวล ~4u ประจุ +2e ทำให้อากาศแตกตัวเป็นอิออนได้ดีเนื่องจากอำนาจทะลุทะลวงต่ำ • รังสีเบต้า ( - ray) คืออิเล็กตรอน มี 2 ชนิด คือ เนกาตรอน- (หรืออิเล็กตรอนประจุ -e) และโพซิตอน + หรือ (อิเล็กตรอนประจุ +e) มีอำนาจทะลุทะลวงปานกลางทำให้แตกตัวปานกลาง • รังสีแกมมา ( - ray)เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจึงทำให้แตกตัวได้น้อย + - hV ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
สรุปสมบัติของรังสี ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://61.19.145.7/student/science401/chem/chem11/main1.html
Radioactive Half-Life ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/nuclear/halfli.html
Half - Life ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://sol.sci.uop.edu/~jfalward/physics17/chapter14/chapter14.html
Half - Life ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://www.btinternet.com/~j.doyle/SR/Emc2/Fission.htm
3. เครื่องวัดกัมมันตภาพรังสี • เครื่องวัดกัมมันตภาพรังสีมีหลายชนิดที่น่าสนใจ คือ • 1. เครื่องนับไกเกอร์ (Gerger counter) • 2. เครื่องนับซินทิลเลชัน (scintillation counter) • 3. ฟิล์มแบดจ์ (film badge) ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
The Geiger Counter ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://sol.sci.uop.edu/~jfalward/physics17/chapter14/chapter14.html
The Geiger Counter ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://sol.sci.uop.edu/~jfalward/physics17/chapter14/chapter14.html
scintillation counter http://www.tpub.com/content/doe/h1013v2/css/h1013v2_71.htm ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://www.chm.bris.ac.uk/ms/theory/detection.html
film badge ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://www.personal.u-net.com/~landauer/loading.html
4. การใช้กัมมันตภาพรังสี • 1. การผลิตแผ่นโลหะแบบบาง • 2. การใช้กัมมันตภาพรังสีทางการแพทย์ • ใช้รังสีแกมมา รักษาโรคมะเร็ง • ใช้รังสีบีตา รักษาโรคมะเร็งในต่อมไทรอยด์ • ใช้กัมมันตภาพรังสีในการวินิจฉัยโรค • กล้องถ่ายรูปรังสีแกมมา • 3. กัมมันตภาพรังสีกับระเบิดนิวเคลียร์ • 4. กัมมันตภาพรังสีกับอุตสาหกรรม • 5. กัมมันตภาพรังสีกับการเกษตร • 6. การใช้กัมมันตภาพรังสีในการหาอายุของวัตถุโบราณ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
The Atomic Nucleus ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://sol.sci.uop.edu/~jfalward/physics17/chapter14/chapter14.html
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (Nuclear Reaction) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสเมื่อถูกชนด้วยอนุภาค สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้แก่ มวล จำนวนโปรตอน จำนวนนิวตรอนโมเมนตัมเชิงมุม (สปิน) แพริตี หรือพลังงานมวล จำนวนโปรตอน จำนวนนิวตรอน โมเมนตัมเชิงมุม (สปิน) แพริตี หรือพลังงาน ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ 1. พลังงานจากการสลายตัว C = ความเร็วแสง = 3x108 m/s ถ้า Q เป็น + หมายถึงคายพลังงาน Q เป็น - หมายถึงดูดพลังงาน 2. ปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างง่าย ในการยิงนิวเคลียสด้วยอนุภาคaเข้าชนนิวเคลียสx ได้นิวเคลียสyและอนุภาคb a + x ----> y + b หรือ x (a , b) y ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
1. ฟิวชัน (fusion) 2. ฟิชชัน (fission) ยิงนิวตรอนเข้าไปในนิวเคลียส นิวเคลียสแตกออกเป็น 2 ส่วนและได้นิวตรอน2-3ตัว วิ่งเข้าไปชนนิวเคลียสอื่นเป็นchain reaction เป็นปฏิกิริยารวมตัวของนิวเคลียส ธาตุเบาเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า ประเภทของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ปฏิกิริยาการแตกตัว (Fission) เป็นการแตกตัวออกเป็น 2 ส่วน หรือ 3 ส่วนของนิวเคลียส ตัวอย่างเช่น การแตกตัวของยูเรเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอน ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ปฏิกิริยาการรวมตัว (Fusion) เป็นการรวมตัวของนิวเคลียสของธาตุเบาเป็นนิวเคลียสของธาตุหนัก ตัวอย่างเช่นปฏิกิริยาในวัฏจักรคาร์บอนบนดวงอาทิตย์ รวมสมการทั้งหมดจะได้ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ขั้นตอนต่างๆ ของวัฎจักรคาร์บอน เป็นดังนี้ • ปฏิกิริยา ครึ่งชีวิตของนิวเคลียสผลลัพธ์ • 6C12 + 1H17N13 + Q 10.1 นาที 7N136C13+ 1e06C13 + 1H17N14 + Q 6C14 + 1H18O15 + Q 125 วินาที 8O157N15 + 1e07N15 + 1H16C12+ 2He4 (31) • เมื่อรวมสมการทั้งหมดจะได้4(1H1)2He4 + 2(1e0) + 24.7 Mev (32) • และโปรสิตรอนจะประลัยกับอิเลกตรอน ให้พลังงานอีก 2 Mev ดังนั้นพลังงานรวมจะเป็น 26.7 Mev ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
http://www.rit.ac.th/homepage-sc/physics/oldfront/65/nuclear.htmhttp://www.rit.ac.th/homepage-sc/physics/oldfront/65/nuclear.htm โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
สรุป นิวเคลียร์ฟิสิกส์ สัญญลักษณ์ของธาตุเขียนได้เป็นโดยที่ A = atomic mass no. (จำนวน p + n) Z = atomic no. (จำนวน p) • กฏการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี N เป็นจำนวนนิวเคลียสที่เวลา t ใดๆ N0เป็นจำนวนนิวเคลียสตอนเริ่มต้น t = 0 λ เป็นค่าคงตัวการสลายตัว (s-1) ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
กัมมันตภาพ (activity, A ) คือ อัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี กัมมันตภาพของธาตุกัมมันตรังสีใดๆ อาจเขียนได้ว่า มีหน่วยเป็น Bq (Bequerel) แต่เดิมใช้หน่วยเป็น Ci (Curie) โดยที่ 1 Ci = 3.7 X 1010 dps = 3.7 X 1010 Bq เมื่อ A0 = กัมมันตภาพเมื่อเวลาเริ่มต้น (t = 0) A = กัมมันตภาพเมื่อเวลาผ่านไป t • ครึ่งชีวิต (Half - Life) t1/2 เป็นช่วงเวลาที่นิวเคลียสสลายตัวไปเหลือครึ่งหนึ่งของจำนวนเดิม ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (Nuclear Reaction) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสเมื่อถูกชนด้วยอนุภาค a + x ----> y + b ในการยิงนิวเคลียสด้วยอนุภาค a เข้าชนนิวเคลียส x ได้นิวเคลียส y และอนุภาค b หรือ x (a , b) y พลังงานจากการสลายตัว C = ความเร็วแสง = 3x108 m/s ถ้า Q เป็น + หมายถึงคายพลังงาน Q เป็น - หมายถึงดูดพลังงาน • หลักการ • ผลบวกเลขอะตอมก่อนและหลังปฏิกิริยาเท่ากัน คือประจุคงที่ • ผลบวกเลขมวลก่อนและหลังปฏิกิริยาเท่ากัน คือจำนวนนิวคลีออนคงที่ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
แบบฝึกหัดนิวเคลียร์ฟิสิกส์แบบฝึกหัดนิวเคลียร์ฟิสิกส์ • จงเปรียบเทียบในความคล้ายคลึงและข้อแตกต่างระหว่างการ สลายตัวของสารกัมมันตรังสีกับการตายของพลเมือง • ครึ่งชีวิตของเรเดียมมีค่า 1,600 ปี จะเป็นเวลานานเท่าใดที่เรเดียมนี้จะสลายตัวไป ของปริมาณเรเดียมที่มีอยู่เดิม • ทริเทียม () เป็นไอโซโทปของไฮโดรเจน ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่มีการสลายตัวให้อิเลก ตรอนโดยมีครึ่งชีวิต 12.5 ปี • (ก) ภายหลังการสลายตัวแล้วทริเทียมจะกลายเป็นนิวเคลียสใหม่ อะไร • (ข) ตั้งแต่เตรียมสารทริเทียมนี้มาแล้ว 25 ปี จะเหลือทริเทียมอยู่อีก กี่เปอร์เซ็นต์ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ตะกั่ว -214 ซึ่งมีมวล 3 x 10-14 กิโลกรัม มีกัมมันตภาพ 1 มิลลิคูรี จงหาค่าคงที่การสลายตัวของตะกั่ว –214 นี้ • ยูเรเนียม –238 สลายตัวให้อนุภาคอัลฟา โดยมีครึ่งชีวิตนาน 4.5 x 109 ปี จะมีอนุภาคส่งออกมาต่อวินาทีเป็นเท่าใด ในยูเรเนียมซึ่งมีมวล 1 กิโลกรัม • เรเดียม –226 มีการสลายตัวให้อนุภาคอัลฟาโดยมีค่าคงที่การสลายตัว 1.36 x 10-11 วินาที-1 เรเดียมมวล 1 กรัม จะมีกัมมันตภาพเป็นเท่าใด • จงคำนวณหามวลของคาร์บอน –14 ซึ่งมีกัมมันตภาพ 1 คูรี โดยที่คาร์บอน –14 มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,570 ปี ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
8. สตรอนเทียม –90 มีครึ่งชีวิต 28 ปี • (ก) จงคำนวณค่าคงที่การสลายตัวของสตรอนเทียม • (ข) จงคำนวณกัมมันตภาพของสตรอนเทียมซึ่งมีมวล 1 มิลลิกรัม • (ค) จะกินเวลานานเท่าใด ที่สตรอนเทียมจะมีมวลลดลงเหลือเพียง 250 ไมโครกรัม และกัมมันตภาพของสตรอนเทียมตอนนั้น จะเท่าใด • ในการวัดกัมมันตภาพของคาร์บอน –14 ในต้นไม้ที่มีชีวิตมีค่า 0.007 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม และจากการวัดกัมมันตภาพของคาร์บอน –14 ในซากไม้ของเรือโบราณพบว่ามีเหลืออยู่เพียง 0.0048 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม ถ้าครึ่งชีวิตของคาร์บอน –14 นาน 5,760 ปี จงคำนวณอายุของเรือโบราณนั้น ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
จงพิจารณาอนุกรมกัมมันตรังสีทอเรียม (4n) อนุกรมเนปทูเนียม (4n + 1) อนุกรมยูเรเนียม (4n+2) และอนุกรมแอกทิเนียม (4n + 3) โดยที่ n เป็นเลขจำนวนเต็ม n จะมีค่าต่ำสุด และสูงสุดเป็นเท่าใด สำหรับแต่ละอนุกรมดังกล่าวนั้น • จงเปรียบเทียบการไหลของน้ำของถังน้ำชุดหนึ่ง โดยน้ำไหลจากถังไปที่หนึ่งไปยังถังใบที่สองและในขณะเดียวกันจากถังใบที่สองไปยังใบที่สามต่อๆ กันไป กับการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี A ไปเป็นสาร B และจากสาร B ไปเป็นสาร C ต่อๆ กันไปเช่นเดียวกัน ในกรณีที่การสลายตัวอยู่ในสภาพที่เรียกว่า สมดุล การไหลของน้ำในถังเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ในการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี A สลายตัวเป็นสารกัมมันตรังสี B และสลายต่อไปเป็นสาร C ถ้า NO เป็นจำนวนนิวเคลียสที่มีอยู่เดิมของสาร A A, B เป็นค่าคงที่การสลายตัวของสาร A และ B ตามลำดับ จงแสดงว่าจำนวนนิวเคลียสของสาร B จะมีค่ามากที่สุดเมื่อมีการสลายตัวไปเป็นเวลานาน t = ln (B/A) / (B/A) • โดยที่คิดว่าขณะนี้ธาตุซึ่งเป็นสมาชิกในอนุกรมยูเรเนียมอยู่ในสภาพสมดุล • (ก) จะมีปริมาณของเรเดียม –226 อยู่เท่าใดในก้อนเร่ยูเรเนียม –238 อยู่ 1.25 กรัม โดยที่เรเดียมมีครึ่งชีวิต 1,620 ปี และยูเรเนียมมีครึ่งชีวิต 4.5 x 109 ปี • (ข) กัมมันตภาพของยูเรเนียมและเรเดียมในก้อนแร่นั้นเป็นเท่าใด ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
เอกสารอ้างอิง • ภาควิชาฟิสิกส์, ฟิสิกส์ 2, พิมพ์ครั้งที่ 3, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 • D.C. Giancoli. Physics Principles with Applications, 3rded., Prentic-Hall, ISBN: 0-13-666769-4, 1991. • D. Halliday, R.Resnick and K.S. Krane. Volume Two extended Version Physics, 4th ed., John Wiley & Sons, 1992. • R.A.Serway, Physics for Scientists & Engineers with Modern Physics, 4th ed., 1996. • http://www.physics.sci.rit.ac.th • http://www.colorado.edu/physics/2000/index.pl • http://www.dctech.com/physics/tutorials.php ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
5. หน่วยวัดกัมมันตภาพรังสี • มีหน่วยวัดกัมมันตภาพรังสีที่สำคัญ 2 แบบ คือ • 1. หน่วยวัดจำนวนนิวเคลียสที่สลายตัว ใช้หน่วยเป็น Becquerel (Bq) • 2. หน่วยวัดพลังงานที่กัมมันตภาพรังสีสูญเสียให้กับตัวกลาง (โดส :dose) มีหน่วยเป็น เกรย์ (Gray : Gy) , ซีเวอร์ต (sievert) ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
หน่วยวัดกัมมันตภาพรังสีหน่วยวัดกัมมันตภาพรังสี • Dose equivalent (H) measures the biological effects of ionising radiations. It takes account of • the type of radiation • the energy carried by the radiation • how much tissue absorbs the energy • Dose equivalent is the product of absorbed dose and quality factor. The equation can be written asH = DQDose equivalent is measured in sieverts (Sv). ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
Antoine Henri Becquerel (1852-1908)Otto Hahn, (1879-1968) http://www.accessexcellence.org/AE/AEC/CC/historical_background.html ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://dr-albert-finck-ghs.nw.bildung-rp.de/hahnotto.html
6. โทษของกัมมันตภาพรังสี • ถ้าร่างกายได้รับจะทำให้โมเลกุลภายในเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถทำงานตามปกติได้ • ถ้าเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะก็จะเกิดการผ่าเหล่า เมื่อเข้าไปในร่างกายจะไปสะสมในกระดูก • แสงอนุภาคแอลฟาที่เปล่งออกมาจะไปทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดมะเร็งในเม็ดเลือดได้ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
6. โทษของกัมมันตภาพรังสี • ผลของรังสีต่อมนุษย์สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ • ความป่วยไข้จากรังสี เนื่องจากเมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุต่างๆ ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทำให้เกิดอาการป่วยไข้ได้ • ผลทางพันธุกรรมจากรังสี จะมีผลทำให้การสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกายมนุษย์เกิดการกลายพันธุ์ โดยเฉพาะเซลล์สืบพันธุ์ ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
7. การป้องกันกัมมันตภาพรังสี • หลักในการป้องกันอันตรายจากรังสีมีดังนี้ • ใช้เวลาเข้าใกล้บริเวณที่มีกัมมันตภาพรังสีให้น้อยที่สุด • พยายามอยู่ให้ห่างจากกัมมันตภาพรังสีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ใช้ตะกั่ว คอนกรีต น้ำ หรือพาราฟิน เป็นเครื่องกำบังบริเวณที่มีการแผ่รังสี ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ http://www.btinternet.com/~j.doyle/SR/Emc2/Fission.htm
References • พูนศักดิ์ อินทวี และจำนง ฉายเชิด. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ : ฟิสิกส์ ม.4-ม.6. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2547. 262 หน้า. • http://61.19.145.7/student/science401/chem/chem11/ • http://www.sn.ac.th/web61_3/activity1.htm ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ประโยชน์ของพลังงานนิวเคลียร์ • ด้านเกษตรกรรม งานในด้านนี้ที่ประสบความสำเร็จมากคือ การวิจัยด้านการฉายรังสีอาหารโดยใช้รังสีแกมมาช่วยยืดอายุการเก็บของอาหารทั้งพืชผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยจะช่วยยับยั้งการงอกของพืชผัก ชะลอการสุกของผลไม้และช่วยทำลายแมลง พยาธิ หรือจุลินทรีย์ ในอาหารและผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งอำนวยประโยชน์ให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ถูกอนามัยปราศจากเชื้อโรคและพยาธิ ช่วยการถนอมอาหารและเก็บรักษาอาหารและพืชผลไว้บริโภคในช่วงฤดูกาลที่ขาดแคลนลดการนำเข้าจากต่างประเทศและเพิ่มรายได้ของประเทศโดยส่งเสริมการส่งออกของอาหารและผลิตผลการเกษตรจากการฉายรังสี • นอกจากนี้ยังนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในงานอื่นอีก เช่น ใช้วิเคราะห์ดินเพื่อการจำแนกพื้นที่เพาะปลูกหรือการใช้เทคนิคทางรังสีเพื่อศึกษาการดูดซึมแร่ธาตุและปุ๋ยโดยต้นไม้และพืชเศรษฐกิจต่างๆ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือการนำเทคนิคดังกล่าวมาปรับปรุงพันธ์พืช และสัตว์ เป็นต้น • ด้านการแพทย์ ปัจจุบันมีการนำเทคนิคด้านนิวเคลียร์มาใช้ในทางการแพทย์หลายด้าน เช่น ด้านการตรวจและวินิจฉัย โดยการใช้เทคนิค Radioimmunoassay (RIA) สำหรับตรวจวัดสารที่มีประมาณน้อยในร่างกาย หรือเทคนิคฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าร่างกาย เพื่อหาตำแหน่งของอวัยวะที่เสียหน้าที่ และปัจจุบันสามารถตรวจดูรูปร่างและการทำงานของอวัยวะด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งทันสมัยที่สุด ในด้านการบำบัดรักษาโดยเฉพาะโรคมะเร็งได้มีการใช้สารกัมมันตรังสีร่วมกับการใช้ยาหรือสารเคมีและการผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการใช้รังสีในการทำให้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ปลอดเชื้อ หรือใช้รังสีในการเตรียมวัคซีนและแอนติเจนโดยยังคุณสมบัติของวัคซีนเอาไว้ และใช้รังสีหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดขาวในผลิตภัณฑ์เลือด เพื่อทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการรับและถ่ายเลือด เป็นต้น • ด้านอุตสาหกรรม ปัจจัยหลักที่จะทำให้อุตสาหกรรมก้าวหน้าไปได้ในสภาวะเศรษฐกิจของโลก ในขณะนี้ คือ การเพิ่มผลผลิต การควบคุมคุณภาพ และการลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวในปัจจุบันไทยได้นำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น เช่น การผลิตเส้นใยสังเคราะห์สำหรับทอผ้า การผลิตปูนซีเมนต์ ไม้อัดแผ่นเรียบ กระเบื้อง กระดาษ ผลิตภัณฑ์แก้ว เหล็ก หรือโลหะอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และปิโตรเคมี การผลิตยางรถยนต์ การผลิตน้ำอัดลม การเปลี่ยนสีอัญมณี การควบคุมคุณภาพในการก่อสร้างถนน เป็นต้น โดยการใช้เทคนิคที่สำคัญคือ การตรวจสอบโดยไม่ทำลาย หรือการใช้รังสีเป็นสารติดตามและใช้เป็นระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น • ด้านการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เช่น การวิเคราะห์ธาตุปริมาณน้อยและสารพิษในสิ่งแวดล้อม การศึกษาอายุของวัตถุโบราณ ศึกษาวัฏจักรหรือวงชีวิตของพืชและสัตว์บางชนิด การศึกษาการเคลื่อนที่ของน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน ศึกษาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ศึกษาการสะสมการเคลื่อนที่ของตะกอนในเขื่อน แม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้รังสีเพื่อการกำจัดน้ำเสีย การผลิตปุ๋ยธรรมชาติ การพัฒนาที่ดินทางการเกษตร กิจกรรมทางป่าไม้และอุทกวิทยา เป็นต้น ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ
ตารางธาตุ ชุดที่ 4 อ.ศราวุทธ