620 likes | 769 Views
เตรียมพร้อมรับมือ พ.ร.บ. ว่าด้วย การกระะ ทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ . ๒๕๕๐ :. การจราจรเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราช ภัฏ นครสวรรค์ กรณีศึกษาในคดีที่เกิดขึ้นจริง จากความผิดตาม พ.ร.บ.ฯ. อาจารย์ประ ยุทธ สุระเสนา ผอ.สำนัก วิทย บริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
E N D
เตรียมพร้อมรับมือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระะทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ : การจราจรเครือข่ายคอมพิวเตอร์กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กรณีศึกษาในคดีที่เกิดขึ้นจริง จากความผิดตาม พ.ร.บ.ฯ อาจารย์ประยุทธ สุระเสนา ผอ.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 30 มกราคม 2553
หัวข้อนำเสนอ • พรบ. และประกาศกระทรวงฯ • สาระสำคัญของ พรบ. • การเก็บข้อมูลจราจร • สิ่งที่หน่วยงานควรดำเนินการ • ตัวอย่างปฏิบัติของมหาวิทยาลัย • ประสบการณ์และข้อเสนอแนะ • กรณีศึกษาในคดีที่เกิดขึ้นจริงจากความผิดตาม พ.ร.บ.ฯ • กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
พ.ร.บ.ฯ และประกาศกระทรวงฯ • พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ (ราชกิจจา ฯ ๑๘ ส.ค. ๒๕๕๐) • ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กลุ่มมาตราสำคัญของ พ.ร.บ.
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
เขตอำนาจการดำเนินคดี • มาตรา ๑๗ : • ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ • (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ • (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ • จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
ระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล
การเก็บรักษาข้อมูลจราจรตาม พรบ. • มาตรา ๒๖ : ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์… ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการ เท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ
สาระสำคัญส่วนหนึ่งของการเก็บข้อมูลจราจรสาระสำคัญส่วนหนึ่งของการเก็บข้อมูลจราจร
การปรับตั้งเวลาระบบสำหรับการบันทึกข้อมูลจราจรการปรับตั้งเวลาระบบสำหรับการบันทึกข้อมูลจราจร • คอมพิวเตอร์มีระบบนาฬิกาประจำตัว แต่ละเครื่องอาจคลาดเคลื่อนกันได้ • ต้องการการปรับตั้งให้ประสานกันและคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด • ใช้การปรับตั้งผ่านระบบ Network Time Protocolอ้างอิงกับเวลาสากล • ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๕๐ • ข้อ ๙ เพื่อให้ข้อมูลจราจรมีความถูกต้องและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงผู้ให้บริการต้องตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์บริการทุกชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิงสากล (Stratum 0)โดยผิดพลาดไม่เกิน ๑๐ มิลลิวินาที
สิ่งที่ผู้ให้บริการต้องดำเนินการสิ่งที่ผู้ให้บริการต้องดำเนินการ
ผลกระทบ • ผู้ให้บริการมีภาระมากขึ้นในการจัดเก็บข้อมูล • การใช้บริการต้องมีขั้นตอนมากขึ้น • การสมัครสมาชิก การให้ข้อมูลพร้อมหลักฐานระบุตัวตน • มีความชัดเจนเรื่องการปฏิบัติงานและผู้ปฏิบัติงานด้านการให้ข้อมูลและการระงับการเผยแพร่ • อำนวยความสะดวกในการติดตามผู้กระทำผิดมากขึ้น • ผู้ใช้บริการต้องปรับตัว และระมัดระวังการใช้งานมากขึ้น
หัวข้อนำเสนอ • พ.ร.บ.ฯ และประกาศกระทรวงฯ • ตัวอย่างปฏิบัติของมหาวิทยาลัย • การเตรียมการ • แนวคิดการออกแบบระบบ • ระบบที่ใช้ปัจจุบัน • ประสบการณ์และข้อเสนอแนะ • กรณีศึกษาในคดีที่เกิดขึ้นจริงจากความผิดตาม พ.ร.บฯ • กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
กิจกรรมโดยสรุปที่ดำเนินงานกิจกรรมโดยสรุปที่ดำเนินงาน
ข้อกำหนดทั่วไปเพื่อใช้ออกแบบระบบข้อกำหนดทั่วไปเพื่อใช้ออกแบบระบบ
ตัวอย่างสายโซ่การสืบค้นตัวอย่างสายโซ่การสืบค้น ที่ใหน : ต้นทาง เมื่อไร อะไร ที่ใหน : ปลายทาง ข้อมูลตั้งต้น IP (s):a.b.c.d Date:ddmmyy-hhmm protocol IP (d):w.x.y.z Logging สืบค้นหาผู้ใช้บัญชีจากข้อมูลตั้งต้น SMART เจ้าของเครื่อง MAC Addr. ชื่อบัญชี ที่ใหน : เครื่องต้นทาง ใคร ใคร ได้รหัสหมายเลขเครื่องและชื่อเจ้าของเครื่องพร้อมที่ติดต่อ ได้รายชื่อผู้ใช้ และข้อมูลบุคคล
หัวข้อนำเสนอ • พ.ร.บ.ฯ และประกาศกระทรวงฯ • ตัวอย่างปฏิบัติของมหาวิทยาลัย • ประสบการณ์และข้อเสนอแนะ • ประสบการณ์ • แผนงานในอนาคต • กรณีศึกษาในคดีที่เกิดขึ้นจริงจากความผิดตาม พ.ร.บฯ • กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ประสบการณ์จากการดำเนินการประสบการณ์จากการดำเนินการ
ปัญหาอุปสรรคของ พรบ. • การเตรียมพร้อมของหน่วยงาน • ความตระหนักและรับรู้ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ • ความพร้อมของบุคลากรด้านการสอบสวน • ปัญหากระบวนการ • การจัดการพยานหลักฐาน • การระงับการเผยแพร่ • ปัญหาการตีความกฏหมาย • การขอความร่วมมือในประเทศและระหว่างประเทศ • ความไม่เข้าของประชาชนในการแจ้งความดำเนินคดี
หัวข้อนำเสนอ • พ.ร.บ.ฯ และประกาศกระทรวงฯ • ตัวอย่างปฏิบัติของมหาวิทยาลัย • ประสบการณ์และข้อเสนอแนะ • กรณีศึกษาในคดีที่เกิดขึ้นจริงจากความผิดตาม พ.ร.บฯ • กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำโดยมิชอบ มาตรา ๕ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ มาตรา ๖ การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง มาตรา ๗ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา ๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา ๙ การแก้ไข เปลี่ยนแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๐ การรบกวน ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ต่อ) มาตรา ๑๑สแปมเมล์ (Spam Mail) มาตรา ๑๒ การกระทำความผิดต่อ ประชาชนโดยทั่วไป / ความมั่นคง มาตรา ๑๓ การจำหน่าย / เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด มาตรา ๑๔ นำเข้า ปลอม / เท็จ / ภัยมั่นคง / ลามก / ส่งต่อ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๕ ความรับผิดของผู้ให้บริการ มาตรา ๑๖ การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ / ดัดแปลง รวม ๑๒ มาตรา
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ(ต่อ)การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ(ต่อ) มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การพิจารณาฐานความผิด - การกระทำซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา ๗ อาจต้องมีการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ เสียก่อน
การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย การขโมยโดเมนเนม • sanook.com • Jabchai.com • Narak.com • Ini3.com
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย • มหาวิทยาลัยเอกชน แห่งหนึ่งว่าจ้างให้ ดร.ท่านหนึ่งเป็นผู้บริหารหลักสูตรและให้ทำ e-learning ทางเว็บด้วย ต่อมาได้ทำผิดกฎจึงต้องให้ออกไปหลังจากนั้น ได้มีผู้เข้ามาในระบบ แล้วลบข้อมูลทั้ง server • บริษัทแห่งหนึ่ง ถูก Hack ระบบโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศ ทำให้ต้องเสียค่าโทร.ทางไกล จากเดิม เดือนละ 3-4 แสนบาท กลายเป็นเดือนละ 8 ล้านบาท • Hack ระบบบัตรเติมเงิน โทร.มือถือ โดยนำเลขบัตรเก่า ให้กลับมาใช้ได้ใหม่ แล้วนำไปขายทั่วประเทศ ทำให้ผู้ให้บริการเสียหายกว่า 150 ล้านบาท
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย(ต่อ) • เว็บไซต์หน่วยงานต่างๆ เช่น ไอซีที ถูก Hack • ใช้ระบบ e-Banking โอนเงินจากบัญชีของผู้อื่น เข้าบัญชี ที่ตนทำไว้ในชื่อคนอื่น • เว็บของ ISP แห่งหนึ่ง ถูกพนักงานที่ไล่ออกไป แก้ไขเป็นเว็บโป๊และส่ง e-mail ในนามของผู้บริหาร ไปด่าผู้อื่น • เกมส์ออนไลน์ชื่อดัง ได้ถูกเจ้าหน้าที่ของบริษัทใช้สิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ แอบสร้างอาวุธในเกมส์,คะแนน,เงินในเกมส์ เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับผู้ที่เล่นเกมส์
การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้โจมตีระบบ แอบบันทึก username & password
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย • การดักจับข้อมูลบัตรเครดิตในเครือข่าย • พนักงานธนาคาร เขียนโปรแกรม ดักเก็บข้อมูลบัตรเครดิตและรหัสลับ แล้วนำไปทำบัตรใหม่ • การใช้โปรแกรม sniffer หรือ Key logger เก็บข้อมูลจากผู้ใช้งาน
การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๐ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เหตุผลการกำหนดฐานความผิดคำนึงถึงการก่อให้เกิดการปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service) เป็นสำคัญ
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย • ส่งไวรัสspyware • ส่งอี-เมล์ขนาดใหญ่จำนวนมากไปยัง mail server • ส่ง spam mail • การทำ DDOS
การใช้อุปกรณ์/ชุดคำสั่งในทางมิชอบการใช้อุปกรณ์/ชุดคำสั่งในทางมิชอบ มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เหตุผล จำกัดเฉพาะกรณีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งแต่เดิมรวมถึงฮาร์ดแวร์ (อุปกรณ์) ด้วย
สแปมเมล์ (Spam Mail) มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสมการนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม มาตรา ๑๔ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำและปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนักแก่ประชาชน
การนำเข้า/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม (ต่อ) (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย • หลอกว่ามีเงินมรดกจากเศรษฐีในเนเธอร์แลนด์ เป็นเงิน หลายพันล้านบาท แต่ต้องเสียเงินค่าดำเนินการกว่า 70 ล้านบาท • หลอกว่ามีเงินอยู่ที่ไนจีเรีย 15 ล้าน$ ขอนำเงินมาผ่านบัญชีเพื่อฟอกเงิน แล้วจะแบ่งให้ ๔๐% • หลอกว่าได้รับรางวัลล๊อตเตอรรี่ เช่นเดียวกับ แก๊งตกทอง ในอดีต
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย (ต่อ) • เว็บไซต์หมิ่นศาสนา หมิ่นเบื้องสูง • การเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร • เผยแพร่ Clipไม่เหมาะสมใน YouTube
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย (ต่อ) • นักเรียน ชั้น ม.3 แค้นที่ อาจารย์ดุด่า จึงไปเขียนในเว็บบอร์ด ว่า อาจารย์ผู้ชายนั้น เป็นเอเยนต์นศ.ขายตัว และนำชื่อภรรยาของอาจารย์ไปลงในเว็บบอร์ดว่า “เหงาจัง อยากมีคู่นอน” พร้อมแจ้งเบอร์โทรศัพท์มือถือ และเบอร์โทรศัพท์บ้าน • นศ.ปริญญาโท แค้น อาจารย์ที่ให้คะแนนน้อย จึงไปเขียนเว็บบอร์ดว่าถูก อาจารย์ข่มขืน • เผยแพร่ข้อมูล หมื่นประมาทใส่ร้ายผู้อื่น
กรณีตัวอย่าง ในประเทศไทย (ต่อ) • การจัดทำเว็บขายสินค้า แล้วไม่ส่งสินค้าให้ หรือทำหลอกไว้เพื่อเพียงต้องการหมายเลขและข้อมูลบัตรเครดิต • เสนอขาย โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก ลูกค้าหลงเชื่อ เพราะมีเบอร์โทร.ติดต่อได้ และมีเลขบัญชีธนาคาร • เสนอซื้อโทรศัพท์มือถือ โดยนัดให้ไปส่งของ แล้วปล้นทรัพย์ • การสั่งซื้อสินค้า โดยใช้หมายเลขบัตรเครดิตของผู้อื่น • กรอกข้อมูลปลอมในเว็บกรมสรรพากรเพื่อขอคืนภาษี