1 / 12

ผู้จัดทำสัมมนา วิรัตน์ เชื้อชั่ง โปรแกรมวิชา เกษตรศาสตร์ (สัตวบาล)

หลักการคัดเลือกโคเนื้อไว้เป็นพ่อพันธุ์. ผู้จัดทำสัมมนา วิรัตน์ เชื้อชั่ง โปรแกรมวิชา เกษตรศาสตร์ (สัตวบาล). การคัดเลือกพ่อพันธุ์โคเนื้อ.

zlata
Download Presentation

ผู้จัดทำสัมมนา วิรัตน์ เชื้อชั่ง โปรแกรมวิชา เกษตรศาสตร์ (สัตวบาล)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการคัดเลือกโคเนื้อไว้เป็นพ่อพันธุ์หลักการคัดเลือกโคเนื้อไว้เป็นพ่อพันธุ์ ผู้จัดทำสัมมนา วิรัตน์ เชื้อชั่ง โปรแกรมวิชา เกษตรศาสตร์ (สัตวบาล)

  2. การคัดเลือกพ่อพันธุ์โคเนื้อการคัดเลือกพ่อพันธุ์โคเนื้อ 1. การคัดเลือกโดยพิจารณาดูรูปร่างลักษณะทั่วไปและสมรรถภาพที่ปรากฏของโค ตัวนั้นเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจว่าตัวใดดีหรือไม่ดี และโคตัวใดสมควรได้รับการ คัดเลือกไว้เป็นพ่อพันธุ์ - การคัดเลือกโดยพิจารณาดูรูปร่างลักษณะทั่วไป การคัดเลือกโดยวิธีนี้ทำโดยดูรูปร่าง ลักษณะทั่ว ไปและรูปทรงของโคตัวนั้นเป็นสำคัญ เช่น รูปร่าง หน้าตา ความยาวและความหนาของลำตัว ความยาวรอบอก ความลึกของช่วงท้อง ความสูง และความกว้าง ใหญ่ของตะโพก ความแข็งแรงของเท้าและขา อวัยวะสืบพันธุ์และลักษณะประจำพันธุ์ ของโค - การคัดเลือกโดยพิจารณาดูสมรรถภาพของโคตัวนั้นแสดงออกมา เช่น การเจริญเติบโต ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นน้ำหนักตัวและประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ซึ่ง สามารถดูได้จากสถิติหรือข้อมูลต่าง ๆ ของโค ผลที่ได้รับจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความถูกต้องของข้อมูล

  3. 2. การคัดเลือกโดยพิจารณาดูพันธุ์ประวัติ พันธุ์ประวัติ หมายถึง บันทึกสมรรถภาพของบรรพบุรุษ ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตาและยาย บรรพบุรุษชั่วที่อยู่ใกล้ที่สุดจะมีอิทธิพลลบต่อโคมากกว่าชั่วที่ห่างออกไป บรรพบุรุษที่ห่างเกินกว่า 3 ชั่ว จะไม่มีความสำคัญต่อการพิจารณา เช่น พ่อ-แม่ มีอิทธิพลมากกว่า ปู่ ย่า ตา และยาย การคัดเลือกวิธีนี้โดยนำเอาพันธุ์ประวัติของโคแต่ละตัวมาเปรียบเทียบกัน ผลที่ได้รับจะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความถูกต้องของข้อมูล ในพันธุ์ประวัติ

  4. 3. การคัดเลือกโดยพิจารณาดูลักษณะและสมรรถภาพที่ปรากฏในญาติใกล้เคียง การที่โคมีพี่น้องหลาย ๆ ตัวจะทำให้การพิจารณาประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น วิธีนี้ทำโดยนำเอาบันทึกสมรรถภาพที่ญาติแสดงออกมาเปรียบเทียบกัน โคตัวใดมีญาติแสดงสมรรถภาพในบันทึกดีก็จะได้รับการคัดเลือกไว้ทำพันธุ์ 4. การคัดเลือกโดยพิจารณาดูลักษณะและสมรรถภาพที่ปรากฏในลูกหลาน ลักษณะที่ปรากฏในลูกจะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณลักษณะของพ่อ-แม่โคว่ามีองค์ประกอบของลักษณะ (ยีนส์หรือพันธุกรรม) และขีดความสามารถในการถ่ายทอดให้ลักษณะไปให้แก่ลูกหลานได้มากน้อยเพียงใด

  5. ลักษณะที่ควรนำมาพิจารณาในการคัดเลือกโคเนื้อลักษณะที่ควรนำมาพิจารณาในการคัดเลือกโคเนื้อ • 1. น้ำหนักแรกคลอด ลักษณะแรกคลอดของลูกโคเนื้อเพศผู้ที่เหมาะสมควรอยู่ในระหว่าง 25-40 กิโลกรัม • 2. น้ำหนักหย่านม ลักษณะนี้จะบ่งบอกถึงความสามารถในการเลี้ยงลูกของแม่โคและ ความสามารถทางพันธุกรรมที่ลูกโคได้รับมาจากพ่อแม่ พ่อโคที่ดีควรให้ลูกมีน้ำหนัก หย่านมสูง เพราะอาจมีบางฟาร์มขายลูกโคเมื่อหย่านมแล้ว เพื่อผู้ซื้อจะนำไปขุนต่อไป หย่านมเมื่ออายุ 205 วัน เพราะบางครั้งเกษตรกรไม่สามารถชั่งหย่านมลูกโคให้ตรงกับ 205 วันได้ • สูตร ที่ใช้ปรับน้ำหนักหย่านมเมื่ออายุ 205 วัน • = น้ำหนักหย่านมเมื่ออายุ 205 วัน -น้ำหนักที่ซึ่งเมื่อหย่านม – น้ำหนักแรกคลอด x 205 + น้ำหนักคลอด + ค่าปรับของอายุแม่โค • จำนวนวันตั้งแต่แรกคลอดถึงหย่านม • อัตราส่วนน้ำหนัก = น้ำหนักปรับค่าหย่านมเมื่ออายุ 205 x 100 • น้ำหนักหย่านมเฉลี่ยของฝูง

  6. 3. น้ำหนักเมื่ออายุ 1 ปี การเจริญเติบโตหลังหย่านมจะบ่งบอกให้ทราบว่าโคตัว นั้นมีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตในระยะขุนดีหรือไม่ โคที่มีการเจริญเติบโต ดีจะทำให้ถึงน้ำหนักส่งตลาดได้เร็ว ทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิต ลักษณะน้ำ หนักเมื่ออายุ 1 ปี • อัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมเฉลี่ย/วัน = น้ำหนักจริงเมื่ออายุ 1 ปี – น้ำหนักหย่านมจริง • จำนวนวันจากหย่านมถึงวันชั่งเมื่ออายุ 1 ปี • น้ำหนักปรับเมื่ออายุ 365 วัน • = (อัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมเฉลี่ย/วัน x 160) + น้ำหนักปรับหย่านมเมื่ออายุ 205 วัน • 4. ลักษณะความสามารถในการให้นมของลูกเพศเมีย ลักษณะนี้จะเป็นตัวบ่งบอกชี้ถึง ความสามารถของลูกสาวที่เลี้ยงลูกไปจนกระทั่งถึงอายุหย่านมว่าให้ลูกมีน้ำหนัก หย่านมดีหรือไม่ การเปรียบเทียบทำโดยการนำเอกสารข้อมูลค่าเฉลี่ยน้ำหนักปรับ หย่านมเมื่ออายุ 205 วัน ของหลานที่เกิดจากพ่อโคแต่ละตัวมาเปรียบเทียบกัน พ่อโค ตัวใดแสดงค่าเฉลี่ยน้ำหนักปรับหย่านมของหลานที่ดีที่สุดก็จะได้รับการคัดเลือกไว้ ทำพันธุ์ต่อไป(สารกิจ,2535)

  7. ตารางที่ 1 แสดงอายุและขนาดของพ่อพันธุ์โค • ประเภทของสัตว์ นน. ตัวโต นน.ตัวเมื่อ อายุที่สมควร • เต็มที่สมควรนำมา นำมาเป็น • (กก.) เป็นพ่อพันธุ์ พ่อพันธุ์โดย • (กก.) โดยประมาณ • โคเนื้อ • อเมริกันบราห์มัน 772 515 12 – 14 • ชาโลเลส์ 1,090 726 18 • โคพื้นเมืองไทย 350* 160-233* 18 • โคลูกผสมพื้นเมือง • X บราห์มัน (F1) 600* 323-400* 18 • X ชาโลเลส์ (F1) 550 360* 18 • ที่มา:สุรชัย (2541)

  8. 5. ลักษณะทางเพศ ลักษณะนี้จะบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อโคพ่อโคที่ดี ควรแสดง ความเป็นเพศผู้อย่างชัดเจน มีความกระตือรือร้นในการที่จะผสม พันธุ์ อัณฑะทั้งสองข้างควรมีขนาดใหญ่เท่ากัน และลูกอัณฑะทั้งสองข้างต้อง ตกลงมาอยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกช่องท้อง อัณฑะไม่ควรห้อยหรือ ยานจนเกินไป ค่าที่ใช้เปรียบเทียบกันคือ การวัดเส้นรอบวงของอัณฑะทั้งสอง ข้างรวมกัน พ่อโคที่ดีควรมีเส้นรอบวงอัณฑะ 30-32 เซนติเมตร เมื่ออายุ 1-11/2 ปี จากการวิจัยได้พบว่าขนาดของอัณฑะของโคมีความสัมพันธ์ต่อ ความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อโค คือ โคที่มีอัณฑะใหญ่จะทำให้น้ำเชื้อมีคุณภาพดี ความเข้มข้นของตัวอสุจิมาก อสุจิแข็งแรงดี ปริมาณน้ำเชื้อมาก โคมีความ ต้องการในทางเพศเมียสูงและผสมติดดี นอกจากนี้โคที่มีอัณฑะใหญ่จะทำให้ ลูกเจริญเติบโตถึงอายุเป็นสาวได้เร็ว (เป็นสัด) ซึ่งจะแสดงถึงอายุที่จะผสมพันธุ์ ได้

  9. 6. ลักษณะของโครงร่าง พ่อโคที่มีลำตัวยาวหนาและกว้างมีความจุปานกลาง ช่อง ท้องไม่ลึกมากเกินไป เพราะโคที่มีช่องท้องลึกเกินไปจะทำให้กินอาหารมาก แต่มีประ สิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นน้ำหนักตัวต่ำ 7. ลักษณะของกล้ามเนื้อ พ่อโคเนื้อที่ดีต้องมีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้ออย่าง สมบูรณ์ ลักษณะของโคควรมีลำตัวยาว-กว้าง สะโพกกว้าง-ใหญ่ ขา ทั้งสองข้างมี กล้ามเนื้อปกคลุมอยู่เต็ม มีเนื้อสันและเนื้อแดงมาก เนื้อมีคุณภาพดี เนื้อมีไขมัน แทรกพอสมควร เนื้อนุ่มไม่เหนียว

  10. 8. ลักษณะทางอารมณ์ พ่อโคที่ดีควรมีอารมณ์ดี เชื่อง ไม่เปรียว ไม่ดุร้าย ไม่ตื่นเต้น ตกใจง่าย เพราะโคที่มีความเชื่อง ไม่ดุร้าย จะทำให้ง่ายต่อการจัดการเลี้ยงและง่าย ต่อการปฏิบัติรักษา 9. ลักษณะการกินอาหารและการปรับตัว พ่อโคที่ดีควรกินอาหารเก่ง กินเร็ว ไม่เลือก อาหาร สามารถกินอาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ดี มีการปรับตัวเร็วเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงอาหาร มีความอดทนต่อสภาพภูมิอากาศร้อน โรคและแมลงได้(ปราถ นา,2533)

  11. สรุป • ในการคัดเลือกโคเนื้อสามารถทำได้หลายวิธี คือ • - การคัดเลือกโดยการพิจารณาดูลักษณะรูปร่างทั่วไปสมรรถภาพที่ปรากฏ ของโคตัวนั้นเป็นเกณฑ์ • - การคัดเลือกโดยการพิจารณาดูพันธุ์ประวัติ • - การคัดเลือกโดยพิจารณาดูลักษณะสมรรถภาพที่ปรากฏ

  12. จบการนำเสนอ

More Related