100 likes | 232 Views
การบริหารจัดการค่าย. ปัญจรัตน์ ศรีสว่าง รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจบริการวิชาการ. การบริหารจัดการค่าย เพื่อให้เกิดความสะดวก มีความพร้อม ไม่เกิดความเสี่ยงต่างๆ และเพื่อให้การดำเนินค่ายบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ. วิธีจัดการ 1. ขั้นเดรียมการ
E N D
การบริหารจัดการค่าย ปัญจรัตน์ ศรีสว่าง รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจบริการวิชาการ
การบริหารจัดการค่าย เพื่อให้เกิดความสะดวก มีความพร้อม ไม่เกิดความเสี่ยงต่างๆ และเพื่อให้การดำเนินค่ายบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีจัดการ 1. ขั้นเดรียมการ 1.1 เตรียมบุคลากร - จัดให้มีผู้อำนวยการหรือผู้จัดการค่าย ดูแลความเรียบร้อย รับรายงาน และตัดสินใจแก้ปัญหาตลอดเวลาของการทำค่าย - วิทยากรผู้ดำเนินกิจกรรม แบ่งความรับผิดชอบในกิจกรรมต่าง ๆ เตรียมความพร้อม ความรู้ ความเข้าใจ วิธีการเรียนการสอนในหลักสูตร - ผู้รับผิดชอบด้านการจัดสถานที่ ด้านอาหาร เครื่องดื่ม ด้านการจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำกิจกรรม พิธีการต่าง ๆ - ผู้ประสานงานต่าง ๆ เช่น ประสานกับหน่วยงานสาธารณสุข คุมประพฤติ ครอบครัว ชุมชน วิทยากรพระภิกษุ สถานที่จะพาไปทัศนศึกษา เป็นต้น
1.2 เตรียมสถานที่ ซึ่งควรมีสถานที่ทำกิจกรรมกลุ่ม, walk rally ออกกำลังกาย และเรือนนอน เป็นต้น 1.3 เตรียมอุปกรณ์ สื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม เครื่องเสียง เครื่องเขียน อุปกรณ์เครื่องใช้ในแต่ละกิจกรรม (ควรสำรวจกิจกรรมอะไรบ้าง ต้องใช้อุปกรณ์ รวบรวมจัดซื้อไว้ให้เพียงพอในแต่ละรุ่น) ชุดเครื่องใช้สำหรับสมาชิก เช่น เสื้อ กางเกง ผ้าพันคอสีต่าง ๆ เพื่อแบ่งกลุ่มสี แก้วน้ำ ช้อน สบู่ ยาสีฟัน ซึ่งเป็นของใช้ส่วนตัว 1.4 เตรียมคู่มือหลักสูตร ตารางกิจกรรมและกฎ ระเบียบ ที่สมาชิกและญาติพึงปฏิบัติ เช่น ระเบียบการตื่นนอน เข้านอน เข้าทำกิจกรรม การมีของใช้เฉพาะที่จำเป็น ของที่ห้ามนำเข้า การเยี่ยมของญาติ และการเข้า-ออกค่าย เป็นต้น
1.5 เตรียมยาสามัญประจำบ้านที่จำเป็น 1.6 เตรียมยานพาหนะ 1.7 เตรียมเอกสารที่จำเป็น เช่น แบบประเมินคัดกรองสภาพสมาชิก แบบประเมินความรู้พฤติกรรม แฟ้มประวัติ ใบบันทึกรายงานพฤติกรรมและอาการเจ็บป่วย สมุดบันทึกชาวค่าย เป็นต้น 1.8 เตรียมงบประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดหลักสูตร
2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชุมวิทยากร ทำความเข้าใจในการดำเนินงานค่าย จัดตารางพี่เลี้ยงที่ต้องอยู่เวรดูแลตอนกลางคืน 2.2 ระหว่างดำเนินการค่าย ประชุมวิทยากรหลังเสร็จกิจกรรมประจำวันทุกเย็น เพื่อประเมิน จุดดี จุดบกพร่อง และเตรียมแก้ไขในวันต่อไป
2.3 บริหารความเสี่ยงในค่าย ควรเตรียมป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิด ดังนี้ - การทะเลาะวิวาท - การลักลอบออกจากค่ายและการนำสิ่งของมึนเมา ของผิดระเบียบเข้าค่าย - อุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น จากการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา - การเจ็บป่วยกะทันหัน - ความสัมพันธ์ทางเพศ เป็นต้น 2.4 การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ เป็นระยะตามความจำเป็น 2.5 อ่านบันทึกชาวค่ายของสมาชิกและลงความเห็น แนะนำ ชมเชย ให้กำลังใจทุกวัน 2.6 ลงบันทึกพฤติกรรมและประเมินผลเป็นระยะ ๆ
3. ขั้นติดตามประเมินผล 3.1 การประเมินผลก่อนออกค่าย - ประเมินความรู้หลังการอบรม ความพึงพอใจของสมาชิกและญาติ - บันทึกรายงานพฤติกรรมสมาชิก - ตรวจปัสสาวะก่อนออกจากค่าย - ให้สมาชิกทำแผนการดำเนินชีวิตเมื่อออกจากค่าย - แนะนำผู้ปกครองในการดูแลต่อเนื่อง - ให้แบบรายงานตัวของคุมประพฤติ (ถ้ามี)
3.2 การติดตามผลหลังออกจากค่าย - นัดให้มาติดตาม รายงานตัวเป็นระยะ - โดยให้ส่งแบบรายงานตัว - โดยไปติดตามของเจ้าหน้าที่ - เก็บปัสสาวะตรวจ - บันทึกผลการติดตาม