1 / 45

ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนา

SSC290 Environment and Development. การบรรยายครั้งที่ 7. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนา. แนวโน้มของการพัฒนาและผลกระทบสิ่งแวดล้อมในอนาคต TRENS of DEVELOPMENT and ENVIRONMENTAL IMPACTS in the FUTURE. ประชากรโลกจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ความต้องการใช้ทรัพยากรต้องมีมากขึ้น

ziva
Download Presentation

ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. SSC290 Environment and Development การบรรยายครั้งที่ 7 ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนา

  2. แนวโน้มของการพัฒนาและผลกระทบสิ่งแวดล้อมในอนาคตแนวโน้มของการพัฒนาและผลกระทบสิ่งแวดล้อมในอนาคต TRENS of DEVELOPMENT and ENVIRONMENTAL IMPACTS in the FUTURE • ประชากรโลกจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน • ความต้องการใช้ทรัพยากรต้องมีมากขึ้น • สิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ต้องเสื่อมลง • เทคโนโลยีและความรู้ด้านวิศวกรรมช่วยได้เพียงไร? • ไม่มีใครรู้แน่ว่าอนาคตของมนุษยชาติจะเป็นอย่างไร?

  3. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนา ò ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนา òความรู้เบื้องต้นของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม òการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ EIA

  4. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาที่ไม่รอบคอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาที่ไม่รอบคอบ • การพัฒนาในอดีตที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โดยสังเกตได้จาก -การลดลงของทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป -ความเสื่อมโทรมของลักษณะทางกายภาพทรัพยากรธรรมชาติ • การพัฒนาในอดีตที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในการใช้ ทรัพยากร

  5. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาเศรษฐกิจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาเศรษฐกิจ • การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development) หมายถึงการเพิ่มผลผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกผลิต และการบริโภคผลผลิต โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อการกินดีอยู่ดีของประชาชน (แสดงให้เห็นถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ) และการเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การบริหาร เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนา

  6. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจ • ภาคเกษตรกรรม • ภาคอุตสาหกรรม • ภาคคมนาคม ขนส่ง • ภาคบริการ

  7. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาภาคเกษตรผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาภาคเกษตร • การสูญเสียพรรณพืชพื้นเมืองนานาชนิด เนื่องจากการปรับที่ดินเพื่อการเกษตร และระบบชลประทาน • การพังทลายหน้าดิน • การเสื่อมโทรมคุณภาพดิน • การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ • การปนเปื้อนของสารเคมี เนื่องจากการใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช

  8. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม • การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ที่ดิน • มลพิษทางน้ำ • มลพิษทางอากาศ • มลพิษจากของเสียอันตราย

  9. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการพัฒนาภาคคมนาคม ขนส่ง • การสูญเสียพื้นผิวดิน เนื่องจากการสร้างถนน • มลพิษทางอากาศ • การลดลงของทรัพยากรประเภทใช้แล้วหมดไป

  10. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการพัฒนาต่อภาคบริการด้านการท่องเที่ยว • ความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อม • การสูญเสียทัศนียภาพ • การสะสมของขยะจากนักท่องเที่ยว • การสูญเสียความหลากทางชีวภาพ • มลพิษด้านเสียง

  11. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

  12. 1. ความหมายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อจำแนกและคาด คะเนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการ/กิจกรรมตลอดจนการเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation Measure) และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Monitoring Plan)ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินโครงการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจึงเป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลที่ จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการของโครงการ อีกทั้งเสนอแนะ วิธีลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการอย่างเหมาะสมโดยไม่ทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ; UNEP)

  13. 2. แนวคิดพื้นฐานในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • EIA เป็นการศึกษาปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากกว่าปัจจุบัน เพื่อหาทางป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นระยะยาว ณ ที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ • EIA เป็นการศึกษาปัญหาหลายๆ ปัญหาร่วมกัน • การศึกษา EIA ต้องอาศัย 3 หลักการ คือ • 3.1 การวางแผนการใช้ที่ดิน • 3.2 การใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ • 3.3 การควบคุมมลพิษ • 4. EIA เป็นการศึกษาก่อนการตัดสินใจในการพัฒนาEIA เป็นการศึกษาเฉพาะที่ เฉพาะแห่ง และเฉพาะกรณี เพื่อใช้ในการตัดสินใจพัฒนาโครงการ ซึ่งเน้นผล กระทบมากกว่าการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

  14. 5. EIA เป็นการแสวงหาวิถีทางร่วมกัน 3 ทาง คือ 5.1 ผลยั่งยืน 5.2 ความต้องการในการพัฒนา 5.3 นิเวศน์พัฒนา 6. โครงการพัฒนาหนึ่งๆ จะสำเร็จด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ 1) ความเป็นไปได้ทางวิชาการ 2) ผลกำไรทางเศรษฐศาสตร์ 3) ผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาหรือไม่ 4) ปัญหาการเมืองจะมีตามมามากน้อยเพียงใด

  15. 3.ความคิดรวบยอดในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม3.ความคิดรวบยอดในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • เป็นการทำนาย (Prediction) อนาคต/สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน • ใช้การศึกษาอย่างเป็นระบบ (System) โดยอาศัยหลักการ • การวางแผนการใช้ที่ดิน (Land Use Planning) • การใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์ (Resource Utilization and Conservation) • การควบคุมมลภาวะที่จะเกิดขึ้น (Pollution Control) • เพื่อให้ได้มาทั้ง 3 แนวทาง • ผลผลิตยั่งยืน (Sustained yield) เศรษฐศาสตร์ • ความต้องการในการพัฒนา/สังคม สังคม/การเมือง • นิเวศ/ความหลากหลายยั่งยืน สิ่งแวดล้อม ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจ • ระบบสิ่งแวดล้อมบริเวณที่จะมีโครงการ โดยต้องทำการวิเคราะห์ระบบ • ภาพรวมและรายละเอียดของโครงการ ที่จะนำเข้ามาในระบบสิ่งแวดล้อมในที่นั้น ๆ เพื่อให้โครงการที่จะนำเข้ามาในระบบสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกัน/กลมกลืนกันหรือมีผลกระทบน้อยที่สุด

  16. 4. ความสำคัญของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของผู้บริหาร • เป็นการคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของทั้งโครงการในอนาคต • เป็นแนวทาง/กรอบในการวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม • เป็นแนวทาง/กรอบในการวางแผนแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ • เป็นแนวทาง/กรอบในการวางแผนติดตามตรวจสอบแผน ป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้กำหนดไว้

  17. 5. ประวัติความเป็นมาของการทำ EIA นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เริ่มมีครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 โดยปรากฏอยู่ในมาตรา 77 และ 97 ดังนี้ มาตรา 77 “รัฐพึงบำรุงรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมและความงามทางธรรมชาติ รวมทั้งป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร และน่านน้ำ” มาตรา 97 “รัฐพึงบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และพึงขจัดสิ่ง เป็นพิษซึ่งทำลายสุขภาพและอนามัยของประชาชน” แต่กฎหมายดังกล่าว เป็นเพียงแนวทางให้ฝ่ายบริหารกำหนดนโยบายและให้ฝ่ายนิติบัญญัติที่จะตรากฏหมายออกมาในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องนี้เท่านั้น

  18. ในสมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีการประกาศ ใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการฉบับแรก คือพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 และกำหนดให้ มีการจัดทำรายงาน EIA แต่ได้การดำเนินการจัดทำรายงาน EIA กันอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2524 ในปี 2535 ได้มีการพัฒนาระบบ EIA อีกครั้ง ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อมและประกาศออกมาเป็น “พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวด ล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535” โดยส่วนของการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอยู่ในหมวดที่ 3 และส่วนที่ 4 ตั้งแต่มาตรา 46 ถึง มาตรา 51

  19. 6. ลักษณะการเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม • ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีมากมายหลายประเด็น ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาแต่ละ สาขา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งขนาด (magnitude) และทิศ ทาง (direction) • ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ความแห้งแล้ง ไฟไหม้และอื่น ๆ มักเป็นเหตุการณ์ ที่นานๆ เกิดขึ้น และเกิดเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และมีความรุนแรงเป็น บางพื้นที่ • โครงการพัฒนาต่างๆ จะก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากกว่าและ นานกว่า (ถาวร) • การวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะต้องวัดจากผลรวมผลกระทบทั้งหมด ของโครงการ ซึ่งหาได้จาก ผลต่างระหว่างผลกระทบที่ไม่มีโครงการกับผลกระทบที่มีโครงการ

  20. ลักษณะการเกิดผลกระทบ อาจเกิดได้ทั้ง 3 กรณี 1) บางที่บางส่วน (spatial impact) : ภาวะเตือนภัย : ภาวะเสี่ยงภัย 2) กระจายทั่วไป 3) ผลกระทบแบบลูกโซ่ คือเกิดผลกระทบทั้งทางตรงและส่งผลกระทบทางอ้อม ตามมาเป็นลูกโซ่ 5th impact 4th impact tertiary impact secondary impact primary impact

  21. ตัวอย่าง:- ** โครงการตัดถนนผ่านพื้นที่ภูเขา ก่อให้เกิดผลกระทบลูกโซ่ ดังนี้ การใช้น้ำของมนุษย์ คุณภาพน้ำผิวดิน การพังทลายของดิน ตัดต้นไม้ (เปิดหน้าดิน) ข้อสังเกต เกี่ยวกับลักษณะการเกิดผลกระทบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น - อาจไม่เป็นไปในลักษณะเรียงลำดับ - อาจสร้างปัญหาลูกโซ่ได้เสมอ - อาจแสดงผลให้เห็นในระยะสั้นหรือระยะยาวก็ได้ - มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ - ต้องวัดได้ว่ามีขนาดใหญ่มากน้อยเท่าไหร่ และมี ลักษณะบวกหรือลบ

  22. 7. ข้อดีข้อเสียของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • ข้อดี • ช่วยให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง • ประหยัดเงินและเวลาในการแก้ไขผลกระทบ • เก็บรักษา/อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม • ช่วยป้องกันมลพิษ • ลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง • ข้อเสีย • ทำให้การพัฒนาล่าช้า • ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดอาจไม่เกิดขึ้นหรือรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ • มีความลำเอียงในการประเมิน • วิธีการศึกษาตามใจผู้วิเคราะห์ • เป็นเพียงการคาดคะเน อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด

  23. 8. การประเมินสถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม 8.1 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน • องค์ประกอบ/โครงสร้าง (Structure) ของระบบ ได้แก่ • ชนิด (Species)๏ ปริมาณ (Quantity) ของแต่ละชนิด * มาก (Abundant) * ปริมาณในธรรมชาติ * หายาก (Rare) * ความหนาแน่น * ใกล้สูญพันธุ์ (Endaner) * จำนวน * สูญพันธุ์ (Extinct) • สัดส่วน (Proportion) ๏ การกระจาย (Distribution) * พืช * ทั่วพื้นที่ (Disperse) * สัตว์ * บางจุด (Spot) * มนุษย์ มนุษย์ สัตว์ พืช

  24. การประเมินสถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • หน้าที่/การทำงาน (Function) ของระบบ • ปกติ (Normal) • เปลี่ยนแปลงไปอย่างเฉียบพลัน (Acute Effect) • ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง (Chronically Effect)

  25. 8.2 สถานภาพของระบบสิ่งแวดล้อม: แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ • 1)สมดุลธรรมชาติ (Nature) หมายถึงองค์ประกอบมีความหลากหลายชนิดและมีปริมาณในแต่ละชนิดในอัตราส่วนที่เหมาะสม และทำหน้าที่ได้เหมือนปกติตามสภาพธรรมชาติ • 2) เตือนภัย (Warning)หมายถึง องค์ประกอบบางส่วนของระบบถูกรบกวน ทำให้การ ทำหน้าที่ของระบบไม่สมบูรณ์ สามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมได้ในเวลาไม่นาน • 3) เสี่ยงภัย (Risky)หมายถึง มีการรบกวนองค์ประกอบของระบบทำให้บางส่วนมีจำนวนลดลง และมีชนิดอื่นเพิ่มขึ้นมาทดแทนหรือบางอย่างมีจำนวนมากเกินไป ทำให้การทำงาน/หน้าที่ของระบบเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ • 4) วิกฤต (Crisis) หมายถึงระบบนั้น ๆ ถูกรบกวน ทำให้องค์ประกอบบางชนิดเหลือน้อยหรือสูญพันธุ์ไปจากระบบหรือไม่ทำหน้าที่ของตนได้ ทำให้การทำงาน/หน้าที่ของระบบไม่ครบวงจรหรือมีประสิทธิภาพลดลง และไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพธรรมชาติดังเดิมได้ และต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จึงจะฟื้นคืนสภาพเดิมได้บ้าง

  26. 8.3 ประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องทำการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม • ตามบัญชีประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประกาศวันที่ บังคับใช้ • ฉบับที่ 1 24 สิงหาคม 2535 9 ตุลาคม 2535 • ฉบับที่ 2 9 กันยายน 2535 23 ตุลาคม 2535 • ฉบับที่ 3 22 มกราคม 2539 9 กุมภาพันธุ์ 2539 • โครงการอยู่ในเขตพื้นที่ • ป่าอนุรักษ์ (C) • ลุ่มน้ำชั้น 1B, 2 • ป่าชายเลน เขตอนุรักษ์ • พื้นที่อุทยานแห่งชาติ/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตาม พ.ร.บ. ตามมติ ครม.

  27. 9. ปัญหาการทำรายงาน EIA • ข้อมูลที่ศึกษาไม่พอเพียง ข้อมูลสิ่งแวดล้อมบางประเด็นไม่ชัดเจน ไม่ได้ครอบคลุมในการศึกษา ไม่มีการเสนอทางเลือกของโครงการ • งบประมาณที่ได้รับน้อย ทำให้ไม่เพียงพอในการศึกษาประเด็นต่าง ๆ ได้ครบถ้วน • เวลาการจัดทำรายงานมีน้อย ทุกโครงการต้องใช้ระยะเวลาสั้นในการจัดทำรายงาน ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลตามฤดูกาลได้ • ไม่มีกฏเกณฑ์/มาตรฐานที่ชัดเจนในการประเมินมูลค่าของระบบนิเวศ เช่น ประโยชน์ทางอ้อมของป่าในด้าน • ความหลากหลายทางชีวภาพ • พืชสมุนไพร • การเป็นพื้นที่อนุรักษ์ : ต้นน้ำลำธาร/อุทยานแห่งชาติ

  28. ปัญหาการทำรายงาน EIA (ต่อ) • ประชาชนไม่มีส่วนร่วมต่อโครงการพัฒนาต่าง ๆ ปัจจุบันมีมติ ครม. สำหรับ โครงการที่คาดว่าจะมีผลกระทบสูง ให้จัดทำ ประชาพิจารณ์ก่อน • ผู้ชำนาญการขาดความเป็นกลาง • ประเมินผลกระทบเข้าข้างเจ้าของโครงการ • ไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง • เก็บตัวอย่างน้อยกว่าที่ควรจะเป็น • ยกเมฆข้อมูล • ดำเนินโครงการก่อนจัดทำรายงาน EIA • ไม่ทราบระเบียบขั้นตอน • หลีกเลี่ยง เปลืองเงิน • โครงการเร่งด่วน • ผู้พิจารณารายงาน EIA ไม่มีมาตรฐาน/กฎระเบียบที่ชัดเจน แตกต่างกันไป ในแต่ละบุคคล EIA

  29. 10. ประโยชน์ของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม • สามารถใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและจะช่วยในการมองปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมที่มองเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลักอันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรธรรมชาติตามมา • ช่วยพิจารณาผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงจากการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถหามาตรการ ในการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินการ

  30. สามารถแน่ใจว่าได้คาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญอันเกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเลือกมาตรการที่เป็นไปได้ในทางปฎิบัติและค่าใช้จ่ายน้อย • ช่วยเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อม และสามารถใช้ผลการ ศึกษาเป็นข้อมูลที่จะให้ความ กระจ่างต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรได้ • แนวทางกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังได้ • เป็นหลักประกันในการใช้ทรัพยากรที่ยาวนาน ( long - term sustainable development )

  31. โครงการหรือกิจกรรม ขนาด 1. เขื่อนเก็บน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ ที่มีปริมาตรเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100 ล้าน ลบ.ม .หรือมีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป 2. การชลประทาน ที่มีพื้นที่การชลประทานตั้งแต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป 3. สนามบินพาณิชย์ ทุกขนาด 4. ระบบทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษ หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับการทางพิเศษ หรือระบบขนส่งมนชนที่ใช้ราง ทุกขนาด 5. การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ทุกขนาด 6. นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม ทุกขนาด 7. ท่าเรือพาณิชย์ สามารถรับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันขึ้นไป 8. โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป โครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

  32. โครงการหรือกิจกรรม ขนาด 9.  การอุตสาหกรรม     (1) อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้วัตถุดิบ : และ/หรือการแยกก๊าซธรรมชาติในกระบวน การผลิต     (2) อุตสาหกรรมกลั่นนำมันปิโตรเลียม     (3) อุตสาหกรรมแยกหรือแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ    (4) อุตสาหกรรมคลอแอลคาไลน์ ที่ใช้โซเดียมคอลไรด์ เป็นวัตถุดิบในการผลิตโซเดียมคาร์บอเนต โซเดียมไฮดรอกไซด์ กรอไฮโดรคอลริค คลอรีน โซเดียมไฮโพคลอไรด์ และปูนคลอรีน    (5) อุตสาหกรรมเหล็กและ/หรือเหล็กกล้า     (6) อุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์      (7) อุตสาหกรรมถลุงแร่หรือหลอมโลหะ ซึ่งมิใช่อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า         (8) อุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษ   ตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป ทุกขนาดทุกขนาดที่มีกำลังผลิตสารดังกล่าวแต่ละชนิดหรือรวมกันตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไปที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป ทุกขนาด   ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป 10. โครงการทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ กำหนดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1บี ทุกขนาด 11. การถมที่ดินในทะเล ทุกขนาด

  33. โครงการหรือกิจกรรม ขนาด 12. อาคารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือชายหาด หรือที่อยู่ใกล้ หรือในอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม อาคารที่มีขนาด1. ความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป หรือ 2. ที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใด ในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตร.ม.ขึ้นไป 13. การจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือเพื่อประกอบการพาณิชย์ จำนวนที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป หรือเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่ 14. โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล1. กรณีตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือชายหาด ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม2. กรณีโครงการที่ไม่อยู่ในข้อ 1. 1. ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป2. ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 60 เตียงขึ้นไป 15. อุตสาหกรรมผลิตสารออกฤทธิ์ หรือ สารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์โดยกระบวนการทางเคมี ทุกขนาด 16. อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีโดยกระบวนการทางเคมี ทุกขนาด

  34. โครงการหรือกิจกรรม ขนาด 17. ทางหลวงหรือถนน ซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ที่ตัดผ่านพื้นที่ดังต่อไปนี้1. พื้นที่เขตรักษาพันธสัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามกฎหมาย ว่า ด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า2. พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ3. พื้นที่เขตลุ่มน้ำชั้น 2 ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว4. พื้นที่เขตป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ5. พื้นที่เขตฝั่งทะเลในระยะ 50 เมตรห่างจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด ทุกขนาดที่เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานต่ำสุดของทางหลวง ชนบทขึ้นไป โดยรวมความถึงการก่อสร้างคันทางใหม่เพิ่มเติมจากคันทางที่มีอยู่ 18. โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศ ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป 19. อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป

  35. โครงการหรือกิจกรรม ขนาด 20. โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม เฉพาะสิ่งปฎิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ทุกขนาด 21. อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาลดังต่อไปนี้1. การทำน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์2. การทำกลูโคล เดกซ์โทรส ฟรักโทส หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน 1. ทุกขนาด2. ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 20 ตันต่อวันขึ้นไป 22. การพัฒนาปิโตรเลียม1. การสำรวจและ/หรือผลิตปิโตรเลียม2. ระบบการขนส่งปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ 1. ทุกขนาด2. ทุกขนาด

  36. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สภาพปัญหา พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ไม่ได้ระบุเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้โดยตรงว่าประชาชนจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนใดของกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และโดยรูปแบบ วิธีการใด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 46รับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และการมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

  37. มาตรา 56รับรองสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาตรา 59 ให้สิทธิแก่ประชาชนที่จะรับรู้ข้อมูลและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นก่อนการอนุญาตหรือดำเนินโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิต มาตรา 290กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการ บำรุง รักษา และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และนอกเขตพื้นที่ในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่

  38. ข้อเสนอ หลักการพื้นฐานในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมควรเป็นไปตามหลักการ ดังนี้ 1. ยึดหลักประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าร่วมในกระบวนการ ทั้งนี้การเข้าร่วมควรที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น และเน้นการมีส่วนร่วมแบบไม่เป็นทางการด้วย อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมจะอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับขั้นตอนของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนถึงองค์ประกอบของ “ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง” ทั้งหมดในกระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดให้จำแนกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกเป็นดังนี้

  39. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีดังนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีดังนี้ 1) ชุมชนท้องถิ่น (ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่) 2) เจ้าของโครงการ 3) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) 4) หน่วยงานอนุญาต 5) ผู้จัดทำรายงานฯ 6) คณะกรรมการผู้ชำนาญการการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมส่วนกลาง(คชก. ส่วนกลาง) 7) คณะกรรมการผู้ชำนาญการการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จังหวัด (คชก. จังหวัด) 8) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค (สสภ.) และหรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) 9) หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลทรัพยากรหรือหน่วยงานในพื้นที่

  40. 10) หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค 11) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 12) องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม (ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 56 วรรค 2) 13) สถาบันการศึกษา 14) องค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organizations) อันอาจประกอบด้วย NGOs, NPOs, POs, CBOs และรวมถึงองค์กร/การรวมตัวในรูปแบบต่างๆ เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธุรกิจการค้าต่างๆ สมาคมวิชาชีพ มูลนิธิ กลุ่มสนใจ/อาสาสมัครต่างๆ เป็นต้น 15) สื่อมวลชน 16) ประชาชนผู้สนใจ (concerned people) 17) ประชาชนทั่วไป 18) นิติบุคคล ผู้ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบ 19) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 20) ครม.

  41. ชุมชนท้องถิ่น หมายถึงชุมชนท้องถิ่นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่ ซึ่งชุมชน เหล่านี้จะถูกระบุโดยผู้เสนอโครงการ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ประกอบ การกำหนดว่าชุมชนท้องถิ่นในที่นี้หมายถึงอะไรดังนี้ (1) พื้นที่หรือที่ตั้งโครงการ กำหนดจำนวนชุมชนโดยใช้ระยะทางเป็นเกณฑ์ โดยพิจารณาว่าตามประเภทและขนาดของโครงการนั้นๆ ควรครอบคลุมพื้นที่ในรัศมีเท่าใด (2) ผลกระทบของกิจกรรม กำหนดจำนวนชุมชนที่เข้าร่วมโดยประเมินจาก ขนาดและลักษณะของผลกระทบของโครงการที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (3) เงื่อนไขทางวัฒนธรรม กำหนดจำนวนชุมชนที่เข้าร่วมโดยประเมินจาก ลักษณะและเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

  42. 4. ประชาชนผู้สนใจ (concerned people) หมายถึงบุคคล/องค์กรทั่วไปที่ มีความสนใจ เข้าร่วม เป็นผู้ที่มีความห่วงกังวล ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่โครงการ เช่น กลุ่มเลี้ยงนกเขา กลุ่มรักช้าง เป็นต้น 5. ประชาชนทั่วไปหมายถึงประชาชนที่โครงการสามารถส่งข่าวสารข้อมูลการรับรู้ไปถึงได้ในทางสื่อมวลชนด้านกว้าง 6. การดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงและให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับกลุ่มคนพิการ คนด้อยโอกาส ชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยการศึกษา และอื่นๆ (underprivileged people) และความเท่าเทียมทางเพศ (gender sensitivity)

  43. 7. การดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พึงต้องให้ความสำคัญ เป็นพิเศษกับกลุ่มคน/องค์กรที่ได้รับผลกระทบทางลบสูง 8. การดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องยึดหลักความยุติธรรมและความถูกต้องเป็นหลัก 9. การดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ว่าจะดำเนินการด้วยวิธีการ/เทคนิคเช่นไร พึงดำเนินการโดยให้สามารถมีผลลัพธ์ที่มีความหมาย อย่างแท้จริง (meaningful participation) 10. ในกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 1. รับรู้ 2. ปรึกษาหารือ 3. ร่วมตัดสินใจ 4. ประชามติ ดังนั้นในแต่ละขั้นตอนของการทำ EIA การมีส่วนร่วมจะต่างกัน

  44. 11. ในด้านเทคนิควิธีการนั้น มีหลากหลายวิธีที่ผู้ดำเนินการจะต้องไปดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการ(โดยเฉพาะข้อ 9) จะต้องรับรู้ความ เข้าใจและความชำนาญในด้านการมีส่วนร่วม 12. ความรับรู้ในด้านการมีส่วนร่วมของสังคมไทยนั้นยังมีความจำกัดอยู่ มาก ดังนั้นการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของทุกฝ่าย(capacitybuilding) จึงมีความสำคัญและพึงส่งเสริมทั้งระยะสั้นและระยะยาว

More Related