340 likes | 458 Views
ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว เชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย Tourism Products in Chiangrai Province: Potential Market for Religious Artistic and Cultural Tourism. ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว เชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. บทนำ
E N D
ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายTourism Products in Chiangrai Province: Potential Market for Religious Artistic and Cultural Tourism
ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย บทนำ • สถานการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2547 มีนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี 1,072,872คน • เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 792,961คน นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 279,911คน • รายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 9,364.04ล้านบาท รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย 6,700.01 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 2,664.03ล้านบาท • ในการเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้งนักท่องเที่ยวมีระยะเวลาพำนักเฉลี่ยในจังหวัดเชียงราย ประมาณ 3.15วัน การใช้จ่ายแต่ละวันประมาณ 2,784.78บาท • จำนวนห้องพักสำหรับนักท่องเที่ยว 5,491ห้อง ซึ่งมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั้งปีร้อยละ 32.49 • การขยายตัวของนักท่องเที่ยวคนไทยในอัตราร้อยละ 25.17
ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย (บทนำ) • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดทำแผนการตลาดระดับประเทศ ให้จังหวัดเชียงรายเป็นกลุ่มพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ร่วมกลุ่มกับกรุงเทพ ฯ กาญจนบุรี อยุธยา เชียงใหม่
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพและความพร้อม ของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัด เชียงราย
ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย • กรอบแนวคิดในการศึกษา บทบาทสำคัญของวัดต่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย ความสนใจของนักท่องเที่ยวต่อแหล่งเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย การวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย ศักยภาพและความพร้อมของภาคีเครือข่ายชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย แนวทางการจัดการของภาคีเครือข่ายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย
วิธีดำเนินการวิจัย การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงานวิจัย อินเตอร์เน็ต และใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดเชียงราย โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 400 ตัวอย่าง และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 400 ตัวอย่าง กลุ่มภาคีเครือข่ายชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย จำนวน 200 ตัวอย่าง วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้ทั้งหมด 5 กลุ่ม • กลุ่มของวัด หรือพระธาตุเจดีย์ จำนวน 23 แหล่ง • กลุ่มของเมืองโบราณคดี จำนวน 1 แหล่ง • กลุ่มพิพิธภัณฑ์ 3 แหล่ง • กลุ่มของศิลปะ 5 แหล่ง • กลุ่มของประเพณี 6 แหล่ง • กลุ่มของวัฒนธรรม 5 แหล่ง ศักยภาพและความพร้อมของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดแข็งด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย • มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่มีชื่อเสียง • มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ • มีวัดที่เก่าแก่ที่ทรงคุณค่าการเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ ในเขตเมืองโบราณเชียงแสน • ความมีชื่อเสียงของพื้นที่ทรงงานบนดอยตุง • กิจกรรมชมวิถีชีวิตของชาวไทยกระเหรี่ยง • กิจกรรมการนั่งสามล้อถีบชมเมือง
ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดแข็งด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย • การศึกษาวิถีชีวิตที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลายของเมืองการค้าชายแดนแม่สาย • มีของที่ระลึกพื้นเมืองสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อหาที่หลากหลาย ที่ตลาดเชียงรายไนท์บาซาร์ • ความงดงาม ความโอบอ้อมอารี อัธยาศัยไมตรีของประชาชนชาวเชียงราย เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน • การมีเส้นทางคมนาคมที่เหมาะสมและสะดวกในการเดินทาง • มีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานในสถานที่ท่องเที่ยว
ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย • ความโดดเด่นของการจัดงานประเพณี หรือวัฒนธรรม ไม่สามารถ สร้างความสนใจ หรือดึงดูดใจนักท่องเที่ยว • จำนวนศูนย์บริการนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมมีจำนวนน้อย • การบริการห้องสุขา/ห้องน้ำส่วนใหญ่ ไม่ได้มาตรฐาน • ขาดมัคคุเทศก์ท้องถิ่น/มัคคุเทศก์พื้นที่ในการนำชมหรือให้ความรู้กับ นักท่องเที่ยว
ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย 2.5 การจัดสภาพภูมิทัศน์ภายในสถานที่ท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่ ไม่สวยงามโดดเด่น 2.6 ขาดการดูแลในเรื่องของความสะอาดและความเป็นระเบียบในพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยว 2.7 ขาดป้ายความรู้ที่จะอธิบายรายละเอียดของสิ่งสำคัญในแหล่งท่องเที่ยว 2.8 การกระจายตัวของสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ต้องใช้เวลาในการ เดินทางเที่ยวชม
ผลการศึกษาการวิเคราะห์จุดอ่อนด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย 2.9 การขาดจิตสำนึกในการดูแลรักษาสถานที่ท่องเที่ยวร่วมกันของ ประชาชนในแหล่งท่องเที่ยว 2.10 ความมีชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และ วัฒนธรรม ยังไม่มีชื่อเสียงในระดับชาติ หรือระดับสากล 2.11 ศักยภาพและความพร้อมด้านบุคลากรและการจัดการในพื้นที่ ยัง ขาดความเข้าใจในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 2.12 การส่วนร่วมชุมชนในการบริหารจัดการน้อย 2.13 มีการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ชุมชนน้อย
โอกาสของการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดกิจกรรมประเพณีหรือวัฒนธรรมต่างๆ • ความเป็นเมืองชายแดน ด่านชายแดนแม่สาย หรือสามเหลี่ยมทองคำ สามารถเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวในจังหวัดเชียงราย • สภาพอากาศที่ดี อัธยาศัยไมตรีที่เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว • การมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกและไม่ไกลจากจังหวัดเชียงใหม่
ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดของการส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย • ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ในเขตเมืองโบราณของประชาชนในพื้นที่ และความไม่ร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ • ปัญหาการขาดความรู้ ความเข้าใจ การมีจิตสำนึกการดูแลความเป็นระเบียบ และความสะอาดของประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว • ปัญหาด้านการจัดกิจกรรมประเพณี วัฒนธรรม • ปัญหาด้านการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมจากการท่องเที่ยว
ศักยภาพและความพร้อมของภาคีเครือข่ายชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย
แนวทางการจัดการของภาคีเครือข่ายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย มี 2 กลุ่ม 1. คณะกรรมการบริหารจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย 2. คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานของจังหวัด ประกอบด้วย 2.1 คณะทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยว 2.2 คณะทำงานด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และโฆษณา 2.3 คณะทำงานด้านการบริการนักท่องเที่ยว 2.4 คณะทำงานด้านการวิจัยและอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน • ส่งเสริมให้เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน • ส่งเสริมด้านการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม • ส่งเสริมให้มีการวิจัยการท่องเที่ยว
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา • จัดสร้างอาคารศูนย์การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย • มีการจัดตั้งภาคีเครือข่ายร่วมกันของผู้ประกอบการ • จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นเครือข่ายร่วมกัน ปลอดภัย และให้ได้รับรายได้ที่เป็นธรรม
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป • ควรมีการส่งเสริมในการวิจัยและพัฒนากระบวนการสร้างภาคีเครือข่ายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
ขอขอบคุณ สำนักงานประสานการพัฒนาและจัดการ การท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ขอขอบคุณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย
ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย
ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการศูนย์ท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดเชียงราย
ขอขอบคุณ กลุ่มภาคประชาชนในพื้นที่การท่องเที่ยว
ขอขอบคุณ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง ผู้จัดการการวิจัยการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ และ เจ้าหน้าที่จากสำนักประสานงานการพัฒนาและจัดการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
คณะผู้วิจัย • นางชวัลนุช อุทยาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ • นายเพทาย บำรุงจิตต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย • นางฉลวย ปูธิปิน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย • นางวันเพ็ญ การควรคิด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย