1 / 74

บทที่ 11 หุ้นส่วน - บริษัท

บทที่ 11 หุ้นส่วน - บริษัท. ลักษณะของสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท.

ziya
Download Presentation

บทที่ 11 หุ้นส่วน - บริษัท

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 11หุ้นส่วน - บริษัท

  2. ลักษณะของสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทลักษณะของสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท • การเข้าหุ้นร่วมลงทุนประกอบกิจการกับผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นการตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ การตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด ล้วนต่างก็เป็นกรณีที่ผู้เข้าหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นมาตกลง กันเพื่อหวังผลผูกพันในทางกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นกรณีที่มี การทำสัญญาไว้ต่อกันดังนั้นในเบื้องต้นบุคคลอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป ในกรณีที่เป็น การตั้งห้างหุ้นส่วน หรืออย่างน้อย 7 คนขึ้นไป ในกรณีที่เป็นการตั้งบริษัทจำกัด (ถ้าเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ก็ต้องมีบุคคลตั้งแต่15 คนขึ้นไป)คู่สัญญาต้องไม่ใช่บุคคล ที่กฎหมายจำกัดความสามารถในการทำสัญญา กล่าวคือไม่เป็นผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถ ฯลฯ

  3. นอกจากนี้แล้ว วัตถุประสงค์แห่งสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจะต้องไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเป็นการพ้นวิสัย เป็นต้น • สัญญาห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนี้มีลักษณะพิเศษต่างจากสัญญาทั่วไป 3 ประการ คือ • 1. เป็นสัญญาที่คู่สัญญาตกลงเข้าทุนกัน • 2. เป็นสัญญาที่คู่สัญญากระทำกิจการร่วมกัน • 3. เป็นสัญญาที่คู่สัญญาประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันได้จากกิจการที่ทำกล่าวคือ หากว่ากิจการดังกล่าว มิใช่มุ่งที่จะหากำไรก็มิใช่สัญญาห้างหุ้นส่วนบริษัทแต่ประการใดในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทนั้น หลักเกณฑ์ทั่วไป คือ “ อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการ ร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันพึงจะได้แก่กิจการที่ทำนั้น”

  4. อาจจำแนกสาระสำคัญของสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัท มีดังนี้ • 1. สัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทเป็นสัญญาที่คู่สัญญาตกลงกันซึ่งทุนที่มาเข้ากันอาจเป็นเงินสด ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ • การลงทุนด้วยทรัพย์สิน เช่น ลงทุนด้วยที่ดิน อาคารสำนักงาน รถยนต์ เป็นต้น • การลงทุนด้วยแรงงานไม่ได้หมายความเฉพาะแรงกายเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงความรู้ ความคิด ความเชี่ยวชาญงานด้วย • ตัวอย่างเช่น แดง ดำและขาว ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกันตั้งร้านขาย และซ่อมแซมโทรทัศน์แดงนำเงินสดมาลงหุ้น 500,000 บาท ดำนำที่ดินและตึกแถวสำหรับตั้งร้านมาลงทุน ส่วนขาวมีความรู้ความชำนาญในการซ่อมแซมโทรทัศน์ ขาวจึงลงทุนด้วยการเป็นช่างซ่อมโทรทัศน์ประจำร้าน โดยไม่รับเงินเดือน ดังนี้ แดง ดำและขาว เป็นหุ้นส่วนกัน เนื่องจากมีการนำทุนมาเข้าหุ้นกัน

  5. 2. สัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทเป็นสัญญาที่คู่สัญญาตกลงทำกิจการร่วมกัน กล่าวคือ เป็นการดำเนินกิจการร่วมกัน หรือมีการดำเนินกิจการไปในนามของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นอย่างไรก็ตาม การดำเนินกิจการร่วมกันนี้ไม่จำเป็นที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน หรือผู้ถือหุ้นทุกคน จะต้องเข้าไปดำเนินงาน ของห้างหุ้นส่วนหรือของบริษัทด้วยตนเอง เพียงแต่สิทธิที่จะจัดการ กิจการหรือควบคุมกิจการของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทก็ถือได้ว่าเป็นดำเนินกิจการร่วมกันแล้ว • กิจการที่กระทำร่วมกันนี้ต้องมีลักษณะที่ร่วมกันมีส่วนได้ส่วนเสียกำไรก็กำไรด้วยกันหากขาดทุนก็ต้องขาดทุนด้วยแต่มิได้ตกลงกันเรื่องการขาดทุนก็ไม่สำคัญ ถือว่าเป็นการเข้าหุ้นส่วนตามกฎหมายแล้ว • 3. สัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทเป็นสัญญาที่คู่สัญญา ประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะได้จาก กิจการที่ทำ

  6. การรวมทุนเข้าหุ้นกันดำเนินกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ไม่ประสงค์ที่จะแสวงหากำไรแล้ว ผู้ที่ร่วมทุนเข้าหุ้นดำเนินกิจการย่อมไม่เป็นหุ้นส่วนกัน เช่น ตกลงร่วมกันทำกิจการ เพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อบุญกุศลศาสนาเป็นต้น หลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาว่ากิจการใด เป็นกิจการที่คู่สัญญาประสงค์จะแบ่งปันกำไรกัน หรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาแท้จริงของคู่สัญญา เพราะ สัญญาบางสัญญาอาจมี ข้อตกลงให้แบ่งผลประโยชน์ในลักษณะที่คล้ายกับ การแบ่งกำไรกันแต่ความจริงแล้วเป็นการแบ่งปัน รายได้ ดังนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นหุ้นส่วนกัน เช่น ผู้แต่งหนังสือกับผู้จัดพิมพ์หนังสือสัญญากันว่า หากผู้จัดพิมพ์ หนังสือขายหนังสือมาเท่าใด ผู้แต่งหนังสือจะได้รับเงินค่าขายหนังสือ 10% ดังนี้ผู้แต่งหนังสือ และผู้จัดพิมพ์หนังสือไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกัน เพราะข้อตกลงระหว่าง ผู้แต่ง หนังสือกับผู้จัดพิมพ์หนังสือ ไม่ได้มีลักษณะเป็นการแบ่งกำไรแต่เป็นการแบ่งรายได้

  7. 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ • ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ สัญญาที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน • ลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญ • ลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ “อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือ ห้างหุ้นส่วนประเภท ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันอย่างไม่จำกัด” • คำจำกัดความของห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่2 คนขึ้นไป ตกลงนำหุ้นมาลงทุนในกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้ แต่กิจการที่ทำนั้น และบุคคลผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหมดทุกคนรับผิดร่วมกัน เพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด8 อาจจำแนกสาระสำคัญ ของห้างหุ้นส่วนสามัญได้ดังนี้

  8. 1. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนสามัญ • การับผิดร่วมกันในหนี้ของผู้เป็นหุ้นส่วน คือการรับผิดในลักษณะที่เป็นลูกหนี้ร่วมกันนั่นเอง เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจึงมีสิทธิเรียกร้อง หรือฟ้องบังคับชำระหนี้จากผู้เป็นหุ้นส่วนคนใด หรือ หลายคนเต็มจำนวนที่เป็นหนี้ก็ได้ โดยเจ้าหนี้ไม่ต้องคำนึงถึงส่วนของการลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะอ้างความรับผิดชอบตามส่วนของการลงทุนไม่ได้ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะอ้างส่วนที่เข้าหุ้นลงทุน เพื่อแบ่งแยกความรับผิดชอบของแต่ละคน หรืออ้างว่าได้ตกลงจำกัดความรับผิดในระหว่างกันเองไว้ก็ไม่ได้ เช่น การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง กู้เงินเข้ามาใช้ใน กิจการค้าขายของห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วย • อย่างไรก็ตาม หนี้ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดร่วมกัน หมายถึง หนี้ทุกชนิดที่เกิดจาก การดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วน ถึงแม้เป็นหนี้ที่ก่อขึ้นโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งมิได้รู้เห็นด้วย

  9. 2. ผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดในหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่มีจำกัด • การรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนของผู้เป็นหุ้นส่วนก็คือ ไม่ได้รับผิดเฉพาะเพียงทรัพย์สิน เงินทองที่เอามาเข้าหุ้นลงทุน หรือรับว่าจะเอามาเข้าลงทุนเท่านั้น แม้ทรัพย์สินเงินทองที่ไม่ได้เอามา ลงทุนเข้าหุ้นลงทุนในห้างหุ้นส่วน เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนก็ยังอาจฟ้องร้องบังคับคดี ยึดมาชำระหนี้ ทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนสามัญได้ เช่น ฟ้องแดงคนเดียว ให้รับผิดในหนี้ ทั้ง 300,000 บาท หากแดง ไม่ชำระหนี้เหลืองก็อาจบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั้งหลายที่แดงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม หากแดงต้อง ชำระหนี้แก่เหลืองไปเท่าใด แดงย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยจากดำและขาวได้ เช่น แดงชำระหนี้ไปทั้งหมด 300,000 บาท แดงก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากขาว และดำได้คนละ 100,000 บาท

  10. การทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญการทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ • ในการจัดทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ควรมีข้อสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้คือ • 1. ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนโดยชัดแจ้งและชื่อห้างหุ้นส่วน • 2. วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากควรกำหนดไว้ให้ชัดแจ้งเนื่องจากกิจการในที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งทำไปภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนแล้วโดยปกติย่อมผูกพันไปถึงผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ด้วย • 3. อายุของห้างหุ้นส่วนสามัญ ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนประสงค์ให้ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่ตั้งขึ้นไว้มีกำหนดเวลา ควรจะกำหนดลงไปให้แน่ชัดในสัญญาจัดตั้งห้าง ฯ • 4. ทุนที่จะนำมาลงในห้างหุ้นส่วนสามัญ เนื่องจากทุนที่หุ้นส่วนนำเข้ามาลงทุนใน ห้างหุ้นส่วนสามัญอาจเป็นเงินหรือเป็นทรัพย์สิน หรือเป็นแรงงานก็ได้ ดังนั้นจึงควรกำหนดไว้ในสัญญา จัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญว่า หุ้นส่วนผู้ใดลงหุ้นเป็นเงินเป็นทรัพย์สิน หรือเป็นแรงงาน

  11. ในกรณีที่เป็นการลงหุ้นด้วยทรัพย์สินควรกำหนดไว้ด้วยว่า เป็นการโอนให้กรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สิน หรือเป็นเพียงการให้ใช้ทรัพย์สิน นอกจากนี้การลงหุ้นหุ้นที่มิใช่เป็นเงินสดควรจะได้ตีราคา หุ้นไว้ด้วย เพราะมิฉะนั้นในกรณีที่มีข้อสงสัยกฎหมายจะสันนิษฐานว่าสิ่งที่นำมาลงทุนนั้นมีราคาเท่ากัน การตีราคาค่าหุ้นจะเป็นประโยชน์ในการคำนวณกำไร การคิดแบ่งกำไรและขาดทุน ตลอดจนการคืนต้นทุน ในตอนเลิกห้างฯ • 5. การแบ่งปันกำไรและขาดทุน กฎหมายกำหนดไว้ให้มีการแบ่งปันกำไรและขาดทุนตามส่วนที่ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนลงหุ้นไว้ ดังนั้น หากผู้เป็นหุ้นส่วนผู้ประสงค์จะให้มีการแบ่งกำไร และขาดทุนเป็นอย่างอื่น ก็ต้องกำหนดไว้ในสัญญา ข้อตกลงนี้ใช้บังคับได้เฉพาะระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน ด้วยกันเท่านั้น จะใช้ยันเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่ได้

  12. 6. การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ควรมีการกำหนดไว้ด้วยว่าให้ใครเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วน และมีอำนาจหน้าที่เพียงใด ถ้าไม่ได้กำหนดให้ผู้ใด เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ กฎหมายถือว่าหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิจัดการห้างหุ้นส่วน แต่การจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ที่ต้องมีการทำสัญญากับบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนจะทำสัญญาดังกล่าวโดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทักท้วงไม่ได้ • การจัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ อาจตกลงกันให้จัดการงานตามเสียงข้างมากของ ผู้เป็นหุ้นส่วนก็ได้ ถ้าตกลงกันให้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนตามเสียงข้างมาก กฎหมายให้ถือว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนวณถึงจำนวนเงินที่ลงหุ้นว่ามีมากหรือน้อย • 7. การบัญชีของห้างหุ้นส่วน ควรจะได้ตกลงกันว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบและให้มี การทำบัญชีอย่างไร • 8. เรื่องอื่น ๆ ที่เห็นว่าสมควรกำหนดไว้นอกเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนสมควรพิจารณาและกำหนดไว้

  13. ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน • ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนจะพิจารณาได้ดังนี้ • 1. ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเกี่ยวกับทุน พิจารณาได้ดังนี้ • 1.1 ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ต้องมีหุ้นมาเข้าทุน กฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องนำทุนมาลงในห้างหุ้นส่วนสามัญ ทุนที่นำมาลงอาจจะเป็น เงิน ทรัพย์สิน หรือ แรงงานก็ได้เช่น แดง ดำขาว เข้าหุ้นร่วมกันประกอบธุรกิจค้าขายแดงมีตึก แดงจึงนำตึกนั้น มาใช้ค้าขาย โดยไม่เกินค่าเช่า เพราะถือว่าแดงได้ร่วมหุ้นส่วนด้วยทรัพย์สิน ดำมีเงิน 1 ล้านบาท มาร่วมทุนซื้อของมาขาย ดำจึงเป็นผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนโดยออกเงิน ขาวอาสาที่จะเฝ้าร้านคอยค้าขาย ดังนั้นขาวจึงเป็นผู้เข้าหุ้นโดยการใช้แรงงาน • 1.2 ผู้เป็นหุ้นส่วนละเลยไม่ส่งมอบส่วนลงหุ้นแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญ กฎหมาย ให้อำนาจแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ๆ ที่จะขับผู้นั้นออกจากการเป็นหุ้นส่วนได้

  14. 2. ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเกี่ยวกับกำไร,ขาดทุน หุ้นส่วนทุกคนในห้างหุ้นส่วนสามัญมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไร และเฉลี่ยขาดทุนตามส่วนที่ตนลงหุ้น กล่าวคือ ถ้าลงหุ้นไว้มาก เมื่อห้างฯ มีกำไรก็ได้รับส่วนแบ่งกำไรมาก แต่ถ้าห้างฯ ขาดทุนก็ต้องเฉลี่ยขาดทุนมาก ตัวอย่าง แดง ดำและขาว เป็นหุ้นส่วนกัน ในห้างหุ้นส่วนสามัญ แดงลงทุน 100,000 บาท ดำลงทุน 200,000 บาท และ ขาวลงทุน 500,000 บาท ต่อมาห้าง ฯ ดำเนินกิจการได้กำไร 400,000 บาท แต่ละคนจะได้กำไร ดังนี้

  15. ทุนของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด = 100,000 + 200,000 + 500,000 = 800,000 • ดังนั้นแดงจะได้กำไร 100,000 x 400,000 = 50,000 บาท • 800,000 • ดำจะได้กำไร 200,000 x 400,000 = 100,000 บาท • 800,000 • ขาวจะได้กำไร 500,000 x 400,000 = 250,000 บาท • 800,000 • หากห้าง ฯ ขาดทุนก็เฉลี่ยกันขาดทุนโดยคำนวณแบบเดียวกันอย่างไรก็ตามการแบ่งกำไร และเฉลี่ยกันขาดทุนตามส่วนของการลงหุ้นหนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วน อาจทำสัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้าไม่ถือตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้

  16. 3. ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนเกี่ยวกับการจัดการงานของห้าง ฯ จะพิจารณาได้ดังนี้ • 3.1 กรณีที่ไม่ได้ตกลงกันให้ผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจัดการตามกฎหมาย ถ้าไม่ได้ตกลงให้ผู้ใดเป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมมีสิทธิที่จะจัดการห้างหุ้นส่วนได้ทุกคน กล่าวคือ ทุกคนต่างเป็นหุ้น • 3.2 หุ้นส่วนผู้จัดการ แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใด จะทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดย ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทักท้วงไม่ได้ • 3.3 กรณีที่ตกลงกันให้จัดการงานของห้างฯ ตามเสียงข้างมาก คือเป็นกรณีที่มีการตกลงกันไว้ว่า การงานของห้างหุ้นส่วนให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ดังนั้น เมื่อมีปัญหาว่าจะจัดการ งานของห้างฯ อย่างใดก็ต้องจัดการให้เป็นตามมติของผู้เป็นหุ้นส่วนฝ่ายข้างมาก วิธีการนับเสียงในการ ลงมติ กฎหมายให้ถือว่าหุ้นส่วนแต่ละคนมีเสียงเท่ากับหนึ่งเสียงโดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลงหุ้นว่า ผู้ใดลงมากผู้ใดลงน้อย

  17. 3.4 กรณีที่ตกลงกันตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ กล่าวโดยทั่วไปแล้ว หุ้นส่วนผู้จัดการย่อมมีอำนาจจะจัดการห้าง ฯ ตามวัตถุประสงค์อันเป็นปกติธรรมดาในการค้าขายของห้างฯ • ในกรณีที่มีการตกลงกันตั้งห้างหุ้นส่วน ผู้จัดการหลายคน หุ้นส่วนผู้จัดการ แต่ละคนต่างมีอำนาจจัดการห้างฯ ตามลำพัง กล่าวคือไม่จำเป็นต้องจัดการร่วมกัน แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนใดจะดำเนินกิจการที่ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการอื่นทักท้วงไม่ได้ • 3.4.1 หน้าที่ของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการ

  18. (1) ต้องจัดการงานของห้างด้วยตนเอง เว้นแต่จะมีอำนาจใช้ผู้อื่นกระทำการแทนได้ • (2) ต้องจัดการงานของ ห้างหุ้นส่วน เสมือนหนึ่งจัดการของตนเอง • (3) ต้องส่งเงินและทรัพย์สินที่ได้รับไว้ เนื่องจากการจัดการแก่ห้างหุ้นส่วน ทั้งสิ้น • (4) ต้องเสียดอกเบี้ยถ้าเอาเงินซึ่งควรจะส่งให้แก่ห้างฯ ไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว • (5) ต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ห้างฯ ในกรณีที่ความเสียหายนั้น • เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของตน หรือเนื่องจากไม่ทำการเป็นผู้จัดการ หรือเนื่องจากทำการ โดยปราศจาก อำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ

  19. 3.4.2 การพ้นจากตำแหน่งหุ้นส่วนผู้จัดการ • เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นๆ ยินยอมพร้อมกัน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ เป็นอย่างอื่น ในการถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการ เช่น ตกลงกันไว้ว่า เมื่อใดที่หุ้นส่วนคนอื่น ๆ ต้องการ ถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก • (1) หุ้นส่วนผู้จัดการลาออก • (2) หุ้นส่วนผู้จัดการตาย หรือต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายหรือตกเป็นคนไร้ความสามารถ หรือพ้นจากการเป็นหุ้นส่วน • ในกรณีมีการแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งหุ้นส่วน ผู้จัดการคนเดียว หรือหลายคน ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นย่อมไม่มีอำนาจดำเนินการของห้างฯ คงมีแต่อำนาจที่ควบคุมดูแล กิจการดำเนินกิจการของหุ้นส่วนผู้จัดการ กล่าวคือมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงานของห้าง และมีสิทธิที่จะ ตรวจและคัดสำเนาสมุดบุญชีและเอกสาร

  20. สิทธิและหน้าที่อื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนสิทธิและหน้าที่อื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน • สิทธิหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนอาจพอจำแนกได้ดังนี้ • 1. การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเปลี่ยนประเภทกิจการของห้าง ต้องได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เว้นแต่จะมีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่น • 2. การชักนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหม่ ต้องได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วน ทุกคน เว้นแต่มีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่น • 3. ผู้เป็นหุ้นส่วนจะประกอบกิจการค้าแข่งกับห้างฯไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอม จากผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ กิจการค้าขายที่กฎหมายห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนดำเนินกิจการแข่งขัน กับห้างหุ้น ส่วนนี้ ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่น เช่น ห้างหุ้นส่วน ทำการค้าข้าว ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งไปประกอบกิจการค้าข้าวด้วยจะกระทำมิได้เพราะถือเป็นการค้า แข่งกับ ห้างหุ้นส่วน

  21. vfg • dff

  22. ในกรณีที่หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง ฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวข้างต้น หุ้นส่วนคนอื่น ๆ มีสิทธิเรียกเอาผลกำไรที่หุ้นส่วนผู้นั้นได้มาทั้งหมด หรือเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดแก่ห้างฯ การดำเนินคดีเพื่อ เรียกเอาผลกำไรหรือเรียกค่าเสียหายจะต้องกระทำภายใน 1 ปีนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน ไม่เช่นนั้นแล้ว คดีขาดอายุความ • 4. หุ้นส่วนผู้ออกจากหุ้นส่วนสามัญมีสิทธิขอเอาชื่อตนออกจากชื่อห้าง การขอเอาชื่อของ ห้างหุ้นส่วนออกจากชื่อของห้าง เป็นกรณีที่ขณะซึ่งยังเป็นหุ้นส่วนกันอยู่ ห้างใช้ชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วน ที่ออกไปเป็นชื่อของห้าง ต่อมาเมื่อหุ้นส่วนนั้นออกจากการเป็นหุ้นส่วน แต่ห้างหุ้นส่วนก็ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่ต่อไป ดังนี้บุคคลนั้นมีสิทธิขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนที่เหลือเลิกใช้ชื่อตน เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนได้

  23. 5. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเรียกเอาผลประโยชน์ หรือกำไรจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ในกิจการค้า ซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนได้ การที่หุ้นส่วนคนใดจัดการงานของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นกฎหมายถือว่าเป็นการกระทำเสมือนเป็นตัวแทนของหุ้นส่วนทั้งหลาย กิจการที่ตัวแทนกระทำไปภายในขอบอำนาจแล้ว ดังนั้น เมื่อหุ้นส่วนคนใดจัดการงานของห้างเกี่ยวกับกิจการ อย่างหนึ่งอย่างใด แม้จะปรากฏชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นในกิจการดังกล่าวเพียงลำพัง หุ้นส่วนคนอื่นๆ ย่อมมีสิทธิเรียกผลประโยชน์นั้นได้ ดังนั้นเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการงานของห้างได้รับสิทธิหรือ ทรัพย์สินสิ่งใดมา หากไม่ส่งมอบให้ห้าง ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นก็ฟ้องร้องให้ส่งมอบได้

  24. ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอกความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก • ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอกแยกได้เป็น 2 กรณี • 1. สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก • 2. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก • 1. สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก • ผู้เป็นหุ้นส่วนจะเรียกร้องสิทธิใด ๆ จากบุคคลภายนอกในกิจการซึ่งไม่ปรากฏในชื่อของตนไม่ได้ทั้งนี้เนื่องจากว่าในการทำสัญญาตามปกติแล้ว ผู้ที่มีสิทธิตามสัญญา คือ คู่สัญญา ซึ่งได้แก่ หุ้นส่วนผู้ที่ไปทำสัญญากับบุคคลภายนอกเท่านั้น แต่หุ้นส่วนอื่นที่ไม่ปรากฏชื่อในสัญญา ไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่อาจเรียกร้องสิทธิตามสัญญาได้ (ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแล้วย่อมเรียกเอา ส่วนของตนได้ แม้ในกิจการที่ไม่ปรากฏชื่อของตน ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในหัวข้อที่ว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน)

  25. 2. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดในการใด ซึ่งหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งผู้มีอำนาจกระทำไปในทางที่เป็นธรรมดาของการค้าขายของห้างหุ้นส่วนกิจการอย่างใดเป็นกิจการธรรมดาการค้าของห้างนั้น ต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งข้อเท็จจริงแต่ละเรื่อง เป็นข้อประกอบการพิจารณา กิจการที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้าง มีความหมาย กว้าง “วัตถุประสงค์” เนื่องจากการที่เป็นธรรมดาการค้าขายย่อมครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ของห้างอยู่ด้วย ดังนั้นกิจการที่อยู่นอกวัตถุประสงค์อาจมีลักษณะที่เป็นธรรมดา การค้าขายของห้าง ที่หุ้นส่วน ต้องรับผิดชอบร่วมกันก็ได้ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอกในกิจการอันเป็นธรรมดา การค้าขายของห้างนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิด ทั้งในเรื่องสัญญาและละเมิดด้วยบุคคลที่จะต้องรับผิด ในกิจการธรรมดาการค้าขายของห้าง นอกจากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนของห้าง ยังรวมถึงบุคคลต่อไปนี้ด้วย

  26. 1. ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงต้องรับผิดในหนี้ ซึ่งห้างหุ้นส่วน ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่จะออกจากห้างไป • 2. บุคคลที่เข้ามาเป็นหุ้นส่วนในภายหลัง ก็ต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วน ก่อให้เกิดก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน • 3. บุคคลที่แสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน ไม่ว่าด้วยวาจา ด้วยลายลักษณ์อักษร ด้วยกริยา หรือด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อหุ้นส่วน หรือรู้แล้วไม่คัดค้าน ปล่อยให้เขาแสดงว่าตนเป็น หุ้นส่วนก็ดี

  27. การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ได้จัดตั้งขึ้น อาจเลิกกันในกรณีต่อไปนี้คือ • 1. การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญโดยผลของกฎหมาย • กฎหมายกำหนดเหตุที่ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันไว้ดังนี้ คือ • 1.1 ถ้าในสัญญาที่ผู้เป็นห้างหุ้นส่วนทำไว้ต่อกันกำหนดถึงกรณีอันใดเป็นเหตุที่ จะเลิกกันเมื่อมีกรณีนั้นห้างหุ้นส่วนก็เลิกกัน • 1.2 ถ้าในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญทำไว้เฉพาะกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดกำหนดเวลานั้น ห้างหุ้นส่วนก็เลิกกัน เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกำหนดไว้ในสัญญา จัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญว่าจะทำการค้าขายร่วมกันเป็นระยะเวลา 10 ปี ดังนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญแล้ว ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นได้เลิกกัน • 1.3 ถ้าทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนไว้เฉพาะ เพื่อกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียว เมื่อเสร็จกิจการนั้นต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนสามัญได้เลิกกัน

  28. 1.4 สำหรับห้างหุ้นส่วนที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ได้กำหนดเวลาเลิกห้างไว้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งมีสิทธิขอเลิกห้างได้ แต่ต้องบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีของห้างหุ้นส่วนนั้น และจะต้องบอกกล่าวแสดงความจำนงและเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน เช่น ห้างหุ้นส่วน คิดบัญชีกันสิ้นปีปฏิทินคือวันที่31 ธันวาคม ดังนั้นถ้าหุ้นส่วนคนใดต้องการใช้สิทธิเลิกห้าง ในกรณีนี้ก็ต้องบอกกล่าวความจำนงไปยังหุ้นส่วนทั้งหลายในวันที่ 30 มิถุนายน เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกหุ้นส่วนในวันที่ 31 ธันวาคม ของปีนั้น • 1.5 เมื่อมีผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย หรือล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ ความสามารถ

  29. 1.6 เมื่อวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนกลายเป็นผิดกฎหมาย เช่น ทำสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญพ่อค้าสัตว์ป่า ต่อมามีกฎหมายบัญญัติว่า การค้าสัตว์ป่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายวัตถุประสงค์ของห้างที่แต่เดิมเป็นการชอบด้วยกฎหมายก็กลายเป็นผิดกฎหมาย ดังนี้ ห้างหุ้นส่วน ก็ต้องเลิกกัน • อนึ่ง การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยผลแห่งกฎหมายนี้มีข้อยกเว้น ที่ห้างหุ้นส่วนสามัญก็ต้องไม่เลิกกันคือ • (1) ถ้าเป็นกรณีเหตุเลิกตามข้อ 1.2 นั้น ได้สิ้นกำหนดการที่ได้ตกลงกันไว้และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย หรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเคยได้จัดการอยู่ในระหว่างกำหนดนั้น ยังคงดำเนินการ ค้าขายของห้างหุ้นส่วนอยู่ต่อไป โดยมิได้ชำระบัญชีหรือชำระเงินให้เสร็จสิ้นกันไป ก็ให้ถือว่าผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งปวงได้ตกลงคงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไม่มีกำหนดกาล • (2) ถ้าเป็นกรณีเหตุเลิกตามข้อ 1.4 และ 1.5 ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ถ้าหุ้นส่วนที่เหลืออยู่ รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากห้างหุ้นส่วนไป หรือรับซื้อหุ้นจากทายาทของหุ้นส่วนคนที่ตาย ฯลฯ สัญญาหุ้นส่วนยังคงใช้ต่อไป ในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนยังอยู่ด้วยกัน

  30. 2. การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญโดยคำสั่งศาล • ศาลอาจสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเสียก็ได้ ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดร้องขอต่อศาล ในเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ • 2.1 เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดนอกจากผู้ฟ้องร้องล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ ซึ่งเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง • 2.2 เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนทำไปมีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้ • 2.3 เมื่อมีเหตุอื่นใดๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้น เหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ได้ เช่น ขัดแย้งกันตลอด • 3. การเลิกโดยสัญญา • เนื่องจาก ห้างหุ้นส่วนเป็นการรวมตัวกันโดยลักษณะสัญญา ดังนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วน • ทุกคนอาจตกลงกันเลิกห้างหุ้นส่วนได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามและการตกลงนี้ไม่ขัดต่อความสงบ • เรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน

  31. การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ • ตามปกติแล้วเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันไม่ว่าจะเป็นการเลิกโดยผลของกฎหมาย โดยข้อสัญญา หรือโดยคำสั่งศาลก็ตามจะต้องมีการชำระบัญชี • การชำระบัญชีคือการที่ห้างจัดการสะสางทรัพย์สินของห้าง ซึ่งได้แก่การรวบรวมทรัพย์สิน ของห้างหุ้นส่วนเรียกร้องให้ลูกหนี้ของห้างชำระหนี้ จัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของห้าง และ ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของห้าง ถ้ายังมีเงินเหลืออยู่ก็จัดการคืนทุนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย และถ้าเมื่อคืนทุนแล้ว ยังมีเงินเหลืออยู่อีกก็เฉลี่ย แบ่งปันกำไรแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย

  32. อย่างไรก็ตาม ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน แต่ในบางกรณีก็ไม่อาจทำได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ที่มีส่วนได้เสีย หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องเสียก่อนซึ่งมีอยู่ 2 กรณีคือ • 1. กรณีที่ห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกเนื่องจากเจ้าหนี้ เฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนคนใด คนหนึ่งบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์สินของห้าง จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้นั้นด้วย • 2. กรณีที่ห้างเลิกกันเนื่องจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลาย ต้องได้รับความยินยอม จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย

  33. ผู้ชำระบัญชีและอำนาจหน้าที่ผู้ชำระบัญชีและอำนาจหน้าที่ • ในกรณีที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้ที่ชำระบัญชีได้แก่บุคคลต่อไปนี้ • 1. ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดร่วมกันชำระบัญชีเอง หรือ • 2. บุคคลอื่นโดยการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ถือตามเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด หรือจากการร้องขอต่อศาลให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของผู้เป็นหุ้นส่วน และผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการสะสางบัญชีทำบัญชีงบดุล และรวบรวมทรัพย์สินทั้งหลายของห้างฯ แล้วจัดการขายทอดตลาด และจัดการทวงถามให้ลูกหนี้ของห้างฯ ชำระหนี้ ที่ยังติดค้าง รวมทั้งทำกิจการอื่น ๆ ที่จำเป็นในการสะสางกิจการของห้างฯเมื่อผู้ชำระบัญชีรวบรวมทรัพย์สินของห้างฯได้หมดแล้ว กฎหมายกำหนดให้มีการจัดลำดับ ในการจำหน่ายทรัพย์สิน และคำนวณกำไรขาดทุนไว้ กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลภายนอกเป็นเจ้าหนี้ก็ให้ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกก่อน ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นเจ้าหนี้ห้างฯเอง ให้ชำระหนี้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านี้ แต่ต้องหลังจากที่ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก หลังจากชำระหนี้แล้ว ถ้ามีเงินเหลืออยู่ก็ต้องคืนหุ้น ให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน

  34. 2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • ลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญชนิดหนึ่งซึ่งได้จดทะเบียนตาม หลักเกณฑ์ของกฎหมายมีฐานะเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ตามกฎหมาย เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นโจทก์เป็นจำเลยได้การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลอาจทำได้เป็น 2 รูปแบบ • 1. ผู้เป็นหุ้นส่วนทำสัญญาจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนมาก่อน ต่อมาภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดจึงจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนที่กำลังดำเนินกิจการอยู่แล้วนั้น ต่อนายทะเบียน ทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นมีฐานะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • 2. ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินกิจการ

  35. การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลผู้ขอจดทะเบียน จะต้องยื่นรายการ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ต่อหน้านายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ดังต่อไปนี้ • 1) ชื่อห้างหุ้นส่วน • 2) วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน • 3) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งสาขา (ถ้ามี) • 4) ชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน • 5) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งหุ้นส่วนให้เป็นผู้จัดการแต่เพียงบางคน • 6) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการไว้อย่างใด ก็ให้จดทะเบียนไว้ด้วย • 7) ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน ตราเครื่องหมายซึ่งใช้ประทับในเอกสารของห้างฯ • 8) รายการอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้รายการต่าง ๆ ที่จดทะเบียนไว้นายทะเบียนจะย่อไปลงพิมพ์เพื่อโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาเมื่อโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กฎหมายถือว่าทุกคนต้องทราบข้อความที่โฆษณาแล้วนั้น

  36. ผลของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญผลของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ • ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว มีผลดังกล่าวต่อไปนี้ • 1) เป็นนิติบุคคลต่างจากผู้เป็นห้างหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจึงมีชื่อ มีภูมิลำเนา และสัญชาติต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน นอกจากนี้แล้วห้างฯจะมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบตลอดจนทรัพย์สินต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน • 2) ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกในบรรดาสิทธิทั้งหลายอัน ห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคลได้มาแม้ในกิจการไม่ปรากฏชื่อของตน ซึ่งแตกต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่ไม่จดทะเบียน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหาถือเอาสิทธิใดๆจากบุคคลภายนอก ในกิจการค้าขาย ซึ่งไม่ปรากฏ ชื่อขอตนได้

  37. 3) ในกรณีเรื่องการค้าขายแข่งกับห้าง กฎหมายกำหนดห้างฯไม่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลไปประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด อันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและ เป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างฯ ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือ เข้าไปเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพเป็น อย่างเดียวกัน และค้าขายแข่งขันกับกิจการของห้างฯ เว้นแต่ได้รับความยินยอม จากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดหรือผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดได้รู้อยู่ในเวลาจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ทำกิจการดังกล่าวแต่ก็ไม่ได้บังคับให้ถอนตัวออก

  38. 4) ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อหนี้สินของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • 4.1) ความรับผิดชอบผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเกี่ยวแก่หนี้ ซึ่งห้างฯก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนออกจากหุ้นส่วนมีกำหนดเวลาเพียงสองปีนับแต่ออกจากหุ้นส่วน ซึ่งต่างจากความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนที่ออกจากห้างฯ ซึ่งมีอายุความสิบปี • 4.2) เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลผิดนัดชำระลูกหนี้ เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้เอาจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งของห้างฯก็ได้ แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจเกี่ยงให้ • เจ้าหนี้ บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของห้างฯก่อนได้หากผู้เป็นห้างหุ้นส่วนพิสูจน์ได้ว่า ห้างฯยังมีทรัพย์สินอยู่ และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก

  39. 5) สิทธิของเจ้าหนี้ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วน ตราบใดที่ห้างฯยังไม่เลิกเจ้าหนี้ส่วนตัวของ ผู้เป็นหุ้นส่วนคงใช้สิทธิได้เพียงแต่ผลกำไรหรือเงิน ซึ่งห้างหุ้นส่วนค้างชำระแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น แต่ถ้าห้างฯเลิกแล้ว เจ้าหนี้จะยึดหรือบังคับชำระหนี้เอาทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้มีอยู่ในห้างฯนั้นได้ • 6) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเลิกกัน เมื่อห้างถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย กล่าวคือ นอกจากห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลจะเลิกกันเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่นเดียวกับการเลิกห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนแล้วยังมีเหตุพิเศษนอกเหนืออีกประการหนึ่ง คือ เมื่อห้างถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย • 7) การชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเมื่อเลิกห้างฯจะต้องมีการชำระบัญชีเสมอต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และผู้ชำระบัญชีต้องนำไปจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน

  40. การควบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลการควบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • การควบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล คือ การที่ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ตั้งแต่สองห้างฯ ขึ้นไปเข้าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลห้างเดียว • 1) หลักเกณฑ์ของการควบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • การควบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีหลักเกณฑ์ดังนี้ • 1.1 ห้างที่จะควบกันนั้นต้องเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลทั้งหมด • 1.2 ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนของทุกห้างฯที่จะควบกันต้องยินยอม เว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น

  41. 1.3 เจ้าหนี้ไม่คัดค้าน กล่าวคือ ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบและเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้คัดค้าน โดยต้องมีการโฆษณาความประสงค์ที่จะควบห้างฯในหนังสือพิมพ์ท้องที่สองครั้ง เป็นอย่างน้อย หรือต้องส่งบอกข่าวความประสงค์ที่จะควบห้างฯเข้ากันนั้นแก่บรรดาผู้ซื้อหุ้นส่วน รู้ว่าเป็นเจ้าหนี้และ ขอให้เจ้าหนี้ที่ประสงค์จะคัดค้านส่งคำคัดค้านภายใน 3 เดือนนับแต่วันบอกกล่าวถ้าไม่มีเจ้าหนี้คนใดคัดค้านภายใน 3 เดือน ก็ถือว่าไม่มีการคัดค้านห้างฯย่อม ดำเนินการเพื่อควบกันต่อไป • 1.4 การควบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลต้องมีการจดทะเบียนห้างฯใหม่ กล่าวคือ ต่างห้างฯก็ต่างก็มีหน้าที่ ต้องนำเรื่องการควบห้างฯไปจดทะเบียนเพิ่มเติม

  42. 2) ผลของการควบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล • เมื่อมีการควบห้างฯเข้าเป็นห้างฯใหม่ห้างฯเดิมก็สิ้นสภาพไปโดยผลของการควบห้างห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลใหม่ย่อมรับโอนทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วนเดิมไปทั้งหมด อาจฟ้องคดีในนามของตนเอง หรือถูกฟ้องให้รับผิดในหนี้สินของห้างฯเดิมแทนห้างฯเดิมอย่างไรก็ตาม การที่ห้างฯเดิมสิ้นสภาพไปนี้ไม่ใช่เป็นการเลิกห้างฯ ดังนั้น จึงไม่ต้องมีการชำระบัญชี

  43. 3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด • ลักษณะของห้างหุ้นส่วนจำกัด • ห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้แก่ห้างหุ้นส่วนซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ • 1. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ และ • 2. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ

  44. 1) ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ • ได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญกล่าวคือ รับผิดในหนี้สินของห้างฯโดยไม่จำกัดจำนวนและรับผิดร่วมกัน โดยคุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วน ประเภทนี้จึงถือเป็นสาระสำคัญของการดำรงคงอยู่ของห้างหุ้นส่วน ดั้งนั้นหากผู้เป็นหุ้นส่วนประเภท ไม่จำกัดความรับผิดตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ก็จะทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกัน เช่นเดียวกับที่ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถนอกจากนี้ยังจะโอนหุ้นส่วนของตนให้แก่ผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมของ หุ้นส่วนคนอื่นไม่ได้

  45. 2) ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด • ได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งจำกัดความรับผิด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น กล่าวคือรับผิดในหนี้สินของห้างเพียงจำนวนเงินที่ลงทุนไว้ หรือที่รับว่าลงหุ้นเท่านั้น ด้วยเหตุดังนี้คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนจึงไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญ แก่ห้างฯและการเป็นหุ้นส่วนเท่านั้นไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้เป็นหุ้นส่วน

  46. สิทธิพิเศษบางประการของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสิทธิพิเศษบางประการของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด • 1) ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสามารถโอนหุ้นให้กับบุคคลภายนอกได้ โดยไม่ต้องรับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆ แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัด ความรับผิดนั้น จะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมของห้างหุ้นส่วนคนอื่น ไม่ได้เช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ • 2) ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกเว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนประเภท ไม่จำกัดความรับผิดตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ห้างหุ้นส่วนย่อมเลิกกัน โดยผลของกฎหมาย เว้นเสียแต่ว่าเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดอื่น ๆ จะรับซื้อหุ้นของผู้ตาย ผู้ล้มละลายหรือผู้ไร้ความสามารถนั้นไว้

  47. กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดตาย การเป็นหุ้นส่วนของผู้ตายก็ตกทอดสู่ทายาททายาทจึงต้องเข้ามาเป็นหุ้นส่วนโดยผลของกฎหมาย • 3) ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสามารถดำเนินกิจการค้าขายแข่งขัน กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ตนเป็นหุ้นส่วนได้ แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จะดำเนินการค้าขายแข่งกับห้างฯไม่ได้ เช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ • 4) ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด อาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันได้ • 5) ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดมีสิทธิในการออกความเห็น แนะนำเลือกหรือ ถอดถอนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเข้าไปจัดการงานของห้างแต่อย่างใด70

  48. การถูกจำกัดสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดการถูกจำกัดสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด • เนื่องจากผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด มีความรับผิดเพียงเท่าจำนวนเงินที่ตนนำมาลงหุ้นหรือที่รับว่าจะนำมาลงหุ้น ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่หุ้นส่วนประเภทดังกล่าว ถูกจำกัดสิทธิหรือมีสิทธิน้อยกว่าผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด กล่าวคือ • 1) ห้ามใช้ชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดยินยอมไม่ว่าโดยแจ้งชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของคนละคนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดคนนั้น ก็ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือน หนึ่งว่าเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด อย่างไรก็ตามคงมีผลกับบุคคลภายนอกเท่านั้นสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกัน คงเป็นไปตามสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

  49. 2) ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะลงหุ้นด้วยแรงงานไม่ได้ กล่าวคือ จะต้องตกลงหุ้นด้วยเงินหรือทรัพย์สิน ซึ่งต่างกับหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะลงหุ้นด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ • 3) ห้ามไม่ให้แบ่งเงินปันผล หรือดอกเบี้ยแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด เว้นแต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดได้กำไร • 4) ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ได้ดังที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้นหากผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ผู้นั้นจะต้องรับผิดเสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วน ประเภทไม่จำกัดความรับผิด

  50. การรับผิดโดยไม่จำกัดของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดการรับผิดโดยไม่จำกัดของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด • ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดอาจต้องรับผิดโดยไม่จำกัดในกรณีต่อไปนี้ • 1) ในกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนเข้าหุ้นรวมทุนกันจะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่ยังไม่ได้ ไปจดทะเบียนในช่วงระยะเวลาที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนี้ หากหุ้นส่วนนี้มีหนี้สินกับบุคคลภายนอก ก็ต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดในหนี้ดังกล่าวเสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด นั้นเอง • 2) ในกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แสดงให้บุคคลภายนอกทราบว่า ตนลงหุ้นไว้มากกว่าจำนวนที่ได้จดทะเบียนไว้ความรับผิด ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดดังกล่าวย่อมมีความรับผิดชอบต้องชำระหนี้ต่อบุคคลภายนอกนั้นเช่นดังที่ได้อวดอ้างไว้

More Related