1 / 30

บท ที่ 4

บท ที่ 4. การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน.

Download Presentation

บท ที่ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4

  2. การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำวิจัยในชั้นเรียน หลังจากที่ได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนทั้งกระบวนการมาแล้ว การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนเป็นการเผยแพร่งานวิจัยสู่สาธารณชน เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาผลการวิจัย และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานของครู การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวิธีการหรือนวัตกรรมที่คิดค้นสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนของครู และเป็นการเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มเพื่อนครูด้วยกัน จึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงที่เป็นทางการหรือตามรูปแบบสากลเหมือนวิจัยทั่วไป เพราะกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรโดยทั่วไปได้ รูปแบบในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนนั้นไม่ได้กำหนดตายตัวให้เป็นแบบใดแบบหนึ่ง ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้วิจัยให้อยู่ในรูปแบบสากลนิยมส่วนใหญ่มักจะใช้รูปแบบคล้ายกับการเขียนรายงานการวิจัยโดยทั่วไป โดยคำนึงถึงหลักในการเขียนรายงาน คือ

  3. 1. ถูกต้องตามหลักวิชาการ ต้องเกิดจากการศึกษาค้นคว้า และเป็นผลจากการวิจัยจริง ๆ • 2. กำหนดโครงสร้างของการเขียนรายงานไว้เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่มรายงาน • 3. ให้นึกอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำวิจัยและเขียนการวิจัยให้คนอื่นอ่านอย่าเขียนแบบเข้าใจคนเดียว • 4. มีความน่าเชื่อถือในผลงานวิจัยที่มีข้อมูลถูกต้องตามความเป็นจริง

  4. โครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนโครงสร้างของการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน • ดังที่กล่าวข้างต้นมาแล้วว่าเป็นรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนไม่มีรูปแบบตายตัว แต่ให้เลือกรูปแบบที่เป็นสากลนิยม ซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอไว้ ดังนี้ • 1. ส่วนนำ ประกอบด้วย • - ปกนอก • - ปกใน • - บทคัดย่อ • - กิตติกรรมประกาศ (อาจมีหรือไม่ก็ได้) • - สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ

  5. 1 2. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ - ความเป็นมาและความสำคัญ / ภูมิหลัง - วัตถุประสงค์ของการวิจัย - ขอบเขตของการวิจัย - สมมติฐานการวิจัย - ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) - นิยามศัพท์เฉพาะ (ถ้ามี) - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  6. 3. ส่วนอ้างอิงประกอบด้วย • - บรรณานุกรม • - ภาคผนวก เช่น ตัวอย่างเครื่องมือ ตัวอย่างการวิเคราะห์ ข้อมูลอ้างอิง • อื่น ๆ

  7. บทที่ 1 (ทำไมจึงต้องทำวิจัย) บทที่ 2 (ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม) บทที่ 3 (ดำเนินการทดลองนวัตกรรมอย่างไร) บทที่ 4 (ผลเป็นอย่างไร) บทที่ 5 (ผลการทดลอง เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่)

  8. ในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน ส่วนนำ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ปกนอก ระบุชื่อเรื่อง ผู้วิจัย อาจระบุชื่อหน่วยงานต้นสังกัดของผู้วิจัย หรือทุนในการวิจัย ตัวอย่างการเขียนปกนอก รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยพี่สอนน้อง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านชุมพล รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องคำคุณศัพท์ (Adjective) นางสาวต้อยติ่ง เติบโตเร็ว โรงเรียนบ้านชุมพล สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอองครักษ์ ปีการศึกษา 2543 2. ปกใน โดยทั่วไปจะเหมือนปกนอก 3. บทคัดย่อ ระบุชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย ปีที่ทำการวิจัย ระบุวัตถุประสงค์ กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการดำเนินการวิจัย และสรุปผลการวิจัยอย่างย่อ โดยทั่วไปไม่เกิน 1 – 2 หน้า ตัวอย่างบทคัดย่อ

  9. ชื่อเรื่อง การศึกษาผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยพี่สอน • น้อง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านชุมพล • ชื่อผู้วิจัย นางสาวต้อยติ่ง เติบโตเร็ว • ปีที่ทำการวิจัย 2543 • บทคัดย่อ • งานวิจัยการศึกษาผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องคำคุณศัพท์ (Adjective) โดยพี่สอนน้อง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านชุมพล มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนของวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง คำคุณศัพท์ (Adjective) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนของครูแบบเดิม กับวิธีการให้พี่สอนน้อง • ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านชุมพลมีผลการเรียนสูงขึ้น ร้อยละ 60.58 • 4. กิตติกรรมประกาศ เป็นส่วนที่ผู้วิจัยขอบพระคุณบุคคลที่เกี่ยวข้องและให้ความช่วยเหลือในการทำวิจัย ความยาวไม่เกิน 1 หน้า

  10. 5. สารบัญ เป็นการบอกว่าเนื้อหาของแต่ละบทอยู่ที่ใดบ้าง ในเล่มของรายงานการวิจัยในชั้นเรียนตัวอย่างสารบัญ ตัวอย่างสารบัญ • สารบัญ • เรื่อง หน้า • บทที่ 1 ความสำคัญของการวิจัย 1 • - ทำไมครูต้อทำวิจัย 2 • - บทบาทของครูในการทำวิจัย 4 • …………………………………………………………………………………………………… • 6. สารบัญตาราง / สารบัญภาพ เป็นการบอกว่าภาพหรือตารางอยู่ที่ใด โดยเรียงตามลำดับหมายเลข

  11. ตัวอย่างสารบัญตาราง / สารบัญภาพ • สารบัญตาราง • เรื่อง หน้า • ตารางที่ 1 แสดงจำนวนและร้อยละนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 1 • ตารางที่ 2 แสดงจำนวนและร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเกษตร 5 • .............................................................................................................................................................

  12. ตัวอย่างสารบัญตาราง / สารบัญภาพ • สารบัญภาพ • เรื่อง หน้า • ภาพที่ 1 แผนภูมิแสดงรายจ่ายประจำเดือน มีนาคม 2544 1 • ภาพที่ 2 แผนภูมิแสดงการจ่ายประจำเดือน มีนาคม 2544 5 • .............................................................................................................................................................

  13. ส่วนเนื้อหา มีรายละเอียด ดังนี้ • ในการเขียนรายงานของส่วนเนื้อหานี้ได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในส่วนของการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียน จึงจะไม่ขอกล่าวในส่วนนี้อีก • บทที่ 1 บทนำ • - ความเป็นมาและความสำคัญ / ภูมิหลัง • - วัตถุประสงค์ของการวิจัย • - ขอบเขตการวิจัย • - สมมติฐานการวิจัย • - ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) • - นิยามศัพท์เฉพาะ • - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์

  14. บทที่ 2 แนวคิด / ทฤษฎี / งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย - แนวคิด / ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของปัญญา - งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - กรอบแนวคิดในการ

  15. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม • บรรณานุกรม • คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. เอกสารประกอบการอบรมการวิจัยในชั้นเรียน • สำหรับครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ : 2543. • ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : 2543. • มัลลิกา นิตยาพร และอรุณศรี อนันตรศิริชัย. “การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน”, • วารสารวิชาการ เล่มที่ 21 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2543) : 71 – 75 • สุพรรณี มีเทศน์. แนวคิดและหลักการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการ • ประถมศึกษาแห่งชาติ. (อัดสำเนา).

  16. บรรณานุกรม • คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. เอกสารประกอบการอบรมการวิจัยในชั้นเรียน • สำหรับครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ : 2543. • ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : 2543. • คงศักดิ์ ธาตุทอง. “การประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน”,วารสารวิชาการ ปีที่ 2 • (ตุลาคม 2542) : 40 – 47. • ประกิต เอราวรรณ์. การวัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : 2542 , บริษัท ยูแพด จำกัด • มัลลิกา นิตยาพร และอรุณศรี อนันตรศิริชัย. “การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน”, • วารสารวิชาการ เล่มที่ 21 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2543) : 71 – 75 • วรรณวิไล พันธุ์สีดา. 12 ก้าวปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : 2543. โรงพิมพ์ • เจริญกิจ • สุพรรณี มีเทศน์. แนวคิดและหลักการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการ • ประถมศึกษาแห่งชาติ. (อัดสำเนา). • สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. “การทำวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้บริหารและครู” , วารสารการวิจัย • การศึกษา. เล่มที่ 21 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2534) : 74 – 79. • James McKernan. 1996. Curriculum Action Research. London : Kogan Page Limited. • OrtrunZuber – Skerritt. 1991. Action Research for Change and Development. England : • Gower Publishing Company

  17. ขั้นที่ 5 ค่า t วิกฤต เมื่อ = 0.05 , df = n - 1 = 24 แบบ two - tailed test คือ t (.05,24) = 2.064 ขั้นที่ 6 t > t วิกฤต ( 2.17 > 2.064 ) จึงปฏิเสธ H๐ นั่นคือ ปริมาณแคลอรี่เฉลี่ยต่อไอศครีม 1 กรัมไม่เท่ากับ 500 แคลอรี่ t = = = 2.17

  18. 2. การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่ม กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มเป็นอิสระจากกัน (Independent Samples) เป็นการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสอง กลุ่ม ในกรณีที่ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร และกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มที่มีขนาดเล็ก กล่าวคือ n1 < 30 และ n2 < 30 ซึ่งก่อนที่จะทำการทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบที จะต้องนำค่าความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ไปทดสอบเพื่อสรุปว่า ประชากรที่ศึกษานั้นมีความแปรปรวนเท่ากันหรือไม่

  19. ซึ่งขั้นตอนในการทดสอบมีดังนี้ซึ่งขั้นตอนในการทดสอบมีดังนี้ 1. ตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ มีดังนี้ 1.1 กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มได้มาโดยการสุ่มอย่างเป็นอิสระจากกัน 1.2 ประชากรทั้งสองกลุ่มมีการแจกแจงแบบปกติ 1.3 ข้อมูลอยู่ในมาตราอันตรภาคหรืออัตราส่วน 1.4 ไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากร 2. กำหนดสมมติฐานทางสถิติ สำหรับการทดสอบแบบสองทิศทาง H๐: = H1 : สำหรับการทดสอบแบบทิศทางเดียว H๐: H1 : > หรือ < อย่างใดอย่างหนึ่ง =

  20. 3. กำหนด 4. คำนวณค่าสถิติ t จากสูตร ใดสูตรหนึ่งใน 2 สูตร ดังนี้ 4.1 เมื่อทดสอบได้ว่า = เรียกสูตรนี้ว่า t – test ชนิด Pooled Variance มี df = n1 + n2 - 2 t = Sp2แทน ความแปรปรวนร่วม (Pooled Variance) Sp2 = ดังนั้น อาจสรุปสูตรได้ดังนี้ t =

  21. t = โดยมี df = 5. กำหนดขอบเขตวิกฤตโดยหาค่า t วิกฤต 6. สรุปผลการทดลอง พิจารณาตัวเลขไม่คิดเครื่องหมาย t t วิกฤต จะปฏิเสธ H๐ t < t วิกฤต จะยอมรับ H๐ 4.2 เมื่อทดสอบได้ว่า เรียกสูตรนี้ว่า t – test ชนิด Separated Variance

  22. กลุ่ม A , S12 = 9 กลุ่มB , S22 = 10 กำหนดให้ และ 0.01 = = ตัวอย่างที่ 1.2 ในการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติของนิสิต 2 กลุ่ม โดยสุ่มนิสิตกลุ่ม A จำนวน 15 คน กลุ่ม B จำนวน 20 คน ใช้แบบทดสอบวิชาสถิติได้ผลการสอบ ดังนี้ จงทดสอบว่า นิสิตกลุ่ม A และกลุ่ม B มีความสามารถทางสถิติแตกต่างกัน โดย วิธีทำ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบข้อมูลพบว่า สอดคล้องกับข้อตกลงเบื้องต้น t – test ขั้นที่ 2ตั้งสมมติฐานเพื่อการทดสอบ H๐: = H1 :

  23. t = = = ขั้นที่ 3 กำหนด = 0.01 ขั้นที่ 4 คำนวณค่าสถิติ t จากสูตร

  24. ขั้นที่ 5ค่า t วิกฤต เมื่อ = 0.01 , df = n1 + n2 - 2 = 33 แบบ two-tailed test คือ t (0.01,33) = 2.750 ขั้นที่ 6 t < t วิกฤต ( 2.034 < 2.750 ) จึงยอมรับ H๐ = 2.034 นั่นคือ นิสิตกลุ่ม A และกลุ่ม B มีความสามารถทางสถิติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01

  25. เมื่อ df = n - 1 กรณีกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน ( Dependent Samples ) เป็นการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีความสัมพันธ์กันด้วย t - test (ยุทธ ไกยวรรณ์. 2543 : 148) คำนวณจากสูตร

  26. ตัวอย่างที่ 1.3 จากการทดลองใช้วิธีการสอนแบบใหม่กับนักเรียนกลุ่มหนึ่ง ก่อนทำการสอนได้มี การทดสอบก่อน หลังจากนั้นครูทำการสอนด้วยวิธีการสอนแบบใหม่ แล้วทำการ ทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบชุดเดิมผลการสอบปรากฏ ดังนี้ จงทดสอบว่า การสอนด้วยวิธีการใหม่ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ กำหนดให้ = 0.05

  27. วิธีทำ ขั้นที่ 1 ตรวจสอบข้อมูลพบว่า สอดคล้องกับข้อตกลงเบื้องต้น t – test ขั้นที่ 2ตั้งสมมติฐานเพื่อการทดสอบ H๐: = H1 : > ขั้นที่ 3 กำหนด = 0.05 ขั้นที่ 4 คำนวณค่าสถิติ t จากสูตร เมื่อ df = n - 1

  28. = 2.935 ขั้นที่ 5 ค่า t วิกฤต เมื่อ = 0.05 , df = n - 1 = 7 แบบ 0ne - tailed test คือ t (0.05,7) = 1.895 ขั้นที่ 6 t > t วิกฤต (2.935 > 1.895) จึงปฏิเสธ H๐ นั่นคือ การสอนโดยวิธีการแบบใหม่ ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05

  29. จบการนำเสนอค่ะ

More Related