490 likes | 1.04k Views
รู้เท่าทัน เข้าใจลูกวัยรุ่น. พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. ประเด็น. เข้าใจวัยรุ่น เลิกบ่นกันเถอะ มาฝึกการสื่อสารที่ถูกต้องกัน. คำจำกัดความ. ระยะเวลาจาก puberty ถึงวัยผู้ใหญ่
E N D
รู้เท่าทัน เข้าใจลูกวัยรุ่น พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
ประเด็น • เข้าใจวัยรุ่น • เลิกบ่นกันเถอะ มาฝึกการสื่อสารที่ถูกต้องกัน
คำจำกัดความ • ระยะเวลาจาก pubertyถึงวัยผู้ใหญ่ • โดย puberty เริ่มต้นอายุ 11 – 16 ปีในผู้ชาย และ 9 – 16 ปีในผู้หญิง • โดยวัยผู้ใหญ่ โดยทั่วไปหมายถึง วัยที่สามารถเป็นอิสระจากผู้ปกครอง ถ้าตามกฎหมาย คือ อายุ 20 ปี
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย • เปลี่ยนแปลงมากในช่วง 11 – 13 ปี • โตเร็ว โดยเฉพาะส่วนคอ แขน ขา มากกว่าลำตัว ดูเก้งก้าง กล้ามเนื้อเพิ่ม • ไขมันสะสมเพิ่มขึ้นในผู้หญิง แต่ในผู้ชายไขมันจะลดลงเด็กจะกินจุ และ กินมากขึ้น และต้องการแคลอรี่มากขึ้น (GHมากขึ้น) • วงจรการนอนเปลี่ยนแปลง ร่างกายต้องการพักผ่อน • ฮอร์โมนเพศหลั่ง มีผลให้อวัยวะเพศเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงในรูปร่าง เช่น มีเต้านม ขนรักแร้ ขนที่อวัยวะเพศ ฝันเปียก เปลี่ยนแปลงเสียง มีหนวด • ฮอร์โมนเพศชายมากกว่าผู้ใหญ่
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย • ช่วงวัยรุ่นตอนต้นมีการเชื่อมโยงใยสมองส่วนหน้ามาก ทำให้เกิดความสับสน ซึ่งเป็นลักษณะโดดเด่นของวัยรุ่น เมื่อเริ่มเข้าวัยผู้ใหญ่ความเชื่อมโยงลดลงแต่เป็นระเบียบมากขึ้น • สมองส่วนอยาก(limbic system) ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนเพศ ทำให้มีความต้องการทางเพศ แสวงหาความตื่นเต้น ความรุนแรง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ • การสนใจตนเอง สนใจรูปร่างหน้าตาของตนเองมากขึ้น บางครั้งส่องอยู่หน้ากระจกนานๆ อ่อนไหวต่อคำวิจารณ์ สายตา ท่าที กลัวถูกตำหนิ จึงต้องแต่งตัวตามอย่างเพื่อนๆในกลุ่ม • ความต้องการเป็นอิสระ ต้องการพึ่งตนเอง ไม่ชอบให้คนออกคำสั่ง อยากตัดสินใจด้วยตนเอง มักมีความคิดที่ไม่ตรงกับพ่อแม่ แต่ถ้าพ่อแม่ไม่สนใจเลยก็หงุดหงิด รับฟังเพื่อนมากขึ้น รับฟังคนนอกบ้านมากขึ้น
ด้านสติปัญญาและความคิดด้านสติปัญญาและความคิด • นามธรรม เข้าใจเชิงทฤษฎี • มีความคิดรวบยอดที่ลึกซึ้งมากขึ้น สามารถวิจารณ์ เปรียบเทียบบรรยายได้ละเอียดขึ้น ตั้งสมมุติฐานได้ รู้จักดึงเหตุผลจากสิ่งที่ฟัง • ยังคงยึงตนเองเป็นศูนย์กลาง เป็นเสิศ ถูกต้อง จึงหลุ่มหลง เชื่อมั่นกับสิ่งที่ตนเองคิด เช่น ศิลปะ โคลง กลอน นิยาย • ถ้าถูกใจก็สามารถถูกชักจูงได้ง่าย
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ • อารมณ์ไม่แน่นอน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย กิริยารุนแรง ก้าวร้าว พูดจาไม่น่าฟัง • อาจมีพฤติกรรมถอยหลัง ทะเลาะกับน้อง ขี้เกียจ อยากให้คนมาดูแล โกรธง่าย • เครียดกับเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ความรับผิดชอบที่มากขึ้น การคบเพื่อนใหม่
การพัฒนาทางด้านสังคม • เพื่อนคือสิ่งที่สำคัญ การยอมรับจากเพื่อน การกระทำที่เหมือนเพื่อนในกลุ่ม จึงเกิดการลอกเลียนแบบ
วัยรุ่นไม่ชอบพ่อแม่ที่วัยรุ่นไม่ชอบพ่อแม่ที่ • ดุด่าว่ากล่าว เทศนาสั่งสอน • พูดผูกขาดฝ่ายเดียว พ่อแม่เป็นจอมเผด็จการ • อารมณ์บูด ระบายอารมณ์ใส่ • เอาเรื่องของลูกไปพูดกับคนอื่น • พูดเปรียบเทียบกับคนอื่น • ตำหนิต่อหน้าคนอื่น • เพิกเฉย ไม่คุยกับลูก • ไม่ถามความเห็น ตัดสินใจเองตลอด
สูตร 3 Rs Relationship Rules Resilient Child (เด็กว่านอนสอนง่าย) No Relationship Rules Rebellious Child (เด็กดื้อ) Relationship No Rules Spoiled Child (เด็กถูกตามใจ)
วงจรปัญหา เด็กเลี้ยงยาก ก่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหามากขึ้น ก่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มองตัวเองด้อย ขาดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ถูกตำหนิ ถูกลงโทษ
เคยพูดมั้ย? • ทำตัวงี่เง่าอีกแล้ว....ไปไกลๆเลย • ซนอีกแล้ว...อยู่เฉยๆเป็นมั้ย • ชอบทำตัวแบบนี้เรื่อยเลย แม่เบื่อจริงๆเลย • นี่...รู้จักเขียนหนังสือให้มันสวยๆหน่อยได้มั้ย • เมื่อไหร่จะเริ่มฟังที่แม่พูดซักที ชอบทำหูทวนลมอยู่เรื่อย • เมื่อไหร่จะรับผิดชอบซะที...จะต้องให้บ่นเช้า บ่นเย็นตลอดหรือไง • เลิกทำตัวเป็นเด็กเล็กๆได้แล้ว น่าเบื่อ น่ารำคาญที่สุดเลย
การสื่อสารกับวัยรุ่น • ฝึกใช้คำพูดที่ขึ้นต้น “ฉัน” มากกว่า “เธอ” • แบ่งคำพูดเป็น 3 ส่วน • บอกพฤติกรรมที่รับไม่ได้ • บอกความรู้สึกที่เกิดขึ้นบอกผลลัพธ์ที่เกิดจากพฤติกรรมและความรู้สึก • บอกพฤติกรรมที่ต้องการ
การสื่อสารกับวัยรุ่น • หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า “ทำไม” • ให้ถามในเชิงอยากรู้เหตุผลของการทำอย่างนั้น • อยากรู้จริงๆว่าอะไรทำให้ลูกทำอย่างนั้น • พอจะบอกครูได้ไหมว่า ลูกคิดอย่างไรก่อนที่จะทำอย่างนั้น • เกิดอะไรขึ้น ทำให้ลูกทำอย่างนั้น • มันเกิดอะไรขึ้น ไหนลองเล่าให้ฟังหน่อย
การสื่อสารกับวัยรุ่น • ตำหนิที่พฤติกรรมมากกว่าตัวเด็ก • ไม่ควรพูดว่านิสัยไม่ดี เพราะเด็กจะต่อต้าน และอาจย้อนกลับว่าเพราะเหมือนพ่อแม่ หรือ พ่อแม่ไม่สั่งสอน • การนอนตื่นสาย เป็นสิ่งที่ไม่ดี (ลูกนิสัยแย่มากที่ตื่นสาย) • การทำอย่างนั้น ไม่ฉลาดเลย (ลูกโง่มากที่ทำอย่างนั้น) • แม่ไม่ชอบให้ทะเลาะกัน เป็นพี่น้องต้องรักกัน (ลูกเป็นพี่ที่ใช้ไม่ได้เลย)
กรณีที่ 1 • แม่เดินไปที่ห้องลูกสาว วัย 11 ปี ตั้งใจว่าจะเอาเสื้อแสนสวยตัวใหม่ไปให้ลูกสาวสุดที่รัก เมื่อเดินไปถึง เหลือบเห็นเสื้อผ้าที่ใช้แล้วกองอยู่กับพื้น จึงพูดเสียงดังใส่ลูกสาวว่า • “ ทำไมห้องถึงรกอย่างนี้ บอกกี่ครั้งกี่หนแล้วไม่เคยจำซักที”
กรณีที่ 2 • เช้าวันนี้คุณพ่อต้องไปส่งลูกที่โรงเรียน เนื่องจากคุณแม่ไปสัมมนาต่างจังหวัด กว่าจะปลุกลูกชายวัย 12 ปี ขึ้นมาอาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว และกินข้าวเช้าได้ ก็ใช้เวลานานพอสมควร และลูกชายยังโอ้เอ้ ทำนู่นทำนี่อยู่ คุณพ่อกลัวไปทำงานไม่ทัน จึงพูดกับลูกว่า • “เร็วๆ เข้าสิ ชักช้าอยู่ได้”
หลักของการชม • ชมทันที หรือ ขณะที่ลูกทำพฤติกรรมที่คุณต้องการ • ชมเฉพาะเวลาที่ทำดีเท่านั้น ไม่ชมเมื่อพฤติกรรมไม่เหมาะสม • ชมด้านดีของลูกทุกด้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ชมทั้งความพยายามที่ลูกทำ และความสำเร็จที่ลูกได้รับ • บอกความรู้สึก และ ระบุพฤติกรรมที่ลูกได้ทำอย่างชัดเจน • ไม่มีคำวิจารณ์ ตำหนิ ประชด รวมอยู่ในคำชม • สบตา โอบกอด สัมผัสตัวลูกขณะชม
หลักของการชม(ต่อ) • ฝึกชมด้วยสีหน้า ลักษณะท่าทาง(เช่น สายตา รอยยิ้ม ผงกศีรษะ ชูนิ้วโป้ง ตบเบาๆที่หลัง) • ชมด้วยการเขียนเป็นบางครั้ง • ชมด้วยความรู้สึกจริงใจ ยอมรับ และเห็นคุณค่าในความพยายามของลูกที่ทำพฤติกรรมที่คุณต้องการ
องค์ประกอบของคำชม • บอกความรู้สึกของคุณพ่อคุณแม่ที่เกิดขึ้น เช่น พ่อแม่รู้สึกดีใจ มีความสุข ภูมิใจ เป็นต้น • บอกพฤติกรรมที่ลูกทำ เช่น ลูกช่วยล้างจาน แบ่งปันของเล่นให้น้อง ยอมรับเมื่อทำผิด เป็นต้น • บอกถึงคุณลักษณะของลูกเมื่อทำพฤติกรรมนั้น เช่น ช่วยแบ่งเบาภาระ มีน้ำใจ กล้าหาญ เป็นต้น
ตัวอย่างสิ่งดีๆในตัวลูกตัวอย่างสิ่งดีๆในตัวลูก • ร่าเริง แจ่มใส ช่างสังเกต สงสารคนอื่น เห็นใจผู้อื่น รู้จักขออนุญาต มองโลกในแง่ดี มั่นใจในตนเอง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักจอโทษ มีอารมณ์ขัน ซื่อสัตย์ รู้จักขอบคุณ ยิ้มง่าย กล้าแสดงออก ประหยัดอดออม ใจดี กล้าหาญเด็ดเดี่ยว เข้ากับคนอื่นได้ง่าย • เชื่อฟัง พูดจาไพเราะ มีสัมมาคาระ ให้เกียรติผู้อื่น มีน้ำใจ ช่วยงานบ้าน แบ่งของให้พี่น้อง รักพี่รักน้อง รักพ่อรักแม่ เข้ากับผู้ใหญ่ได้ดี เป็นห่วงคนในบ้าน ใส่ใจความร็สึกผู้อื่น ยอมรับคำตักเตือน
ตัวอย่างสิ่งดีๆในตัวลูกตัวอย่างสิ่งดีๆในตัวลูก • คบเพื่อนที่ดี มีน้ำใจ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น เล่นกับคนอื่นได้ดี ร็จักเกรงใจคนอื่น สุภาพ เอื้ออาทร ห่วงใยเพื่อน มนุษยสัมพันธ์ดี • ตั้งใจ มีความพยายาม รอบคอบ ช่างสังเกต ความจำดี มีความคิดสร้างสรรค์ ตรงเวลา ชอบไปโรงเรียน มีระเบียบเรียบร้อย ไม่ย่อท้อต่องานยาก รับผิดชอบทำการบ้าน • ชอบเล่นกีฬา ชอบเล่นดนตรี เก่งศิลปะ ชอบประดิษฐ์ รักสัตว์เลี้ยง ร้องเพลงเพราะ ชอบค้นคว้าหาความรู้ มีความสนใจหลากหลาย ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
รู้แล้วก็อย่าลืมบอกลูกนะ!!!รู้แล้วก็อย่าลืมบอกลูกนะ!!!
ข้อคิดดีๆ • การให้ความรักอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงลูกให้ประสบผลสำเร็จ • เมื่อเด็กได้ยินคนอื่นพูดถึงตัวเองบ่อยๆ ไม่ว่าด้านดีหรือไม่ดี ในที่สุดเขาจะเชื่อว่าเขาเป็นคนอย่างนั้นจริงๆ • ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ • เมื่อเด็กเชื่อว่าตนเองมีคุณค่า มีความสามารถ เขาจะประพฤติตัวในทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ • เมื่อเด็กชอบตัวเอง เขาจะมุ่งมั่นทำงานหนักขึ้นเพื่อให้ตัวเองเก่งขึ้น
ข้อคิดดีๆ • เน้นที่ข้อเด่นหรือจุดดีของเด็กเพื่อการปรับปรุงข้อด้อยหรือจุดบกพร่อง • หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดตำหนิรุนแรงที่จะทำให้เด็กสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง • เด็กไม่ต้องการคนมาพูดตอกย้ำว่าเขาผิดหรือเลวอย่างไร แต่ต้องการคนที่จะมาสอนว่าครั้งต่อไปเขาควรทำอย่างไรจึงจะถูก • ใช้คำพูดที่ส่งเสริมกำลังใจและเป็นเชิงบวกมากกว่า • เมื่อต้องตำหนิให้เน้นที่พฤติกรรม
มีความสุขกับการเลี้ยงลูกนะคะมีความสุขกับการเลี้ยงลูกนะคะ