580 likes | 899 Views
อาเซียน ความสัมพันธ์กับไทย. ความสัมพันธ์ภายนอก. ออสเตรเลียกับอาเซียน. ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ประเทศคู่เจรจากับอาเซียน ในปี พ.ศ. 2517 และดำเนินความสัมพันธ์กันอย่างราบรื่น ด้านการเมืองและความมั่นคง
E N D
อาเซียน ความสัมพันธ์กับไทยอาเซียน ความสัมพันธ์กับไทย ความสัมพันธ์ภายนอก
ออสเตรเลียกับอาเซียน • ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ประเทศคู่เจรจากับอาเซียนในปี พ.ศ. 2517 และดำเนินความสัมพันธ์กันอย่างราบรื่น • ด้านการเมืองและความมั่นคง - ร่วมกันลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากล เมื่อ พ.ศ. 2547 - ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดือนธันวาคม 2548 - ให้ความสำคัญสถานการณ์ทางการเมืองและความมั่นคงโดยเฉพาะ เรื่องการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ และการค้ามนุษย์
ออสเตรเลียกับอาเซียน (ต่อ) • ด้านเศรษฐกิจ - ได้ร่วมลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 (AANZFTA) • ด้านการพัฒนา - ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาอาเซียน-ออสเตรเลีย ระยะที่ 2 ออสเตรเลียจะให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนากับอาเซียนเป็นมูลค่าประมาณ 57 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถ การวิจัย และคำแนะนำเชิงนโยบาย รวมทั้ง สนับสนุนกลไกระดับภูมิภาค
ออสเตรเลียกับอาเซียน (ต่อ) • ไทยได้มีบทบาทในการสนับสนุนและผลักดันให้อาเซียนและออสเตรเลียร่วมลงนาม - แถลงการณ์รัฐมนตรีว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนอย่างรอบคอบด้านอาเซียน-ออสเตรเลีย - ความตกลงว่าด้วยการค้าเสรีอาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ - แผนปฏิบัติการอาเซียน – ออสเตรเลีย ระยะที่ 2 ไทยเสนอให้ออสเตรเลียเข้ามามีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมภาคโดยเน้นเรื่องเทคโนโลยีสะอาด การจัดการระบบคมนาคม และการอำนวยความสะดวกในการข้ามแดน
นิวซีแลนด์กับอาเซียน • ความสัมพันธ์เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2518 โดยเป็นประเทศคู่เจรจาลำดับที่ 2 ของอาเซียนหลังจากออสเตรเลีย ปัจจุบันความสัมพันธ์ได้พัฒนาเป็นความสัมพันธ์อย่างรอบด้าน • ด้านการเมืองและความมั่นคง - ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และร่วมกันลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากล เมื่อ พ.ศ. 2548
นิวซีแลนด์กับอาเซียน (ต่อ) • ด้านเศรษฐกิจ - ได้ร่วมลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 (AANZFTA) • ด้านการพัฒนา - ปฏิญญาว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่ครอบคลุมทุกด้านระหว่างอาเซียน - แผนปฏิบัติการเพื่อปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่ครอบคลุมทุกด้านระหว่างอาเซียนและนิวซีแลนด์ ค.ศ.2010 - 2015
นิวซีแลนด์กับอาเซียน (ต่อ) • ไทยได้เสนอให้นิวซีแลนด์เข้ามามีบทบาทในเรื่องการเชื่อมโยงในอาเซียนโดยเฉพาะเรื่องการเชื่อมโยงทางทะเล ความมั่นคงทางทะเล รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาดและการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน • ภายใต้กรอบความร่วมมือปัจจุบัน นิวซีแลนด์ได้เสนอโครงการ 4 โครงการได้แก่ 1. โครงการให้ทุนแก่นักศึกษาอาเซียน 2. โครงการแลกเปลี่ยนนักธุรกิจรุ่นใหม่ 3. โครงการจัดการภัยพิบัติ 4. โครงการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการเกษตร
ญี่ปุ่นกับอาเซียน • พัฒนาความสัมพันธ์เป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียนใน พ.ศ.2520 และในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการลงนามปฏิญญาโตเกียวว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนที่มีพลวัตรและยั่งยืนระว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น • ด้านการเมืองการปกครอง - ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่เจรจาอันดับที่ 4 ที่ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - เป็นประเทศแรกที่จัดตั้งกรอบการประชุมความร่วมมือด้าน การต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเป็นทางการกับอาเซียน
ญี่ปุ่นกับอาเซียน (ต่อ) • ด้านเศรษฐกิจ - พ.ศ.2524 ได้จัดตั้งศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และผู้ลงทุน รายใหญ่อันดับที่ 2 ของอาเซียน • ด้านสังคมและวัฒนธรรม - ญี่ปุ่นได้จัดตั้งโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2550 - 2555
บทบาทของไทยต่อประเทศญี่ปุ่นบทบาทของไทยต่อประเทศญี่ปุ่น • เป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญของญี่ปุ่น • ญี่ปุ่นยังสนใจร่วมมือกับไทยในการพัฒนาอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยเฉพาะด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ • จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีและผู้นำในกรอบการประชุมแม่โขง-ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น ไทย ลาว เมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา)
จีนกับอาเซียน • ความสัมพันธ์เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2539 ได้ยกสถานะเป็นประเทศคู่เจรจาอย่างสมบูรณ์ • ในปี พ.ศ. 2554 จีนและอาเซียนได้จัดกิจกรรมเพื่อฉลองครบรอบ 20 ปีความสัมพันธ์ • ด้านการเมือง เป็นประเทศแรกที่ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2546 และเป็นประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ประเทศแรกที่แสดงความพร้อมที่จะลงนามในพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญา
จีนกับอาเซียน • ด้านเศรษฐกิจ -พ.ศ. 2545 ลงนามในกรอบความตกลงความร่วมมือเศรษฐกิจอาเซียน-จีน - พ.ศ. 2547 ลงนามความตกลงด้านการค้าสินค้า พ.ศ. 2550 ด้านการค้าบริการ และ พ.ศ. 2552 ความตกลงด้านการลงทุน - ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน มีผลสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ในปี 2553 จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของอาเซียนและอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของจีนรองจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
จีนกับอาเซียน • ด้านการพัฒนา - กำหนดความร่วมมือใน 11 สาขาหลัก ได้แก่ การเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลงทุน การพัฒนาลุ่มน้ำโขง การคมนาคมขนส่ง พลังงาน วัฒนธรรม สาธารณสุข การท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม • ด้านความเชื่อมโยง - อาเซียนได้ผลักดันเรื่องความเชื่อมโยงในภูมิภาค และจีนได้จัดตั้งกองทุนอาเซียน – จีน เพื่อการลงทุน และโครงการสินเชื่อเชิงพาณิชย์
เกาหลีกับอาเซียน • ได้รับสถานะเป็นคู่เจรจาอย่างสมบูรณ์ของอาเซียน ในปี พ.ศ. 2534 ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • พ.ศ. 2547 ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือที่รอบด้าน • พ.ศ. 2548 ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน • พ.ศ. 2550 อาเซียนและเกาหลีได้ร่วมลงนามจัดตั้งศูนย์อาเซียน - เกาหลี ที่กรุงโซล เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน
อินเดียกับอาเซียน • เริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2535 ในฐานะประเทศ คู่เจรจาเฉพาะด้าน และยกระดับเป็นประเทศคู่เจรจาอย่างสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2538 • เป็นความสัมพันธ์อย่างรอบด้านในฐานะหุ้นส่วน เพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรือง • ปัจจุบันอยู่ภายใต้แผนการปฏิบัติการ พ.ศ. 2553 – 2558 ทั้งสองฝ่าย ได้จัดตั้งกองทุนอาเซียน - อินเดีย
อินเดียกับอาเซียน (ต่อ) • ด้านการเมืองและความมั่นคง - เข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 - ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2546 • ด้านเศรษฐกิจ - ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านในปี พ.ศ. 2546
อินเดียกับอาเซียน (ต่อ) • ด้านสังคมและการพัฒนา - จัดตั้งศูนย์ภาษาอังกฤษและศูนย์ฝึกอบรมผู้ประกอบการในประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม - จัดตั้งกองทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาเซียน - อินเดีย - จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ - การตั้งกองทุนสีเขียวอาเซียน – อินเดีย อินเดียส่งเสริมความร่วมมือกับอาเซียนในสาขาที่อินเดียมีศักยภาพ เช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การแพทย์และเภสัชกรรม
แคนนาดากับอาเซียน • เริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2520 แต่ได้ประสบภาวะชะงักงันนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เมื่ออาเซียนรับเมียนมาเข้าเป็นสมาชิก เนื่องจากไม่ประสงค์ให้เมียนมาเข้าเป็นภาคีความตกลงว่าด้วย ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ • พ.ศ. 2547 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน - แคนนาดา เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการกลับมาดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันอีกครั้ง • พ.ศ. 2553 อาเซียนและแคนนาดาได้จัดการประชุมในระดับผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
สหรัฐอเมริกากับอาเซียนสหรัฐอเมริกากับอาเซียน • เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2520 โดยในระยะแรกเน้นความร่วมมือด้านการพัฒนา ต่อมาขยายถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ • พ.ศ. 2552 ที่ประเทศสิงคโปร์มีการประชุมสุดยอดครั้งแรกระหว่างอาเซียนและสหรัฐอเมริกา โดยที่ประชุมเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนในการเผชิญปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ • พ.ศ. 2553 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม อาเซียนได้จัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและสหรัฐอเมริกา นางฮิลลารี คลินตันย้ำถึง การเป็นประเทศแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและยืนยันการให้ความสำคัญ และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการสร้างประชาคมอาเซียน
สหรัฐอเมริกากับอาเซียน (ต่อ) • การประชุมผู้นำอาเซียน – สหรัฐอเมริกา ที่นครนิวยอร์ก ใน พ.ศ. 2553นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นเสนอต่อที่ประชุม ได้แก่ ความเชื่อมโยงในอาเซียน การสร้างประชาคมอาเซียน สถาปัตยกรรม ในภูมิภาค
รัสเซียกับอาเซียน • เริ่มต้นจากการที่รัสเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ในฐานะคู่หารือกับอาเซียนในปี พ.ศ. 2534 และพัฒนาความสัมพันธ์จนได้รับสถานะประเทศคู่เจรจากับอาเซียนในปี พ.ศ. 2539 • ด้านการเมืองและความมั่นคง - ได้ลงนามในเอกสารสำคัญ ได้แก่ ปฏิญญาร่วมอาเซียน – รัสเซียว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพฯ พ.ศ. 2546 แถลงการณ์ร่วมอาเซียน – รัสเซียว่าด้วยความร่วมมือในการต่อการการก่อการร้าย พ.ศ. 2547 - ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี พ.ศ. 2547
รัสเซียกับอาเซียน (ต่อ) • ด้านการพัฒนา - ผู้นำอาเซียนและรัสเซียลงนามในปฏิญญาร่วมของประมุขแห่งรัฐฯ ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่ครอบคลุมทุกด้าน - ได้รับรองโครงการส่งเสริมความสัมพันธ์อย่างรอบด้านระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย พ.ศ.2548 - 2558 • ด้านเศรษฐกิจ - ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา พ.ศ. 2548 - ร่วมกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาของรัสเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งศูนย์อาเซียนในกรุงมอสโก พ.ศ. 2552
สหภาพยุโรปกับอาเซียน • มีความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มกันมาเป็นเวลานาน ถือเป็นคู่เจรจาอย่าง ไม่เป็นทางการของอาเซียนตั้งแต่ พ.ศ. 2515 และได้พัฒนาเป็นคู่เจรจาอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2520 • ด้านการเมืองและความมั่นคง - ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน – สหภาพยุโรป พ.ศ.2550 ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญานูเร็มเบิร์กว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียน - ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในปี พ.ศ. 2546
สหภาพยุโรปกับอาเซียน (ต่อ) • ด้านเศรษฐกิจ - การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - สหภาพยุโรปซึ่งเจรจามาแล้ว 7 ครั้ง ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้และจะเริ่มเจรจาอีกครั้งในปี 2558 • ด้านความร่วมมือและการพัฒนา - มีคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน – สหภาพยุโรป • ด้านความเชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน - สหภาพยุโรปแสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนอาเซียนในการสร้าง องค์ความรู้ด้านการจัดการข้ามพรมแดนและรูปแบบการระดมทุน
สหภาพยุโรปกับอาเซียน (ต่อ) - กลไกส่งเสริมกรอบความร่วมมือด้านที่ไม่ใช่การค้าการลงทุน (READI) ได้แก่ การลักลอบค้ามนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การขนส่งทางอากาศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
องค์การสหประชาชาติกับอาเซียนองค์การสหประชาชาติกับอาเซียน • เริ่มขึ้นบนพื้นฐานของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอาเซียนกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) ในช่วง พ.ศ. 2513ต่อมาได้รับสถานะเป็นประเทศคู่เจรจาของอาเซียน พ.ศ. 2520 • การประชุมสุดยอดอาเซียน – สหประชาชาติ พ.ศ. 2543 ว่าด้วยการค้า และการพัฒนา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และสร้างการเชื่อมโยงที่ต่อเนื่องระหว่างประเทศกลุ่มอาเซียนกับสหประชาชาติ • เพื่อสนับสนุนการทำงานของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและพัฒนาสมัยที่ 10 ได้ปรึกษาหารือใน 3 หัวข้อหลัก คือ ประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคง ประเด็นด้านการพัฒนา และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ สหประชาชาติในเรื่องการเมืองและความมั่นคง
องค์การสหประชาชาติกับอาเซียน (ต่อ) • การประชุมสุดยอดอาเซียน – สหประชาชาติ ครั้งที่ 3 1. ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนบรรลุเป้าหมายการพัฒนา 2. การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข การศึกษา และสิทธิมนุษยชน 3. การเสริมสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียน การป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบข้างเคียง เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย ยาเสพติด 4. การรักษาสันติภาพและการบริหารจัดการภัยพิบัติ
ภาษาอังกฤษน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียนภาษาอังกฤษน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน • การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Post Ministerial Conference - PMC) • การประชุมระดับเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Joint Coordination Committee) • ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation – TAC) • ศูนย์ประสานงานอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance – AHA Centre)
ภาษาอังกฤษน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน (ต่อ) • “ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการดำเนินการร่วมกันในการต่อต้านการก่อ การร้าย” (ASEAN Joint Declaration for Cooperation to Combat International Terrorism) • เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Agreement : AFTA) • CLMV คือประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม เป็นประเทศในกลุ่ม ASEAN ที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจโตต่อเนื่องและยังมีแร่ธาตุทรัพยากร อุดมสมบูรณ์ และยังมีค่าจ้างแรงงานไม่สูงนัก กลุ่มประเทศ CLMV จึงเป็นประเทศที่มีคนสนใจเข้าไปลงทุนการผลิตและการตลาด
ภาษาอังกฤษน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน (ต่อ) • กรอบความร่วมมือ : การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum - ARF) • กรอบข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวกันของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration – IAI) • คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR)
จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ จุดแข็ง• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก• การเมืองค่อนข้างมั่นคง• เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน จุดอ่อน• ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน• ขาดแคลนแรงงาน ประเด็นที่น่าสนใจ• มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย• การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก• ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก
จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ จุดแข็ง• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ• ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (1.6 USD/day) จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร• ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ค่อนข้างสูง• ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ ประเด็นที่น่าสนใจ• ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยาย การค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคตได้
จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ จุดแข็ง• ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้• ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) • มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ • ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง จุดอ่อน • ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว• สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจ• การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก
จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ จุดแข็ง• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆ• การเมืองมีเสถียรภาพ• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day) จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร• พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล ประเด็นที่น่าสนใจ• การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำและเหมืองแร่
จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ จุดแข็ง• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก• ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร • แรงงานมีทักษะ จุดอ่อน• จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับล่าง ประเด็นที่น่าสนใจ• ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563• ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย• มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง
จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ จุดแข็ง• มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก• มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day) จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร• ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย ประเด็นที่น่าสนใจ• การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก ทั้งทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ
ฟิลิปปินส์กับไทย จุดแข็ง• ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน)• แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้ จุดอ่อน• ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน• ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ประเด็นที่น่าสนใจ• สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมากและมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ• การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก
จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ จุดแข็ง• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก• การเมืองมีเสถียรภาพ • เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ• แรงงานมีทักษะสูง • ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ• มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ จุดอ่อน• พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง ประเด็นที่น่าสนใจ• พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลด การพึ่งพาการส่งออกสินค้า
จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ จุดแข็ง• ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (~90 ล้านคน)• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก• มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร• การเมืองมีเสถียรภาพ• ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียนรองจากกัมพูชา จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร• ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูง ประเด็นที่น่าสนใจ• มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว
ไทยกับจุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ จุดแข็ง• เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ ของโลก• ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ• สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง• ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง• แรงงานจำนวนมาก จุดอ่อน• แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ• เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง
ไทยกับจุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจ ประเด็นที่น่าสนใจ• ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยว• ดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC ปี 53-54 ได้ 64% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ 53% สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง
ไทยกับ AEC • การลงทุนจะเสรีมากๆ คือ ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ประเทศที่การศึกษาระบบดีๆ ก็จะมาเปิดโรงเรียนในบ้านเรา อาจทำให้โรงเรียนแพงๆ แต่คุณภาพไม่ดีลำบาก • ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอยู่กลางAseanและไทยอาจจะเด่นในเรื่องการจัดการประชุมต่างๆ, การแสดงนิทรรศการ, ศูนย์กระจายสินค้า และยังเด่นเรื่องการคมนาคมอีกด้วยเนื่องจากอยู่ตรงกลางอาเซียน และการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพ จะเติบโตอย่างมากเช่นกันเพราะจะผสมผสานส่งเสริมกันกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ค่าบริการทางการแพทย์ต่างชาติจะมีราคาสูงมาก)
ไทยกับ AEC • การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น รถยนต์, การท่องเที่ยว, การคมนาคม, แต่อุตสาหกรรมที่น่าห่วงของไทยคือ ที่ใช้แรงงานเป็นหลักเช่น ภาคการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ • เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมากมาย เนื่องจากจะมีคนอาเซียนป้วนเปี้ยนในไทยมากมายไปหมด และเค้าจะพูดภาษาไทย ไม่ค่อยได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษ โดยป้ายต่างๆ หนังสือพิมพ์, สื่อต่างๆ จะมีภาษาอังกฤษมากขึ้น (ให้ดูป้ายที่สนามบินสุวรรณภูมิ) และจะมีโรงเรียนสอนภาษามากมาย หลากหลายหลักสูตร
ไทยกับ AEC • การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมาย เนื่องจากด่านศุลกากร ชายแดนอาจมีบทบาทน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหา สังคมตามมาด้วย • เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้สกิลอีกต่อไปเพราะแรงงานจะเคลื่อนย้ายเสรี จะมีชาวพม่า, ลาว, กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่ปัญหาสังคมจะ เพิ่มขึ้นแทน อันนี้รัฐบาลควรระวัง • คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ค่าแรงถูกมาก อันนี้ สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมากๆ แต่พวกชาวต่างชาติก็จะมาทำงาน ในไทยมากขึ้นเช่นกัน อาจมีชาวพม่า, กัมพูชา เก่งๆ มาทำงานกับเรา ก็ได้ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง
ไทยกับ AEC • อุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า บริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น • สาธารณูปโภคในไทย หากเตรียมพร้อมไม่ดีอาจขาดแคลนได้เช่น ชาวพม่า มาคลอดลูกในไทย ก็ต้องใช้โรงพยาบาลไทย เป็นต้น • กรุงเทพฯ จะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซียนและเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีสำนักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น ก็เป็นได้ รถจะติดอย่างมาก สนามบินสุวรรณภูมิ จะแออัดมากขึ้น
ไทยกับ AEC • ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร เพราะ knowhow ในไทยมีเยอะประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง ประกอบทำเลที่ตั้งเหมาะสมอย่างมาก • ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างชาติ ที่ด้อยกว่าอาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้, จะมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์, ลาวทาวน์, กัมพูชาทาวน์, ปัญหาอาชญากรรมจะรุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา, คนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย