550 likes | 763 Views
กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตและประกันวินาศภัยฉบับใหม่. โดย ธำรงลักษณ์ ลาพินี ผอ.ฝ่ายกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. วัตถุประสงค์ในการ ปรับปรุง. เป็นไป ตามหลักเกณฑ์สากลของการประกันภัย (ICP) มี มาตรฐานในการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับสถาบันการเงิน
E N D
กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตและประกันวินาศภัยฉบับใหม่กฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตและประกันวินาศภัยฉบับใหม่ โดย ธำรงลักษณ์ ลาพินี ผอ.ฝ่ายกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงวัตถุประสงค์ในการปรับปรุง • เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากลของการประกันภัย (ICP) • มีมาตรฐานในการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับสถาบันการเงิน • ปรับปรุงการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลให้เหมาะสม
ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. .... • หมวด 1 บริษัท • หมวด 2 การประกอบกิจการของบริษัท • หมวด 3 การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์สภาพคล่อง • หมวด 4 การจัดทำบัญชีและรายงานของบริษัท • หมวด 5 การโอน การควบ และการเลิกบริษัท • หมวด 6 การกำกับดูแลและการตรวจสอบบริษัท • หมวด 7 การแก้ไขฐานะหรือดำเนินงานของบริษัท • หมวด 8 ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต • หมวด 9 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย • หมวด 10 กองทุนประกันชีวิต • หมวด 11 บทกำหนดโทษ • บทเฉพาะกาล
หมวด 1 บริษัท
หมวด 1 บริษัท 1. การจัดตั้งและการขอรับใบอนุญาต ● เปลี่ยนอำนาจผู้ออกใบอนุญาต ● ผู้ออกใบอนุญาตอาจแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ได้ 2. การจัดตั้งสาขาของบริษัทประกันภัยระหว่างประเทศ ● ต้องแสดงหนังสือยินยอมจากหน่วยงานกำกับดูแลในต่างประเทศ ● ต้องดำรงสินทรัพย์ไว้ในประเทศไทยหรือมีหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ตามที่รมต.กำหนด เงื่อนไขกองทุน 3. สาขาบริษัท ● การเปิด ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ สำนักงานสาขา หรือเลิกกิจการ ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน (ทั้งในและต่างประเทศ)
หมวด 1 บริษัท 4. สำนักงานบริการหรือสำนักงานผู้แทน ● การจัดตั้งต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน (ทั้งในและต่างประเทศ) 5. ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ 6. ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจประกันชีวิตหรือใช้ชื่อในธุรกิจว่า “ประกันชีวิต”
หมวด 1 บริษัท 7. หุ้น กรรมการ ผู้ถือหุ้น และการป้องกันการครอบงำบริษัท ● ผู้ถือหุ้น ≥ ร้อยละ 5 ต้องรายงานต่อคณะกรรมการ ● ห้ามถือหุ้น > ร้อยละ 10 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ 8. ผู้มีอำนาจในการจัดการบริษัท ● ผู้มีอำนาจในการจัดการ ได้แก่ (1) ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ กรรมการที่เป็นผู้บริหารของบริษัทหรือ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่า (2) บุคคลซึ่งบริษัททำสัญญาให้มีอำนาจในการบริหารงานทั้งหมดหรือบางส่วน (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีอำนาจควบคุมหรือครอบงำผู้จัดการ กรรมการหรือการจัดการของบริษัท
หมวด 1 บริษัท ● คุณสมบัติ • เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน • เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ • ปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความรับผิดชอบ ความระมัดระวังหรือความซื่อสัตย์สุจริต • ลดระยะเวลากรณีเคยเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตจาก 5 ปี เป็น 3 ปี
หมวด 1 บริษัท • คณะกรรมการสามารถกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมได้ • การแต่งตั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน • บริษัทต้องแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบเกี่ยวกับผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย • กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินกิจการของบริษัท – การให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย – การจัดทำและเก็บรักษาบัญชี – การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น – ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้ถือกรมธรรม์
หมวด 1 บริษัท 9. กลุ่มธุรกิจประกันชีวิต ● กลุ่มธุรกิจประกันชีวิตที่บริษัทแม่เป็นบริษัทประกันชีวิต ● กลุ่มธุรกิจที่บริษัทลูกเป็นบริษัทประกันชีวิต ● การจัดตั้งต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ● การถือหุ้น การแต่งตั้งผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษา บริษัทมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับบริษัทประกันชีวิต เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะ ●การประกอบธุรกิจได้เฉพาะธุรกิจประกันชีวิตหรือธุรกิจที่เป็นการสนับสนุนตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ● คปภ. มีอำนาจกำกับและตรวจสอบบริษัทประกันชีวิต บริษัทแม่และ บริษัทลูกและบริษัทร่วมเหมือนกับเป็นนิติบุคคลเดียวกัน
หมวด 2 การประกอบกิจการของบริษัท
หมวด 2การประกอบกิจการของบริษัท (1) กรมธรรม์ประกันภัย ● แยกการเสนอขายออกเป็น 2 ลักษณะ ♦ เสนอขายได้เมื่อผ่านการตรวจสอบและรับรองจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแล้ว ♦ ก่อนเสนอขายต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ● นายทะเบียนมีอำนาจไม่ให้ความเห็นชอบโดยพิจารณาจากความเสี่ยงในการเสนอขาย (2) อัตราเบี้ยประกันภัย ● ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน โดยดูจากความเสี่ยง (3) การจ่ายเงินปันผล
หมวด 2การประกอบกิจการของบริษัท (4) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บริษัทต้องปฏิบัติ ● คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมได้ ● การกำหนดหลักเกณฑ์ อาจกำหนดให้แตกต่างกันได้ตามลักษณะการประกอบกิจการหรือตามระดับความเสี่ยงตามแต่ละบริษัท (5) ข้อห้ามในการกระทำการ ● กำหนดให้สามารถกำหนดธุรกิจประกันวินาศภัยสำหรับการประกันภัยต่อในกรณีการประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพหรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ในกรณีที่เห็นว่าบริษัทสามารถแยกกิจการและบริหารความเสี่ยงแยกจากกันได้ ● กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจประกาศข้อห้ามเพิ่มเติมได้
หมวด 2การประกอบกิจการของบริษัท (6) การกระทำที่ถือว่าเป็นการฉ้อฉลในธุรกิจประกันภัย ♦ การกระทำที่ถือว่าเป็นการฉ้อฉลของบริษัท • กำหนดให้การกระทำดังต่อไปนี้ของกรรมการ ผู้มีอำนาจในการจัดการตัวแทนนายหน้า และลูกจ้างของบุคคลดังกล่าวหรือของบริษัท ถือเป็นการกระทำของบริษัท – แจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญในการทำสัญญา – สนับสนุนให้ผู้เอาประกันภัยแจ้งความเท็จ – สัญญาว่าจะให้หรือให้ผลประโยชน์พิเศษอื่นเพื่อจูงใจให้แก่ผู้เอาประกันภัย – บิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อปฏิเสธการชดใช้เงิน – การกระทำทุจริตที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือ ผู้รับผลประโยชน์ตามที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด 2การประกอบกิจการของบริษัท • นายทะเบียนมีอำนาจ – สั่งให้บริษัทต้องรับผิดตามสัญญา – สั่งให้บริษัทต้องชำระค่าปรับทางแพ่งตามจำนวนที่กำหนด – เงินค่าปรับส่งเข้ากองทุน ♦ การกระทำที่ถือว่าเป็นการฉ้อฉลของผู้เอาประกันภัย • แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเพื่อให้ได้รับประโยชน์ตามที่กำหนดในสัญญา • ถือเป็นเหตุให้บริษัท ปฏิเสธความรับผิดได้ • ให้บริษัทคืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระแล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด 2การประกอบกิจการของบริษัท (7) การร้องเรียนและการไกล่เกลี่ย (8) การลงทุนของบริษัท ♦ คณะกรรมการอาจกำหนดข้อจำกัดในการลงทุน การถือหุ้น หลักทรัพย์ หรือตราสารอนุพันธ์ ♦ การกำหนดระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม นโยบายในการลงทุน และความรับผิดชอบของคณะกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการบริษัท (9) เวลาเปิดทำการ (10) การใช้บริการจากบุคคลภายนอก ♦ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด (11) การวางหลักทรัพย์และการจัดการเงินสำรองประกันภัย
หมวด 3 การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์สภาพคล่อง
หมวด 3การดำรงเงินกองทุนและสินทรัพย์สภาพคล่อง (1) เงินกองทุน • สามารถกำหนดเป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะสำหรับบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงได้ • กรณีบริษัทมีความเสี่ยงสูง คณะกรรมการสามารถสั่งให้ดำเนินการใดๆได้ (2) สินทรัพย์สภาพคล่อง (3) การบริหารสินทรัพย์บริษัท (4) การรายงานการดำรงเงินกองทุน
หมวด 4 การจัดทำบัญชีและรายงานของบริษัท
หมวด 4การจัดทำบัญชีและรายงานของบริษัท (1) การจัดทำสมุดทะเบียนและสมุดบัญชี (2) การจัดทำงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน ♦ ผู้สอบบัญชี – ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน – ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและข้อกำหนดที่นายทะเบียนประกาศ – ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบกรณีสงสัยว่ามีการทุจริต (3) การจัดส่งรายงานประจำปีการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ ♦ กำหนดให้นายทะเบียนเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์แทนคณะกรรมการ
หมวด 4การจัดทำบัญชีและรายงานของบริษัท (4) การประกาศรายงานงบดุลและงบกำไรขาดทุน (5) การเปิดเผยข้อมูลและฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน (6) การสั่งให้บริษัทและธุรกิจที่เกี่ยวข้องรายงานหรือส่งเอกสาร ♦ รวมทั้งบริษัทประกันชีวิต บริษัทแม่ บริษัทลูก บริษัทร่วม ♦ กรณีมีข้อสงสัย นายทะเบียนอาจตั้งผู้สอบบัญชี นักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือผู้ชำนาญเฉพาะด้านตรวจสอบ โดยบริษัทต้องเสียค่าใช้จ่าย
หมวด 5 การโอน การควบ และการเลิกบริษัท
หมวด 6 การกำกับดูแลและการตรวจสอบบริษัท
หมวด 6 การกำกับดูแลและการตรวจสอบบริษัท (1) กำหนดให้บริษัทมีระบบการบริหารจัดการที่ดี • ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการธรรมาภิบาล หรือคณะกรรมการอื่นตามที่กำหนด – องค์ประกอบ คุณสมบัติ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด • การทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ • การตรวจสอบ และควบคุมภายในของบริษัท • การบริหารและการจัดการบริษัท • การตรวจสอบและประเมิลผลเกี่ยวกับสถานะ ความเหมาะสม และ ความพร้อมของผู้มีอำนาจในการจัดการบริษัท
หมวด 6 การกำกับดูแลและการตรวจสอบบริษัท (2) อำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ • เข้าไปตรวจสอบฐานะหรือการดำเนินงานในสถานที่ประกอบธุรกิจของบริษัทแม่ บริษัทลูก บริษัทร่วม และบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจประกันชีวิตได้ • เข้าไปตรวจสอบในสถานที่ประกอบการของผู้ที่ทำธุรกรรมกับบริษัทหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท • แต่งตั้งบุคคลภายนอกเข้าดำเนินการตรวจสอบแทนได้ (3) การขอตรวจดูสมุดทะเบียน
หมวด 6 การกำกับดูแลและการตรวจสอบบริษัท (4) การเปิดเผยกิจการอันเป็นความลับของบริษัท • กำหนดเหตุที่สามารถเปิดเผยได้ – การเปิดเผยตามอำนาจหน้าที่หรือการสอบสวนพิจารณาคดี – การเปิดเผยเกี่ยวกับการกระทำผิด – การเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัท – เปิดเผยแก่ผู้สอบบัญชี – เปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่แก่หน่วยงานรัฐในและต่างประเทศ ที่มีอำนาจในการกำกับธุรกิจประกันชีวิต หลักทรัพย์หรือสถาบันการเงิน – เปิดเผยให้แก่กลุ่มบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจประกันชีวิตเดียวกัน – ตามที่กฎหมายกำหนด – เมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
หมวด 7การแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัท
หมวด 7การแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัท (1) การแก้ไขการดำเนินงานของบริษัทที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ♦ กรณีที่บริษัท กรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ให้นายทะเบียนมีอำนาจ • มีหนังสือเตือน • มีคำสั่งห้ามการกระทำที่ฝ่าฝืน/ให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง • สั่งถอดถอนกรรมการ ผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการ
หมวด 7การแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัท (2) การแก้ไขฐานะของบริษัท ♦ กรณีที่บริษัทมีฐานะที่อาจเกิดความเสียหายแก่ประชนชนให้นายทะเบียนมีอำนาจ • สั่งให้บริษัทแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงาน • สั่งห้ามมิให้บริษัทขยายการประกอบธุรกิจจนกว่าจะมีการปรับปรุงฐานะทางการเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนด • สั่งให้เสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะทางการเงิน • สั่งให้ระดมทุน เพิ่มทุน •สั่งถอดถอนกรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการและแต่งตั้งบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน • สั่งให้สถาบันการเงินอายัดหรือสั่งการจ่ายเงินจากบัญชีของบริษัท •สั่งควบคุมบริษัทหรือปิดกิจการของบริษัท
หมวด 7การแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัท ♦ กำหนดกรณีที่ถือว่าบริษัทมีฐานะหรือการดำเนินงานในลักษณะที่อาจเกิดความเสียหายแก่ประชาชน • บริษัท กรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการฝ่าฝืนคำสั่งของนายทะเบียน • บริษัท กรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน การทำธุรกรรมกับกลุ่มธุรกิจ หรือการ บริหารสินทรัพย์ • บริษัท กรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการ ไม่จัดทำบัญชีและรายงานผลการดำเนินงานหรือลงข้อความเท็จ
หมวด 7การแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของบริษัท • บริษัทหยุดประกอบธุรกิจ • บริษัทปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม/การคืนเบี้ยประกันภัย • บริษัทหยุดทำการจ่ายเงินตามที่มีหน้าที่ต้องชำระ • มีผลประกอบการขาดทุนและ คปภ.เห็นว่าบริษัทไม่อาจดำรงเงินกองทุนได้ตามกฎหมาย • มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน • กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ขั้นตอน มีเงินกองทุนน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด เสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะ < 60% ของอัตราเงินกองทุน ถูกควบคุมบริษัท < 35% ของอัตราเงินกองทุน ถูกปิดกิจการ รมต. ต้องพิจาณา 30 วัน เพิกถอนใบอนุญาต กองทุนเข้ารับช่วงสิทธิ
หมวด 8ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
หมวด 8ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต (1) ใบอนุญาตระบุประเภท (2) นิติบุคคลสามารถขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนได้ (3) กำหนดให้นายหน้าประกันชีวิตต้องเป็นนิติบุคคล (4) นายหน้าประกันชีวิตต้องวางหลักประกันไว้กับนายทะเบียนในการส่งเบี้ยประกันภัยตามมูลค่าที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (5) ต้องดำเนินการชี้ชวนหรือจัดการเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดแก่บุคคลที่จะทำสัญญาประกันชีวิต และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (6) กำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งพักใช้ใบอนุญาต (7) เพิ่มหลักเกณฑ์ในการเพิกถอนใบอนุญาตกรณีที่นายหน้าประกันชีวิตมีปริมาณธุรกิจไม่ถึงเกณฑ์ที่นายทะเบียนกำหนด (8) ผู้ชี้ชวนประกันภัย – พนักงานหรือลูกจ้างของนายหน้าประกันชีวิตต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
หมวด 9 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
หมวด 9นักคณิตศาสตร์ประกันภัย อำนาจหน้าที่ 1 รับรองรายงานการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย 2 รับรองสมุดแสดงการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยและอัตรามูลค่าของกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท 3 หลักเกณฑ์การขออนุญาตและคุณสมบัติ • กำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจประกาศคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมได้ • กำหนดให้นิติบุคคลสามารถยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้ • บริษัทต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบเมื่อมีการแต่งตั้ง/ถอดถอนนักคณิตศาสตร์ประกันภัย • การขอต่ออายุใบอนุญาตต้องผ่านการอบรมเพิ่มเติมจากสำนักงาน คปภ. 4 การชดใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด 10 กองทุนประกันชีวิต
หมวด 10 กองทุนประกันชีวิต (1) การจัดตั้ง นิติบุคคล (2) วัตถุประสงค์ • คุ้มครองเจ้าหนี้ในกรณีที่บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาต • พัฒนาธุรกิจประกันชีวิต (3) เงินและทรัพย์สินของกองทุน • เบี้ยปรับกรณีบริษัทกระทำการอันมีลักษณะเป็นการฉ้อฉล • ค่าตอบแทนที่ได้จากการชำระบัญชี (4) อำนาจกระทำการ • กู้ยืม หรือออกตราสารทางการเงิน • เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด 10 กองทุนประกันชีวิต (5) การใช้จ่ายเงิน • ให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับจากหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย กรณีบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาต • เป็นค่าใช้จ่ายในการชดเชยความเสียหายเบื้องต้นในการปฏิบัติหน้าที่ของนายหน้าประกันชีวิต • ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิต • ค่าบริหารกองทุน (6) การส่งเงินเข้ากองทุน (7) การจ่ายเงินเพื่อชำระหนี้แทนบริษัท ≤ 1 ล้านบาท (8) คณะกรรมการบริหารกองทุน
หมวด 11 บทกำหนดโทษ
หมวด 11บทกำหนดโทษ (1) เพิ่มโทษปรับรายวันในอัตราหนึ่งเท่าที่กำหนดไว้เดิม (2) กำหนดโทษปรับรายวันกรณีบริษัทฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ • การห้ามนำเงินกองทุนไปก่อภาระผูกพัน • ไม่ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามที่กำหนด • ไม่บริหารสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพันและเงินสำรองให้มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการรับชำระหนี้ประกันภัย • ไม่จัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้และภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย (3) เพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับกรรมการผู้มีอำนาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัทที่ปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง หรือความซื่อสัตย์สุจริต จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย (ปรับไม่เกินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับแต่ ≤5 แสนบาท) (4) เพิ่มโทษกรณีเลิกประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับใบอนุญาต (ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท)
หมวด 11บทกำหนดโทษ (5) กำหนดให้กรรมการหรือบุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในกรณีบริษัทกระทำความผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีส่วนในการกระทำความผิด (6) แก้ไขบทกำหนดโทษสำหรับการฝ่าฝืนคำสั่งเรียก หรือขัดขวางไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ปรับ ≤ 5 หมื่นบาท (7) เพิ่มบทกำหนดโทษผู้ทำหน้าที่ชี้ชวนประกันชีวิตโดยไม่ได้รับใบอนุญาต (8) ปรับปรุงผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ • นายทะเบียน ≤ 1 แสนบาท • คณะกรรมการที่ รมต. แต่งตั้ง > 1 แสนบาท
บทเฉพาะกาล (1) รองรับบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตเดิม (2) กำหนดระยะเวลาในการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ภายใน 1 ปี ห้ามขยายกิจการ 3 ปี ใบอนุญาตสิ้นอายุ (3) แก้ไขสัดส่วนผู้ถือหุ้นหรือกรรมการ 1 ปี (4) มิให้นำหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้มาใช้บังคับภายใน 1 ปี • การถือหุ้น ≥ ร้อยละห้าหรือร้อยละสิบของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด • การให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้มีอำนาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัท • การจัดตั้งกลุ่มธุรกิจประกันชีวิต • การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
บทเฉพาะกาล (5) กำหนดให้กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกแบบและข้อความที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบมีผลใช้บังคับได้ต่อไป (6) กำหนดให้การแก้ไขอัตราเงินกองทุน การควบคุมบริษัทรวมทั้งการชำระบัญชีบริษัท ที่ถูกเพิกถอนในอนุญาตและสิทธิในการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จากกองทุน ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีผลใช้บังคับต่อไป ตามบทบัญญัติเดิม (7) รองรับใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต (8) นายหน้าประกันชีวิต • นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตอยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตต่อไป • บุคคลธรรมดา ให้ถือเป็นผู้ชี้ชวนประกันชีวิตโดยนำหลักฐานว่าสังกัดบริษัทประกันชีวิตใด มายื่นต่อนายทะเบียนภายใน 1 ปี
บทเฉพาะกาล (9) มิให้นำหลักเกณฑ์การวางประกันและการชดเชยความเสียหายสำหรับนายหน้าประกันชีวิตมาใช้บังคับจนกว่าคณะกรรมการจะกำหนดจำนวน เงินที่ต้องวางประกัน รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งนี้ ภายใน 2 ปี (10) ใบอนุญาตนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (11) โอนเงินและทรัพย์สินของกองทุน (12) รองรับอนุญาตสิทธิและคำสั่งต่างๆ
ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย
ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (1) การประกอบกิจการของบริษัท • ห้ามมิให้บริษัทรับประกันวินาศภัยเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน – รับประกันอัคคีภัยรายเดียวหรือหลายรายรวมกันในเขตที่กำหนดเกินร้อยละสิบของเงินกองทุน – รับประกันวินาศภัยยานพาหนะทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และบุคคล หรือทรัพย์สินในยานพาหนะ และการประกันภัยค้ำจุนเพื่อวินาศภัยอันเดียวกันเกินร้อยละสิบของเงินกองทุน – รับประกันภัยอื่นรายหนึ่งเกินกว่าร้อยละสิบของเงินกองทุน (2) บริษัทต้องยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (3) นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้สัญญาประกันอัคคีภัยระงับไป หากผู้เอาประกันภัย หรือผู้เกี่ยวข้องไม่อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบราคาทรัพย์สิน (4) นายทะเบียนมีอำนาจสั่งลดจำนวนเงินที่เอาประกันภัย ในกรณีที่เห็นว่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่เอาประกันภัย (5) นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทงดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่วินาศภัยเกิดจากความทุจริตของผู้เอาประกันภัย เพิ่ม กรณีที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์กระทำการฉ้อฉลโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้รับประโยชน์
ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (6) การฉ้อฉลโดยผู้เอาประกันภัยหรือผู้ได้รับประโยชน์ถือเป็นเหตุให้บริษัทปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาโดยต้องคืนเบี้ยประกันภัยกึ่งหนึ่งของเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำระแล้ว (7) การดำรงเงินในกองทุนและสินทรัพย์สภาพคล่อง • บริษัทต้องวางหลักทรัพย์ไว้กับนายทะเบียนตามประเภทและมูลค่าของการประกันภัย • บริษัทต้องจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ของบริษัท • บริษัทต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินสำรองเพื่อการเสี่ยงภัยไว้เป็นประเภท (8) การจัดทำบัญชีและรายงาน • บริษัทต้องรักษาสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี (9) ผู้ประเมินวินาศภัย