90 likes | 204 Views
ข้อเสนอการร่วมจ่าย ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. 29 มีนาคม 2550. แนวคิดเรื่องการร่วมจ่าย. การร่วมจ่าย ณ จุดบริการเป็นเครื่องมือทางการเงิน เพื่อป้องกันการใช้บริการเกินความจำเป็น ( moral hazard) ในระบบประกันสุขภาพ ไม่ได้ใช้เป็นแหล่งเงินหลักสำหรับการจัดบริการ
E N D
ข้อเสนอการร่วมจ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าข้อเสนอการร่วมจ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 29 มีนาคม 2550
แนวคิดเรื่องการร่วมจ่ายแนวคิดเรื่องการร่วมจ่าย • การร่วมจ่าย ณ จุดบริการเป็นเครื่องมือทางการเงิน เพื่อป้องกันการใช้บริการเกินความจำเป็น (moral hazard) ในระบบประกันสุขภาพ ไม่ได้ใช้เป็นแหล่งเงินหลักสำหรับการจัดบริการ • มาตรการทางการเงินต่อประชาชน (demand side intervention) มีผลต่อการควบคุมค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นน้อยกว่ามาตรการทางการเงินต่อผู้ให้บริการ (supply side intervention) • มาตรการทางการเงินต่อประชาชนอาจมีผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการที่จำเป็นของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ยากจน • การลดผลกระทบอาจดำเนินการโดยให้มีการยกเว้น (exemption) การร่วมจ่ายสำหรับคนจน แต่จะต้องมีกระบวนการ target คนจนที่มีประสิทธิภาพ
ความจำเป็นการร่วมจ่ายในไทยความจำเป็นการร่วมจ่ายในไทย • ปัจจุบันอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก =2.5 visits/cap/year อัตราการนอนโรงพยาบาล = 0.11 admission/cap/year ข้อมูลเชิงประจักษ์ยืนยันการใช้บริการเกินความจำเป็นไม่ชัดเจน • มีข้อมูลจากหลายการศึกษาพบว่า คนจนประสบปัญหาการใช้บริการเนื่องจากต้นทุนทางอ้อม (indirect cost)สูง และหลายคนยังต้องร่วมจ่ายค่าบริการ • ก่อนยกเลิกการเก็บ 30 บาท ผู้มีบัตรทองที่ต้องเสีย 30 บาทมีร้อยละ 29 เป็นคนจน (ปัญหาการออกบัตร สปร. ตั้งแต่อดีต) • ประมาณการรายได้จากการร่วมจ่าย 30 บาทเท่ากับ 1.1-1.2 พันล้านบาท (ประมาณร้อยละ 1.5 ของเงินกองทุนฯ)
ความพยายามให้เกิดระบบร่วมจ่ายใหม่ความพยายามให้เกิดระบบร่วมจ่ายใหม่ • มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า งบประมาณระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่เพียงพอ แต่ยังคุ้มครองคนมีฐานะโดยที่การร่วมจ่ายเท่ากัน (ต้องการให้คนมีฐานะจ่ายมากขึ้น) • ข้อเท็จจริง: concentration index ของระบบ = 0.5929 (ปี 2543) แสดงว่าคนมีฐานะจ่ายมากกว่าคนยากจน • ความพยายามให้คนที่มีฐานะร่วมจ่ายมากขึ้น ด้วยระบบ self targeting คือการร่วมจ่ายกรณีขอใช้บริการห้องพิเศษ • (1) การร่วมจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนต่าง (ค่าห้อง ค่าบริการพิเศษ ฯลฯ) • (2) (1) + บางส่วนหรือทั้งหมดของค่ารักษาพยาบาลพื้นฐาน (คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องความเสมอภาค)
ข้อเสนอการร่วมจ่ายห้องพิเศษล่าสุดข้อเสนอการร่วมจ่ายห้องพิเศษล่าสุด • กำหนดให้การใช้บริการห้องพิเศษอยู่นอกสิทธิประโยชน์ • ทางเลือกการร่วมจ่ายกรณีใช้ห้องพิเศษ • ผู้ป่วยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ค่าห้องพิเศษและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งหมด เนื่องจากไม่ครอบคลุมในสิทธิประโยชน์ • ผู้ป่วยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะส่วนต่าง (ค่ารักษาพยาบาลเรียกเก็บลบค่าใช้จ่ายที่เบิกได้จาก สปสช.) + ค่าห้องพิเศษและค่าใช้จ่ายอื่นๆ • ผู้ป่วยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เป็นร้อยละ (ตามประเภทของห้องพิเศษ) ของค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ (co-insurance) สปสช. จ่ายตามหลักเกณฑ์แต่หักลบตามสัดส่วนที่ผู้ป่วยร่วมจ่าย
ประมาณการรายได้ร่วมจ่ายกรณีห้องพิเศษประมาณการรายได้ร่วมจ่ายกรณีห้องพิเศษ • คาดประมาณโดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยในรายบุคคลปี 2549 • สมมุติฐานอัตราจ่ายของ สปสช. ต่อ adjRW=8,000 บาท (base rate) • เป็นประมาณการ maximum level ซึ่งหากมีการดำเนินการจะทำให้ผู้มีสิทธิUC ลดการใช้บริการห้องพิเศษเนื่องจากการเสียค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์
ข้อเสนอการร่วมจ่ายกรณีอื่นข้อเสนอการร่วมจ่ายกรณีอื่น • กำหนดมาตรฐานการให้บริการให้ชัดเจน การรักษาที่ต่างจาก (สูงกว่า)มาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้มีสิทธิร่วมจ่าย (กรณีผู้มีสิทธิร้องขอโดยได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์) • มาตรฐานยา: ยาบัญชียาหลักแห่งชาติ • มาตรฐานเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา: เสนอให้มีการจัดทำขึ้น • มาตรฐานวิธีการรักษา: ใช้ CPG ที่ราชวิทยาลัยต่างๆ จัดทำขึ้นและผ่านความเห็นชอบ
ข้อพึงพิจารณาระบบการร่วมจ่ายข้อพึงพิจารณาระบบการร่วมจ่าย • รายได้การร่วมจ่ายเข้าสู่สถานพยาบาลโดยตรง และเป็นสถานพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ที่ประชาชนมีฐานะดี • ไม่ได้ลดภาระงบประมาณของระบบ (ยกเว้นทางเลือก C กรณีใช้ห้องพิเศษ) และไม่เกิดการกระจายงบประมาณไปสู่สถานพยาบาลพื้นที่ยากจน • ปัญหาการเกิดหลายมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย และการสร้างอุปสงค์เทียมในการใช้บริการ • การพัฒนาระบบประกันคุณภาพบริการ • การควบคุมจำนวนและการใช้ห้องพิเศษ • การกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนกรณีมาตรฐานบริการ