1 / 30

วิชาความเป็นครู

วิชาความเป็นครู. วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย. ประเภทของแผน. แผนระยะยาว 10-20 ปี เช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559 ) แผนระยะกลาง 4-6 ปี เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ

zephr-case
Download Presentation

วิชาความเป็นครู

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาความเป็นครู

  2. วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทยวิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย

  3. ประเภทของแผน แผนระยะยาว 10-20 ปี เช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) แผนระยะกลาง 4-6 ปี เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาประจำปี 1 ปี เช่นแผนพัฒนาการศึกษาระดับต่าง ๆ (แผนขอเงิน) แผนปฏิบัติการประจำปี (แผนใช้เงิน)

  4. ความหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง แผนงานหลักในการจัดการศึกษาของชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง แผนกำหนดทิศทาง และขอบเขตในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  5. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ 1-10 ฉบับที่ 1 (2504-2509) ฉบับที่ 6(2530-2534) ฉบับที่ 2 (2510-2514) ฉบับที่ 7 (2535-2539) ฉบับที่ 3 (2515-2519) ฉบับที่ 8 (2540-2544) ฉบับที่ 4(2520-2524) ฉบับที่ 9(2545-2551) ฉบับที่ 5(2525-2529) ฉบับที่ 10(2552-

  6. วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์(Vision)หมายถึงภาพในอนาคตขององค์กรซึ่งได้มาจาก ปัญญา ความคิด โดยภาพนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง มีความเป็นไปได้ ดึงดูดใจให้ปฏิบัติตาม สอดคล้องกับภาระหน้าที่ขององค์กร อันจะทำให้องค์กรมีสภาพดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

  7. วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์(Vision) คือภาพความสำเร็จในอนาคตขององค์กร โดยเน้นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาให้ถึงจุดหมาย เป็นสภาพที่พึงปรารถนา ในอนาคต อาจมีลักษณะในเชิงปรัชญา ที่สามารถให้ทิศทางกับผู้นำ ที่จะนำองค์กรไปสู่ภารกิจหลักที่มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม กล่าวคือ เป็นภารกิจที่ต้องทำ ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อใคร ในมิติเวลานั้น หรือ

  8. วิสัยทัศน์ ลักษณะของวิสัยทัศน์ แสดงจุดมุ่งมั่นในภารกิจ มีความชัดเจน จำได้ง่ายและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ เป็นภาพเชิงบวกที่สะท้อนถึงความเป็นเลิศขององค์กรในอนาคต คำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ

  9. วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ถ้าปราศจากการกระทำ ก็เป็นเพียงความฝัน การกระทำถ้าปราศจากวิสัยทัศน์ ก็เป็นเพียงกิจกรรม วิสัยทัศน์ และการกระทำ ถ้าไปด้วยกัน จะสามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรได้

  10. วิสัยทัศน์ ตัวอย่างวิสัยทัศน์ กระทรวงศึกษาธิการ :เป็นองค์กรการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาตามปรัชญาของแต่ละระดับ สร้างผลงานวิจัย และบริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีคุณภาพ

  11. วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์การศึกษาไทย จากแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับต่าง ๆ

  12. วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ 1-9 เน้นเศรษฐกิจเป็นหลัก เป็นตัวนำ มองว่า ประเทศอุดมสมบูรณ์ มีรายได้ดีช่วยให้ เศรษฐกิจดี จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา เศรษฐกิจ มองข้ามการพัฒนาคน ฉบับที่ 1-2(2504-2514) ฉบับที่ 3 (2515-2519) ฉบับที่ 4 (2520-2524) ฉบับที่ 5-7(2525-2539) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เป็น ช่วงมีการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคม คุณภาพประชาชนตกต่ำ ค่านิยมเปลี่ยนแปลง การศึกษาถูกละเลยมองข้าม ฉบับที่ 8 (2540-2544) ฉบับที่ 9(2545-2551)

  13. วิสัยทัศน์ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ ที่ 10 ฉบับที่ 10 (2552- สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10(พ.ศ. 2550 – 2554) และแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 – 2559) มุ่งให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนต้องใช้ “ความรู้”ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับวิถีสังคมไทย ตลอดจนสร้างศีลธรรมและจิตสำนึกใน “คุณธรรม” ดำรงตนอย่างมั่นคงในกระแสโลกาภิวัตน์

  14. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 - 10 ในภาพรวมแล้วแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับต่างๆ โดยเฉพาะ ฉบับที่ 8 ฉบับที่ 9และฉบับที่ 10 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในภาพรวมที่สอดคล้องกันคือ “จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตมุ่งพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมคิดเป็นทำเป็นพึ่งตนเองได้รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้สรรค์สร้างสังคมที่สงบสุขมีความรักความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความรอบรู้มีความสามารถที่เป็นสากลดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย”

  15. แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (2552-2559) กำหนดวิสัยทัศน์ 1. พัฒนาคนไทยให้เป็น “ มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” 2. พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน”

  16. จะเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาไทยต้องการให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการ สร้างคนให้เป็น “คนดี คนเก่ง และ คนมีความสุข”โดย 1. เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ มีลักษณะมองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี มีวินัย มีทักษะสำหรับยุคโลกาภิวัตน์ 2. เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของบุคคล ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 3. เป็นการศึกษาที่ปรับแนวคิดการจัดการใหม่ ให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบการสอนหลากหลาย ทุกส่วนของสังคมเอื้อต่อการเรียนรู้

  17. สาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติสาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 — 2559)

  18. ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิดปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยึดทางสายกลางอยู่ บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองค์รวมที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม

  19. ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิดปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

  20. วัตถุประสงค์ของแผน 1. เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 — 2559)  จึงกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนฯ ที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 2. พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา 3. เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 4. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้

  21. การบริหารแผนสู่การปฏิบัติการบริหารแผนสู่การปฏิบัติ แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการนำแผนสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ที่เน้นเป้าหมาย 3 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา

  22. การบริหารแผนสู่การปฏิบัติการบริหารแผนสู่การปฏิบัติ • ระยะที่ 1 แผนงานรีบด่วน ระหว่างปี 2552 — 2554 ให้เร่งดำเนินการตามข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยให้มีการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาการศึกษาตามประเด็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ • แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา • แผนขยายโอกาสทางการศึกษา และ • แผนส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา รวมทั้งควรมีการสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการศึกษาแห่งชาติ

  23. การบริหารแผนสู่การปฏิบัติการบริหารแผนสู่การปฏิบัติ ระยะที่ 2ระหว่างปี 2555 — 2559 ให้เร่งดำเนินการตามนโยบายทั้ง 14 ด้านให้บรรลุผลตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ เมื่อสิ้นสุดระยะที่ 1 และระยะที่ 2 รวมทั้งการเตรียมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ต่อไป

  24. ด้วยวิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง จึงได้พัฒนาการมาเป็น มาตรฐานการศึกษาของชาติดังนี้ มาตรฐานการศึกษาของชาติ วิสัยทัศน์การศึกษาไทยในภาพรวมคือ ต้องการให้การศึกษาไทย สร้างคนให้เป็น “คนดี คนเก่ง และ คนมีความสุข”โดย 1. เป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ มีลักษณะมองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี มีวินัย มีทักษะสำหรับยุคโลกาภิวัตน์ 2. เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของบุคคล ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 3. เป็นการศึกษาที่ปรับแนวคิดการจัดการใหม่ ให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบการสอนหลากหลาย ทุกส่วนของสังคมเอื้อต่อการเรียนรู้

  25. มาตรฐานการศึกษาของชาติ เป็นสาระเกี่ยวกับอุดมการณ์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของชาติที่พึงประสงค์ มีไว้เป็นหลักสำหรับ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการอุดมศึกษา นำไปใช้กำหนดแนวทางการพัฒนาและจัดการศึกษา เพื่อประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เต็มตามศักยภาพและตรงตามความต้องการ อย่างคุ้มค่า เสมอภาคและเป็นธรรม

  26. ความหมายของมาตรฐานการศึกษาชาติความหมายของมาตรฐานการศึกษาชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้นิยามไว้ว่า  เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและการกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา

  27. มาตรฐานการศึกษาของชาติ ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ประเด็น         3.1 อุดมการณ์ หลักการในการจัดการศึกษาของชาติ         3.2 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก         3.3 การจัดการศึกษา        3.4 แนวนำสู่การปฏิบัติ

  28. มาตรฐานการศึกษาชาติ มี 3 มาตรฐาน 11 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 1คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะ พลเมืองและพลโลก (คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข) (5 ตัวบ่งชี้) มาตรฐานที่ 2แนวการจัดการศึกษา( 3 ตัวบ่งชี้)มาตรฐานที่ 3แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่ง ความรู้ ( 3 ตัวบ่งชี้)

  29. การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มุ่งพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมคิดเป็นทำเป็นพึ่งตนเองได้รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้สรรค์สร้างสังคมที่สงบสุขมีความรักความเอื้ออาทร ต่อเพื่อนมนุษย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความรอบรู้มีความสามารถที่เป็นสากลดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย

More Related